ในช่วงที่เด็ก ๆ กำลังเติบโต พวกเขาอาจต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากมาย ซึ่งภาวะ เท้าแบน เป็นสิ่งที่เด็กเล็กทั่วไปเป็นกันได้ และความผิดปกตินี้ มักหายไปตอนเด็กอายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนที่โตแล้ว อาจจะยังเท้าแบนอยู่ มาดูกันว่าเมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปหาหมอ อาการเท้าแบนแบบไหน ที่เรียกว่าผิดปกติ
เท้าแบน คืออะไร
เท้าแบน เป็นภาวะที่เท้าเกิดความผิดปกติ เมื่อลองเอาเท้าแนบติดกับพื้น จะมองไม่เห็นส่วนโค้งเว้าใต้เท้า ความจริงแล้วภาวะนี้ เกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วไปที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1-5 ขวบ เกิดจากการที่กระดูกและข้อต่อของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งความผิดปกตินี้ มักจะหายไปเมื่อเด็กอายุได้ 6 ขวบ อย่างไรก็ตาม อาจมีเด็กบางคนที่ไม่หายขาดจากภาวะเท้าแบน ทำให้ต้องเข้ารับการรักษา เพื่อให้กลับมามีเท้าที่ปกติ และใช้งานได้เหมือนคนทั่วไป ส่วนสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่หายขาดจากโรคนี้นั้น อาจมาจากภาวะกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติ และมีกระดูกข้อเท้าที่ผิดรูป
เด็กเท้าแบนส่วนใหญ่ สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ และเล่นกีฬาได้เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคน อาจรู้สึกเจ็บหรือมีอาการปวดที่เท้า เพราะกระดูกมีการเติบโตผิดรูป จนส่งผลต่อการใช้ชีวิต และเดินได้ไม่สะดวกเหมือนคนอื่น
เด็กเท้าแบน มีอาการเป็นยังไง
เด็กที่เท้าแบน อาจรู้สึกไม่สบายเท้าเมื่อต้องเดินหรือวิ่ง เคลื่อนไหวเท้าได้ลำบาก มีเท้าผิดรูป มีอาการปวดตั้งแต่เข่าลงไปถึงเท้า ใส่รองเท้าได้ลำบาก ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ไม่สะดวก เหนื่อยง่าย ซุ่มซ่ามตอนเดิน และมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น เอ็นร้อยหวายอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ เอ็นในฝ่าเท้าอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดบริเวณรอบ ๆ เท้า ปวดหลัง ปวดสะโพก เจ็บตาปลา และปวดนิ้วหัวแม่เท้า เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเด็ก และส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กได้
เท้าแบน รักษายังไง
หากเด็กอายุมากกว่า 5 ขวบแล้วยังเท้าแบนอยู่ คุณหมออาจแนะนำให้เด็กใส่เสริมส้นในรองเท้า เพื่อช่วยในการรักษาอาการปวด หรือใช้แผ่นรองเท้าเพื่อช่วยให้สบายเท้ามากยิ่งขึ้นเวลาเดิน นอกจากนี้ เด็ก ๆ อาจต้องทานยาแก้ปวด และหมั่นออกกำลังยืดกล้ามเนื้อเท้าด้วย และในบางกรณี คุณหมออาจแนะนำให้เด็กเข้ารับการผ่าตัด หากว่าภาวะเท้าแบนของเด็กรุนแรง หรืออาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ในอนาคต
วิธีดูแลลูกที่มีภาวะเท้าแบน
คุณแม่สามารถดูแลลูก ๆ ที่มีภาวะเท้าแบนได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังน้ี
- เมื่อเด็กรู้สึกปวดเท้า ให้เด็กนอนพัก หยุดการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกาย หรืองดเว้นจากการทำกิจกรรม เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ การกระโดด เป็นต้น เพราะกิจกรรมเหล่านี้ ต้องอาศัยการขยับเท้าและข้อเท้า ซึ่งอาจทำให้อาการปวดเท้าของเด็กแย่ลงมากกว่าเดิม
- ซื้อแผ่นรองเท้าตามร้านขายยาให้เด็กใส่ตอนที่เดิน อาจช่วยให้เด็กเดินได้สบายมากขึ้น และปวดเท้าน้อยลง
- หากเด็กมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ควรให้เด็กลดน้ำหนัก เพราะการที่เด็กน้ำหนักเยอะ อาจทำให้น้ำหนักกดทับเท้าตอนที่เดิน จนปวดเท้ามากขึ้นได้
- หากเด็กมีอาการปวดเท้า ให้ลองประคบเย็นที่เท้าของเด็ก หรืออาจจะให้เด็กรับประทานยาแก้ปวดไอบูโพรเฟนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะให้เด็กรับประทานยาทุกชนิด
- ให้เด็กใส่รองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าของเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กเกิดอาการปวดตอนที่เดินอยู่
- ลองปรึกษาแพทย์ดูว่า มีกิจกรรมไหนที่เด็ก ๆ ทำได้บ้าง และมีกิจกรรมไหนที่ควรเลี่ยง
- ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เด็กเป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
- ไม่ให้เด็กเล่นกีฬาที่อาจทำให้เกิดแรงกระแทกที่เท้า เช่น ฟุตบอล เทนนิส ฮอกกี้ หรือบาสเกตบอล เป็นต้น
- หากอาการของเด็กแย่ลง ให้พาเด็กเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจ
พาลูกไปหาหมอตอนไหนดี
หากตอนนี้ คุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยเท้าแบน ก็อย่าเพิ่งตกใจ หากลูก ๆ เราอายุอยู่ในช่วง 1-5 ขวบ ก็ยังถือว่าไม่มีความผิดปกติอะไร เพราะเด็ก ๆ ที่ยังอายุน้อยมักจะเท้าแบน แต่หากลูกอายุมากกว่า 5 ขวบแล้วเท้ายังไม่หายแบน ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาค่ะ ส่วนวิธีสังเกตว่าลูกเท้าแบนไหม ทำได้ง่าย ๆ โดยให้ลูกยืน และลองเอาเท้าแนบพื้นดู หากใต้เท้าของเด็กไม่มีส่วนโค้งเว้า ก็เท่ากับลูกมีภาวะเท้าแบนค่ะ
เมื่อคุณแม่พาลูกที่มีภาวะเท้าแบนไปพบหมอ หมอจะตรวจดูเท้าของเด็กในขณะที่เด็กนั่งหรือยืน และตรวจดูการเคลื่อนไหวของเด็กตอนที่เดิน รวมทั้งอาจจะเช็คดูที่ขาท่อนล่างหรือสะโพกของเด็ก ๆ ด้วย ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า ซึ่งอาจทำโดยการเอ็กซเรย์ค่ะ
https://th.theasianparent.com/flat-foot-condition-in-children
เท้าแบน ลูกเราเท้าแบนหรือเปล่า ลูกเท้าแบนต้องพาไปหาหมอไหม?
เท้าแบน คืออะไร
เท้าแบน เป็นภาวะที่เท้าเกิดความผิดปกติ เมื่อลองเอาเท้าแนบติดกับพื้น จะมองไม่เห็นส่วนโค้งเว้าใต้เท้า ความจริงแล้วภาวะนี้ เกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วไปที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1-5 ขวบ เกิดจากการที่กระดูกและข้อต่อของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งความผิดปกตินี้ มักจะหายไปเมื่อเด็กอายุได้ 6 ขวบ อย่างไรก็ตาม อาจมีเด็กบางคนที่ไม่หายขาดจากภาวะเท้าแบน ทำให้ต้องเข้ารับการรักษา เพื่อให้กลับมามีเท้าที่ปกติ และใช้งานได้เหมือนคนทั่วไป ส่วนสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่หายขาดจากโรคนี้นั้น อาจมาจากภาวะกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติ และมีกระดูกข้อเท้าที่ผิดรูป
เด็กเท้าแบนส่วนใหญ่ สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ และเล่นกีฬาได้เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคน อาจรู้สึกเจ็บหรือมีอาการปวดที่เท้า เพราะกระดูกมีการเติบโตผิดรูป จนส่งผลต่อการใช้ชีวิต และเดินได้ไม่สะดวกเหมือนคนอื่น
เด็กเท้าแบน มีอาการเป็นยังไง
เด็กที่เท้าแบน อาจรู้สึกไม่สบายเท้าเมื่อต้องเดินหรือวิ่ง เคลื่อนไหวเท้าได้ลำบาก มีเท้าผิดรูป มีอาการปวดตั้งแต่เข่าลงไปถึงเท้า ใส่รองเท้าได้ลำบาก ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ไม่สะดวก เหนื่อยง่าย ซุ่มซ่ามตอนเดิน และมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น เอ็นร้อยหวายอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ เอ็นในฝ่าเท้าอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดบริเวณรอบ ๆ เท้า ปวดหลัง ปวดสะโพก เจ็บตาปลา และปวดนิ้วหัวแม่เท้า เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเด็ก และส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กได้
เท้าแบน รักษายังไง
หากเด็กอายุมากกว่า 5 ขวบแล้วยังเท้าแบนอยู่ คุณหมออาจแนะนำให้เด็กใส่เสริมส้นในรองเท้า เพื่อช่วยในการรักษาอาการปวด หรือใช้แผ่นรองเท้าเพื่อช่วยให้สบายเท้ามากยิ่งขึ้นเวลาเดิน นอกจากนี้ เด็ก ๆ อาจต้องทานยาแก้ปวด และหมั่นออกกำลังยืดกล้ามเนื้อเท้าด้วย และในบางกรณี คุณหมออาจแนะนำให้เด็กเข้ารับการผ่าตัด หากว่าภาวะเท้าแบนของเด็กรุนแรง หรืออาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ในอนาคต
วิธีดูแลลูกที่มีภาวะเท้าแบน
คุณแม่สามารถดูแลลูก ๆ ที่มีภาวะเท้าแบนได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังน้ี
- เมื่อเด็กรู้สึกปวดเท้า ให้เด็กนอนพัก หยุดการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกาย หรืองดเว้นจากการทำกิจกรรม เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ การกระโดด เป็นต้น เพราะกิจกรรมเหล่านี้ ต้องอาศัยการขยับเท้าและข้อเท้า ซึ่งอาจทำให้อาการปวดเท้าของเด็กแย่ลงมากกว่าเดิม
- ซื้อแผ่นรองเท้าตามร้านขายยาให้เด็กใส่ตอนที่เดิน อาจช่วยให้เด็กเดินได้สบายมากขึ้น และปวดเท้าน้อยลง
- หากเด็กมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ควรให้เด็กลดน้ำหนัก เพราะการที่เด็กน้ำหนักเยอะ อาจทำให้น้ำหนักกดทับเท้าตอนที่เดิน จนปวดเท้ามากขึ้นได้
- หากเด็กมีอาการปวดเท้า ให้ลองประคบเย็นที่เท้าของเด็ก หรืออาจจะให้เด็กรับประทานยาแก้ปวดไอบูโพรเฟนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะให้เด็กรับประทานยาทุกชนิด
- ให้เด็กใส่รองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าของเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กเกิดอาการปวดตอนที่เดินอยู่
- ลองปรึกษาแพทย์ดูว่า มีกิจกรรมไหนที่เด็ก ๆ ทำได้บ้าง และมีกิจกรรมไหนที่ควรเลี่ยง
- ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เด็กเป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
- ไม่ให้เด็กเล่นกีฬาที่อาจทำให้เกิดแรงกระแทกที่เท้า เช่น ฟุตบอล เทนนิส ฮอกกี้ หรือบาสเกตบอล เป็นต้น
- หากอาการของเด็กแย่ลง ให้พาเด็กเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจ
พาลูกไปหาหมอตอนไหนดี
หากตอนนี้ คุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยเท้าแบน ก็อย่าเพิ่งตกใจ หากลูก ๆ เราอายุอยู่ในช่วง 1-5 ขวบ ก็ยังถือว่าไม่มีความผิดปกติอะไร เพราะเด็ก ๆ ที่ยังอายุน้อยมักจะเท้าแบน แต่หากลูกอายุมากกว่า 5 ขวบแล้วเท้ายังไม่หายแบน ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาค่ะ ส่วนวิธีสังเกตว่าลูกเท้าแบนไหม ทำได้ง่าย ๆ โดยให้ลูกยืน และลองเอาเท้าแนบพื้นดู หากใต้เท้าของเด็กไม่มีส่วนโค้งเว้า ก็เท่ากับลูกมีภาวะเท้าแบนค่ะ
เมื่อคุณแม่พาลูกที่มีภาวะเท้าแบนไปพบหมอ หมอจะตรวจดูเท้าของเด็กในขณะที่เด็กนั่งหรือยืน และตรวจดูการเคลื่อนไหวของเด็กตอนที่เดิน รวมทั้งอาจจะเช็คดูที่ขาท่อนล่างหรือสะโพกของเด็ก ๆ ด้วย ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า ซึ่งอาจทำโดยการเอ็กซเรย์ค่ะ
https://th.theasianparent.com/flat-foot-condition-in-children