คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0gwxjN6CoVmk2LLydDqaSLBfwcrd5CBtQdYJTTj2P4dKWJRxvpNKotJfY6jc8ggxhl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 8 มิ.ย. 2565)
รวม 138,365,976 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 8 มิถุนายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 84,257 โดส
เข็มที่ 1 : 10,130 ราย
เข็มที่ 2 : 21,344 ราย
เข็มที่ 3 : 52,783 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,819,132 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 52,848,544 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 28,698,300 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02kf72288exCzLMtvmHoL4CzyQ3R7hVMXu7SxpomSarYNEZX5ZaqJpvQHVLn7vsX74l
มาแล้ว! วัคซีนทางเลือก Novavax
ทางเลือกใหม่สำหรับ"เข็มแรก"เท่านั้น
วัคซีนป้องกันโควิด Novavax พร้อมให้บริการแล้ววันนี้
ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ BFC ของ รพ.กลาง (0-2225-1354) และ รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ (0-2289-7986) ในวันและเวลาราชการ
ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02cc1jCYmg9zSCbCS8tnGmeWThvDG9p1FZ9kr4J9uvBqxXr5Lgody8vazLcM12Hx7ml
เบื่ออาหารจากการติดโควิด ถือเป็นเรื่องปกติ เพียงสังเกตว่า
ผู้ป่วยเด็กมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นกลับมากินได้ภายใน 2-3 วัน
ที่มา : หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02oSQcRTsn9w9y33dSc9VfYpTsZsaFg4JwBqAojGGTPNdQHkrdSmsMCT8jm8TRFLpEl
ตั้งแต่ 1 ก.ค.นี้ สปสช. ยกเลิกจ่าย “ค่าตรวจโควิด รพ.นอกระบบบัตรทอง” คงเหลือหน่วยบริการในระบบเท่านั้น
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอยกเลิกกรณีที่มีเหตุสมควรการเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอื่นที่เกี่ยวกับโรคโควิด–19 ในสถานบริการอื่น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันที่เริ่มผ่านพ้นช่วงวิกฤติแล้ว ประกอบกับคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเห็นชอบมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด-19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่น ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการจัดทำแผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19) เพื่อให้ประชาชนจะกลับมาดำเนินชีวิตภายใต้การใช้ชีวิตวิถีปกติใหม่ ดังนั้นทางหน่วยงานที่บริหารจัดการกองทุนสุขภาพภาครัฐ ประกอบด้วย สปสช. กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม กองเศรษฐกิจสุขภาพฯ กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาแล้วเห็นว่าในระยะต่อไป ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองเชิงรุก ทั้งประชาชนสามารถตรวจคัดกรองด้วย ATK ด้วยตนเอง หรือตรวจวิธีอื่นๆ ในหน่วยบริการได้ จึงมีมติร่วมกันให้การปรับเงื่อนไขอัตราจ่ายบริการโรคโควิด-19 ในภาพรวม โดยยกเลิกตรวจคัดกรองเชิงรุกนอกหน่วยบริการที่เป็นไปตามแผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่นของ สธ.ด้วยเหตุนี้ที่ประชุม บอร์ด สปสช. จึงมีมติให้ยกเลิกการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ การเข้ารับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอื่นที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ในสถานบริการนอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คงเหลือแต่ส่วนที่เป็นบริการของหน่วยบริการในระบบต่อไป โดยมติบอร์ด สปสช.นี้ ทาง สธ. จะรวบรวมเป็นข้อมูลการดำเนินการในส่วนของสาธารณสุข เพื่อนำเสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไป
ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RB7H3aRrPNjbfcFTok1vVaHEATfXQoT7emYm14Smt7YWdpmpQ17mQgJziyt4XV9vl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 จำนวน 23 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RkRBN9z1hWGbiroiyecZG7UCnBwbJBfy6fCJKYsMzx2PXNXzMMBTBswqTz6oi1hwl
แนวทางปฏิบัติ สถานพยาบาลเปลี่ยนผ่านโควิดสู่โรคประจำถิ่น
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะแพทยศาสตร์ราชวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น โดยมีเป้าหมาย คือ 1) ช่วยให้ระบบการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 สามารถรองรับกับสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อการเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึง 2) ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการให้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 หลังรักษาหายหรือภาวะ Long COVID และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป ได้อย่างรวดเร็ว และ ปลอดภัย
