ยี่ห้อ “เบรานิงก์” มาจากชื่อของนักออกแบบปืนอัจฉริยะ John Moses Browning (1855–1926) ที่มีผลงานมากมาย ทั้งปืนพก, ปืนยาวลูกซอง ไปจนถึงปืนกลหนัก ในช่วงที่ทำงานให้บริษัทโคลท์ได้ออกแบบทหาร M1911 ที่เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐต่อเนื่องถึง 75 ปี ต่อมาตั้งบริษัทใช้ชื่อ Browning ของตนเอง มีโรงงาน FN (Fabrique Nationale) ของเบลเยียมเป็นแหล่งผลิต ผลงานชิ้นสุดท้ายที่ออกแบบไว้ก่อนถึงแก่กรรม คือ เบรานิงก์ ไฮเพาเวอร์ (Browning Hi-Power) ต้นตระกูลปืนพก “เก้าลูกดก” ใช้ซองกระสุนสองแถว ทั้งปืน 1911 และ ไฮเพาเวอร์ ยังผลิตอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยระบบไกเป็นแบบดั้งเดิม คือซิงเกิลแอ็คชั่นทุกนัด นกปืนต้องง้างสุดไกจึงจะทำงานให้ยิงได้
ไกแบบดับเบิล/ซิงเกิล คือสามารถเหนี่ยวไกยิงปืนจากสภาพลดนกได้ หลังจากนั้นปืนคัดปลอกบรรจุกระสุนง้างนกพร้อมให้ยิงต่อไปแบบซิงเกิลไกเบาลง เริ่มมีใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ทางยุโรปคือปืน วอลเธอร์ P-38 ส่วนทางอเมริกาคือ สมิธฯ M39 แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากไกระบบดับเบิลไม่เรียบลื่นเหมือนไกของปืนลูกโม่ จนถึงประมาณปี 1975 มีปืนที่ออกพร้อม ๆ กันสามยี่ห้อ คือ ซีแซด 75, เบเร็ตต้า 92 และ ซิก-ซาวเออร์ P220 ที่พัฒนาระบบไก ดับเบิล/ซิงเกิล ถึงระดับที่ตลาดเริ่มยอมรับได้
สำหรับ เบรานิงก์ BDM นายแบบสัปดาห์นี้ เป็นผลงานของเบรานิงก์ในสหรัฐ ไม่ได้ผลิตจากโรงงานเบลเยียม เริ่มผลิตในปี 1991 อาจกล่าวได้ว่าช้าไปสักหน่อย เพราะเป็นช่วงที่ปืนกล็อก โครงโพลิเมอร์ จุดระเบิดด้วยเข็มพุ่ง กำลังมาแรง แซงปืนระบบนกสับ ดับเบิล/ซิงเกิล ขึ้นถึงระดับยอดนิยมอย่างรวดเร็ว เบรานิงก์ออกแบบปืน BDM เพื่อเสนอขายให้ตำรวจสอบสวนกลางหรือ FBI แต่ไม่ได้รับเลือกจึงขายเพียงในตลาดเอกชน แม้ว่าตัวปืนจะมีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และประวัติการใช้งานดี แต่ยอดขายไม่มากพอจึงเลิกผลิตไปในปี 1998
ตัวย่อ BDM มาจาก Browning Double Mode ซึ่งเป็นจุดเด่นของปืนรุ่นนี้ คือสามารถเลือกการทำงานได้สองแบบโดยหมุนแป้นตัวเลือกที่ด้านซ้ายของลำเลื่อน โรงงานทำติ่งที่ฐานซองกระสุนเป็นไขควงมาให้พร้อม ตัวเลือก P (Pistol) เมื่อยิงแล้วปืนคัดปลอกป้อนกระสุนนกง้างค้าง ไกซิงเกิลหลุดคม, อักตัวเลือกหนึ่งคือ R (Revolver) นกไม่ง้างค้าง ยิงทุกนัดเป็นดับเบิล เหมือนที่เรียกว่า DAO (Double Action Only)
คันนิรภัยมีมาให้ทั้งซ้ายขวา ถ้าเลือก P เมื่อบรรจุกระสุน, ดึงลำเลื่อนขึ้นลำแล้ว กดคันนิรภัยลงเพื่อลดนกสำหรับพกพา เมื่อต้องการยิงพลิกคันนิรภัยขึ้น เหนี่ยวนัดแรกได้แบบดับเบิล ถ้าเลือก R ขึ้นลำแล้วนกลดเอง พลิกคันนิรภัยไว้ตำแหน่งบนสามารถยิงแบบดับเบิลได้ทันที และง้างนกยิงซิงเกิลได้ด้วยหากต้องการ ยิงนัดสุดท้ายแล้วลำเลื่อนเปิดค้าง เมื่อเปลี่ยนซองกระสุนแล้วกดคันนิรภัยลงจะทำงานปล่อยลำเลื่อนให้ด้วย
ไม่ว่าจะเลือก P หรือ R หากนกง้างอยู่ต้องการลดนกอย่าใช้วิธีกดนกเหนี่ยวไก ต้องใช้วิธีกดคันนิรภัยเท่านั้น นกปืนจะลดมาอยู่ในตำแหน่งง้างครึ่งทาง ส่งผลให้ไกดับเบิลของเบรานิงก์กระบอกนี้เบากว่าไกดับเบิลของปืนลูกโม่มาก และแม้จะเป็นปืนเหล็กล้วนแต่น้ำหนักเบากว่าปืนโครงอัลลอยด์เหมาะกับการพกพา ด้ามแบนบางจับถนัดดีมาก.
https://www.dailynews.co.th/article/377691/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 711 สองระบบเลือกได้ Browning BDM 9 mm.
