เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป ด้วยความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง และมีปัญหาเชิงโครงสร้างหลายชั้น - KKP Research
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร จับสัญญาณว่าประเทศไทย กำลังได้รับความสนใจลดลง ในหลายมิติ
-มิติแรก คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ตลาดหุ้น
ที่นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกันนักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะในปี 2021 ที่ในไตรมาส 1 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างชาติแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท
-มิติที่สอง คือ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ
ซึ่งพบว่าในปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค
ในขณะที่บริษัทไทย ก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน
-อีกมิติที่สำคัญ คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ด้านการส่งออก
ในปี 2021 การส่งออกทั่วภูมิภาคขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้เร็ว
แต่สัญญาณที่เราเห็น คือ การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยมีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง
ซึ่งสะท้อนว่าไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น และต่างชาติ กำลังมีความต้องการสินค้าไทยลดน้อยลง
-ความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย ที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ ดังต่อไปนี้
ชั้นแรก : เกิดจากสินค้าส่งออกหลักของไทยปัจจุบัน กำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ
โดยสินค้าใน 5 กลุ่มหลัก คือ อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, รถยนต์, สินค้าเกษตร และปิโตรเคมี
มีสัญญาณชะลอตัวลงหรือไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่ากับในอดีต
ส่วนแบ่งตลาดโลกในกลุ่มสินค้าหลักทั้งหมด เริ่มคงที่ในระยะหลัง
ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนาม มีส่วนแบ่งตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นและแซงไทยในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ คือ 1.42% ในปี 1995 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.45% ในปี 2018
ในขณะที่เวียดนาม เริ่มจากไม่มีสินค้าส่งออกกลุ่มนี้เลยในปี 1995 กลับมีส่วนมีส่วนแบ่งตลาดถึง 4.1% ในปี 2018
สอดคล้องกับโครงสร้างการส่งออกของเวียดนาม ที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง และในปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มโทรศัพท์แบบเครื่องและพกพาถึงประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด
นอกจากนี้ ส่วนแบ่งตลาดโลกในสินค้าเกษตรของเวียดนาม เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับ 1.48% ในระดับใกล้เคียงกับไทยที่ 1.99% ในปี 2018
ยิ่งไปกว่านั้น สินค้าส่งออกของไทยหลายอย่าง กำลังเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ
1) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ที่ไทยไม่มีการส่งออก เช่น ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่กำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก
และไทยยังเป็นฐานการผลิต Hard Disk Drive เป็นหลัก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น Solid State Drive
2) เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ ได้รับอานิสงส์จากการลงทุนทางตรงจากญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงที่ชัดเจนขึ้น
3) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบเก่า ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า
4) สินค้าเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มากขึ้น ในขณะที่ผลิตภาพการผลิตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ
5) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อาจสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เริ่มมีปริมาณการผลิตลดลงเรื่อย ๆ
ชั้นที่สอง : ไทยไม่มีสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง และทำหน้าที่เพียงรับจ้างผลิต
เมื่อพิจารณาโครงสร้างการเติบโตของสินค้าส่งออกไทยในช่วงกว่า 25 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการเติบโตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางเฉพาะรถยนต์ ในขณะที่ไม่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่การส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจน
เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ที่น้อยกว่าภูมิภาค คือ 19% เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมด ในปี 2019
เทียบกับเวียดนามที่ 28% และเอเชียที่ 26%
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพียง 2.2% ในขณะที่เอเชีย โตเฉลี่ยถึง 6.6%
โครงสร้างการส่งออกที่ยังเป็นสินค้าแบบเก่า ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค
อีกประเด็นที่น่ากังวล คือ ประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้า และไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการผลิต (Value added) ที่บริษัทไทยสร้างได้ พบว่าอยู่ในสัดส่วนคงที่มาโดยตลอด
สะท้อนว่าในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสู่ประเทศไทย
นอกจากนี้ปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นการเข้าสู่สังคมสูงอายุที่เลี่ยงไม่ได้ จะเป็นอีกปัจจัยลบต่อการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ ทั้งมิติขนาดของตลาดและความพร้อมของแรงงาน, ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น, การขาดการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ
ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในไทยลดน้อยลงไป
ชั้นสุดท้าย : นโยบายของรัฐ ยังไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระยะยาว
เมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขัน ที่จัดทำโดย IMD (World Competitiveness Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ในปี 2019
ซึ่งแม้ไทยไม่อยู่ในลำดับที่แย่มาก แต่มีอุปสรรคใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และส่งผลไปถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามเทรนด์โลก ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงอนาคต
ไม่ว่าจะเป็น การผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศ จากปัญหาการคอร์รัปชัน, การเอื้อประโยชน์พวกพ้อง ทำให้ไม่เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพราะไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัท
ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและท้าทายของเศรษฐกิจระยะยาว
ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการปฏิรูปกฎระเบียบที่เหมาะสม พร้อมดึงดูดการลงทุน
-จุดเปลี่ยน
ปัญหาความสามารถในการแข่งขัน อาจกำลังผลักให้เศรษฐกิจไทย ก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนในอย่างน้อยสองประเด็นสำคัญ คือ
1) เศรษฐกิจไทยในอดีตที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว อาจไม่ได้ผลอีกต่อไปในอนาคต
หากประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกที่ชัดเจน อาจทำให้สินค้าส่งออกไทยไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าเดิม หรือ อาจหดตัวลงในบางกรณี
เช่น หากทั่วโลกหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน จะกระทบภาพการส่งออกรถยนต์และการจ้างงานในประเทศอย่างมหาศาล
2) ดุลการค้าของไทย อาจจะเกินดุลลดลง และสร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินระหว่างในระยะยาว
ในวันนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่า ดุลบุญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่ จะกลับมาเกินดุลจากนักท่องเที่ยวที่จะทยอยกลับมาในปี 2564 และ 2565
KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่า ยังมีความเสี่ยงในกรณีเลวร้าย ที่ความสามารถในการแข่งขันของไทยแย่ลงไปเรื่อย ๆ และไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในสินค้าส่งออกหลักของไทย
ทำให้รายได้ของคนในประเทศลดลง และไทยต้องหันมานำเข้าสินค้าที่เคยส่งออก
เป็นไปได้ที่จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย เปลี่ยนจากเกินดุลเป็นขาดดุล
สร้างความเสี่ยงให้เงินบาทเปลี่ยนทิศทางจากแข็งค่า เป็นอ่อนค่าลงได้
-ทางออก
KKP Research เสนอทางออก 4 ด้าน เพื่อให้ประเทศไทย สามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้
1) การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ
2) การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด เพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี อย่างไรก็ตามไทยยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก
3) โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น การขนส่ง, การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษี ให้วางแผนและเข้าใจง่าย, การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High Speed Broadband
4) สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้
#เศรษฐกิจไทย
#ความสามารถในการแข่งขัน
บทความโดนๆ… เมื่อโลกไม่สนใจไทยอีกต่อไป
เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป ด้วยความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง และมีปัญหาเชิงโครงสร้างหลายชั้น - KKP Research
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร จับสัญญาณว่าประเทศไทย กำลังได้รับความสนใจลดลง ในหลายมิติ
-มิติแรก คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ตลาดหุ้น
ที่นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกันนักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะในปี 2021 ที่ในไตรมาส 1 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างชาติแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท
-มิติที่สอง คือ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ
ซึ่งพบว่าในปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค
ในขณะที่บริษัทไทย ก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน
-อีกมิติที่สำคัญ คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ด้านการส่งออก
ในปี 2021 การส่งออกทั่วภูมิภาคขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้เร็ว
แต่สัญญาณที่เราเห็น คือ การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยมีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง
ซึ่งสะท้อนว่าไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น และต่างชาติ กำลังมีความต้องการสินค้าไทยลดน้อยลง
-ความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย ที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ ดังต่อไปนี้
ชั้นแรก : เกิดจากสินค้าส่งออกหลักของไทยปัจจุบัน กำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ
โดยสินค้าใน 5 กลุ่มหลัก คือ อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, รถยนต์, สินค้าเกษตร และปิโตรเคมี
มีสัญญาณชะลอตัวลงหรือไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่ากับในอดีต
ส่วนแบ่งตลาดโลกในกลุ่มสินค้าหลักทั้งหมด เริ่มคงที่ในระยะหลัง
ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนาม มีส่วนแบ่งตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นและแซงไทยในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ คือ 1.42% ในปี 1995 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.45% ในปี 2018
ในขณะที่เวียดนาม เริ่มจากไม่มีสินค้าส่งออกกลุ่มนี้เลยในปี 1995 กลับมีส่วนมีส่วนแบ่งตลาดถึง 4.1% ในปี 2018
สอดคล้องกับโครงสร้างการส่งออกของเวียดนาม ที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง และในปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มโทรศัพท์แบบเครื่องและพกพาถึงประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด
นอกจากนี้ ส่วนแบ่งตลาดโลกในสินค้าเกษตรของเวียดนาม เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับ 1.48% ในระดับใกล้เคียงกับไทยที่ 1.99% ในปี 2018
ยิ่งไปกว่านั้น สินค้าส่งออกของไทยหลายอย่าง กำลังเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ
1) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ที่ไทยไม่มีการส่งออก เช่น ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่กำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก
และไทยยังเป็นฐานการผลิต Hard Disk Drive เป็นหลัก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น Solid State Drive
2) เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ ได้รับอานิสงส์จากการลงทุนทางตรงจากญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงที่ชัดเจนขึ้น
3) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบเก่า ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า
4) สินค้าเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มากขึ้น ในขณะที่ผลิตภาพการผลิตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ
5) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อาจสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เริ่มมีปริมาณการผลิตลดลงเรื่อย ๆ
ชั้นที่สอง : ไทยไม่มีสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง และทำหน้าที่เพียงรับจ้างผลิต
เมื่อพิจารณาโครงสร้างการเติบโตของสินค้าส่งออกไทยในช่วงกว่า 25 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการเติบโตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางเฉพาะรถยนต์ ในขณะที่ไม่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่การส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจน
เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ที่น้อยกว่าภูมิภาค คือ 19% เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมด ในปี 2019
เทียบกับเวียดนามที่ 28% และเอเชียที่ 26%
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพียง 2.2% ในขณะที่เอเชีย โตเฉลี่ยถึง 6.6%
โครงสร้างการส่งออกที่ยังเป็นสินค้าแบบเก่า ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค
อีกประเด็นที่น่ากังวล คือ ประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้า และไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการผลิต (Value added) ที่บริษัทไทยสร้างได้ พบว่าอยู่ในสัดส่วนคงที่มาโดยตลอด
สะท้อนว่าในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสู่ประเทศไทย
นอกจากนี้ปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นการเข้าสู่สังคมสูงอายุที่เลี่ยงไม่ได้ จะเป็นอีกปัจจัยลบต่อการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ ทั้งมิติขนาดของตลาดและความพร้อมของแรงงาน, ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น, การขาดการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ
ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในไทยลดน้อยลงไป
ชั้นสุดท้าย : นโยบายของรัฐ ยังไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระยะยาว
เมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขัน ที่จัดทำโดย IMD (World Competitiveness Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ในปี 2019
ซึ่งแม้ไทยไม่อยู่ในลำดับที่แย่มาก แต่มีอุปสรรคใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และส่งผลไปถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามเทรนด์โลก ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงอนาคต
ไม่ว่าจะเป็น การผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศ จากปัญหาการคอร์รัปชัน, การเอื้อประโยชน์พวกพ้อง ทำให้ไม่เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพราะไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัท
ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและท้าทายของเศรษฐกิจระยะยาว
ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการปฏิรูปกฎระเบียบที่เหมาะสม พร้อมดึงดูดการลงทุน
-จุดเปลี่ยน
ปัญหาความสามารถในการแข่งขัน อาจกำลังผลักให้เศรษฐกิจไทย ก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนในอย่างน้อยสองประเด็นสำคัญ คือ
1) เศรษฐกิจไทยในอดีตที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว อาจไม่ได้ผลอีกต่อไปในอนาคต
หากประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกที่ชัดเจน อาจทำให้สินค้าส่งออกไทยไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าเดิม หรือ อาจหดตัวลงในบางกรณี
เช่น หากทั่วโลกหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน จะกระทบภาพการส่งออกรถยนต์และการจ้างงานในประเทศอย่างมหาศาล
2) ดุลการค้าของไทย อาจจะเกินดุลลดลง และสร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินระหว่างในระยะยาว
ในวันนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่า ดุลบุญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่ จะกลับมาเกินดุลจากนักท่องเที่ยวที่จะทยอยกลับมาในปี 2564 และ 2565
KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่า ยังมีความเสี่ยงในกรณีเลวร้าย ที่ความสามารถในการแข่งขันของไทยแย่ลงไปเรื่อย ๆ และไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในสินค้าส่งออกหลักของไทย
ทำให้รายได้ของคนในประเทศลดลง และไทยต้องหันมานำเข้าสินค้าที่เคยส่งออก
เป็นไปได้ที่จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย เปลี่ยนจากเกินดุลเป็นขาดดุล
สร้างความเสี่ยงให้เงินบาทเปลี่ยนทิศทางจากแข็งค่า เป็นอ่อนค่าลงได้
-ทางออก
KKP Research เสนอทางออก 4 ด้าน เพื่อให้ประเทศไทย สามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้
1) การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ
2) การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด เพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี อย่างไรก็ตามไทยยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก
3) โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น การขนส่ง, การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษี ให้วางแผนและเข้าใจง่าย, การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High Speed Broadband
4) สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้
#เศรษฐกิจไทย
#ความสามารถในการแข่งขัน