รพ.ธรรมศาสตร์ วุ่น! ที่เก็บศพไม่พอ เตรียมเช่าตู้คอนเทนเนอร์รับมือ
https://www.dailynews.co.th/news/49065/
เมื่อวันที่ 13 ก.ค. เพจเฟซบุ๊ก
โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เขียนถึงสถานการณ์ของโรงพยาบาลสนามที่เปิดมา 93 วัน ซึ่งพบว่ามีแพทย์ติดเชื้อและต้องกักตัวสลับกันทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้บุคลากรขาดแคลนและต้องทำงานอย่างหนัก และประเมินตัวเลขผู้ป่วยใหม่คงสูงขึ้นและน่าจะผ่านหลัก 10,000 ไป และตัวเลขผู้เสียชีวิตก็คงจะสูงตามไปด้วย
ตอนหนึ่งของโพสต์ระบุว่า เมื่อวานมีการส่งผู้ป่วยโควิดอาการหนักถึงขนาดต้อง CPR กันในห้องฉุกเฉินเข้ามาที่รพ.ถึงสี่ราย แต่เราสามารถปั๊มหัวใจจนมีสัญญาณชีพกลับคืนมา และส่งเข้ารักษาต่อใน ICU ได้เพียงสองรายเท่านั้น สถานการณ์ที่หนักหนาขึ้นเรื่อยๆ คงทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโควิดในโรงพยาบาลมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ทั้งการที่ธรรมศาสตร์มีหน่วยนิติเวชที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ปทุมธานีและใกล้เคียงอยู่ แม้จะมีเคสผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้าน แต่ก็จะต้องถูกส่งมาตรวจชันสูตรที่นี่ด้วย จำนวนผู้เสียชีวิตที่มากขึ้นทำให้เราเริ่มมีปัญหากับความพอเพียงของสถานที่เก็บศพ วันนี้เราจึงได้เตรียมเช่าตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มสำหรับการนี้อีกสองตู้แล้ว
อันที่จริงเรื่องทำนองนี้ไม่ควรจะบอกออกไปต่อสาธารณะ แต่การที่เราแจ้งเรื่องนี้ให้ทราบก็เป็นความตั้งใจที่จะบอกเล่าความเป็นจริงที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ หรือที่จะต้องเผชิญต่อไปในอีกหนึ่งหรือสองสัปดาห์หน้าให้ทุกๆฝ่ายทราบ และเตรียมรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่จะเกิดขึ้นกับระบบสาธารณสุขของเราในอีกไม่กี่วันที่จะมาถึงนี้
แต่ที่นี่ เราก็ไม่ได้นิ่งเฉยรอรับสถานการณ์ด้วยการเตรียมคอนเทนเนอร์เพิ่มไว้เท่านั้นหรอกนะ พวกเราที่นี่ขวนขวาย ขุดสนามเพลาะ ปรับปรุงค่ายคูประตูหอรบ เตรียมหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่ม และปรับกำลังรบกัน เพื่อเตรียมรบแตกหักครั้งสุดท้ายในสัปดาห์สองสัปดาห์นี้ด้วยเหมือนกัน
วันนี้ พวกเราตัดสินใจสร้างห้อง negative pressure ขนาด 150 ตรม.ขึ้นที่ห้องฉุกเฉิน ER เพื่อรองรับ และกลั่นกรองผู้ป่วยฉุกเฉินที่ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อก่อนที่จะผ่านเข้าไปในรพ. การเพิ่มพื้นที่เฉพาะรองรับผู้ป่วยฉุกเฉิน PUI ได้ระดับสูงสุดถึง 15 คน พร้อมกันภายในห้องความดันลบในER นี้ น่าจะทำให้มาตรการป้องกันการติดเชื้อของเรามีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น โดยเฉพาะภายใน ERซึ่งเป็นประตูเดียวที่จะผ่านเข้าสู่ทุกวอร์ดผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลได้
https://www.facebook.com/TUFHforCOVID19/posts/346273400349835
หมอบุญ เผยข่าวดี สั่งซื้อวัคซีน mRNA ถึง 20 ล้านโดส คาดเจรจาเสร็จสัปดาห์นี้
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6506603
หมอบุญ เผยข่าวดี สั่งซื้อวัคซีน mRNA ทั้งโนวาแวกซ์-ไบออนเทค ถึง 20 ล้านโดส คาดเจรจาเสร็จสัปดาห์นี้ แต่ต้องให้นายกฯเห็นชอบด้วย
หลังจากก่อนหน้านี้นพ.
บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัทธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ออกมาระบุเตรียมร่วมกับหน่วยงานรัฐ สั่งซื้อวัคซีนชนิด mRNA ของไบออนเทคของเยอรมัน และโนวาแวกซ์ ของสหรัฐอเมริกา โดยกำลังเร่งเจรจาคาดนำเข้ามาได้ในเดือนนี้ ตามที่เคยเสนอข่าวไปแล้วนั้น
สำหรับความคืบหน้า เมื่อวันที่ 13 ก.ค.64 นพ.
บุญ เปิดเผยความคืบหน้าว่า ตอนนี้กำลังเจรจาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้กระทรวงต่างประเทศช่วยประสานงาน โดยเหลืออีก 3-4 ขั้นตอน คาดจะเร่งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้
เรื่องการสั่งซื้อวัคซีน mRNA ทั้ง 2 ยี่ห้อนี้ต้องให้พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบด้วย ส่วนลักษณะการนำเข้าจะเหมือนกับวัคซีนซิโนฟาร์ม โดยขณะนี้บริษัทผู้ผลิตได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว สั่งซื้อวัคซีนไบออนเทคจำนวน 10 ล้านโดส และวัคซีนโนวาแวกซ์ 10 ล้านโดส รวม 20 ล้านโดส
ดร.อนันต์ แจง WHO ไม่ได้ค้านฉีดสลับเข็มภายใต้การควบคุมผู้เชี่ยวชาญ มีงานวิจัย
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6506621
จากกรณีที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้มีมติให้ฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ได้ดีกว่าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสในระดับที่สูงและเร็วมากยิ่งขึ้นนั้น
ต่อมา ดร.
โสมยา สวามีนาธาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำองค์การอนามัยโลกเตือนว่า การสร้างภูมิคุ้มกันโดยจับคู่วัคซีนจากผู้ผลิตหลายรายมาผสมกัน ซึ่งหลายประเทศกำลังดำเนินการอยู่นั้น ถือเป็น “
แนวโน้มที่อันตราย” เพราะยังมีข้อมูลการวิจัยว่าด้วยการฉีดวัคซีนแบบผสมสูตรอยู่น้อยมาก จนไม่อาจจะทราบได้ว่าจะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
ด้าน ดร.
อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า
ส่วนตัวไม่คิดว่า Dr.
Swaminathan จาก WHO ค้านการใช้วัคซีนแบบสลับเข็ม แต่สิ่งที่ค้านคือคนไปขอฉีดแบบนั้นกันเอง คำว่า Public Health agencies (ซึ่งก็คือคณะกรรมการสาธารณสุข + ผู้เชี่ยวชาญ) can [decide] based on available data (บนข้อมูลที่มีในแต่ละประเทศ) ที่อยู่ใน ทวิตเตอร์ของเธอเองก็ชัดเจนอยู่ในตัวเองแล้ว
ความเห็นของนักวิชาการควรใช้สารตรงจากนักวิชาการครับ ถ้าผ่านการย่อยมาจากสื่อ สาระที่ได้อาจผิดเพี้ยน”
https://www.facebook.com/anan.jongkaewwattana/posts/4580204672019419
JJNY : รพ.ธรรมศาสตร์วุ่น!ที่เก็บศพไม่พอ│หมอบุญเผยข่าวดี│ดร.อนันต์แจงWHOไม่ได้ค้านฉีดสลับภายใต้การควบคุม│โรงแรมตายหมู่
https://www.dailynews.co.th/news/49065/
ตอนหนึ่งของโพสต์ระบุว่า เมื่อวานมีการส่งผู้ป่วยโควิดอาการหนักถึงขนาดต้อง CPR กันในห้องฉุกเฉินเข้ามาที่รพ.ถึงสี่ราย แต่เราสามารถปั๊มหัวใจจนมีสัญญาณชีพกลับคืนมา และส่งเข้ารักษาต่อใน ICU ได้เพียงสองรายเท่านั้น สถานการณ์ที่หนักหนาขึ้นเรื่อยๆ คงทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโควิดในโรงพยาบาลมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ทั้งการที่ธรรมศาสตร์มีหน่วยนิติเวชที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ปทุมธานีและใกล้เคียงอยู่ แม้จะมีเคสผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้าน แต่ก็จะต้องถูกส่งมาตรวจชันสูตรที่นี่ด้วย จำนวนผู้เสียชีวิตที่มากขึ้นทำให้เราเริ่มมีปัญหากับความพอเพียงของสถานที่เก็บศพ วันนี้เราจึงได้เตรียมเช่าตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มสำหรับการนี้อีกสองตู้แล้ว
อันที่จริงเรื่องทำนองนี้ไม่ควรจะบอกออกไปต่อสาธารณะ แต่การที่เราแจ้งเรื่องนี้ให้ทราบก็เป็นความตั้งใจที่จะบอกเล่าความเป็นจริงที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ หรือที่จะต้องเผชิญต่อไปในอีกหนึ่งหรือสองสัปดาห์หน้าให้ทุกๆฝ่ายทราบ และเตรียมรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่จะเกิดขึ้นกับระบบสาธารณสุขของเราในอีกไม่กี่วันที่จะมาถึงนี้
แต่ที่นี่ เราก็ไม่ได้นิ่งเฉยรอรับสถานการณ์ด้วยการเตรียมคอนเทนเนอร์เพิ่มไว้เท่านั้นหรอกนะ พวกเราที่นี่ขวนขวาย ขุดสนามเพลาะ ปรับปรุงค่ายคูประตูหอรบ เตรียมหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่ม และปรับกำลังรบกัน เพื่อเตรียมรบแตกหักครั้งสุดท้ายในสัปดาห์สองสัปดาห์นี้ด้วยเหมือนกัน
วันนี้ พวกเราตัดสินใจสร้างห้อง negative pressure ขนาด 150 ตรม.ขึ้นที่ห้องฉุกเฉิน ER เพื่อรองรับ และกลั่นกรองผู้ป่วยฉุกเฉินที่ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อก่อนที่จะผ่านเข้าไปในรพ. การเพิ่มพื้นที่เฉพาะรองรับผู้ป่วยฉุกเฉิน PUI ได้ระดับสูงสุดถึง 15 คน พร้อมกันภายในห้องความดันลบในER นี้ น่าจะทำให้มาตรการป้องกันการติดเชื้อของเรามีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น โดยเฉพาะภายใน ERซึ่งเป็นประตูเดียวที่จะผ่านเข้าสู่ทุกวอร์ดผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลได้
https://www.facebook.com/TUFHforCOVID19/posts/346273400349835
หมอบุญ เผยข่าวดี สั่งซื้อวัคซีน mRNA ถึง 20 ล้านโดส คาดเจรจาเสร็จสัปดาห์นี้
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6506603
หมอบุญ เผยข่าวดี สั่งซื้อวัคซีน mRNA ทั้งโนวาแวกซ์-ไบออนเทค ถึง 20 ล้านโดส คาดเจรจาเสร็จสัปดาห์นี้ แต่ต้องให้นายกฯเห็นชอบด้วย
หลังจากก่อนหน้านี้นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัทธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ออกมาระบุเตรียมร่วมกับหน่วยงานรัฐ สั่งซื้อวัคซีนชนิด mRNA ของไบออนเทคของเยอรมัน และโนวาแวกซ์ ของสหรัฐอเมริกา โดยกำลังเร่งเจรจาคาดนำเข้ามาได้ในเดือนนี้ ตามที่เคยเสนอข่าวไปแล้วนั้น
สำหรับความคืบหน้า เมื่อวันที่ 13 ก.ค.64 นพ.บุญ เปิดเผยความคืบหน้าว่า ตอนนี้กำลังเจรจาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้กระทรวงต่างประเทศช่วยประสานงาน โดยเหลืออีก 3-4 ขั้นตอน คาดจะเร่งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้
เรื่องการสั่งซื้อวัคซีน mRNA ทั้ง 2 ยี่ห้อนี้ต้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบด้วย ส่วนลักษณะการนำเข้าจะเหมือนกับวัคซีนซิโนฟาร์ม โดยขณะนี้บริษัทผู้ผลิตได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว สั่งซื้อวัคซีนไบออนเทคจำนวน 10 ล้านโดส และวัคซีนโนวาแวกซ์ 10 ล้านโดส รวม 20 ล้านโดส
ดร.อนันต์ แจง WHO ไม่ได้ค้านฉีดสลับเข็มภายใต้การควบคุมผู้เชี่ยวชาญ มีงานวิจัย
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6506621
จากกรณีที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้มีมติให้ฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ได้ดีกว่าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสในระดับที่สูงและเร็วมากยิ่งขึ้นนั้น
ต่อมา ดร. โสมยา สวามีนาธาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำองค์การอนามัยโลกเตือนว่า การสร้างภูมิคุ้มกันโดยจับคู่วัคซีนจากผู้ผลิตหลายรายมาผสมกัน ซึ่งหลายประเทศกำลังดำเนินการอยู่นั้น ถือเป็น “แนวโน้มที่อันตราย” เพราะยังมีข้อมูลการวิจัยว่าด้วยการฉีดวัคซีนแบบผสมสูตรอยู่น้อยมาก จนไม่อาจจะทราบได้ว่าจะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า
ส่วนตัวไม่คิดว่า Dr. Swaminathan จาก WHO ค้านการใช้วัคซีนแบบสลับเข็ม แต่สิ่งที่ค้านคือคนไปขอฉีดแบบนั้นกันเอง คำว่า Public Health agencies (ซึ่งก็คือคณะกรรมการสาธารณสุข + ผู้เชี่ยวชาญ) can [decide] based on available data (บนข้อมูลที่มีในแต่ละประเทศ) ที่อยู่ใน ทวิตเตอร์ของเธอเองก็ชัดเจนอยู่ในตัวเองแล้ว
ความเห็นของนักวิชาการควรใช้สารตรงจากนักวิชาการครับ ถ้าผ่านการย่อยมาจากสื่อ สาระที่ได้อาจผิดเพี้ยน”
https://www.facebook.com/anan.jongkaewwattana/posts/4580204672019419