ซีแซด 75 จากสาธารณรัฐเช็ก มีความพิเศษคือ เป็นปืนจากค่ายยุโรปตะวันออก เริ่มผลิตเมื่อ ค.ศ. 1975 ในยุคสงครามเย็นที่เช็ก และสโลวัค ยังรวมกันเป็นเช็กโกสโลวะเกีย แต่วิศวกรจงใจออกแบบให้ใช้กระสุน 9 มม. พาราฯ มาตรฐานนาโต้ นัยว่าเพื่อส่งขายสู่ตลาดโลก แต่เมื่อจดสิทธิบัตรในประเทศตนเอง ถูกจัดให้เป็นสินค้าที่เกี่ยวพันกับความมั่นคง ห้ามนำข้อมูลรายละเอียดออกไปจดทะเบียนนอกประเทศ ทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญานอกประเทศเช็ก
เมื่อส่งออกขายในตลาดโลก ซีแซด 75 ได้รับการยกย่องว่าเป็นปืนต่อสู้ขนาด 9 มม. ที่ดีที่สุดกระบอกหนึ่ง ประกอบกับการไม่มีสิทธิบัตรคุ้มครองดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตหลายรายนำไปเป็นต้นแบบ ที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น ทานโฟก ลิโอ ของอิตาลี, สฟิงซ์ ของสวิส และ เจริคโค/อูซี ของอิสราเอล เป็นต้น มีจุดขายที่เหมือนกันคือ วัสดุเหล็กล้วนเน้นความทนทาน, ลูกดกแต่ด้ามยังจับถนัดไม่หนาเกิน, ไกดีใช้ได้ทั้งแบบดับเบิลและซิงเกิล, ความแม่นยำสูง, แรงสะบัดไม่มากยิงซ้ำได้เร็ว และเป็นปืนไกดับเบิลแบบเดียวที่เมื่อนกง้างแล้วสามารถเข้าห้ามไกโดยปืนไม่ลดนก สามารถยิงนัดแรกแบบซิงเกิลได้เมื่อปลดห้ามไก ยกเว้นปืนจากอิสราเอลที่เปลี่ยนระบบห้ามไกให้เป็นแบบลดนกอัตโนมัติ บังคับยิงนัดแรกแบบดับเบิลเหมือนปืนเก้าลูกดกส่วนใหญ่
หลังรื้อกำแพงเบอร์ลินสิ้นสุดสงครามเย็น เยอรมนีรวมประเทศ เช็กโกแยกประเทศ ซีแซดตัวจริงบุกตลาด โลกอย่างได้ผล เฉพาะรุ่น 75 ทำยอดขายได้กว่าหนึ่งล้านกระบอก ปี ค.ศ. 1998 เปิดบริษัท CZ-USA ในสหรัฐ และซื้อกิจการ แดน เวสสัน ได้โรงงานผลิตอีกแห่งหนึ่ง
แบบดั้งเดิมของซีแซด 75 ใช้ลำกล้องยาว 4.75 นิ้ว ขนาดตัวเท่า ๆ เบรานิงก์ ไฮเพาเวอร์ ลักษณะเป็นปืนทหารพกซองนอก เมื่อปรับเป็น 75 Compact นายแบบสัปดาห์นี้ ลำกล้องสั้นลง เหลือ 3.8 นิ้ว ปลายลำเลื่อนสั้นเข้ามารับกัน เพิ่มแกนสปริงลำเลื่อนยาวตลอด โครงปืนส่วนด้ามสั้นลงเล็กน้อย ความจุกระสุนจาก 15+1 เหลือ 14+1 น้ำหนักตัวลดลง 200 กรัมพอดี จาก 1,120 เหลือ 920 กรัม คล่องตัวขึ้น พกพาสะดวกขึ้น โดยด้ามยังจับถนัดเต็มมือ และน้ำหนักตัวไม่เบาจนคุมรีคอยล์ยาก
ในส่วนของกลไกการทำงาน ยังเหมือนรุ่นใหญ่ทุกประการ โครงปืนหุ้มลำเลื่อนเน้นความแม่นยำ ลำกล้องขัดกลอนกับลำเลื่อนด้วยสันขัดกลอนซ่อนอยู่หน้ารังเพลิง ลำกล้องกระดกเพื่อปลดกลอนตามหลักการของเบรานิงก์ ควบคุมจังหวะกระดกด้วยห่วงลูกเบี้ยว เป็นแบบของ เพตเตอร์ ที่ใช้อยู่ในปืน ซิก 210
ส่วนควบคุมการยิง ไกดับเบิล/ซิงเกิล คันห้ามไกบนโครงปืนด้านซ้าย ง้างนกสุดเข้าห้ามไกได้นกไม่ตก มีระบบล็อกเข็มป้องกันอุบัติเหตุ ปลดล็อกเมื่อเหนี่ยวไกเกือบสุด มีร่องรับนกตกที่ตำแหน่งห่างท้ายเข็มประมาณหนึ่งในสามของระยะง้างสุด ซึ่งนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิรภัยแล้ว ยังช่วย
ในการถอดปืนเพื่อทำความสะอาด คือเมื่อปลดซองกระสุน ดึงลำเลื่อนตรวจรังเพลิงแล้ว ลดนกมาตำแหน่งนี้ ดึงลำเลื่อนให้ส่วนท้ายชนนกสับ จะเป็นตำแหน่งถอดคันค้างลำเลื่อนได้พอดี ไม่จำเป็นต้องดูเส้นขีดที่ลำเลื่อนให้ตรงกับที่โครงปืน.
https://www.dailynews.co.th/article/285517
-------------------------------
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 537 9 มม. เหล็กล้วน CZ 75 Compact
เมื่อส่งออกขายในตลาดโลก ซีแซด 75 ได้รับการยกย่องว่าเป็นปืนต่อสู้ขนาด 9 มม. ที่ดีที่สุดกระบอกหนึ่ง ประกอบกับการไม่มีสิทธิบัตรคุ้มครองดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตหลายรายนำไปเป็นต้นแบบ ที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น ทานโฟก ลิโอ ของอิตาลี, สฟิงซ์ ของสวิส และ เจริคโค/อูซี ของอิสราเอล เป็นต้น มีจุดขายที่เหมือนกันคือ วัสดุเหล็กล้วนเน้นความทนทาน, ลูกดกแต่ด้ามยังจับถนัดไม่หนาเกิน, ไกดีใช้ได้ทั้งแบบดับเบิลและซิงเกิล, ความแม่นยำสูง, แรงสะบัดไม่มากยิงซ้ำได้เร็ว และเป็นปืนไกดับเบิลแบบเดียวที่เมื่อนกง้างแล้วสามารถเข้าห้ามไกโดยปืนไม่ลดนก สามารถยิงนัดแรกแบบซิงเกิลได้เมื่อปลดห้ามไก ยกเว้นปืนจากอิสราเอลที่เปลี่ยนระบบห้ามไกให้เป็นแบบลดนกอัตโนมัติ บังคับยิงนัดแรกแบบดับเบิลเหมือนปืนเก้าลูกดกส่วนใหญ่
หลังรื้อกำแพงเบอร์ลินสิ้นสุดสงครามเย็น เยอรมนีรวมประเทศ เช็กโกแยกประเทศ ซีแซดตัวจริงบุกตลาด โลกอย่างได้ผล เฉพาะรุ่น 75 ทำยอดขายได้กว่าหนึ่งล้านกระบอก ปี ค.ศ. 1998 เปิดบริษัท CZ-USA ในสหรัฐ และซื้อกิจการ แดน เวสสัน ได้โรงงานผลิตอีกแห่งหนึ่ง
แบบดั้งเดิมของซีแซด 75 ใช้ลำกล้องยาว 4.75 นิ้ว ขนาดตัวเท่า ๆ เบรานิงก์ ไฮเพาเวอร์ ลักษณะเป็นปืนทหารพกซองนอก เมื่อปรับเป็น 75 Compact นายแบบสัปดาห์นี้ ลำกล้องสั้นลง เหลือ 3.8 นิ้ว ปลายลำเลื่อนสั้นเข้ามารับกัน เพิ่มแกนสปริงลำเลื่อนยาวตลอด โครงปืนส่วนด้ามสั้นลงเล็กน้อย ความจุกระสุนจาก 15+1 เหลือ 14+1 น้ำหนักตัวลดลง 200 กรัมพอดี จาก 1,120 เหลือ 920 กรัม คล่องตัวขึ้น พกพาสะดวกขึ้น โดยด้ามยังจับถนัดเต็มมือ และน้ำหนักตัวไม่เบาจนคุมรีคอยล์ยาก
ในส่วนของกลไกการทำงาน ยังเหมือนรุ่นใหญ่ทุกประการ โครงปืนหุ้มลำเลื่อนเน้นความแม่นยำ ลำกล้องขัดกลอนกับลำเลื่อนด้วยสันขัดกลอนซ่อนอยู่หน้ารังเพลิง ลำกล้องกระดกเพื่อปลดกลอนตามหลักการของเบรานิงก์ ควบคุมจังหวะกระดกด้วยห่วงลูกเบี้ยว เป็นแบบของ เพตเตอร์ ที่ใช้อยู่ในปืน ซิก 210
ส่วนควบคุมการยิง ไกดับเบิล/ซิงเกิล คันห้ามไกบนโครงปืนด้านซ้าย ง้างนกสุดเข้าห้ามไกได้นกไม่ตก มีระบบล็อกเข็มป้องกันอุบัติเหตุ ปลดล็อกเมื่อเหนี่ยวไกเกือบสุด มีร่องรับนกตกที่ตำแหน่งห่างท้ายเข็มประมาณหนึ่งในสามของระยะง้างสุด ซึ่งนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิรภัยแล้ว ยังช่วย
ในการถอดปืนเพื่อทำความสะอาด คือเมื่อปลดซองกระสุน ดึงลำเลื่อนตรวจรังเพลิงแล้ว ลดนกมาตำแหน่งนี้ ดึงลำเลื่อนให้ส่วนท้ายชนนกสับ จะเป็นตำแหน่งถอดคันค้างลำเลื่อนได้พอดี ไม่จำเป็นต้องดูเส้นขีดที่ลำเลื่อนให้ตรงกับที่โครงปืน.
https://www.dailynews.co.th/article/285517
-------------------------------
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช