คุณแม่หลายคนอาจจะมีความกังวล หากจะต้องใช้ยาในช่วงที่ตั้งครรภ์ ฝังเข็มทำในระหว่างการตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้เรารวบรวมคำตอบมาให้แล้ว ไปดูกันเลย!
ขั้นตอนการฝังเข็มเป็นอย่างไร
- ช่วงปรับสมดุล
ช่วงแรกจะเป็นเหมือนการล้างพิษ ให้ร่างกายได้แก้ไข หรือปรับสภาพอาการต่าง ๆ การปรับสมดุลของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่รายบุคคล และจุดในการฝังเข็มก็จะแตกต่างกันไปเช่นกัน
- ช่วงบำรุงเลือด
เสริมฮอร์โมน เป็นช่วงที่จะต้องบำรุงร่างกาย ทั้งคุณพ่อ และคุณแม่ บำรุงเลือด โดยเน้นการฝังเข็ม และยาสมุนไพร ที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์โดยตรง
- ช่วงพร้อมสำหรับการมีลูก
ร่างกายทั้งคุณพ่อและคุณแม่ มีความพร้อมเต็มที่ สำหรับการมีบุตร ซึ่งจำเป็นจะต้องฝังเข็มและให้ยาสมุนไพร เพื่อคงการบำรุงไว้ แต่จะเน้นเป็นการปรับอารมณ์ และมีความผ่อนคลายมากขึ้น
ฝังเข็มทำในระหว่างการตั้งครรภ์ ได้หรือไม่
การฝังเข็มให้ผลข้างเคียงด้านลบในระดับที่ต่ำมาก ในหญิงตั้งครรภ์ แต่การฝังเข็มก็อาจจะทำให้สภาพของร่างกาย อ่อนแรง เมื่อยล้า หากมีอาการป่วยก่อนที่จะฝังเข็ม อาการอาจจะรุนแรงขึ้นได้ ในผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ในหญิงที่ตั้งครรภ์ จะช่วยรักษาอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน และหลัง รวมถึงช่วยบรรเทา อาการคลื่นไส้ อาเจียนอีกด้วย
ตั้งครรภ์แล้ว อยากฝังเข็มควรทำอย่างไร
ตั้งครรภ์แล้วแต่อยากฝังเข็ม อาจจะต้องมองหาคนที่ฝังเข็ม ที่ผ่านการรับรอง และมีใบอนุญาต มีการผ่านการอบรม หรือมีประสบการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฝังเข็มโดยเฉพาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จากนั้นควรเริ่มกระบวนการรักษา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ ที่ทำการฝากครรภ์ก่อน ค่อยตัดสินใจ และเมื่อเข้ารับการฝังเข็ม ก็ควรศึกษากับหมอที่ฝังเข็มก่อน ที่จะรักษาในขั้นตอนต่อไป
ประโยชน์ของการฝังเข็มในการมีบุตรยาก มีอะไรบ้าง ?
- การฝังเข็ม สามารถช่วยลดความเครียดได้ ช่วยลดความกังวล และการที่คุณแม่รู้สึกหดหู่ การฝังเข็มก็จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของสารเอ็นโดรฟิน
- เสริมสร้างความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน
- ปรับระดับ การไหลเวียนของเลือด และอวัยวะภายในทั้งหมด
- ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับการฝังตัวของไข่
- ช่วยปรับสมดุลด้านอารมณ์ ความรู้สึก และสุขภาพแบบองค์รวม
- สารเอ็นโดรฟินที่หลั่งออกมา ช่วยเสริมต่อการหลั่งฮอร์โมนเจริญพันธุ์ และการตกไข่ของเพศหญิง และยังช่วยในเรื่องของการทำงานของรังไข่ เพื่อให้รังไข่มีคุณภาพพร้อมที่จะให้อสุจิฝังตัว
- ในกลุ่มผู้หญิง ที่ทำการฝังเข็ม จะมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่า กลุ่มคนที่ไม่ได้เข้ารับการฝังเข็ม เนื่องจากจะช่วยลดการหดเกร็งของมดลูก
- การฝังเข็มช่วยผ่อนคลายมดลูก ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยให้มดลูกอุ่นขึ้น ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมฮอร์โมนและลดความเครียด ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการแท้งลูกได้
หากตั้งครรภ์แล้วไปฝังเข็ม แพทย์จะเลี่ยงฝังเข็มบริเวณไหน
หากเพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ ในระยะ 3 เดือนแรก แพทย์จะไม่ฝังเข็มบริเวณท้องน้อย หากตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป แพทย์จะเลี่ยงการฝังเข็มบริเวณท้องส่วนบน รวมไปถึงบริเวณเอวและก้นกบ และยังมีจุดฝังเข็มบางจุด ที่ไม่สามารถฝังเข็มได้ เนื่องจากจะยิ่งทำให้มดลูกบีบตัว ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
คุณแม่ฝังเข็มช่วงไตรมาส 3 จะช่วยให้คลอดง่ายจริงไหม ?