ไกแบบดับเบิล/ซิงเกิล คือสามารถเหนี่ยวไกยิงปืนจากสภาพลดนกได้ หลังจากนั้นปืนคัดปลอกบรรจุกระสุนง้างนกพร้อมให้ยิงต่อไปแบบซิงเกิลไกเบาลง เริ่มมีใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ทางยุโรปคือปืน วอลเธอร์ P-38 ส่วนทางอเมริกาคือ สมิธฯ M39 แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากไกระบบดับเบิลไม่เรียบลื่นเหมือนไกของปืนลูกโม่ จนถึงประมาณปี 1975 มีปืนที่ออกพร้อม ๆ กันสามยี่ห้อ คือ ซีแซด 75, เบเร็ตต้า 92 และ ซิก-ซาวเออร์ P220 ที่พัฒนาระบบไก ดับเบิล/ซิงเกิล ถึงระดับที่ตลาดเริ่มยอมรับได้
สำหรับ เบรานิงก์ BDM นายแบบสัปดาห์นี้ เป็นผลงานของเบรานิงก์ในสหรัฐ ไม่ได้ผลิตจากโรงงานเบลเยียม เริ่มผลิตในปี 1991 อาจกล่าวได้ว่าช้าไปสักหน่อย เพราะเป็นช่วงที่ปืนกล็อก โครงโพลิเมอร์ จุดระเบิดด้วยเข็มพุ่ง กำลังมาแรง แซงปืนระบบนกสับ ดับเบิล/ซิงเกิล ขึ้นถึงระดับยอดนิยมอย่างรวดเร็ว เบรานิงก์ออกแบบปืน BDM เพื่อเสนอขายให้ตำรวจสอบสวนกลางหรือ FBI แต่ไม่ได้รับเลือกจึงขายเพียงในตลาดเอกชน แม้ว่าตัวปืนจะมีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และประวัติการใช้งานดี แต่ยอดขายไม่มากพอจึงเลิกผลิตไปในปี 1998
ตัวย่อ BDM มาจาก Browning Double Mode ซึ่งเป็นจุดเด่นของปืนรุ่นนี้ คือสามารถเลือกการทำงานได้สองแบบโดยหมุนแป้นตัวเลือกที่ด้านซ้ายของลำเลื่อน โรงงานทำติ่งที่ฐานซองกระสุนเป็นไขควงมาให้พร้อม ตัวเลือก P (Pistol) เมื่อยิงแล้วปืนคัดปลอกป้อนกระสุนนกง้างค้าง ไกซิงเกิลหลุดคม, อักตัวเลือกหนึ่งคือ R (Revolver) นกไม่ง้างค้าง ยิงทุกนัดเป็นดับเบิล เหมือนที่เรียกว่า DAO (Double Action Only)
คันนิรภัยมีมาให้ทั้งซ้ายขวา ถ้าเลือก P เมื่อบรรจุกระสุน, ดึงลำเลื่อนขึ้นลำแล้ว กดคันนิรภัยลงเพื่อลดนกสำหรับพกพา เมื่อต้องการยิงพลิกคันนิรภัยขึ้น เหนี่ยวนัดแรกได้แบบดับเบิล ถ้าเลือก R ขึ้นลำแล้วนกลดเอง พลิกคันนิรภัยไว้ตำแหน่งบนสามารถยิงแบบดับเบิลได้ทันที และง้างนกยิงซิงเกิลได้ด้วยหากต้องการ ยิงนัดสุดท้ายแล้วลำเลื่อนเปิดค้าง เมื่อเปลี่ยนซองกระสุนแล้วกดคันนิรภัยลงจะทำงานปล่อยลำเลื่อนให้ด้วย
ไม่ว่าจะเลือก P หรือ R หากนกง้างอยู่ต้องการลดนกอย่าใช้วิธีกดนกเหนี่ยวไก ต้องใช้วิธีกดคันนิรภัยเท่านั้น นกปืนจะลดมาอยู่ในตำแหน่งง้างครึ่งทาง ส่งผลให้ไกดับเบิลของเบรานิงก์กระบอกนี้เบากว่าไกดับเบิลของปืนลูกโม่มาก และแม้จะเป็นปืนเหล็กล้วนแต่น้ำหนักเบากว่าปืนโครงอัลลอยด์เหมาะกับการพกพา ด้ามแบนบางจับถนัดดีมาก.
https://www.dailynews.co.th/article/377691/
.................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช