ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ "วอลเธอร์ พีพี .22 เอลอาร์" ขนาดตัวปืนกำลังพอเหมาะ ใช้พกซองนอกแบบมีฝาปิดได้ไม่เกะกะ
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ จัดเป็นปืนระดับตำนานกระบอกหนึ่ง คือเป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติแบบแรกที่ใช้ระบบไก ดับเบิล/ซิงเกิล ออกแบบโดยวิศวกรเยอรมันในสังกัดวอลเธอร์ (Carl Walther Waffenfabrik) เริ่มผลิตในปี ค.ศ. 1929 ใช้กระสุนขนาด 7.65 มม. Browning (.32 ACP) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรป เป็นปืนประจำตัวตำรวจของตำรวจเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ.1935 ผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงต้นทศวรรษ 1960 จึงมีการจัดหาปืนรุ่นใหม่ที่ใช้กระสุนแรงขึ้นในระดับ 9x19 มม. คือกระสุนมาตรฐานทหารของนาโต้
ตั้งแต่แรกเริ่ม วอลเธอร์ตั้งใจออก แบบปืนรุ่นนี้สำหรับงานตำรวจ ใช้ชื่อ PP ย่อจาก Polizeipistole (Police Pistol) ขนาดตัวปืนกำลังพอเหมาะ ใช้พกซองนอกแบบมีฝาปิดได้ไม่เกะกะ เป็นปืนเหล็กล้วน แต่น้ำหนักตัวไม่ถึง 700 กรัม เทียบกับปืนทหารอย่าง 1911 ประมาณ 1,000 กรัม และสองปีต่อมา ยังปรับให้สั้นลงทั้งด้ามและลำกล้อง คือรุ่น PPK (Polizeipistole Kriminale : Police Detective Pistol) และเพิ่มขนาดกระสุน 9 มม.สั้น (.380 ACP) สำหรับหน่วยงานที่ต้องการอานุภาพกระสุนที่สูงขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับจำนวนกระสุนที่ลดลง, แรงรีคอยล์สูงขึ้น, สปริงแข็งขึ้นทั้งตัวต้านลำเลื่อนและสปริงนกสับ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นความจำเป็นของกระสุนหน้าตัดใหญ่ขึ้นนี้ จึงนิยมขนาด 7.65 มม.ดั้งเดิมมากกว่า
โรงงานเดิมของวอลเธอร์ที่เมือง Zella-Mehlis ได้รับความเสียหายอย่างหนักระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสิ้นสงคราม ครอบครัววอลเธอร์ที่เหลือสมบัติติดตัวเพียงแบบปืนไม่กี่แบบ ย้ายมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ ตั้งโรงงานที่เมือง Ulm ในเยอรมันตะวันตก ทำพิมพ์ดีดขายไปพลางในช่วงที่เยอรมันยังไม่ได้รับอนุญาต ให้ทำปืน เป็นช่วงที่ มานูห์แรง (Manuhrin) ของฝรั่งเศส ทำปืน PP และ FEG ของฮังการี ทำปืน PPK ออกขายในตลาดโลก ปืน FEG สลักขนาดกระสุนว่า 7.65 mm. Browning และ 9 mm. Browning ตัวโตที่ข้างลำเลื่อน ทำให้บ้านเราเรียกปืนรุ่นนั้นว่า “เบรานิงก์ฮังการี”
โรงงานวอลเธอร์ที่เมือง Ulm เริ่มผลิตปืนอีกครั้งในปี ค.ศ.1958 ปืนที่ออกขายสลักแหล่งผลิตเป็น W.Germany คือเยอรมัน ตะวันตก จนสิ้นสุดสงครามเย็น เยอรมันรวมชาติไม่มี East, West จึงเลิกใส่อักษร W และในช่วงที่ PP กลับมาผลิตในเยอรมันนี้เอง ที่เพิ่มขนาดกระสุน .22 LR ให้ใช้ซ้อมยิง หรือเป็นปืนติดเป้เข้าป่า ใช้ล่าสัตว์เล็กทำนองยังชีพเมื่อจำเป็นได้
การทำงานของปืน PP เป็นระบบลำเลื่อนอัดสปริง ไม่ขัดกลอน (direct blow-back) เมื่อกระสุนลั่น หัวกระสุนเริ่มเคลื่อนไปด้านหน้า ตัวลำเลื่อนจะขยับถอยหลังทันที อาศัยน้ำหนักลำเลื่อนและสปริงต้านลำเลื่อนกับนกสับช่วยต้าน ในช่วงแรกท้ายลำเลื่อนยันส่วนล่างของนกสับใกล้จุดหมุนแรงต้านสูง จนเมื่อเคลื่อนถอยหลังมาช่วงหนึ่ง จุดที่ลำเลื่อนยันนกเคลื่อนห่างจุดหมุน แรงต้านลดลง หัวกระสุนพ้นลำกล้องไปแล้ว ลำเลื่อนถอยสุด นกง้าง สปริงลำเลื่อนดีดลำเลื่อนกลับพากระสุน นัดใหม่เข้ารังเพลิง จากการที่อาศัยนกสับช่วยต้านลำเลื่อนช่วงเริ่มถอยนี้ ทำให้ต้องใช้สปริงนกสับแข็งขึ้นสำหรับกระสุน 9 มม. ส่งผลให้ไกหนักขึ้นด้วย ปืน PP และ PPK ที่ใช้กระสุนขนาดนี้จึงยิงให้แม่นยำได้ยากกว่า 7.65 มม. และ .22
https://www.dailynews.co.th/article/631414/