ในช่วงไตรมาส 3 นี้ ตำแหน่งของศีรษะลูกจะใกล้มดลูกมากขึ้น การใช้เทคนิคการฝังเข็ม จะช่วยให้ลูกสามารถหันศีรษะไปในทางที่เหมาะสมและดียิ่งขึ้น โดยก่อนเข้าสู่การฝังเข็มนั้น จะมีการเผาและพอกสมุนไพรบริเวณหน้าท้อง ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์สุดท้ายก่อนการคลอด และอาจจะมีบางตำแหน่งที่ได้รับการฝังเข็ม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ปากมดลูกหย่อน และมีการขยายตัวมากขึ้น เมื่อมดลูกหย่อนและขยายตัวมากขึ้น ก็จะช่วยให้คุณแม่คลอดเจ้าตัวน้อยได้ง่ายขึ้น
แต่การฝังเข็มก็ไม่ได้มีการยืนยันจากทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัด ว่าการฝังเข็มหรือการพอกสมุนไพรจะช่วยให้คุณแม่คลอดง่ายขึ้น ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรคาดหวังมากเกินไป กับผลลัพธ์ที่ต้องการ
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากทำการฝังเข็มขณะตั้งครรภ์
หากเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านการฝึกอบรม การฝังเข็มระหว่างตั้งครรภ์หากทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะมีความเสี่ยงที่น้อย และการฝังเข็มก็ไม่เกี่ยวข้องกับการแท้งบุตร หรือภาวะแทรกซ้อนสำคัญ ๆ แต่ส่วนใหญ่ ที่เกี่ยวกับการฝังเข็ม จะมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น การระบม รอยแดง หรือการติดเชื้อที่บริเวณที่แทง และการบาดเจ็บจากเข็มที่ฝังลึกมากเกินไป
ฝังเข็มช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้จริงหรือ ?
การฝังเข็ม สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกาย และเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ได้ และการฝังเข็ม ยังเป็นวิธีการที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการ ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) อีกด้วย โดยการฝังเข็มนั้น สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ได้สูงถึง 50 % ในขณะที่ผู้หญิงที่กำลังทำเด็กหลอดแก้ว และผู้หญิงที่ทำการฝังเข็ม จะมีอัตราการตั้งครรภ์ ที่ 42.5 % ซึ่งจะมีโอกาสเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้เข้ารับการฝังเข็ม
อีกทั้ง การฝังเข็ม ยังช่วยลดฮอร์โมนความเครียด ที่ขัดขวางการตกไข่ ช่วยปรับฮอร์โมนให้สมดุลกัน เพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือด ที่ส่งไปยังมดลูก และ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของทารกในครรภ์อีกด้วย
https://th.theasianparent.com/acupuncture-during-pregnancy
ฝังเข็มทำในระหว่างการตั้งครรภ์ ทำได้ไหม อันตรายหรือไม่
ขั้นตอนการฝังเข็มเป็นอย่างไร
- ช่วงปรับสมดุล
ช่วงแรกจะเป็นเหมือนการล้างพิษ ให้ร่างกายได้แก้ไข หรือปรับสภาพอาการต่าง ๆ การปรับสมดุลของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่รายบุคคล และจุดในการฝังเข็มก็จะแตกต่างกันไปเช่นกัน
- ช่วงบำรุงเลือด
เสริมฮอร์โมน เป็นช่วงที่จะต้องบำรุงร่างกาย ทั้งคุณพ่อ และคุณแม่ บำรุงเลือด โดยเน้นการฝังเข็ม และยาสมุนไพร ที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์โดยตรง
- ช่วงพร้อมสำหรับการมีลูก
ร่างกายทั้งคุณพ่อและคุณแม่ มีความพร้อมเต็มที่ สำหรับการมีบุตร ซึ่งจำเป็นจะต้องฝังเข็มและให้ยาสมุนไพร เพื่อคงการบำรุงไว้ แต่จะเน้นเป็นการปรับอารมณ์ และมีความผ่อนคลายมากขึ้น
ฝังเข็มทำในระหว่างการตั้งครรภ์ ได้หรือไม่
การฝังเข็มให้ผลข้างเคียงด้านลบในระดับที่ต่ำมาก ในหญิงตั้งครรภ์ แต่การฝังเข็มก็อาจจะทำให้สภาพของร่างกาย อ่อนแรง เมื่อยล้า หากมีอาการป่วยก่อนที่จะฝังเข็ม อาการอาจจะรุนแรงขึ้นได้ ในผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ในหญิงที่ตั้งครรภ์ จะช่วยรักษาอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน และหลัง รวมถึงช่วยบรรเทา อาการคลื่นไส้ อาเจียนอีกด้วย
ตั้งครรภ์แล้ว อยากฝังเข็มควรทำอย่างไร
ตั้งครรภ์แล้วแต่อยากฝังเข็ม อาจจะต้องมองหาคนที่ฝังเข็ม ที่ผ่านการรับรอง และมีใบอนุญาต มีการผ่านการอบรม หรือมีประสบการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฝังเข็มโดยเฉพาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จากนั้นควรเริ่มกระบวนการรักษา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ ที่ทำการฝากครรภ์ก่อน ค่อยตัดสินใจ และเมื่อเข้ารับการฝังเข็ม ก็ควรศึกษากับหมอที่ฝังเข็มก่อน ที่จะรักษาในขั้นตอนต่อไป
ประโยชน์ของการฝังเข็มในการมีบุตรยาก มีอะไรบ้าง ?
