หากพูดถึงการดีท็อกซ์แล้วสำหรับคนทั่วไปคือการล้างสารพิษออกจากลำไส้ หรือท้องของเรานั่นเอง ซึ่งจะทำให้ลำไส้ของเราสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น โดยการดีท็อกซ์ขณะตั้งครรภ์นิยมทำกันในช่วงไตรมาสที่ 1 เพื่อล้างสารเสพติดทั้งหมดในระบบร่างกายของคุณแม่ที่มีผลต่อระบบประสาท และแอลกอฮอล์จากได้รับจากการเสพติดออกจากลำไส้ และในกระแสเลือด ซึ่งการ ดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ นั้นควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากการถอนสารพิษออกจากร่างกายด้วยการดีท็อกซ์นั้นอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
7 ประเภทอาหาร ดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ที่ต้องการดีท็อกซ์สารพิษออกจากร่างกายนั้นการที่เลือกทานอาหารเพื่อดีท็อกซ์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากเราทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไปก็อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ทางเราจึงได้รวบรวม 7 สูตรอาหารดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มาให้คุณแม่แล้ว จะได้ทั้งการดีท็อกซ์ และบำรุงทารกในครรภ์ไปในตัวได้เลย
1. เลือกทานข้าวที่ไม่ขัดสี ธัญพืช หรือขนมปังโฮลวีท
ธัญพืชนั้นอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคได้ ถึงแม้ว่าธัญพืชจะจัดอยู่ในประเภทของคาร์โบไฮเดรตก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการ แต่ต้องระวังอย่าเลือกทานในจำนวนที่มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้คุณแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้กากใยอาหารจำนวนที่ได้รับจากการทานธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีมานั้นจะช่วยป้องกันอาการท้องผู้ขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ได้อีกด้วย
2. เลือกทานผัก ผลไม้ที่เป็นออแกนิก
อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า ผักและผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หากคุณแม่สามารถเลือกทานผักและผลไม้ที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมี หรือยาฆ่าแมลงก็ยิ่งทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ เนื่องจากในผักและผลไม้นั้นมีแร่ธาตุ ไฟเบอร์ และวิตามินสูง โดยในผักและผลไม้แต่ละสีมีประโยชน์ต่างกันไป
3. จำกัดอาหารที่มีเกลือสูง
การบริโภคเกลือ หรือโซเดียมจำนวนมาก จะส่งผลทำให้ร่างกายของคุณแม่นั้นกักเก็บน้ำไว้เป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการบวม และหากมีโซเดียมในร่างกายสูง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์อย่างความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งอาหารที่มักมีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง และอาหารกระป๋อง เป็นต้น ในที่นี้หมายรวมถึงการทานธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่ได้ทำการแปรรูปแล้วด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักมีส่วนผสมที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่เท่าไหร่ ทั้งไขมัน น้ำตาล เกลือ อีกทั้งยังมีสารอาหารในปริมาณที่น้อย แต่มีแคลอรีที่มากอีกด้วย
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยสารเคมี หรือมีสารปรุงแต่ง
ถึงแม้ว่าจะมีรายงานว่าสารปรุงแต่งอาหารที่เป็นสารเคมีส่วนใหญ่ อาทิ สีผสมอาหาร หรือน้ำตาลเทียม จะปลอดภัยสำหรับทารกที่อยู่ในครรภ์ แต่ถ้ามีโอกาส หรือมีตัวเลือกที่ดีกว่าก็อยากให้คุณแม่เลือกไปทานในส่วนที่ปลอดภัยกว่า เพราะช่วยในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ หรือมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีข้อถกเถียงกันในเรื่องของสารให้ความหวานที่มีการปรุงแต่งขึ้น โดยคณะกรรมการอาการและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา และผู้เชี่ยวชาญบางท่านไม่แนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทานน้ำตาลเทียม เนื่องจากเชื่อว่าไม่ปลอดภัยสำหรับทารกในครรภ์ ที่มีการส่งสารอาหารผ่านรกจากคุณแม่ไปหาทารก โดยอาจทำให้เกิดปัญหาในกระเพาะอาหาร หรือเกิดการปวดหัวไมเกรน หรือการนอนไม่หลับ
5. เลือกทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ฉีดสารเร่งโต
คุณแม่ที่อยู่ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์นั้นสิ่งที่จะเป็นต่อร่างกายอย่างมากคือ โปรตีน ซึ่งปกติแล้วคุณแม่จะได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งการที่สัตว์ต่าง ๆ ได้รับสารเร่งโต หรือการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นกล้ามเนื้อนั้นส่งผลทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมีภายในร่างกายของคุณแม่ ดังนั้นหากคุณแม่เป็นห่วงเรื่องของสารตกค้าง และร่างกายต้องการโปรตีนนั้นสามารถเลือกทานพืชที่ให้โปรตีนสูงอย่าง โปรตีนจากถั่ว หรือควินัวได้
6. ปลาไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป
ปลานั้นอุดมไปด้วยไขมันดี และมีโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการบำรุงหัวใจของทั้งคุณแม่ และทารกในครรภ์ รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และพัฒนาการของทารกได้อีกด้วย แต่ในปลาบางชนิดอาจมีการปนเปื้อนของสารปรอทที่พบในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นพิษต่อร่างกายอย่าง โพลีคลอริเนตเต็ดไบฟีนิล (Polychlorinated Biphenyls: PCBs) และยาฆ่าแมลงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายของสมอง และระบบประสาท ไปจนถึงมะเร็ง ปลาที่น่าจะปลอดภัยสำหรับคุณแม่คือปลาที่ถูกมาในฟาร์มอย่างปลาดุก หรือปลาแซลมอน หรือคุณแม่คนไหนที่ไม่ทานปลา ก็สามารถหาโอเมก้า 3 ได้จากวอลนัท หรือเมล็ดแฟลกซ์
7. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
Institute of Medicine of the National Academies ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไว้ว่า คุณแม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 3 ลิตร โดยการดื่มนั้นจะช่วยลดอาการขาดน้ำ และช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการทานน้ำนั้นคุณแม่สามารถเลือกทานน้ำผลไม้ปั่นที่มีโฟลิกสูงได้อย่างกล้วย อะโวคาโด และแคนตาลูป ที่ช่วยในเรื่องของการสร้าง และแบ่งเซลล์ในตัวอ่อนให้สมบูรณ์แข็งแรงใน 28 วันแรกของการตั้งครรภ์ และป้องกันความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับทารก หรือเรื่องของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defec : NTDs) แต่อย่าใส่น้ำตาลมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ทางที่ดีที่สุดคือการทานน้ำเปล่า
การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งที่ดี นอกจากจะช่วยเรื่องของการเสริมสร้างสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และยังมีส่วนช่วยในเรื่องการดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย โดยการดีท็อกซ์นั้นช่วยล้างสารพิษในลำไส้ ทำให้สามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อลูกน้อยในครรภ์ในการพัฒนาการเจริญเติบโต
https://th.theasianparent.com/detox-food-for-pregnancy
7 ประเภทอาหาร ดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ล้างสารพิษในลำไส้
สำหรับคุณแม่ที่ต้องการดีท็อกซ์สารพิษออกจากร่างกายนั้นการที่เลือกทานอาหารเพื่อดีท็อกซ์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากเราทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไปก็อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ทางเราจึงได้รวบรวม 7 สูตรอาหารดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มาให้คุณแม่แล้ว จะได้ทั้งการดีท็อกซ์ และบำรุงทารกในครรภ์ไปในตัวได้เลย
1. เลือกทานข้าวที่ไม่ขัดสี ธัญพืช หรือขนมปังโฮลวีท
ธัญพืชนั้นอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคได้ ถึงแม้ว่าธัญพืชจะจัดอยู่ในประเภทของคาร์โบไฮเดรตก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการ แต่ต้องระวังอย่าเลือกทานในจำนวนที่มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้คุณแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้กากใยอาหารจำนวนที่ได้รับจากการทานธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีมานั้นจะช่วยป้องกันอาการท้องผู้ขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ได้อีกด้วย
2. เลือกทานผัก ผลไม้ที่เป็นออแกนิก
อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า ผักและผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หากคุณแม่สามารถเลือกทานผักและผลไม้ที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมี หรือยาฆ่าแมลงก็ยิ่งทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ เนื่องจากในผักและผลไม้นั้นมีแร่ธาตุ ไฟเบอร์ และวิตามินสูง โดยในผักและผลไม้แต่ละสีมีประโยชน์ต่างกันไป
3. จำกัดอาหารที่มีเกลือสูง
การบริโภคเกลือ หรือโซเดียมจำนวนมาก จะส่งผลทำให้ร่างกายของคุณแม่นั้นกักเก็บน้ำไว้เป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการบวม และหากมีโซเดียมในร่างกายสูง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์อย่างความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งอาหารที่มักมีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง และอาหารกระป๋อง เป็นต้น ในที่นี้หมายรวมถึงการทานธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่ได้ทำการแปรรูปแล้วด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักมีส่วนผสมที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่เท่าไหร่ ทั้งไขมัน น้ำตาล เกลือ อีกทั้งยังมีสารอาหารในปริมาณที่น้อย แต่มีแคลอรีที่มากอีกด้วย
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยสารเคมี หรือมีสารปรุงแต่ง
ถึงแม้ว่าจะมีรายงานว่าสารปรุงแต่งอาหารที่เป็นสารเคมีส่วนใหญ่ อาทิ สีผสมอาหาร หรือน้ำตาลเทียม จะปลอดภัยสำหรับทารกที่อยู่ในครรภ์ แต่ถ้ามีโอกาส หรือมีตัวเลือกที่ดีกว่าก็อยากให้คุณแม่เลือกไปทานในส่วนที่ปลอดภัยกว่า เพราะช่วยในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ หรือมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีข้อถกเถียงกันในเรื่องของสารให้ความหวานที่มีการปรุงแต่งขึ้น โดยคณะกรรมการอาการและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา และผู้เชี่ยวชาญบางท่านไม่แนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทานน้ำตาลเทียม เนื่องจากเชื่อว่าไม่ปลอดภัยสำหรับทารกในครรภ์ ที่มีการส่งสารอาหารผ่านรกจากคุณแม่ไปหาทารก โดยอาจทำให้เกิดปัญหาในกระเพาะอาหาร หรือเกิดการปวดหัวไมเกรน หรือการนอนไม่หลับ
5. เลือกทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ฉีดสารเร่งโต
คุณแม่ที่อยู่ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์นั้นสิ่งที่จะเป็นต่อร่างกายอย่างมากคือ โปรตีน ซึ่งปกติแล้วคุณแม่จะได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งการที่สัตว์ต่าง ๆ ได้รับสารเร่งโต หรือการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นกล้ามเนื้อนั้นส่งผลทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมีภายในร่างกายของคุณแม่ ดังนั้นหากคุณแม่เป็นห่วงเรื่องของสารตกค้าง และร่างกายต้องการโปรตีนนั้นสามารถเลือกทานพืชที่ให้โปรตีนสูงอย่าง โปรตีนจากถั่ว หรือควินัวได้
6. ปลาไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป
ปลานั้นอุดมไปด้วยไขมันดี และมีโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการบำรุงหัวใจของทั้งคุณแม่ และทารกในครรภ์ รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และพัฒนาการของทารกได้อีกด้วย แต่ในปลาบางชนิดอาจมีการปนเปื้อนของสารปรอทที่พบในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นพิษต่อร่างกายอย่าง โพลีคลอริเนตเต็ดไบฟีนิล (Polychlorinated Biphenyls: PCBs) และยาฆ่าแมลงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายของสมอง และระบบประสาท ไปจนถึงมะเร็ง ปลาที่น่าจะปลอดภัยสำหรับคุณแม่คือปลาที่ถูกมาในฟาร์มอย่างปลาดุก หรือปลาแซลมอน หรือคุณแม่คนไหนที่ไม่ทานปลา ก็สามารถหาโอเมก้า 3 ได้จากวอลนัท หรือเมล็ดแฟลกซ์
7. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
Institute of Medicine of the National Academies ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไว้ว่า คุณแม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 3 ลิตร โดยการดื่มนั้นจะช่วยลดอาการขาดน้ำ และช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการทานน้ำนั้นคุณแม่สามารถเลือกทานน้ำผลไม้ปั่นที่มีโฟลิกสูงได้อย่างกล้วย อะโวคาโด และแคนตาลูป ที่ช่วยในเรื่องของการสร้าง และแบ่งเซลล์ในตัวอ่อนให้สมบูรณ์แข็งแรงใน 28 วันแรกของการตั้งครรภ์ และป้องกันความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับทารก หรือเรื่องของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defec : NTDs) แต่อย่าใส่น้ำตาลมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ทางที่ดีที่สุดคือการทานน้ำเปล่า
การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งที่ดี นอกจากจะช่วยเรื่องของการเสริมสร้างสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และยังมีส่วนช่วยในเรื่องการดีท็อกซ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย โดยการดีท็อกซ์นั้นช่วยล้างสารพิษในลำไส้ ทำให้สามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อลูกน้อยในครรภ์ในการพัฒนาการเจริญเติบโต
https://th.theasianparent.com/detox-food-for-pregnancy