ทำไมประเด็นประชากรญี่ปุ่นที่เกิดน้อยลงถึงเป็นที่สนใจในระดับโลก

อยากทราบว่า ทำไมประเด็นประชากรญี่ปุ่นที่เกิดน้อยลงถึงเป็นที่สนใจ (และเป็นที่วิตกกังวล) ในระดับโลก สังเกตจากที่มีสื่อจากหลายๆประเทศทำสารคดีเกี่ยวกับประเด็นนี้ออกมาจำนวนมาก ในแวดวงวิชาการก็มีหลายบทความที่ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นนี้ จริงอยู่ที่อัตราการเกิดของญี่ปุ่นนั้นลดต่ำลงมาก และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็ค่อนข้างเร็วมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทว่าประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วหลายประเทศในซีกโลกตะวันตก หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนกับเกาหลีใต้ก็มีประเด็นนี้คล้ายๆกัน (ไปเจอวิดีโอด้านล่างมาเลยนำมาแบ่งปันกัน จะเห็นได้ว่าชาติเอเชียตะวันออกนั้นอยู่ลำดับบนๆของประเทศที่มีอัตราการเกิดค่อนข้างน้อยทุกประเทศเลย ที่จริงแม้แต่ไทยเองก็เริ่มมา Trend นี้แม้เศรษฐกิจอาจจะยังไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ) แล้วทำไมประเด็นประชากรของญี่ปุ่นถึงเป็นที่สนใจมากกว่าของประเทศอื่นๆ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
อยากทราบอีกว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มีอัตราการเกิดที่น้อยลงครับ (กรณีจีนนี่เข้าใจได้ว่ามาจากนโยบายลูกคนเดียว แม้ว่าปัจจุบันจะแก้กฎหมายอนุญาตให้มีลูกได้มากขึ้นแล้วก็ตาม ทว่าหลายฝ่ายก็คาดว่าอาจเพิ่มประชากรได้ไม่มากนัก) นอกจากเรื่องเศรษฐกิจแล้ว มีประเด็นเรื่องวัฒนธรรมหรืออื่นๆมาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ และจากลักษณะประชากรแบบนี้ ญี่ปุ่นจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างไร ถ้าเป็นอย่างชาติตะวันตกหรือสิงคโปร์นั้นนอกจากจะจูงใจให้มีลูกเพิ่มแล้วก็มีการพึ่งพิงแรงงานจากแรงงานอพยพ กรณีจีนพยายามให้มีลูกมากขึ้น ในส่วนของเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นนี่ไม่แน่ใจว่าเขาแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าจำไม่ผิดเหมือนการเปิดโอกาสให้ผู้อพยพก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
การบังคับสร้างทรัพยากรมนุษย์ด้วยการมีประชากรมากนั่นแหละครับตัวผลักดัน   ยิ่งประชากรเยอะคนก็ต้องแย่งกันกินแย่งกันใช้และแข่งขันกันตลอด   พอแข่งขันกันในทุกอย่างก็คือการบีบให้คนต้องพัฒนาตนเองขึ้นไปเรื่อยๆ   ยิ่งอยากได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็ต้องพยายามทำงานและแข่งขันกันให้มากขึ้นเรื่อยๆ   จนที่สุดก็ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นมา

แต่คนเราไม่ได้ขยันกันขนาดนั้น   เมื่อต้องแข่งขันกันมากๆเข้ามันก็เหนื่อยและรู้สึกไม่พึงพอใจกับชีวิตแบบนี้   สุดท้ายก็หยุดเสียไปคิดจะไปในจุดที่สูงกว่ายึดเสียว่าแค่ที่มีอยู่ก็พอแล้วไม่ต้องดิ้นรนทรมานตัวเองไปมากกว่านี้   มีลูกต้องดิ้นรนทำงานหาเงินเพิ่มเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็มีลูกน้อยๆรึไม่มีลูกเสียเลย   เลือกอยู่กันแบบพอไหวไม่ต้องประสบความสำเร็จมากมายสบายกว่า   พอประชากรลดลงการแข่งขันต่างๆก็ลดลงโดยปริยายเพราะทรัพยากรต่างๆเพียงพอกับประชากร   

สุดท้ายมันเลยกลายเป็นว่าเป็นความคิดที่ผิดพลาดเพราะประเทศชาติไม่ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่เก่งๆมากเท่าที่หวัง   แถมประชากรยังลดลงอีกต่างหากทำให้ประเทศไม่โตอย่างที่ต้องการ
ความคิดเห็นที่ 19
ไทยก็กำลังเดินตามหลังรอยเท้าของเขาอยู่นะ
สิงคโปร์ → ญี่ปุ่น →ไทย

คห.ข้างบนบอกเล่ากันมาเยอะ ขอเล่าส่วนที่ไม่ได้พูดถึง

ทั้งนี้ทั้งนั้นมาจาก
อุบายนายทุนที่รัฐบาลสมัยนาย Junichiro Koizumi นำมาใช้ ช่วง 2000

ช่วงนั้นนายทุนญี่ปุ่นตั้งใจเปลี่ยนไปใช้แรงงาน"จร"
เพื่อกดค่าจ้าง และจ่ายค่าสวัสดิการให้ต่ำลง
หวังจะลดต้นทุนการค้า เพื่อการอยู่รอดในตลาดโลก
(ช่วงนั้นจีนกำลังจะมาแรง)

แต่ผลคือพ่ายแพ้ไม่มีดี และทิ้งบาดแผลลึกเกินเยียวยาไว้ให้สังคมญี่ปุ่น

จากนั้นมา20กว่าปี คุณภาพและวัฒนธรรมดั้งเดิมระหว่างลูกจ้างกับนานจ้าง
เปรียบเสมือนครอบครัวของญี่ปุ่นพังไม่เหลือทราก

แรงงานมีค่าเหลือแค่ "ใช้แล้วทิ้ง"  เหมือนถ้วยกาแฟสตาร์บัค
บรรยากาศในตลาดแรงงานไม่มีพัฒนา ไม่มีก้าวหน้า  ไม่มี "เราคิดไปด้วยกัน"  

พลเมืองชายขาดความมั่นใจที่จะสร้างครอบครัว เพราะขาดรายได้ที่มั่นคง
40 เปอร์เซ็นต์ของพลเมืองชายโสด หรือถึงจะแต่งงานก็เลือกที่จะไม่มีลูก

**** นโยบายของคนนี้เลยแหละ ตัวสำคัญเลย
ในสมัยนั้น เขาออกโรงเอง ออกทีวีเองทุกวีทุกวัน
โฆษณาชวนเชื่อให้พลเมืองญี่ปุ่นเลิกหางานทำประจำไปเลือกทำงาน"จร"
ไปเป็นแรงงานพาร์ไทม์
ทำสัญญาปีต่อปี   อย่างดีก็สองปี
บอกว่ามันเป็นอาชีพอิสระสำหรับคนรุ่นใหม่
เป็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แต่ไม่ได้พูดถึงข้อเสีย  

https://en.wikipedia.org/wiki/Heiz%C5%8D_Takenaka
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่