- การฝังเข็ม สามารถช่วยลดความเครียดได้ ช่วยลดความกังวล และการที่คุณแม่รู้สึกหดหู่ การฝังเข็มก็จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของสารเอ็นโดรฟิน
- เสริมสร้างความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน
- ปรับระดับ การไหลเวียนของเลือด และอวัยวะภายในทั้งหมด
- ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับการฝังตัวของไข่
- ช่วยปรับสมดุลด้านอารมณ์ ความรู้สึก และสุขภาพแบบองค์รวม
- สารเอ็นโดรฟินที่หลั่งออกมา ช่วยเสริมต่อการหลั่งฮอร์โมนเจริญพันธุ์ และการตกไข่ของเพศหญิง และยังช่วยในเรื่องของการทำงานของรังไข่ เพื่อให้รังไข่มีคุณภาพพร้อมที่จะให้อสุจิฝังตัว
- ในกลุ่มผู้หญิง ที่ทำการฝังเข็ม จะมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่า กลุ่มคนที่ไม่ได้เข้ารับการฝังเข็ม เนื่องจากจะช่วยลดการหดเกร็งของมดลูก
- การฝังเข็มช่วยผ่อนคลายมดลูก ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยให้มดลูกอุ่นขึ้น ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมฮอร์โมนและลดความเครียด ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการแท้งลูกได้
หากตั้งครรภ์แล้วไปฝังเข็ม แพทย์จะเลี่ยงฝังเข็มบริเวณไหน
หากเพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ ในระยะ 3 เดือนแรก แพทย์จะไม่ฝังเข็มบริเวณท้องน้อย หากตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป แพทย์จะเลี่ยงการฝังเข็มบริเวณท้องส่วนบน รวมไปถึงบริเวณเอวและก้นกบ และยังมีจุดฝังเข็มบางจุด ที่ไม่สามารถฝังเข็มได้ เนื่องจากจะยิ่งทำให้มดลูกบีบตัว ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
คุณแม่ฝังเข็มช่วงไตรมาส 3 จะช่วยให้คลอดง่ายจริงไหม ?
ในช่วงไตรมาส 3 นี้ ตำแหน่งของศีรษะลูกจะใกล้มดลูกมากขึ้น การใช้เทคนิคการฝังเข็ม จะช่วยให้ลูกสามารถหันศีรษะไปในทางที่เหมาะสมและดียิ่งขึ้น โดยก่อนเข้าสู่การฝังเข็มนั้น จะมีการเผาและพอกสมุนไพรบริเวณหน้าท้อง ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์สุดท้ายก่อนการคลอด และอาจจะมีบางตำแหน่งที่ได้รับการฝังเข็ม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ปากมดลูกหย่อน และมีการขยายตัวมากขึ้น เมื่อมดลูกหย่อนและขยายตัวมากขึ้น ก็จะช่วยให้คุณแม่คลอดเจ้าตัวน้อยได้ง่ายขึ้น
แต่การฝังเข็มก็ไม่ได้มีการยืนยันจากทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัด ว่าการฝังเข็มหรือการพอกสมุนไพรจะช่วยให้คุณแม่คลอดง่ายขึ้น ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรคาดหวังมากเกินไป กับผลลัพธ์ที่ต้องการ
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากทำการฝังเข็มขณะตั้งครรภ์
หากเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านการฝึกอบรม การฝังเข็มระหว่างตั้งครรภ์หากทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะมีความเสี่ยงที่น้อย และการฝังเข็มก็ไม่เกี่ยวข้องกับการแท้งบุตร หรือภาวะแทรกซ้อนสำคัญ ๆ แต่ส่วนใหญ่ ที่เกี่ยวกับการฝังเข็ม จะมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น การระบม รอยแดง หรือการติดเชื้อที่บริเวณที่แทง และการบาดเจ็บจากเข็มที่ฝังลึกมากเกินไป
ฝังเข็มช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้จริงหรือ ?
การฝังเข็ม สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกาย และเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ได้ และการฝังเข็ม ยังเป็นวิธีการที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการ ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) อีกด้วย โดยการฝังเข็มนั้น สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ได้สูงถึง 50 % ในขณะที่ผู้หญิงที่กำลังทำเด็กหลอดแก้ว และผู้หญิงที่ทำการฝังเข็ม จะมีอัตราการตั้งครรภ์ ที่ 42.5 % ซึ่งจะมีโอกาสเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า ผู้หญิงที่ไม่ได้เข้ารับการฝังเข็ม
อีกทั้ง การฝังเข็ม ยังช่วยลดฮอร์โมนความเครียด ที่ขัดขวางการตกไข่ ช่วยปรับฮอร์โมนให้สมดุลกัน เพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือด ที่ส่งไปยังมดลูก และ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของทารกในครรภ์อีกด้วย
https://th.theasianparent.com/acupuncture-during-pregnancy