ไบโอติน เป็นวิตามินบีที่มีประโยชน์ต่อคนท้อง หลาย ๆ คนอาจคุ้นเคยกับชื่อนี้ โดยอาจจะเคยได้ยินผ่านโฆษณาแชมพูมาก่อน แม้ว่าคุณแม่จะรับประทานวิตามินชนิดอื่นอยู่แล้ว แต่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องรับประทานไบโอตินอยู่ดี เพื่อช่วยเสริมสร้างการดูดซึมและการทำงานของวิตามินชนิดอื่น ไบโอติน คืออะไร ทำไมถึงมีอยู่ในแชมพูสระผม ดีต่อคนท้องยังไง ติดตามอ่านได้จากบทความนี้
ไบโอตินคืออะไร
ไบโอติน (Biotin) หรือ วิตามินบี 7 เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ที่ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายเหมือนวิตามินบีชนิดอื่น ๆ ละลายได้ในน้ำ มีส่วนช่วยให้เส้นผม เล็บ และผิวหนังมีสุขภาพดี ดังนั้น ไบโอตินจึงมีอยู่ในแชมพูหลาย ๆ ยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม เราสามารถทานไบโอตินได้จากอาหารหลาย ๆ ชนิด เพื่อบำรุงสุขภาพ ซึ่งปริมาณไบโอตินที่คนท้องควรรับประทานต่อวันนั้น คือ 0.025 – 0.03 กรัม
ไบโอติน คนท้องกินแล้วมีประโยชน์อย่างไร
วิตามินบีชนิดนี้ ช่วยคนท้องบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคเกี่ยวกับศีรษะและเส้นผม บำรุงหนังศีรษะและเล็บ ลดอาการผิวหนังอักเสบ ช่วยให้ผมหงอกขึ้นช้า เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก ช่วยให้ตับทำงานได้ดี ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยร่างกายเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต
ไบโอตินหาทานได้จากไหน
ไบโอตินหาทานได้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ ดังต่อไปนี้
- ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ ว่ากันว่าไข่แดง อุดมไปด้วยไบโอติน รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมอื่น ๆ เช่น นม ชีส โยเกิร์ต เป็นต้น ก็ยังมีไบโอตินในปริมาณที่สูงอีกด้วย ซึ่งก็หาทานได้ไม่ยาก เพราะปกติ คุณแม่หลาย ๆ คน ก็กินนมเพื่อบำรุงครรภ์ทุกวันอยู่แล้ว
- ถั่วและธัญพืช ถั่วและธัญพืชไม่ขัดสีอย่างถั่วพีแคน วอลนัท ถั่วลิสง อัลมอนด์ ถั่วดำ และถั่วเหลือง เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไบโอติน หากคุณแม่อยากทาน ก็หาซื้อได้ตามห้างและร้านสะดวกซื้อ
- เนื้อปลา เนื้อปลาซาร์ดีนและเนื้อปลาแซลมอน เป็นอาหารอีกประเภท ที่อุดมไปด้วยไบโอติน แถมยังมีไบโอตินอยู่ค่อนข้างสูงด้วย
- ผักและผลไม้ ผักและผลไม้สดหลาย ๆ ชนิด ให้สารอาหารเยอะ มีวิตามินหลายชนิดปะปนอยู่ ซึ่งผักและผลไม้ที่มีไบโอตินก็ได้แก่ อะโวคาโด ราสเบอร์รี่ เห็ด กะหล่ำดอก แครอท แตงกวา และหัวหอม
หากร่างกายคนท้องขาดไบโอติน จะเกิดอะไรขึ้น
หากคุณแม่รับประทานไบโอตินน้อย หรือแทบจะไม่รับประทานเลย อาจทำให้ร่างกายขาดไบโอติน และมีอาการดังต่อไปนี้
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนัง
- มีสุขภาพเส้นผม ผิวหนัง และเล็บที่ไม่ดี
- เป็นโรคเบาหวาน
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ
- เบื่ออาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- นอนไม่หลับ
- มีอาการซึมเศร้า
- เด็กที่เกิดมาอาจพิการแต่กำเนิด เช่น เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ หรือมีกระดูกผิดรูป เป็นต้น
ข้อควรระวังและข้อแนะนำในการรับประทานไบโอติน
- การทานไข่ขาวดิบ แอลกอฮอล์ ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และยาในกลุ่มซัลฟามากเกินไป อาจทำให้ร่างกายดูดซึมไบโอตินได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ควรทานไบโอตินคู่กับวิตามินชนิดอื่น เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 เป็นต้น เพราะวิตามินเหล่านี้ ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยดูดซึมสารอาหารในร่างกาย
- หากท้องอยู่แล้วอยากทานอาหารเสริมไบโอติน ให้เข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อนทุกครั้ง ห้ามซื้อมากินเองก่อนเด็ดขาด
- ในช่วงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ไบโอตินในร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่จึงควรทานไบโอตินตามปริมาณที่แนะนำไปข้างต้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้น ร่างกายอาจขาดไบโอตินได้
- การทานไบโอติน 0.3 กรัมเป็นเวลา 3 เดือน ช่วยฟื้นฟูสุขภาพเล็บได้
- หากรับประทานไบโอตินมากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงเเท้งลูก
หากคุณแม่สังเกตว่าตัวเองมีอาการขาดไบโอติน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย หากร่างกายขาดวิตามินจริง ๆ คุณหมออาจให้อาหารเสริมหรือให้คำแนะนำเพิ่มเติม หรือถ้าหากเป็นโรคอื่นนอกเหนือจากนี้ ก็จะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยและตัวเราเองนะคะ
https://th.theasianparent.com/biotin-in-pregnancy
คุณแม่ท้องรู้หรือไม่ ? ไบโอติน ไม่ได้บำรุงเส้นผมแค่เพียงอย่างเดียว
ไบโอตินคืออะไร
ไบโอติน (Biotin) หรือ วิตามินบี 7 เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ที่ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายเหมือนวิตามินบีชนิดอื่น ๆ ละลายได้ในน้ำ มีส่วนช่วยให้เส้นผม เล็บ และผิวหนังมีสุขภาพดี ดังนั้น ไบโอตินจึงมีอยู่ในแชมพูหลาย ๆ ยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม เราสามารถทานไบโอตินได้จากอาหารหลาย ๆ ชนิด เพื่อบำรุงสุขภาพ ซึ่งปริมาณไบโอตินที่คนท้องควรรับประทานต่อวันนั้น คือ 0.025 – 0.03 กรัม
ไบโอติน คนท้องกินแล้วมีประโยชน์อย่างไร
วิตามินบีชนิดนี้ ช่วยคนท้องบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคเกี่ยวกับศีรษะและเส้นผม บำรุงหนังศีรษะและเล็บ ลดอาการผิวหนังอักเสบ ช่วยให้ผมหงอกขึ้นช้า เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก ช่วยให้ตับทำงานได้ดี ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยร่างกายเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต
ไบโอตินหาทานได้จากไหน
ไบโอตินหาทานได้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ ดังต่อไปนี้
- ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ ว่ากันว่าไข่แดง อุดมไปด้วยไบโอติน รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมอื่น ๆ เช่น นม ชีส โยเกิร์ต เป็นต้น ก็ยังมีไบโอตินในปริมาณที่สูงอีกด้วย ซึ่งก็หาทานได้ไม่ยาก เพราะปกติ คุณแม่หลาย ๆ คน ก็กินนมเพื่อบำรุงครรภ์ทุกวันอยู่แล้ว
- ถั่วและธัญพืช ถั่วและธัญพืชไม่ขัดสีอย่างถั่วพีแคน วอลนัท ถั่วลิสง อัลมอนด์ ถั่วดำ และถั่วเหลือง เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไบโอติน หากคุณแม่อยากทาน ก็หาซื้อได้ตามห้างและร้านสะดวกซื้อ
- เนื้อปลา เนื้อปลาซาร์ดีนและเนื้อปลาแซลมอน เป็นอาหารอีกประเภท ที่อุดมไปด้วยไบโอติน แถมยังมีไบโอตินอยู่ค่อนข้างสูงด้วย
- ผักและผลไม้ ผักและผลไม้สดหลาย ๆ ชนิด ให้สารอาหารเยอะ มีวิตามินหลายชนิดปะปนอยู่ ซึ่งผักและผลไม้ที่มีไบโอตินก็ได้แก่ อะโวคาโด ราสเบอร์รี่ เห็ด กะหล่ำดอก แครอท แตงกวา และหัวหอม
หากร่างกายคนท้องขาดไบโอติน จะเกิดอะไรขึ้น
หากคุณแม่รับประทานไบโอตินน้อย หรือแทบจะไม่รับประทานเลย อาจทำให้ร่างกายขาดไบโอติน และมีอาการดังต่อไปนี้
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนัง
- มีสุขภาพเส้นผม ผิวหนัง และเล็บที่ไม่ดี
- เป็นโรคเบาหวาน
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ
- เบื่ออาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- นอนไม่หลับ
- มีอาการซึมเศร้า
- เด็กที่เกิดมาอาจพิการแต่กำเนิด เช่น เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ หรือมีกระดูกผิดรูป เป็นต้น
ข้อควรระวังและข้อแนะนำในการรับประทานไบโอติน
- การทานไข่ขาวดิบ แอลกอฮอล์ ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และยาในกลุ่มซัลฟามากเกินไป อาจทำให้ร่างกายดูดซึมไบโอตินได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ควรทานไบโอตินคู่กับวิตามินชนิดอื่น เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 เป็นต้น เพราะวิตามินเหล่านี้ ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยดูดซึมสารอาหารในร่างกาย
- หากท้องอยู่แล้วอยากทานอาหารเสริมไบโอติน ให้เข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อนทุกครั้ง ห้ามซื้อมากินเองก่อนเด็ดขาด
- ในช่วงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ไบโอตินในร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่จึงควรทานไบโอตินตามปริมาณที่แนะนำไปข้างต้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้น ร่างกายอาจขาดไบโอตินได้
- การทานไบโอติน 0.3 กรัมเป็นเวลา 3 เดือน ช่วยฟื้นฟูสุขภาพเล็บได้
- หากรับประทานไบโอตินมากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงเเท้งลูก
หากคุณแม่สังเกตว่าตัวเองมีอาการขาดไบโอติน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย หากร่างกายขาดวิตามินจริง ๆ คุณหมออาจให้อาหารเสริมหรือให้คำแนะนำเพิ่มเติม หรือถ้าหากเป็นโรคอื่นนอกเหนือจากนี้ ก็จะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยและตัวเราเองนะคะ
https://th.theasianparent.com/biotin-in-pregnancy