" Death Head HawkMoth " ลางบอกเหตุแห่งความตายในยุคกลาง




การปรากฏตัวของ Hawkmoth death ถือเป็นลางบอกเหตุแห่งความตายในยุคกลาง
Cr.ภาพโดย BLICKWINKEL, ALAMY


ผีเสื้อกลางคืน Acherontia atropos หรือที่รู้จักกันในชื่อ " เหยี่ยวมรณะ " (death's-head hawkmoth) มีให้เห็นในงานศิลปะและภาพยนตร์ รวมถึงโปสเตอร์ของหนัง blockbuster ชื่อดังในปี 1991 เรื่อง “ The Silence of the Lambs ” เนื่องจากรูปที่คล้ายกะโหลกศีรษะที่ดูน่ากลัวที่ด้านหลัง นอกจากนี้ ยังเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับความชั่วร้ายและสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งในหลายวัฒนธรรม เชื่อกันว่าเป็นลางบอกเหตุแห่งความตาย และหากบินเข้ามาในบ้านของใคร มันจะนำโชคร้ายมาให้ ทั้งที่จริงแล้วผีเสื้อกลางคืนนั้นค่อนข้างไม่เป็นอันตราย

สำหรับความเชื่อทางไสยศาสตร์รอบๆ Hawkmoth นั้นน่าจะเกี่ยวข้องกับชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ atropos โดยในตำนานเทพเจ้ากรีกคำนี้มาจากตำนานเกี่ยวกับสาม Moirai (ชะตากรรม) ที่เป็นผู้ "ตัดสายใยชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด" ส่วน Acherontia มาจาก "Acheron" ซึ่งเป็นแม่น้ำในกรีซ ซึ่งตามตำนานเทพเจ้ากรีกเรียกแม่น้ำนี้ว่า "แม่น้ำแห่งความเจ็บปวด" (river of pain) และมันไม่เคยมีโอกาสได้รับชื่ออื่นที่ดีกว่านี้

Hawkmoth เป็นที่รู้จักด้านความสามารถในการเดินทางในระยะทางที่เหลือเชื่อ และงวงที่ยาวมากเหมือนหลอดไว้ดูดน้ำหวาน และเมื่อมันดูดน้ำหวานจากดอกไม้ งวงของมันจะเก็บละอองเกสรไปด้วย โดยละอองเรณูนั้นสามารถแพร่กระจายไปได้ไกลกว่า 18 ไมล์ ในขณะที่มันเดินทางไปตามเส้นทางหาอาหารของมัน
เนื่องจาก Hawkmoth ไม่ผสมเกสรให้พืชอาหาร มันจึงเป็นที่นิยมน้อยกว่าแมลงที่ช่วยอุตสาหกรรมการเกษตร แต่ผีเสื้อกลางคืนก็มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของพืชพื้นเมืองหลายชนิด ซึ่งหากไม่มีมัน พืชพื้นเมืองเหล่านี้จะหายไป และถิ่นอาศัยที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร
 

หนอนผีเสื้อ Acherontia atropos ซึ่งมีการป้องกันอื่น ๆ (Credit: Ingo Arndt/NPL) 

Gunnar Brehm จากมหาวิทยาลัย Friedrich Schiller Jena ในเยอรมนีและเพื่อนร่วมงานของเขา ที่ได้ทำการวิจัย death’s-head hawkmoth ระบุว่า
นอกจากรูปที่คล้ายกะโหลกศีรษะที่ดูน่ากลัวบนด้านหลังของมันแล้ว มันยังสามารถส่งเสียงแหลมสูงที่น่ากลัวเช่นกันเมื่อนักล่าผู้หิวโหยเข้าใกล้ และส่วนใหญ่เสียงดังกล่าวจะขัดขวางนักล่าเหล่านั้นได้ และแม้จะมีชื่อเสียงที่น่ากลัวและมีหนามที่ขา แต่เสียงนี้เป็นการป้องกันเพียงอย่างเดียวที่พวกมันมี ซึ่งนอกจากเสียงนั้นแล้ว พวกมันก็ไม่มีอันตรายใดๆอีก

hawkmoth นั้นส่วนใหญ่สามารถสร้างเสียงได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพวกมันจะทำได้โดยการถูชิ้นส่วนของร่างกายเข้าด้วยกัน เช่น ปีกและขา แต่เสียงที่เกิดจากภายในตัวนั้นหาได้ยากกว่ามาก ซึ่ง death’s-head hawkmoth เป็นหนึ่งในผีเสื้อกลางคืนเพียงไม่กี่ชนิดที่ส่งเสียงแหลมสูงที่น่ากลัวจากภายในตัวได้ ดังนั้น Brehm จึงอยากรู้ว่า death’s-head hawkmoth ทำได้อย่างไร

ก่อนหน้านี้ death’s-head hawkmoth เคยได้รับการศึกษาโดยนักชีววิทยาชาวเยอรมัน Heinrich Prell ซึ่งได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในปี 1920 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมันถูกเขียนเป็นภาษาเยอรมัน การค้นพบของเขาจึงถูกลืมไปนานมาก ต่อมา Brehm และเพื่อนร่วมงาน ได้นำการทดลองของ Prell มาทำซ้ำหลายๆครั้ง และยืนยันความคิดของ Prell เกี่ยวกับวิธีที่เหยี่ยวมรณะส่งเสียงเสียงอันเป็นเอกลักษณ์นี้ โดยผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ไว้ในวารสารวิทยาศาสตร์ The Science of Nature 


เหยี่ยวหัวมรณะกำลังหาอาหารอยู่ในรังผึ้ง (Credit: Ingo Arndt/NPL)
ในการศึกษาของ Prell  เขาคิดว่ามอธส่งเสียงจากการดูดอากาศเข้าไปในหัวโดยพองลมและทำให้ห้องในหัวเรียกว่า pharynx ซึ่งเทียบเท่ากับส่วนหลังของลำคอ จะส่งเสียงออกมาเป็นสองช่วงโดยช่วงแรกจะดังกว่าช่วงที่สอง ซึ่ง Brehm ได้ยืนยันเรื่องนี้ ต่อมา Prell แนะนำว่ามอธจะขยาย pharynx ก่อน
โดยดึงอากาศเข้าไป เมื่ออากาศเข้าไปมันจะผ่านเหนือส่วนที่แน่นขึ้นสิ่งนี้ทำให้เกิดเสียงแหลมสูง จากนั้นเมื่อ pharynx ยุบลง อากาศก็ออกไปอีกครั้งกลายเป็นเสียงที่ส่งออกมาครั้งที่สอง

นี้ดูเหมือนว่าจะถูกต้อง เมื่อ Brehm ใช้เทคโนโลยีวิดีโอความละเอียดสูงเพื่อดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อของผีเสื้อกลางคืน ในขณะที่มันส่งเสียงแหลม นอกจากนี้ เขายังพบว่าเมื่อมอธถูกแทง หัวมอธที่ถูกตัดหัวยังคงส่งเสียงแหลมอยู่ ซึ่ง Brehm คิดว่าความสามารถในการส่งเสียงของมันอาจมีวิวัฒนาการอันเนื่องมาจากอาหารที่ผิดปกติที่พวกมันกิน

ผีเสื้อกลางคืนและผีเสื้ออื่นๆส่วนใหญ่จะดื่มของเหลวที่มีรสหวานจากดอกไม้ โดยดูดผ่านท่อที่เรียกว่างวง (proboscis) แต่ death’s-head hawkmoth
ได้ปรับเปลี่ยนการดูดเพื่อให้มีความสามารถในการส่งเสียงที่ต่างออกไป โดยกินน้ำผึ้งที่มีความหวานและเข้มข้นอย่างมากแทน ดังนั้น Brehm จึงคิดว่าการปรับเปลี่ยนที่ไม่ใช่การดูดก็เพื่อสามารถกินน้ำผึ้งที่มีความหนืดได้อย่างอิสระ

จากนั้นก็เป็นขั้นตอนง่ายๆ ในการปรับเปลี่ยน pharynx อีกเล็กน้อยเพื่อให้สามารถเปล่งเสียงได้ และเพื่อให้ได้น้ำผึ้ง มอธเหยี่ยวมรณะจะเข้าไปในรังของผึ้ง ( Apis mellifera ) โดยไม่กลัวผึ้งต่อย เพราะมันจะผลิตสารเคมีที่ช่วยปลอบประโลมผึ้งออกมาเพื่อป้องกันตัวเอง ทั้งนี้ death’s-head hawkmoth นั้นชอบที่จะบุกเข้าไปในรังผึ้งและดื่มน้ำผึ้งจากรังโดยตรงมากกว่าจะรวบรวมน้ำหวานไปเก็บไว้ 

กระบองเพชร Puerto Rican higo chumbo ที่ใกล้สูญพันธุ์ และต้องอาศัยการผสมเกสรของ hawkmoth
 (Cr.U.S. Fish and Wildlife Service, Jan P. Zegarra)
อย่างไรก็ตาม มีทฤษฎีที่แย้งกันเกี่ยวกับวิธีที่มันเข้าและออกจากรังได้โดยไม่โดนต่อย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่าการส่งเสียงของมันคล้ายกับเสียงของนางพญาผึ้ง มันจึงเป็นที่ยอมรับของผึ้ง และยังพบว่าหลังจากดื่มน้ำผึ้งแล้ว death’s-head hawkmoth จะไม่สามารถส่งเสียงดังกล่าวได้นานถึง 5 ชม. ดังนั้น มันจะต้องรีบออกไปในทันทีหลังจากดื่มน้ำผึ้ง เพราะมันต้องอาศัยความสามารถในการส่งเสียงแหลมสูงเท่านั้น

แม้ว่าจะไม่มีข้อพิสูจน์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทฤษฎีนี้ แต่ Kitching นักวิจัย - กีฏวิทยาของพิพิธภัณฑ์ Natural History Museum กล่าวว่า นักวิจัยได้สังเกตเห็น เหยี่ยวมรณะ Acherontia ส่งเสียงแหลมเมื่อมาถึงรังผึ้งและฝูงผึ้งก็เข้าไปข้างในทันที

death’s-head hawkmoth พบได้ทั่วไปในแอฟริกาเขตร้อนและในเขตอบอุ่น และยังพบได้ทั่วไปในสหราชอาณาจักร โดยเป็นสายพันธุ์มอธที่ใหญ่ที่สุด
ตอนนี้ มีพืชหลายชนิดที่ Hawkmoth กินเป็นอาหารที่ใกล้สูญพันธุ์ จากการตัดไม้ทำลายป่าและการท่องเที่ยว เช่น ต้นกระบองเพชรดอกสีแดง Puerto Rican higo chumbo ที่อยู่บนเกาะเล็กๆ สามเกาะนอกชายฝั่งเปอร์โตริโก เพื่อความอยู่รอด มันต้องการแมลงผสมเกสรที่สามารถบินข้ามมหาสมุทรได้

และเนื่องจาก Hawkmoth มีขนาดใหญ่และแข็งแรง จึงสามารถบินได้ในระยะทางไกลเพื่อข้ามกลุ่มเกาะเหล่านี้  นี่ทำให้พวกมันสมบูรณ์แบบสำหรับ higo chumbo cactus นอกจากนั้น มันยังช่วยผสมเกสรกับพืชที่มีหนามแหลมของ  spiky Egger สายพันธุ์หนึ่งของ Agave Eggersiana ที่รอดชีวิตจากประชากรขนาดเล็กที่กระจัดกระจายอยู่บนเกาะ St. Croix ของหมู่เกาะเวอร์จินด้วย


ผีเสื้อกลางคืนสายพันธ์ Lepidoptera ของ National Museum of Natural History
ซึ่งเป็นแมลงผสมเกสรที่สำคัญสำหรับระบบนิเวศป่าจำนวนมาก โดย hawkmoth มีมากกว่า 1,450 สายพันธุ์บนโลก(Cr.Smithsonian) 


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


Cr.https://www.smithsonianmag.com/blogs/national-museum-of-natural-history/2020/06/22/why-hawk-moths-are-underdogs-pollinator-world/ BY Abigail Eisenstadt
Cr.https://www.heartspm.com/deaths-head-hawkmoth.php
Cr.http://www.bbc.com/earth/story/20150805-terrifying-squeak-of-death-moth /  Michael Marshall
Cr.https://www.nationalgeographic.com/animals/article/150811-insects-moths-science-animals-death-noises / BYJAMES OWEN
Cr.https://www.greekmythology.com/Other_Gods/The_Fates/the_fates.html

(ขอขขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่