..................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 879 ลูกกรดเยอรมันคลาสสิก วอลเธอร์ พีพี .22
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ จัดเป็นปืนระดับตำนานกระบอกหนึ่ง คือเป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติแบบแรกที่ใช้ระบบไก ดับเบิล/ซิงเกิล ออกแบบโดยวิศวกรเยอรมันในสังกัดวอลเธอร์ (Carl Walther Waffenfabrik) เริ่มผลิตในปี ค.ศ. 1929 ใช้กระสุนขนาด 7.65 มม. Browning (.32 ACP) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรป เป็นปืนประจำตัวตำรวจของตำรวจเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ.1935 ผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงต้นทศวรรษ 1960 จึงมีการจัดหาปืนรุ่นใหม่ที่ใช้กระสุนแรงขึ้นในระดับ 9x19 มม. คือกระสุนมาตรฐานทหารของนาโต้
ตั้งแต่แรกเริ่ม วอลเธอร์ตั้งใจออก แบบปืนรุ่นนี้สำหรับงานตำรวจ ใช้ชื่อ PP ย่อจาก Polizeipistole (Police Pistol) ขนาดตัวปืนกำลังพอเหมาะ ใช้พกซองนอกแบบมีฝาปิดได้ไม่เกะกะ เป็นปืนเหล็กล้วน แต่น้ำหนักตัวไม่ถึง 700 กรัม เทียบกับปืนทหารอย่าง 1911 ประมาณ 1,000 กรัม และสองปีต่อมา ยังปรับให้สั้นลงทั้งด้ามและลำกล้อง คือรุ่น PPK (Polizeipistole Kriminale : Police Detective Pistol) และเพิ่มขนาดกระสุน 9 มม.สั้น (.380 ACP) สำหรับหน่วยงานที่ต้องการอานุภาพกระสุนที่สูงขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับจำนวนกระสุนที่ลดลง, แรงรีคอยล์สูงขึ้น, สปริงแข็งขึ้นทั้งตัวต้านลำเลื่อนและสปริงนกสับ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นความจำเป็นของกระสุนหน้าตัดใหญ่ขึ้นนี้ จึงนิยมขนาด 7.65 มม.ดั้งเดิมมากกว่า
โรงงานเดิมของวอลเธอร์ที่เมือง Zella-Mehlis ได้รับความเสียหายอย่างหนักระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสิ้นสงคราม ครอบครัววอลเธอร์ที่เหลือสมบัติติดตัวเพียงแบบปืนไม่กี่แบบ ย้ายมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ ตั้งโรงงานที่เมือง Ulm ในเยอรมันตะวันตก ทำพิมพ์ดีดขายไปพลางในช่วงที่เยอรมันยังไม่ได้รับอนุญาต ให้ทำปืน เป็นช่วงที่ มานูห์แรง (Manuhrin) ของฝรั่งเศส ทำปืน PP และ FEG ของฮังการี ทำปืน PPK ออกขายในตลาดโลก ปืน FEG สลักขนาดกระสุนว่า 7.65 mm. Browning และ 9 mm. Browning ตัวโตที่ข้างลำเลื่อน ทำให้บ้านเราเรียกปืนรุ่นนั้นว่า “เบรานิงก์ฮังการี”
โรงงานวอลเธอร์ที่เมือง Ulm เริ่มผลิตปืนอีกครั้งในปี ค.ศ.1958 ปืนที่ออกขายสลักแหล่งผลิตเป็น W.Germany คือเยอรมัน ตะวันตก จนสิ้นสุดสงครามเย็น เยอรมันรวมชาติไม่มี East, West จึงเลิกใส่อักษร W และในช่วงที่ PP กลับมาผลิตในเยอรมันนี้เอง ที่เพิ่มขนาดกระสุน .22 LR ให้ใช้ซ้อมยิง หรือเป็นปืนติดเป้เข้าป่า ใช้ล่าสัตว์เล็กทำนองยังชีพเมื่อจำเป็นได้
การทำงานของปืน PP เป็นระบบลำเลื่อนอัดสปริง ไม่ขัดกลอน (direct blow-back) เมื่อกระสุนลั่น หัวกระสุนเริ่มเคลื่อนไปด้านหน้า ตัวลำเลื่อนจะขยับถอยหลังทันที อาศัยน้ำหนักลำเลื่อนและสปริงต้านลำเลื่อนกับนกสับช่วยต้าน ในช่วงแรกท้ายลำเลื่อนยันส่วนล่างของนกสับใกล้จุดหมุนแรงต้านสูง จนเมื่อเคลื่อนถอยหลังมาช่วงหนึ่ง จุดที่ลำเลื่อนยันนกเคลื่อนห่างจุดหมุน แรงต้านลดลง หัวกระสุนพ้นลำกล้องไปแล้ว ลำเลื่อนถอยสุด นกง้าง สปริงลำเลื่อนดีดลำเลื่อนกลับพากระสุน นัดใหม่เข้ารังเพลิง จากการที่อาศัยนกสับช่วยต้านลำเลื่อนช่วงเริ่มถอยนี้ ทำให้ต้องใช้สปริงนกสับแข็งขึ้นสำหรับกระสุน 9 มม. ส่งผลให้ไกหนักขึ้นด้วย ปืน PP และ PPK ที่ใช้กระสุนขนาดนี้จึงยิงให้แม่นยำได้ยากกว่า 7.65 มม. และ .22
https://www.dailynews.co.th/article/631414/
..................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช