ใครเคยเจอนิยามพอเพียงแบบผิดๆ บ้าง มาพูดคุยกันค่ะ
"พอเพียง" ภาพความสวยงามบนโลกคู่ขนานที่คนกลุ่มหนึ่งวาดไว้ แต่เป็นตลกร้ายในอีกมุมหนึ่งของสังคม
ชีวิตของคนต่างจังหวัดแบบนั้นแหละเหมาะสมแล้ว จะได้น่าเที่ยว
อย่าฟุ้งเฟ้อนะ หาเช้ากินค่ำอยู่แค่นั้นก็พอแล้ว
จงพอเพียงสิ เงินไม่สามารถซื้อความสุขทุกอย่างบนโลกได้นะ
หลังเกษียณฉันจะสโลว์ไลฟ์ ใช้ชีวิตดื่มด่ำธรรมชาติ นอนจิบกาแฟในบ้านกลางสวน
ความพอเพียงบนโลกคู่ขนาน ความจริงที่สวยงาม – ตลกร้าย?
คำว่า “พอเพียง” ถูกตีความถึงความเหมาะสมหรือจุดที่ควรจะเป็นอยู่เรื่อยๆ หลายครั้งถูกผสมโรงด้วยอารมณ์ ความรู้สึก กระแสสังคม จนความหมายแท้จริงของคำนี้ถูกเบี่ยง จนหลุดจากสาระสำคัญไปไกล
เพราะจริงแล้วหลักความพอเพียง นั้นจะสัมพันธ์ไปกับทางสายกลางในหลักพระพุทธศาสนา ก็คือการกิน การอยู่ การใช้ชีวิตที่พอดีตามวิถีของตน โดยไม่ประมาท
หรือถ้าตีความให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การใช้ชีวิตแบบที่เราพอใจ แต่ต้องไม่สร้างปัญหาให้กับตนเอง หรือ คนรอบข้าง สามารถมีเครื่องมือ อุปกรณ์ทันสมัยที่อำนวยความสะดวกสบายแก่ชีวิตได้ตามอัตภาพ แต่นั่นต้องมาจากความพร้อมที่ไม่ใช่ความฟุ้งเฟ้อจนเป็นหนี้ล้นพ้นตัว
อย่างไรก็ตามในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความพอเพียงถูกเบี่ยงออกไปจากแก่นแท้ที่ควรจะเป็น โดยต้องยอมรับว่าเป็นผลจากอิทธิพลสื่อ โดยเฉพาะ ละคร ภาพยนตร์ แม้กระทั่งหนังโฆษณาที่มีส่วนต่อความบิดเบี้ยวเหล่านี้ที่ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปเป็นภาพจำฝังแน่น
โดยหลายเรื่องนำคำว่า “พอเพียง” มาตีกรอบให้เป็นภาพที่แสนโรมานซ์ในมโนคติของชนชั้นกลางว่าพอเพียง คือ การกลับไปใช้ชีวิตทำการเกษตรอยู่ในทุ่งนาสีเขียว ปลูกผัก ทำสวนผลไม้ปลอดสารพิษกินเอง มีเหลือก็ขายมีรายได้เล็กน้อยๆ ใส่เสื้อผ้าพื้นเมือง ตกเย็นล้อมวงกินข้าวนั่งยิ้มหัวเราะไปด้วยกัน พร้อมแปะแคปชั่นว่า นี่คือความสวยงามของชีวิตที่แท้จริง ที่เงินทองไม่สามารถซื้อได้
ภาพเหล่านั้นถูกใช้เป็นบรรทัดฐานความพอเพียงของชนชั้นกลางบางกลุ่ม (ส่วนใหญ่เป็นกลางค่อนไปในระดับที่มีฐานะ) และมีการแตกจักรวาลคำว่าพอเพียงออกไปเป็นคำว่า วิถีสโลว์ไลฟ์ อยากใช้ชีวิตดื่มด่ำธรรมชาติ นอนจิบกาแฟในบ้านกลางสวน นั่นคือความเก๋ไก๋ของชีวิต
“นี่คือภาพความสวยงามบนโลกคู่ขนานที่คนกลุ่มหนึ่งวาดไว้ แต่เป็นตลกร้ายในอีกมุมหนึ่งของสังคม”
บางกลุ่มหลงใหลจนออกแบบ หรือ กำกับวิถีชีวิตของคนต่างจังหวัดในมโนคติของตนว่าสภาพแบบนั้นแหละเหมาะสมแล้ว และมักก่นบอกว่า
จงพอเพียงสิ เงินไม่สามารถซื้อความสุขทุกอย่างบนโลกได้นะ (แต่เชื่อเถอะซื้อได้เกือบทุกอย่างแหละ 55)
ฉะนั้นอย่าฟุ้งเฟ้อนะ หาเช้ากินค่ำเก็บเล็กผสมน้อยอยู่แค่นั้นก็พอแล้ว
อย่าอยากได้อยากมีมากนะไม่งั้นจะต้องจน เครียด กินเหล้า วนไปไม่จบไม่สิ้น
อย่าสร้างภาระ ห้ามกู้หนี้ยืมสิน
อย่าซื้อเลยมือถือ อย่าถือไอแพด (แต่บอกว่าเด็กๆ ต้องเรียนออนไลน์นะ)
ไม่ต้องมีหรอกมอเตอร์ไซค์ รถยนต์มันสิ้นเปลือง มีควันพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
ความเป็นจริงแล้วตัวคนพูดเองอาจนอนเปิดแอร์ทั้งวัน มีรถยนต์ มีบิ๊กไบค์มากกว่าหนึ่งคัน มีคณะติดตามเวลาเดินทางอีกเป็นขบวน กู้แบงก์หลักสิบล้านร้อยล้านมาลงทุนหากำไร
แต่ไม่เคยรู้ว่าระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ระบบขนส่งในต่างจังหวัดบางพื้นที่มันไม่ได้เอื้อต่อความสะดวกในการเดินทางไปโรงเรียน ไปโรงพยาบาล หรือ อะไรที่ช่วยอำนวยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเลยนะจ๊ะ
ฉะนั้นอย่าไปตัดสินใครว่าเขาไม่พอเพียง เพราะบางทีสิ่งที่เขาขวนขวายหามาซึ่งเรามองว่าฟุ้งเฟ้อนั้น มันอาจถูกซื้อมาเพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นของชีวิตจริงๆ ก็เป็นได้
ภาพที่บิดเบี้ยวนี้เป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเข้าถึงชุดข้อมูลของคนไทยที่ถูกผูกขาดฝังรากมานาน หากในแต่ละยุคก็มีการสะท้อนผ่านอารมณ์ขันที่เป็นตลกร้ายอันแสนคลาสสิคออกมาเป็นระยะ
ไม่ว่าจะเป็นเพลงผู้ใหญ่ลี
หรือภาพคนจนล้อมวงกินข้าวกับก้างปลาทูกระดาษในการ์ตูนขายหัวเราะ
ที่มองเผินๆ แล้วมันแค่เรื่องขำแต่ลึกแล้วมันบอกอะไรเรามากกว่านั้น…
โดยเฉพาะในวันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล มีสิทธิ์แสดงออกที่เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม โดยแก่นแท้แล้วหลักของความพอเพียง คือ เรื่องดีที่ทุกคนควรนำไปใช้ได้ ดังนั้นอาจถึงเวลาที่ควรทำความเข้าใจกับคำว่า “พอเพียง” เสียใหม่ ไม่ควรมีใครไปตีกรอบ หรือ กำหนดบรรทัดฐานความพอเพียงแทนผู้อื่น…
เพราะความพอเพียงของทุกคนไม่เท่ากัน
ใครเคยเจอนิยาม "ความพอเพียง" แบบผิดๆ บ้าง มันคือโลกสวยหรือตลกร้าย?
"พอเพียง" ภาพความสวยงามบนโลกคู่ขนานที่คนกลุ่มหนึ่งวาดไว้ แต่เป็นตลกร้ายในอีกมุมหนึ่งของสังคม
ชีวิตของคนต่างจังหวัดแบบนั้นแหละเหมาะสมแล้ว จะได้น่าเที่ยว
อย่าฟุ้งเฟ้อนะ หาเช้ากินค่ำอยู่แค่นั้นก็พอแล้ว
จงพอเพียงสิ เงินไม่สามารถซื้อความสุขทุกอย่างบนโลกได้นะ
หลังเกษียณฉันจะสโลว์ไลฟ์ ใช้ชีวิตดื่มด่ำธรรมชาติ นอนจิบกาแฟในบ้านกลางสวน
คำว่า “พอเพียง” ถูกตีความถึงความเหมาะสมหรือจุดที่ควรจะเป็นอยู่เรื่อยๆ หลายครั้งถูกผสมโรงด้วยอารมณ์ ความรู้สึก กระแสสังคม จนความหมายแท้จริงของคำนี้ถูกเบี่ยง จนหลุดจากสาระสำคัญไปไกล
หรือถ้าตีความให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การใช้ชีวิตแบบที่เราพอใจ แต่ต้องไม่สร้างปัญหาให้กับตนเอง หรือ คนรอบข้าง สามารถมีเครื่องมือ อุปกรณ์ทันสมัยที่อำนวยความสะดวกสบายแก่ชีวิตได้ตามอัตภาพ แต่นั่นต้องมาจากความพร้อมที่ไม่ใช่ความฟุ้งเฟ้อจนเป็นหนี้ล้นพ้นตัว
อย่างไรก็ตามในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความพอเพียงถูกเบี่ยงออกไปจากแก่นแท้ที่ควรจะเป็น โดยต้องยอมรับว่าเป็นผลจากอิทธิพลสื่อ โดยเฉพาะ ละคร ภาพยนตร์ แม้กระทั่งหนังโฆษณาที่มีส่วนต่อความบิดเบี้ยวเหล่านี้ที่ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปเป็นภาพจำฝังแน่น
โดยหลายเรื่องนำคำว่า “พอเพียง” มาตีกรอบให้เป็นภาพที่แสนโรมานซ์ในมโนคติของชนชั้นกลางว่าพอเพียง คือ การกลับไปใช้ชีวิตทำการเกษตรอยู่ในทุ่งนาสีเขียว ปลูกผัก ทำสวนผลไม้ปลอดสารพิษกินเอง มีเหลือก็ขายมีรายได้เล็กน้อยๆ ใส่เสื้อผ้าพื้นเมือง ตกเย็นล้อมวงกินข้าวนั่งยิ้มหัวเราะไปด้วยกัน พร้อมแปะแคปชั่นว่า นี่คือความสวยงามของชีวิตที่แท้จริง ที่เงินทองไม่สามารถซื้อได้
ภาพเหล่านั้นถูกใช้เป็นบรรทัดฐานความพอเพียงของชนชั้นกลางบางกลุ่ม (ส่วนใหญ่เป็นกลางค่อนไปในระดับที่มีฐานะ) และมีการแตกจักรวาลคำว่าพอเพียงออกไปเป็นคำว่า วิถีสโลว์ไลฟ์ อยากใช้ชีวิตดื่มด่ำธรรมชาติ นอนจิบกาแฟในบ้านกลางสวน นั่นคือความเก๋ไก๋ของชีวิต
“นี่คือภาพความสวยงามบนโลกคู่ขนานที่คนกลุ่มหนึ่งวาดไว้ แต่เป็นตลกร้ายในอีกมุมหนึ่งของสังคม”
บางกลุ่มหลงใหลจนออกแบบ หรือ กำกับวิถีชีวิตของคนต่างจังหวัดในมโนคติของตนว่าสภาพแบบนั้นแหละเหมาะสมแล้ว และมักก่นบอกว่า
จงพอเพียงสิ เงินไม่สามารถซื้อความสุขทุกอย่างบนโลกได้นะ (แต่เชื่อเถอะซื้อได้เกือบทุกอย่างแหละ 55)
ฉะนั้นอย่าฟุ้งเฟ้อนะ หาเช้ากินค่ำเก็บเล็กผสมน้อยอยู่แค่นั้นก็พอแล้ว
อย่าอยากได้อยากมีมากนะไม่งั้นจะต้องจน เครียด กินเหล้า วนไปไม่จบไม่สิ้น
อย่าสร้างภาระ ห้ามกู้หนี้ยืมสิน
อย่าซื้อเลยมือถือ อย่าถือไอแพด (แต่บอกว่าเด็กๆ ต้องเรียนออนไลน์นะ)
ไม่ต้องมีหรอกมอเตอร์ไซค์ รถยนต์มันสิ้นเปลือง มีควันพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
ความเป็นจริงแล้วตัวคนพูดเองอาจนอนเปิดแอร์ทั้งวัน มีรถยนต์ มีบิ๊กไบค์มากกว่าหนึ่งคัน มีคณะติดตามเวลาเดินทางอีกเป็นขบวน กู้แบงก์หลักสิบล้านร้อยล้านมาลงทุนหากำไร แต่ไม่เคยรู้ว่าระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ระบบขนส่งในต่างจังหวัดบางพื้นที่มันไม่ได้เอื้อต่อความสะดวกในการเดินทางไปโรงเรียน ไปโรงพยาบาล หรือ อะไรที่ช่วยอำนวยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเลยนะจ๊ะ
ฉะนั้นอย่าไปตัดสินใครว่าเขาไม่พอเพียง เพราะบางทีสิ่งที่เขาขวนขวายหามาซึ่งเรามองว่าฟุ้งเฟ้อนั้น มันอาจถูกซื้อมาเพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นของชีวิตจริงๆ ก็เป็นได้
ภาพที่บิดเบี้ยวนี้เป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเข้าถึงชุดข้อมูลของคนไทยที่ถูกผูกขาดฝังรากมานาน หากในแต่ละยุคก็มีการสะท้อนผ่านอารมณ์ขันที่เป็นตลกร้ายอันแสนคลาสสิคออกมาเป็นระยะ
ไม่ว่าจะเป็นเพลงผู้ใหญ่ลี
หรือภาพคนจนล้อมวงกินข้าวกับก้างปลาทูกระดาษในการ์ตูนขายหัวเราะ
ที่มองเผินๆ แล้วมันแค่เรื่องขำแต่ลึกแล้วมันบอกอะไรเรามากกว่านั้น…
โดยเฉพาะในวันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล มีสิทธิ์แสดงออกที่เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม โดยแก่นแท้แล้วหลักของความพอเพียง คือ เรื่องดีที่ทุกคนควรนำไปใช้ได้ ดังนั้นอาจถึงเวลาที่ควรทำความเข้าใจกับคำว่า “พอเพียง” เสียใหม่ ไม่ควรมีใครไปตีกรอบ หรือ กำหนดบรรทัดฐานความพอเพียงแทนผู้อื่น…
เพราะความพอเพียงของทุกคนไม่เท่ากัน