เมื่อวานนี้ (1 ส.ค 2021) กลุ่ม Thai Armed Force ได้เชิญผมไปพูดเรื่องประวัติศาสตร์สงครามอัฟกานิสถานใน Clubhouse ผมจึงขอนำการจดบันทึกคำบรรยายของผม มารวมกับงานเขียนที่เคยเขียนมาก่อน เป็นบทสรุปประวัติศาสตร์สงครามอัฟกานิสถานแบบเข้าใจง่ายนะครับ
อนึ่งผมเคยเขียนเรื่องนี้หลายรอบแล้ว แต่รอบนี้จะสรุปแบบย่อและกระชับที่สุด (ท่านใดสนใจติดตามผมใน Clubhouse ลองเสิร์ชหาชื่อ Pup Pongsorn ในนั้นดู จะมีมาพูดเรื่อยๆ)
อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่มีชัยภูมิพิเศษ คือเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ภูมิศาสตร์ลักษณะนี้หากข้าศึกจะโค่นรัฐบาลอัฟกานิสถานนั้นทำไม่ยาก แต่จะยึดทั้งประเทศนั้นทำไม่ง่าย
ความเป็นภูเขา ทำให้การพัฒนาเข้าไม่ค่อยถึง และความขัดแย้งที่ผ่านมาทำให้ผู้คนมักอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนในลักษณะชนเผ่าที่เชื่อฟังหัวหน้าเผ่า มากกว่ารู้สึกร่วมกันในฐานะประเทศ
แต่อีกด้านชีวิตที่ลำบากทำให้ผู้คนแข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ ชัยภูมิแบบนี้ยังป้องกันง่าย รุกรานยาก
ทั้งหมดทำให้ประเทศอัฟกานิสถานแบ่งเป็นหลายกลุ่มหลายเหล่า มีขุนศึกวอร์ลอร์ดมากมายโดยธรรมชาติ
ภาพแนบ: การชุมนุมของพวกสังคมนิยมอัฟกันในปี 1979
อัฟกานิสถานเคยมีกษัตริย์มาก่อน ชื่อราชวงศ์บารัคไซ กษัตริย์ราชวงศ์นี้เคยพยายามปฏิรูปประเทศไปเป็นแบบตะวันตก แต่ก็มีการคอรัปชั่นเยอะ ทำให้ประชาชนไม่พอใจ จนทำให้เกิดกบฏโค่นล่มราชวงศ์ในปี 1973 ผู้นำปฏิวัติคือนายโมฮัมเหม็ด ดาอูด ข่าน
ต่อมาปี 1978 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อการโค่นล้มรัฐบาลอีก จับดาอูด ข่านฆ่า ทำให้อัฟกานิสถานเป็นคอมมิวนิสต์อยู่ชั่วระยะหนึ่ง มีผู้นำคือนายนูร์ มุฮัมมัด ตารากี
แม้รัฐบาลคอมมิวนิสต์จะทำความดีหลายอย่าง เช่นการให้สิทธิ์ผู้หญิงในการเรียนหนังสือและเข้าสภาได้ แต่พวกเขาก็ทำชั่วไว้มาก เช่นใช้วิธีปราบผู้เห็นต่างอย่างโหดร้าย ไม่เว้นแม้แต่ในพรรคเอง ทำให้เสื่อมความนิยมลง
สุดท้ายนายตารากี ถูกนายฮาฟิซัลลาห์ อามีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แต่มีอุดมการณ์ชาตินิยม จับฆ่าในปี 1979
...ซึ่งนายอามีนผู้ฝักใฝ่ชาตินิยมคนนี้กลับใช้วิธีปราบปรามคนเห็นต่างอย่างป่าเถื่อนยิ่งกว่าเก่าอีก ทำให้โซเวียตตัดสินใจส่งทหารเข้ามาในอัฟกานิสถาน ซึ่งก็ใช้เวลา 3 วันเท่านั้นก็ยึดรัฐบาลได้สำเร็จ จับนายอามีนฆ่า
สังเกตว่ามีผู้นำถูกจับฆ่าต่อๆ กันมาหลายคนในเวลาไม่นาน
ภาพแนบ: ทหารโซเวียตในอัฟกานิสถาน
ทัพโซเวียตตั้งรัฐบาลหุ่นที่มีนาย บาบราค คาร์มาลเป็นนายกรัฐมนตรี และคงทหารไว้ในประเทศอัฟกานิสถานเพื่อช่วยค้ำจุนรัฐบาลคาร์มาล โดยตอนแรกตั้งใจวางกำลังไว้ตามเมืองใหญ่ๆ และจุดยุทธศาสตร์ เช่นตั้งไว้ใกล้ๆ ชายแดนอิหร่าน เนื่องจากตอนนั้นอิหร่านมีการปฏิวัติอิสลามที่ล้มราชวงศ์แล้วตั้งรัฐบาลอิงศาสนามาแทนที่ นี่ทำให้เกิดกระแสในหมู่ชาวตะวันออกกลาง เรียกร้องให้โค่นล้มผู้นำแบบโลกวิสัย เพื่อชูผู้นำทางศาสนาขึ้นมาแทน
ภาพแนบ: บินลาเดน
แต่โซเวียตคาดไม่ถึงว่าภัยร้ายแรงจริงๆ นั้น เกิดจากกลุ่มมูจาฮีดีนหรือกลุ่มผู้ต่อสู้เพื่อศาสนา ซึ่งรวบรวมคนมาต่อต้านโซเวียตที่ปกครองอย่างโหดร้ายและผิดหลักอิสลาม
ในเวลานั้นเป็นยุคสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเห็นโอกาสในการปิดล้อมโซเวียต จึงสนับสนุนกลุ่มมูจาฮีดีนในอัฟกานิสฐานเพื่อโค่นล้มโซเวียต
ตอนนั้นเกิดกระแสญิฮาดสากลที่มองว่าจริงๆ แล้วมุสลิมนั้นเป็นประชาชาติอันยิ่งใหญ่ และเป็นเรือนร่างเดียวกัน มุสลิมจึงควรจะรวมกันเป็นหนึ่ง เพื่อช่วยชาวมุสลิมที่ถูกกดขี่
เกิดชาวมุสลิมมากมายเดินทางเข้าอัฟกานิสถานเพื่อไปต่อสู้กับโซเวียต โดยมีอเมริกาและพันธมิตรคอยอำนวยความสะดวก ให้การฝึกทหาร และสนับสนุนอาวุธ
ในจำนวนนั้น คนที่โดดเด่นที่สุดคือ อุซามะฮ์ บิน ลาดิน หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม “บินลาเดน” เขามีพื้นเพเป็นบุตรเศรษฐีซาอุดิอาระเบีย ละทิ้งความสุขสบายไปสู้เพื่อศาสนา
ภาพแนบ: แผนที่หุบเขาปัญจะชีร์
ตามที่อธิบายว่าภูมิศาสตร์อัฟกานิสถานนั้น โค่นรัฐบาลง่าย แต่ปกครองยาก
โซเวียตพยายามส่งทหารหลายกองพลบุกเข้าปราบปรามพวกมูจาฮีดีนในหุบเขาปัญจะชีร์ (Panjshir Valley) ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์แถบตอนกลางของประเทศถึง 9 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ถูกนักรบมูจาฮีดีนที่เชี่ยวชาญพื้นที่ตีโต้กลับมา
ยิ่งรบก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านลำบาก ยิ่งทำให้ชาวบ้านโกรธแค้นมาเข้ากับมูจาฮีดีนเพิ่มขึ้นทุกวัน
สุดท้ายแล้วสหภาพโซเวียตบอบช้ำ เศรษฐกิจย่ำแย่ จึงตัดสินใจถอนทหารในปี 1989
ต่อมาสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 รัฐบาลอิงโซเวียตไม่อาจดำรงได้ต่อไป จึงประกาศสละอำนาจ โดยยอมแพ้ยกให้นายบูร์ฮานุดดีน รับบานีจากกลุ่มมูจาฮีดีนขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี
แต่ปรากฏว่าพวกมูจาฮีดีนก็ช่วงชิงอำนาจกันเองหาความสงบมิได้
ภาพแนบ: โอมาร์
จนปี 1994 เกิดมีกองกำลังกลุ่มใหม่ชื่อ "ตาลีบัน" ขึ้น ตาลีบันนี้นำโดยนายมุฮัมมัด โอมาร์ (ตาบอดข้างหนึ่งจากสงคราม) เขาทนการกดขี่ของพวกขุนศึกมูจาฮีดีนไม่ไหว และมองว่าการปกครองของรัฐบาลนั้นไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม จึงก่อการช่วยเหลือชาวบ้าน ปราบพวกขุนศึก ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอันมาก
ตาลีบันแผ่อำนาจอย่างรวดเร็วสามารถยึดพื้นที่ภาคใต้ 12 จังหวัดในปีเดียว ส่วนใหญ่เป็นชัยชนะโดยไม่ต้องรบ
ต่อมาก็ยึดครองประเทศอัฟกานิสถานสำเร็จในปี 1996
อนึ่งคำว่าตาลีบันแปลว่า "นักเรียน" เพราะเกิดจากกลุ่มนักเรียนศาสนานั่นเอง
ภาพแนบ: การทำลายพระพุทธรูปบามิยาน
แต่เมื่อขึ้นปกครองประเทศแล้ว ตาลีบันได้ออกกฎที่เคร่งครัดกว่าประเทศอิสลามทั่วไป และยกย่องบางเผ่าเหนือบางเผ่า (คือยกย่องเผ่าปาทานเป็นพิเศษ)
ตาลีบันห้ามมีโรงหนัง ห้ามดนตรี ห้ามติดรูปที่บ้าน ผู้หญิงถูกลดบทบาททางสังคม ถูกบังคับแต่งกายมิดชิด และถูกเพิกถอนอิสระในการเลือกคู่ครอง
พวกเขากดขี่มุสลิมนิกายชีอะห์, ทำลายพระพุทธรูปบามิยานเพราะเชื่อว่าผิดหลัก, เลือกปฏิบัติกับผู้นับถือศาสนาอื่น เช่นบังคับให้ชาวฮินดูต้องติดสัญลักษณ์ระบุศาสนาไม่ต่างจากที่ชาวยิวในยุคสงครามโลกโดน นี่ทำให้ประชาชนก็เริ่มไม่อยากสนับสนุนตาลีบัน
ภาพแนบ: เหตุ 9/11
ในอีกด้านหนึ่งบินลาเดนที่เคยรบชนะโซเวียต ก็เดินทางเคลื่อนไหวทำญิฮาดในที่ต่างๆ ไปเรื่อยๆ โดยตั้งกลุ่มของตนเองชื่ออัลกออิดะห์ หรือเรียกแพร่หลายว่าอัลเคดา
เขาเริ่มต่อต้านสหรัฐเพราะมองว่าจริงๆ แล้วสหรัฐเป็นผู้ร้ายที่สนับสนุนอิสราเอลมากดขี่มุสลิม จึงมีแนวคิดที่จะทำการก่อการร้ายเพื่อทำลายเศรษฐกิจอเมริกา ให้อเมริกาล่มสลาย (เหมือนคราวโซเวียต) ซึ่งการก่อการร้ายนี้เป็นวิธีที่ลงทุนน้อย แต่สร้างความเสียหายได้มาก และได้ผลทางจิตวิทยาสูง
การก่อการครั้งสำคัญที่สุดคือเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2001 ที่มีการจี้เครื่องบินพุ่งชนตึก World Trade Center และเพนตากอน ทำให้อเมริกาโกรธเกรี้ยว และประกาศสงครามปราบกลุ่มก่อการร้ายอัลเคดา
ตอนนั้นบินลาเดนตั้งฐานอยู่ในอัฟกานิสถาน อเมริกาขอให้ตาลีบันส่งตัวบินลาเดนมาให้ แล้วตาลีบันไม่ยอม อเมริกาจึงบุกเข้าไปทำ "สงครามอัฟกานิสถาน"
...ซึ่งก็เป็นเหมือนคราวโซเวียต คืออเมริกาสามารถเอาชนะรัฐบาลตาลีบันอย่างง่ายดาย
พวกเขาตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีผู้นำมูจาฮีดีนคนหนึ่งชื่อนายฮามิด คาร์ไซ เป็นประธานาธิบดี จากนั้นอเมริกายังสามารถจับบินลาเดนสังหารสำเร็จ
สำหรับพวกตาลีบันต้องอพยพหนีไปต่อสู้ตามป่าเขาเป็นเวลายาวนาน
จากนั้นอเมริกาได้พยายามพัฒนาประเทศอัฟกานิสถาน มีการวางโครงสร้างการเมือง การเลือกตั้ง การศึกษา แต่อเมริกายังขาดความเข้าใจประชาชน ตลอดจนรัฐบาลอัฟกานิสถานก็มีปัญหาการคอรัปชันเยอะทำให้ประชาชนไม่ค่อยสนับสนุน
สหรัฐอเมริกาพยายามปรับนโยบายโดยพยายามซื้อใจหัวหน้าชนเผ่าต่าง ๆ แต่กลับเป็นการเสริมกำลังแก่พวกพวกหัวหน้าเผ่า กลายเป็นวอร์ลอร์ดที่มาแข่งอำนาจกับรัฐบาล
แทนที่จะเกิดการรวมชาติก็กลายเป็นยิ่งแตกแยก ไม่มีใครเชื่อมั่นรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกาดูแลอัฟกานิสถานมายี่สิบปี เสียเงินไปมากมาย แต่ทำให้ประเทศสงบไม่ได้จึงเริ่มคิดว่าไม่คุ้ม
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** สงครามอัฟกานิสถานสรุปเข้าใจง่าย ***
อนึ่งผมเคยเขียนเรื่องนี้หลายรอบแล้ว แต่รอบนี้จะสรุปแบบย่อและกระชับที่สุด (ท่านใดสนใจติดตามผมใน Clubhouse ลองเสิร์ชหาชื่อ Pup Pongsorn ในนั้นดู จะมีมาพูดเรื่อยๆ)
อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่มีชัยภูมิพิเศษ คือเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ภูมิศาสตร์ลักษณะนี้หากข้าศึกจะโค่นรัฐบาลอัฟกานิสถานนั้นทำไม่ยาก แต่จะยึดทั้งประเทศนั้นทำไม่ง่าย
ความเป็นภูเขา ทำให้การพัฒนาเข้าไม่ค่อยถึง และความขัดแย้งที่ผ่านมาทำให้ผู้คนมักอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนในลักษณะชนเผ่าที่เชื่อฟังหัวหน้าเผ่า มากกว่ารู้สึกร่วมกันในฐานะประเทศ
แต่อีกด้านชีวิตที่ลำบากทำให้ผู้คนแข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ ชัยภูมิแบบนี้ยังป้องกันง่าย รุกรานยาก
ทั้งหมดทำให้ประเทศอัฟกานิสถานแบ่งเป็นหลายกลุ่มหลายเหล่า มีขุนศึกวอร์ลอร์ดมากมายโดยธรรมชาติ
ภาพแนบ: การชุมนุมของพวกสังคมนิยมอัฟกันในปี 1979
อัฟกานิสถานเคยมีกษัตริย์มาก่อน ชื่อราชวงศ์บารัคไซ กษัตริย์ราชวงศ์นี้เคยพยายามปฏิรูปประเทศไปเป็นแบบตะวันตก แต่ก็มีการคอรัปชั่นเยอะ ทำให้ประชาชนไม่พอใจ จนทำให้เกิดกบฏโค่นล่มราชวงศ์ในปี 1973 ผู้นำปฏิวัติคือนายโมฮัมเหม็ด ดาอูด ข่าน
ต่อมาปี 1978 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อการโค่นล้มรัฐบาลอีก จับดาอูด ข่านฆ่า ทำให้อัฟกานิสถานเป็นคอมมิวนิสต์อยู่ชั่วระยะหนึ่ง มีผู้นำคือนายนูร์ มุฮัมมัด ตารากี
แม้รัฐบาลคอมมิวนิสต์จะทำความดีหลายอย่าง เช่นการให้สิทธิ์ผู้หญิงในการเรียนหนังสือและเข้าสภาได้ แต่พวกเขาก็ทำชั่วไว้มาก เช่นใช้วิธีปราบผู้เห็นต่างอย่างโหดร้าย ไม่เว้นแม้แต่ในพรรคเอง ทำให้เสื่อมความนิยมลง
สุดท้ายนายตารากี ถูกนายฮาฟิซัลลาห์ อามีน ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แต่มีอุดมการณ์ชาตินิยม จับฆ่าในปี 1979
...ซึ่งนายอามีนผู้ฝักใฝ่ชาตินิยมคนนี้กลับใช้วิธีปราบปรามคนเห็นต่างอย่างป่าเถื่อนยิ่งกว่าเก่าอีก ทำให้โซเวียตตัดสินใจส่งทหารเข้ามาในอัฟกานิสถาน ซึ่งก็ใช้เวลา 3 วันเท่านั้นก็ยึดรัฐบาลได้สำเร็จ จับนายอามีนฆ่า
สังเกตว่ามีผู้นำถูกจับฆ่าต่อๆ กันมาหลายคนในเวลาไม่นาน
ภาพแนบ: ทหารโซเวียตในอัฟกานิสถาน
ทัพโซเวียตตั้งรัฐบาลหุ่นที่มีนาย บาบราค คาร์มาลเป็นนายกรัฐมนตรี และคงทหารไว้ในประเทศอัฟกานิสถานเพื่อช่วยค้ำจุนรัฐบาลคาร์มาล โดยตอนแรกตั้งใจวางกำลังไว้ตามเมืองใหญ่ๆ และจุดยุทธศาสตร์ เช่นตั้งไว้ใกล้ๆ ชายแดนอิหร่าน เนื่องจากตอนนั้นอิหร่านมีการปฏิวัติอิสลามที่ล้มราชวงศ์แล้วตั้งรัฐบาลอิงศาสนามาแทนที่ นี่ทำให้เกิดกระแสในหมู่ชาวตะวันออกกลาง เรียกร้องให้โค่นล้มผู้นำแบบโลกวิสัย เพื่อชูผู้นำทางศาสนาขึ้นมาแทน
ภาพแนบ: บินลาเดน
แต่โซเวียตคาดไม่ถึงว่าภัยร้ายแรงจริงๆ นั้น เกิดจากกลุ่มมูจาฮีดีนหรือกลุ่มผู้ต่อสู้เพื่อศาสนา ซึ่งรวบรวมคนมาต่อต้านโซเวียตที่ปกครองอย่างโหดร้ายและผิดหลักอิสลาม
ในเวลานั้นเป็นยุคสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเห็นโอกาสในการปิดล้อมโซเวียต จึงสนับสนุนกลุ่มมูจาฮีดีนในอัฟกานิสฐานเพื่อโค่นล้มโซเวียต
ตอนนั้นเกิดกระแสญิฮาดสากลที่มองว่าจริงๆ แล้วมุสลิมนั้นเป็นประชาชาติอันยิ่งใหญ่ และเป็นเรือนร่างเดียวกัน มุสลิมจึงควรจะรวมกันเป็นหนึ่ง เพื่อช่วยชาวมุสลิมที่ถูกกดขี่
เกิดชาวมุสลิมมากมายเดินทางเข้าอัฟกานิสถานเพื่อไปต่อสู้กับโซเวียต โดยมีอเมริกาและพันธมิตรคอยอำนวยความสะดวก ให้การฝึกทหาร และสนับสนุนอาวุธ
ในจำนวนนั้น คนที่โดดเด่นที่สุดคือ อุซามะฮ์ บิน ลาดิน หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม “บินลาเดน” เขามีพื้นเพเป็นบุตรเศรษฐีซาอุดิอาระเบีย ละทิ้งความสุขสบายไปสู้เพื่อศาสนา
ภาพแนบ: แผนที่หุบเขาปัญจะชีร์
ตามที่อธิบายว่าภูมิศาสตร์อัฟกานิสถานนั้น โค่นรัฐบาลง่าย แต่ปกครองยาก
โซเวียตพยายามส่งทหารหลายกองพลบุกเข้าปราบปรามพวกมูจาฮีดีนในหุบเขาปัญจะชีร์ (Panjshir Valley) ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์แถบตอนกลางของประเทศถึง 9 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ถูกนักรบมูจาฮีดีนที่เชี่ยวชาญพื้นที่ตีโต้กลับมา
ยิ่งรบก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านลำบาก ยิ่งทำให้ชาวบ้านโกรธแค้นมาเข้ากับมูจาฮีดีนเพิ่มขึ้นทุกวัน
สุดท้ายแล้วสหภาพโซเวียตบอบช้ำ เศรษฐกิจย่ำแย่ จึงตัดสินใจถอนทหารในปี 1989
ต่อมาสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 รัฐบาลอิงโซเวียตไม่อาจดำรงได้ต่อไป จึงประกาศสละอำนาจ โดยยอมแพ้ยกให้นายบูร์ฮานุดดีน รับบานีจากกลุ่มมูจาฮีดีนขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี
แต่ปรากฏว่าพวกมูจาฮีดีนก็ช่วงชิงอำนาจกันเองหาความสงบมิได้
ภาพแนบ: โอมาร์
จนปี 1994 เกิดมีกองกำลังกลุ่มใหม่ชื่อ "ตาลีบัน" ขึ้น ตาลีบันนี้นำโดยนายมุฮัมมัด โอมาร์ (ตาบอดข้างหนึ่งจากสงคราม) เขาทนการกดขี่ของพวกขุนศึกมูจาฮีดีนไม่ไหว และมองว่าการปกครองของรัฐบาลนั้นไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม จึงก่อการช่วยเหลือชาวบ้าน ปราบพวกขุนศึก ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอันมาก
ตาลีบันแผ่อำนาจอย่างรวดเร็วสามารถยึดพื้นที่ภาคใต้ 12 จังหวัดในปีเดียว ส่วนใหญ่เป็นชัยชนะโดยไม่ต้องรบ
ต่อมาก็ยึดครองประเทศอัฟกานิสถานสำเร็จในปี 1996
อนึ่งคำว่าตาลีบันแปลว่า "นักเรียน" เพราะเกิดจากกลุ่มนักเรียนศาสนานั่นเอง
ภาพแนบ: การทำลายพระพุทธรูปบามิยาน
แต่เมื่อขึ้นปกครองประเทศแล้ว ตาลีบันได้ออกกฎที่เคร่งครัดกว่าประเทศอิสลามทั่วไป และยกย่องบางเผ่าเหนือบางเผ่า (คือยกย่องเผ่าปาทานเป็นพิเศษ)
ตาลีบันห้ามมีโรงหนัง ห้ามดนตรี ห้ามติดรูปที่บ้าน ผู้หญิงถูกลดบทบาททางสังคม ถูกบังคับแต่งกายมิดชิด และถูกเพิกถอนอิสระในการเลือกคู่ครอง
พวกเขากดขี่มุสลิมนิกายชีอะห์, ทำลายพระพุทธรูปบามิยานเพราะเชื่อว่าผิดหลัก, เลือกปฏิบัติกับผู้นับถือศาสนาอื่น เช่นบังคับให้ชาวฮินดูต้องติดสัญลักษณ์ระบุศาสนาไม่ต่างจากที่ชาวยิวในยุคสงครามโลกโดน นี่ทำให้ประชาชนก็เริ่มไม่อยากสนับสนุนตาลีบัน
ภาพแนบ: เหตุ 9/11
ในอีกด้านหนึ่งบินลาเดนที่เคยรบชนะโซเวียต ก็เดินทางเคลื่อนไหวทำญิฮาดในที่ต่างๆ ไปเรื่อยๆ โดยตั้งกลุ่มของตนเองชื่ออัลกออิดะห์ หรือเรียกแพร่หลายว่าอัลเคดา
เขาเริ่มต่อต้านสหรัฐเพราะมองว่าจริงๆ แล้วสหรัฐเป็นผู้ร้ายที่สนับสนุนอิสราเอลมากดขี่มุสลิม จึงมีแนวคิดที่จะทำการก่อการร้ายเพื่อทำลายเศรษฐกิจอเมริกา ให้อเมริกาล่มสลาย (เหมือนคราวโซเวียต) ซึ่งการก่อการร้ายนี้เป็นวิธีที่ลงทุนน้อย แต่สร้างความเสียหายได้มาก และได้ผลทางจิตวิทยาสูง
การก่อการครั้งสำคัญที่สุดคือเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2001 ที่มีการจี้เครื่องบินพุ่งชนตึก World Trade Center และเพนตากอน ทำให้อเมริกาโกรธเกรี้ยว และประกาศสงครามปราบกลุ่มก่อการร้ายอัลเคดา
ตอนนั้นบินลาเดนตั้งฐานอยู่ในอัฟกานิสถาน อเมริกาขอให้ตาลีบันส่งตัวบินลาเดนมาให้ แล้วตาลีบันไม่ยอม อเมริกาจึงบุกเข้าไปทำ "สงครามอัฟกานิสถาน"
...ซึ่งก็เป็นเหมือนคราวโซเวียต คืออเมริกาสามารถเอาชนะรัฐบาลตาลีบันอย่างง่ายดาย
พวกเขาตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีผู้นำมูจาฮีดีนคนหนึ่งชื่อนายฮามิด คาร์ไซ เป็นประธานาธิบดี จากนั้นอเมริกายังสามารถจับบินลาเดนสังหารสำเร็จ
สำหรับพวกตาลีบันต้องอพยพหนีไปต่อสู้ตามป่าเขาเป็นเวลายาวนาน
จากนั้นอเมริกาได้พยายามพัฒนาประเทศอัฟกานิสถาน มีการวางโครงสร้างการเมือง การเลือกตั้ง การศึกษา แต่อเมริกายังขาดความเข้าใจประชาชน ตลอดจนรัฐบาลอัฟกานิสถานก็มีปัญหาการคอรัปชันเยอะทำให้ประชาชนไม่ค่อยสนับสนุน
สหรัฐอเมริกาพยายามปรับนโยบายโดยพยายามซื้อใจหัวหน้าชนเผ่าต่าง ๆ แต่กลับเป็นการเสริมกำลังแก่พวกพวกหัวหน้าเผ่า กลายเป็นวอร์ลอร์ดที่มาแข่งอำนาจกับรัฐบาล
แทนที่จะเกิดการรวมชาติก็กลายเป็นยิ่งแตกแยก ไม่มีใครเชื่อมั่นรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกาดูแลอัฟกานิสถานมายี่สิบปี เสียเงินไปมากมาย แต่ทำให้ประเทศสงบไม่ได้จึงเริ่มคิดว่าไม่คุ้ม
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***