ทั้งนี้ มาตรการในระยะแรก เริ่มจากการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ (รายละเอียด อ่านต่อที่ https://bit.ly/3GMrDXr)
สรุปมาตรการด้านการรักษา จะแบ่งการดูแลผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กรณีผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย มาตรการการเตรียม การคัดกรองผู้ป่วย การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ในกลุ่มอาการต่างๆ จะเน้นใน เรื่อง ของ Outpatient self Isolation ถ้าอาการมากขึ้น เข้ารับการรักษา ใน โรงพยาบาล Cohort Covid ward รวมถึง การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ระบบส่งต่อผู้ป่วยโควิด และมาตรการการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
2) กรณีผู้ป่วยมีเสี่ยงต่ออาการรุนแรง รวมถึง ภาวะ Long COVID เน้นการประเมินอาการของผู้ป่วยที่สงสัยเป็นLong Covid-19 และให้การรักษา การเฝ้าระวัง และ ติดตามช่วยเหลือ
3) กรณีผู้ป่วยทั่วไป เริ่มจากมาตรการการคัดกรองผู้ป่วย ในด้านต่างๆ ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยก่อนทำผ่าตัด (Pre-operation) การดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน (ER) การดูแลผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการ ที่มีระยะเวลานาน การรับผู้ป่วยเข้านอนรักษาในโรงพยาบาล (IPD) การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล เป็นต้น
ทั้งนี้ หาก สถานการณ์ปรับเปลี่ยน ข้อมูลต่างๆ มากขึ้น อาจปรับมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถติดตามในจากเว็บไซต์ ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข www.dms.go.th
ที่มา : กรมการแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02yHU6YT2QSPx21xUJ5E8mtpzujv146ijVBa5jgJG9j8tFWdhsZBkr258JL1ABDEZCl
ผลสำรวจ RC DDC POLL online
เมื่อสถานการณ์โควิด 19 ดีขึ้น คนไทยต้องการอะไร?
1. เลิกตรวจ ATK (33.4%)
2. ไม่ต้องวัดอุณหภูมิ (30.8%)
3. ถอดหน้ากาก (26.2%)
4. ไม่จำกัดคนเข้าร่วมงาน (24.8%)
5. ไม่เช็คประวัติการฉีดวัคซีน (22.5%)
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02kxaWhnXhL8Sf4V3hAbath3hxQgoRrC6whKAS5WZksbeVX9VSPQDiVc41TTUzdMHYl&id=100068069971811
ฉีดเข็มกระตุ้นสู่เป้าหมาย 60% เพื่อก้าวสู่โรคประจำถิ่น
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02VMfSnUo8rtVPyVBH2tpWvfBdBwAwBHQTRxA88jNBKdCVFYBcV2VsuDgkq7MuxZafl&id=100068069971811
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0gwxjN6CoVmk2LLydDqaSLBfwcrd5CBtQdYJTTj2P4dKWJRxvpNKotJfY6jc8ggxhl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 8 มิ.ย. 2565)
รวม 138,365,976 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 8 มิถุนายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 84,257 โดส
เข็มที่ 1 : 10,130 ราย
เข็มที่ 2 : 21,344 ราย
เข็มที่ 3 : 52,783 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,819,132 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 52,848,544 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 28,698,300 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02kf72288exCzLMtvmHoL4CzyQ3R7hVMXu7SxpomSarYNEZX5ZaqJpvQHVLn7vsX74l
มาแล้ว! วัคซีนทางเลือก Novavax
ทางเลือกใหม่สำหรับ"เข็มแรก"เท่านั้น
วัคซีนป้องกันโควิด Novavax พร้อมให้บริการแล้ววันนี้
ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ BFC ของ รพ.กลาง (0-2225-1354) และ รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ (0-2289-7986) ในวันและเวลาราชการ
ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02cc1jCYmg9zSCbCS8tnGmeWThvDG9p1FZ9kr4J9uvBqxXr5Lgody8vazLcM12Hx7ml
เบื่ออาหารจากการติดโควิด ถือเป็นเรื่องปกติ เพียงสังเกตว่า
ผู้ป่วยเด็กมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นกลับมากินได้ภายใน 2-3 วัน
ที่มา : หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02oSQcRTsn9w9y33dSc9VfYpTsZsaFg4JwBqAojGGTPNdQHkrdSmsMCT8jm8TRFLpEl
ตั้งแต่ 1 ก.ค.นี้ สปสช. ยกเลิกจ่าย “ค่าตรวจโควิด รพ.นอกระบบบัตรทอง” คงเหลือหน่วยบริการในระบบเท่านั้น
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอยกเลิกกรณีที่มีเหตุสมควรการเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอื่นที่เกี่ยวกับโรคโควิด–19 ในสถานบริการอื่น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันที่เริ่มผ่านพ้นช่วงวิกฤติแล้ว ประกอบกับคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเห็นชอบมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด-19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่น ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการจัดทำแผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19) เพื่อให้ประชาชนจะกลับมาดำเนินชีวิตภายใต้การใช้ชีวิตวิถีปกติใหม่ ดังนั้นทางหน่วยงานที่บริหารจัดการกองทุนสุขภาพภาครัฐ ประกอบด้วย สปสช. กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม กองเศรษฐกิจสุขภาพฯ กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาแล้วเห็นว่าในระยะต่อไป ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองเชิงรุก ทั้งประชาชนสามารถตรวจคัดกรองด้วย ATK ด้วยตนเอง หรือตรวจวิธีอื่นๆ ในหน่วยบริการได้ จึงมีมติร่วมกันให้การปรับเงื่อนไขอัตราจ่ายบริการโรคโควิด-19 ในภาพรวม โดยยกเลิกตรวจคัดกรองเชิงรุกนอกหน่วยบริการที่เป็นไปตามแผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่นของ สธ.ด้วยเหตุนี้ที่ประชุม บอร์ด สปสช. จึงมีมติให้ยกเลิกการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ การเข้ารับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอื่นที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ในสถานบริการนอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คงเหลือแต่ส่วนที่เป็นบริการของหน่วยบริการในระบบต่อไป โดยมติบอร์ด สปสช.นี้ ทาง สธ. จะรวบรวมเป็นข้อมูลการดำเนินการในส่วนของสาธารณสุข เพื่อนำเสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไป
ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RB7H3aRrPNjbfcFTok1vVaHEATfXQoT7emYm14Smt7YWdpmpQ17mQgJziyt4XV9vl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 จำนวน 23 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RkRBN9z1hWGbiroiyecZG7UCnBwbJBfy6fCJKYsMzx2PXNXzMMBTBswqTz6oi1hwl
แนวทางปฏิบัติ สถานพยาบาลเปลี่ยนผ่านโควิดสู่โรคประจำถิ่น
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะแพทยศาสตร์ราชวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ และภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น โดยมีเป้าหมาย คือ 1) ช่วยให้ระบบการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 สามารถรองรับกับสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อการเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึง 2) ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการให้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 หลังรักษาหายหรือภาวะ Long COVID และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไป ได้อย่างรวดเร็ว และ ปลอดภัย
ทั้งนี้ มาตรการในระยะแรก เริ่มจากการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ (รายละเอียด อ่านต่อที่ https://bit.ly/3GMrDXr)
สรุปมาตรการด้านการรักษา จะแบ่งการดูแลผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กรณีผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย มาตรการการเตรียม การคัดกรองผู้ป่วย การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ในกลุ่มอาการต่างๆ จะเน้นใน เรื่อง ของ Outpatient self Isolation ถ้าอาการมากขึ้น เข้ารับการรักษา ใน โรงพยาบาล Cohort Covid ward รวมถึง การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ระบบส่งต่อผู้ป่วยโควิด และมาตรการการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
2) กรณีผู้ป่วยมีเสี่ยงต่ออาการรุนแรง รวมถึง ภาวะ Long COVID เน้นการประเมินอาการของผู้ป่วยที่สงสัยเป็นLong Covid-19 และให้การรักษา การเฝ้าระวัง และ ติดตามช่วยเหลือ
3) กรณีผู้ป่วยทั่วไป เริ่มจากมาตรการการคัดกรองผู้ป่วย ในด้านต่างๆ ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยก่อนทำผ่าตัด (Pre-operation) การดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน (ER) การดูแลผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการ ที่มีระยะเวลานาน การรับผู้ป่วยเข้านอนรักษาในโรงพยาบาล (IPD) การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล เป็นต้น
ทั้งนี้ หาก สถานการณ์ปรับเปลี่ยน ข้อมูลต่างๆ มากขึ้น อาจปรับมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถติดตามในจากเว็บไซต์ ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข www.dms.go.th
ที่มา : กรมการแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02yHU6YT2QSPx21xUJ5E8mtpzujv146ijVBa5jgJG9j8tFWdhsZBkr258JL1ABDEZCl
ผลสำรวจ RC DDC POLL online
เมื่อสถานการณ์โควิด 19 ดีขึ้น คนไทยต้องการอะไร?
1. เลิกตรวจ ATK (33.4%)
2. ไม่ต้องวัดอุณหภูมิ (30.8%)
3. ถอดหน้ากาก (26.2%)
4. ไม่จำกัดคนเข้าร่วมงาน (24.8%)
5. ไม่เช็คประวัติการฉีดวัคซีน (22.5%)
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02kxaWhnXhL8Sf4V3hAbath3hxQgoRrC6whKAS5WZksbeVX9VSPQDiVc41TTUzdMHYl&id=100068069971811
ฉีดเข็มกระตุ้นสู่เป้าหมาย 60% เพื่อก้าวสู่โรคประจำถิ่น
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02VMfSnUo8rtVPyVBH2tpWvfBdBwAwBHQTRxA88jNBKdCVFYBcV2VsuDgkq7MuxZafl&id=100068069971811
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน🧡9มิ.ย.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย3,185คน หาย3,326คน เสียชีวิต23คน รักษาอยู่25,262คน/5มาตรการที่ปชช.ต้องการยกเลิก
https://www.bangkokbiznews.com/social/1008967
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์โควิด 19 ประจำวัน ว่า ผู้ป่วยรายใหม่วันนี้รายงาน 3,185 ราย ติดเชื้อสะสม 4,477,052 ราย หายป่วย 3,326 ราย สะสม 4,421,528 ราย เสียชีวิต 23 ราย สะสม 30,262 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 25,262 ราย อยู่ รพ.สนาม HI CI 12,422 ราย และอยู่ใน รพ. 12,840 ราย
จำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 678 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 331 ราย อัตราครองเตียงระดับ 2-3 หรือสีเหลืองสีแดงอยู่ที่ 10% มีรายงานผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 2 ราย แต่ไม่มีผู้ติดเชื้อเดินทางจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิต 23 ราย มาจาก 17 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา เชียงราย สุพรรณบุรี ราชบุรี จังหวัดละ 2 ราย , กทม. สมุทรปราการ กาฬสินธุ์ แพร่ พิจิตร พิษณุโลก พะเยา นครศรีธรรมราช อ่างทอง สระบุรี และปราจีนบุรี จังหวัดละ 1 ราย ผู้เสียชีวิตเป็นชาย 13 ราย หญิง 10 ราย อายุ 17 - 107 ปี อายุเฉลี่ย 74 ปี โดยเป็นผู้สูงอายุและโรคประจำตัวรวม 96%
ส่วนการฉีดวัคซีนโควิด 19 เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 จำนวน 84,257 โดส สะสม 138,365,976 โดส เป็นเข็มแรก 56,819,132 ราย คิดเป็น 81.7% เข็มสอง 52,848,544 ราย คิดเป็น 76% และเข็ม 3 ขึ้นไป 28,698,300 ราย คิดเป็น 41.3% ภาพรวมผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดเข็ม 3 แล้ว 45.1% ส่วนเด็กอายุ 5-11 ปี ฉีดเข็มแรกแล้ว 3.07 ล้านคน คิดเป็น 59.6% และเข็มสอง 1.83 ล้านคน คิดเป็น 35.7%
ขณะที่กรมควบคุมโรครายงานจำนวนผู้ป่วยโควิด 19 รายใหม่รายจังหวัด พบว่า 10 จังหวัดที่มีผู้ป่วยรายใหม่สูงสุด ได้แก่....👇
1.กทม. 1,302 ราย
2.นนทบุรี 401 ราย
3.อุบลราชธานี 282 ราย
4.สมุทรปราการ 114 ราย
5.กาฬสินธุ์ 105 ราย
6.สระแก้ว 64 ราย
7.ปราจีนบุรี 49 ราย
8.บุรีรัมย์ 48 ราย
9.ร้อยเอ็ด 44 ราย
และ 10.อำนาจเจริญ 40 ราย
ทั้งนี้ มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่มีอาการเข้ารักษาใน รพ.หลักหน่วย 28 จังหวัด และไม่มีรายงานผู้ป่วยโควิดรวม 10 จังหวัด
https://siamrath.co.th/n/355246
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2565 สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (RC DDC Poll Online) กรณีชีวิตที่ประชาชนต้องการเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่นของโรคโควิด19 ครั้งที่ 1 โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 พ.ค. - 6 มิ.ย. 2565 จำนวน 3,194 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 69% และชาย 31% ช่วงอายุตั้งแต่ 13- 70 ปีขึ้นไป เป็นช่วงอายุ 50-59 ปีมากที่สุด 30.3% รองลงมาอายุ 40.49 ปี 29%
👉 พบว่า ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 2%
ฉีดวัคซีนโควิด 1 เข็ม 1%
ฉีดวัคซีนโควิด 2 เข็ม 23%
ฉีดวัคซีนโควิด 3 เข็ม47%
ฉีดวัคซีนโควิด 4 เข็ม 26%
และมากกว่า 4 เข็ม 1%
เหตุผลที่ไม่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมีกลุ่มตัวอย่างตอบ 741 คน พบว่า กังวลใจผลข้างเคียง 68.6% ประเทศจะเข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่น 22.7% เชื้อโอมิครอนไม่มีความรุนแรง 13% และวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ 8.8%
ขณะที่28% เคยติดโควิด19และ72% ไม่เคยติดเชื้อ โดยช่วงที่ติดโควิด19 ได้รับการดูแลรักษาอย่างไรนั้น กลุ่มตัวอย่าง 892 คนให้ข้อมูลว่า 67.7% ได้รับการดูแลผ่าน Home Isolation , 11.4% ได้รับการดูแลที่โรงพยาบาล ,9.5% ได้รับการดูแลที่ Hospitel ,7.6% หายเอง และ 3.7% Community Isolation
สอบถาบกรณีถ้าเข้าสู่โรคประจำถิ่น ต้องการให้ยกเลิกมาตรการใด มีกลุ่มตัวอย่าง 3,175 คน ให้ข้อมูล ดังนี้..👇
อันดับ 1 คือ ต้องการเลิกตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 33.4%
อันดับ 2 คือ ไม่ต้องตรวจวัดอุณหภูมิ 30.8%
อันดับ 3 คือ ต้องการถอดหน้ากากอนามัย 26.2%
อันดับ 4 คือ ไม่จำกัดจำนวนคนร่วมงาน 24.8%
อันดับ 5 คือ ไม่ต้องตรวจประวัติการฉีดวัคซีนก่อนร่วมกิจกรรม 22.5%
อันดับที่ 6 คือ ไม่ต้องการให้มีการเว้นระยะห่าง 17.1%
อันดับที่ 7 ให้ยกเลิกทุกมาตรการ 15.8%
และอันดับที่ 8 ไม่ต้องฉีดวัคซีนก่อนเข้าไทย 10.5%
https://www.bangkokbiznews.com/social/1009069
...ติดตามข่าวโควิดวันนี้นะคะ
สถานการณ์ติดเชื้อใหม่ยังไม่ลง แต่ผู้ป่วยที่รักษาอยู่ลดลงเหลือแค่สองหมื่นกว่าคน
มาตรการที่ปชช.อยากยกเลิกคือการตรวจATKก่อนร่วมกิจกรรม
ยังมีคนที่ไม่ฉีดวัคซีนหลงเหลืออยู่ค่ะ
วัคซีนมีเพียงพอนะคะ
มาลารินรับเข็ม4ไปเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมฉีดวัคซีนกันค่ะ
..