ข้อมูลจาก Best Friends Veterinary Center
มีโอกาสเป็นไปได้ที่ตู้ยาของคุณจะมียาคนหรือยาสัตว์ที่หมดอายุหลงเหลืออยู่ ถ้าคุณสงสัยว่ายาเก่าเหล่านั้นมันยังโอเคที่จะใช้อยู่หรือเปล่า คุณไม่ใช่คนเดียวที่สงสัยหรอกครับ มีเหล่านักวิจัยที่ศูนย์ระบบควบคุมสารพิษแคลิเฟอร์เนีย (California Poison Control System) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ก็สงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน นักวิจัยกลุ่มนี้หาความพึงใจกับความอยากรู้นี้โดยการทดสอบประสิทธิภาพยา 8 ตัวที่อยู่ในร้านขายยา เป็นยาที่ยังไม่ได้เปิด (เช่นไม่ได้เอาจากขวดบรรจุ หรือฟอยล์ที่ห่อ) ที่หมดอายุแล้วโดยเลยเวลาจากวันที่ระบุวันหมดอายุตั้งแต่ 28-40 ปี!
นักวิจัยได้วิเคราะห์สารออกฤทธิ์ (active ingredient) 14 ตัว ที่มีอยู่ในยา 8 ชนิด ผลวิเคราะห์พบว่ามีสารออกฤทธิ์ 12 ตัวจาก 14 ตัวที่ยังมีความเข้มข้นเหลือมากพอ อย่างน้อย 90% ของปริมาณที่เขียนไว้ในฉลาก ซึ่งเป็นระดับที่ความแรงของสารออกฤทธิ์ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์รับได้ โดยมีสารออกฤทธิ์อยู่แค่สองตัวคือแอสไพริน (aspirin) และแอม-เฟตามีน (amphetamine) ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าที่ระบุไว้ในฉลาก ส่วนตัวยาอื่นที่นำมาวิเคราะห์ก็ได้แก่ อะเซทามิโน-เฟน (ไทลินอล) คาเฟอีน คอลเฟนิลามีน โคเดอีน ไฮโดรโคโดน และยากลุ่มบาร์บิทูเรต
โดยทั่วไปวันหมดอายุของยาจะอยู่ในช่วงระหว่าง 1-5 ปีนับจากวันที่ผลิต และวันหมดอายุเหล่านี้มักถูกกำหนดขึ้นมาอย่างไม่มีกฏเกณฑ์ คุณอาจจะแปลกใจที่ได้รู้ว่าองค์การอาหารและยา (ของสหรัฐอเมริกา) ไม่ได้กำหนดหรือเรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตยาทดสอบว่าสารออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในตัวยาจะอยู่ได้นานเท่าไร
รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาออกโปรแกรมอนุญาตให้ยืดอายุยาในคลังสินค้าได้มากถึง 278 เดือน (23 ปี) นับหลังจากวันหมดอายุที่ระบุในฉลาก ถ้าหากผลการทดสอบพบว่าความแรงของสารออกฤทธิ์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ซึ่งก็พบว่าสารออกฤทธิ์บางตัวที่ทดสอบยังคงดีหลังผ่านไปนานถึง 480 เดือน
งานวิเคราะห์นี้ได้ตีพิมพ์ออนไลน์ในวารสารการแพทย์ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association's journal of internal medicine) ทีมวิจัยได้สรุปงานศึกษานี้ไว้ว่า “ผลการทดลองสนับสนุนประสิทธิภาพของการยืดวันหมดอายุของยาหลายตัว” และเขียนอีกว่า “ความหมายโดยนัยที่สำคัญกับงานศึกษานี้คือจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ได้จากการยืดวันหมดอายุของยาให้นานขึ้น เนื่องจากปัจจุบันชาวอเมริกันสูญเงินไปมากถึงสามแสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการสั่งจ่ายยา การยืดวันหมดอายุให้ยาวขึ้นของยาก็สามารถทำให้ได้การดูแลสุขภาพภายในงบประมาณที่ถูกลง”
เจ้าของที่มีสัตว์เลี้ยงหลายตัวส่วนใหญ่จะพบว่ามียาที่ไม่ได้ใช้หลงเหลืออยู่หลายชนิด บางครั้งยาที่หลงเหลือเหล่านี้ก็อยู่ใกล้มือ แล้วถ้าหากสุนัขคุณออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านแล้วเดินสะดุดขากะเผลก และคุณก็มีริมเอดิล (Rimadyl; ยาลดปวดสำหรับสุนัข) หลงเหลืออยู่ หรือแมวของคุณโดนกัดแล้วคุณก็ดันมียาฆ่าเชื้อเหลืออยู่ซึ่งอาจจะช่วยได้เบื้องต้นก่อนนำไปพบสัตวแพทย์ แล้วคุณจะมั่นใจแค่ไหนหรือจะรู้ได้อย่างไรว่ายาที่เหลืออยู่เหล่านั้นมันจะโอเคที่จะใช้หรือไม่ควรใช้แล้ว
ขั้นแรก โทรถามคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน หรือนำยาเหล่านั้นมาให้สัตวแพทย์ดู สัตวแพทย์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้คำแนะนำว่ายาตัวไหนที่สามารถเก็บไว้ใช้ได้หรือยาตัวไหนที่ควรโยนทิ้ง
และเหล่านี้คือหลักการง่าย ๆ เกี่ยวกับยาครับ
1. ยาเม็ดที่โดนน้ำหรือความชื้นหรือดูดความชื้นจนมีราขึ้นให้ทิ้งทันที
2. ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำหรือเปิดออกมาสัมผัสกับความชื้น ร้อน หรือเก็บในที่อากาศชื้น ควรเก็บยาในที่มืดและแห้ง
3. ยาที่แต่งกลิ่น เช่นกลิ่นเนื้อ กลิ่นตับ มีแนวโน้มที่จะเละและชื้นได้เร็ว
4. ยาเม็ดเคลือบที่ถูกแบ่งจะเก็บไว้ได้ไม่นาน เนื่องจากยาเม็ดเหล่านี้จะถูกเคลือบด้วยสารที่ป้องกันการดูดซึมความชื้น หรือป้องกันไม่ให้แสงเข้าไปทำลายตัวยา ถ้าเม็ดเคลือบถูกทำลาย หรือยาถูกบดหรือแตก ให้ทิ้งยานั้น
5. ถ้ายาอยู่ในฟอยล์ห่อแล้วฟอยล์นั้นขาดหรือถูกตัด ให้ทิ้งยานั้น
6. ถ้ายาเปลี่ยนสีไปจากเดิม ให้ทิ้งยานั้น
7. ยาน้ำที่แต่งกลิ่นและต้องเก็บในตู้เย็นไม่ต้องเก็บไว้นาน ส่วนใหญ่หนึ่งเดือนจะพบว่ายาน้ำนั้นเน่าและมีเชื้อราขึ้น
8. ถ้าเก็บยาไว้ข้างนอกเช่น ในโรงรถ หลังกรงหรือสนามหญ้า ที่ที่มีอุณหภูมิขึ้น ๆ ลง ๆ อย่าได้ไว้วางใจ โดยเฉพาะยาน้ำ การแช่แข็งยาหรือการทำให้ยาร้อนเป็นตัวทำลายสารออกฤทธิ์ โดยเฉพาะยากำจัดเห็บหมัดที่จะเสื่อมเมื่อตากแดดหรือเก็บในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม
9. ถ้าคุณลองทานยาเก่าแล้วมันดูจะไม่ได้ผล แสดงว่ายานั้นอาจจะเก่ามากไปแล้ว
10. ไม่มียา ยาฆ่าเชื้อ หรือยาลดปวด (NSAIDs เช่นริมเอดิล เดอราแมกซ์หรือเมลอกซิแคม) ที่ใช้ในสัตว์ถูกนำไปทดสอบด้วย ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงมักเก็บไว้ทำให้เราไม่มีข้อมูลที่จะพิสูจน์ว่ายาอยู่ได้นานเท่าไร
11. ยาหยอดตาที่มีสารออกฤทธิ์หรือส่วนประกอบที่ลงท้ายด้วยวัน (one) เช่น เดกซ่าเมธาโซน (dexamethasone) หรือไฮโดรคอติโซน (hydrocortisone) ห้ามใช้เด็ดขาดถ้ามีความเป็นไปได้ที่กระจกตาจะฉีกขาด โดนข่วน หรือเป็นแผลหลุม ถ้าสัตว์เลี้ยงตาแดงหรือกระพริบตาเหมือนเจ็บตาห้ามใช้ยาหรือขี้ผึ้งป้ายตาเหล่านี้เพราะจะทำให้อาการแย่ลง ให้ระวังมากเป็นพิเศษกับยาสำหรับตาที่เหลือเก็บ และโดยทั่วไปยาหยอดตาชนิดน้ำควรทิ้งหลังจากเปิดประมาณ 30 วัน
ยาหมดอายุจะยังใช้ได้อยู่หรือไม่? (ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง)
มีโอกาสเป็นไปได้ที่ตู้ยาของคุณจะมียาคนหรือยาสัตว์ที่หมดอายุหลงเหลืออยู่ ถ้าคุณสงสัยว่ายาเก่าเหล่านั้นมันยังโอเคที่จะใช้อยู่หรือเปล่า คุณไม่ใช่คนเดียวที่สงสัยหรอกครับ มีเหล่านักวิจัยที่ศูนย์ระบบควบคุมสารพิษแคลิเฟอร์เนีย (California Poison Control System) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ก็สงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน นักวิจัยกลุ่มนี้หาความพึงใจกับความอยากรู้นี้โดยการทดสอบประสิทธิภาพยา 8 ตัวที่อยู่ในร้านขายยา เป็นยาที่ยังไม่ได้เปิด (เช่นไม่ได้เอาจากขวดบรรจุ หรือฟอยล์ที่ห่อ) ที่หมดอายุแล้วโดยเลยเวลาจากวันที่ระบุวันหมดอายุตั้งแต่ 28-40 ปี!
นักวิจัยได้วิเคราะห์สารออกฤทธิ์ (active ingredient) 14 ตัว ที่มีอยู่ในยา 8 ชนิด ผลวิเคราะห์พบว่ามีสารออกฤทธิ์ 12 ตัวจาก 14 ตัวที่ยังมีความเข้มข้นเหลือมากพอ อย่างน้อย 90% ของปริมาณที่เขียนไว้ในฉลาก ซึ่งเป็นระดับที่ความแรงของสารออกฤทธิ์ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์รับได้ โดยมีสารออกฤทธิ์อยู่แค่สองตัวคือแอสไพริน (aspirin) และแอม-เฟตามีน (amphetamine) ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าที่ระบุไว้ในฉลาก ส่วนตัวยาอื่นที่นำมาวิเคราะห์ก็ได้แก่ อะเซทามิโน-เฟน (ไทลินอล) คาเฟอีน คอลเฟนิลามีน โคเดอีน ไฮโดรโคโดน และยากลุ่มบาร์บิทูเรต
โดยทั่วไปวันหมดอายุของยาจะอยู่ในช่วงระหว่าง 1-5 ปีนับจากวันที่ผลิต และวันหมดอายุเหล่านี้มักถูกกำหนดขึ้นมาอย่างไม่มีกฏเกณฑ์ คุณอาจจะแปลกใจที่ได้รู้ว่าองค์การอาหารและยา (ของสหรัฐอเมริกา) ไม่ได้กำหนดหรือเรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตยาทดสอบว่าสารออกฤทธิ์ที่มีอยู่ในตัวยาจะอยู่ได้นานเท่าไร
รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาออกโปรแกรมอนุญาตให้ยืดอายุยาในคลังสินค้าได้มากถึง 278 เดือน (23 ปี) นับหลังจากวันหมดอายุที่ระบุในฉลาก ถ้าหากผลการทดสอบพบว่าความแรงของสารออกฤทธิ์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ซึ่งก็พบว่าสารออกฤทธิ์บางตัวที่ทดสอบยังคงดีหลังผ่านไปนานถึง 480 เดือน
งานวิเคราะห์นี้ได้ตีพิมพ์ออนไลน์ในวารสารการแพทย์ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association's journal of internal medicine) ทีมวิจัยได้สรุปงานศึกษานี้ไว้ว่า “ผลการทดลองสนับสนุนประสิทธิภาพของการยืดวันหมดอายุของยาหลายตัว” และเขียนอีกว่า “ความหมายโดยนัยที่สำคัญกับงานศึกษานี้คือจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ได้จากการยืดวันหมดอายุของยาให้นานขึ้น เนื่องจากปัจจุบันชาวอเมริกันสูญเงินไปมากถึงสามแสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการสั่งจ่ายยา การยืดวันหมดอายุให้ยาวขึ้นของยาก็สามารถทำให้ได้การดูแลสุขภาพภายในงบประมาณที่ถูกลง”
เจ้าของที่มีสัตว์เลี้ยงหลายตัวส่วนใหญ่จะพบว่ามียาที่ไม่ได้ใช้หลงเหลืออยู่หลายชนิด บางครั้งยาที่หลงเหลือเหล่านี้ก็อยู่ใกล้มือ แล้วถ้าหากสุนัขคุณออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านแล้วเดินสะดุดขากะเผลก และคุณก็มีริมเอดิล (Rimadyl; ยาลดปวดสำหรับสุนัข) หลงเหลืออยู่ หรือแมวของคุณโดนกัดแล้วคุณก็ดันมียาฆ่าเชื้อเหลืออยู่ซึ่งอาจจะช่วยได้เบื้องต้นก่อนนำไปพบสัตวแพทย์ แล้วคุณจะมั่นใจแค่ไหนหรือจะรู้ได้อย่างไรว่ายาที่เหลืออยู่เหล่านั้นมันจะโอเคที่จะใช้หรือไม่ควรใช้แล้ว
ขั้นแรก โทรถามคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน หรือนำยาเหล่านั้นมาให้สัตวแพทย์ดู สัตวแพทย์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้คำแนะนำว่ายาตัวไหนที่สามารถเก็บไว้ใช้ได้หรือยาตัวไหนที่ควรโยนทิ้ง
และเหล่านี้คือหลักการง่าย ๆ เกี่ยวกับยาครับ
1. ยาเม็ดที่โดนน้ำหรือความชื้นหรือดูดความชื้นจนมีราขึ้นให้ทิ้งทันที
2. ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำหรือเปิดออกมาสัมผัสกับความชื้น ร้อน หรือเก็บในที่อากาศชื้น ควรเก็บยาในที่มืดและแห้ง
3. ยาที่แต่งกลิ่น เช่นกลิ่นเนื้อ กลิ่นตับ มีแนวโน้มที่จะเละและชื้นได้เร็ว
4. ยาเม็ดเคลือบที่ถูกแบ่งจะเก็บไว้ได้ไม่นาน เนื่องจากยาเม็ดเหล่านี้จะถูกเคลือบด้วยสารที่ป้องกันการดูดซึมความชื้น หรือป้องกันไม่ให้แสงเข้าไปทำลายตัวยา ถ้าเม็ดเคลือบถูกทำลาย หรือยาถูกบดหรือแตก ให้ทิ้งยานั้น
5. ถ้ายาอยู่ในฟอยล์ห่อแล้วฟอยล์นั้นขาดหรือถูกตัด ให้ทิ้งยานั้น
6. ถ้ายาเปลี่ยนสีไปจากเดิม ให้ทิ้งยานั้น
7. ยาน้ำที่แต่งกลิ่นและต้องเก็บในตู้เย็นไม่ต้องเก็บไว้นาน ส่วนใหญ่หนึ่งเดือนจะพบว่ายาน้ำนั้นเน่าและมีเชื้อราขึ้น
8. ถ้าเก็บยาไว้ข้างนอกเช่น ในโรงรถ หลังกรงหรือสนามหญ้า ที่ที่มีอุณหภูมิขึ้น ๆ ลง ๆ อย่าได้ไว้วางใจ โดยเฉพาะยาน้ำ การแช่แข็งยาหรือการทำให้ยาร้อนเป็นตัวทำลายสารออกฤทธิ์ โดยเฉพาะยากำจัดเห็บหมัดที่จะเสื่อมเมื่อตากแดดหรือเก็บในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม
9. ถ้าคุณลองทานยาเก่าแล้วมันดูจะไม่ได้ผล แสดงว่ายานั้นอาจจะเก่ามากไปแล้ว
10. ไม่มียา ยาฆ่าเชื้อ หรือยาลดปวด (NSAIDs เช่นริมเอดิล เดอราแมกซ์หรือเมลอกซิแคม) ที่ใช้ในสัตว์ถูกนำไปทดสอบด้วย ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงมักเก็บไว้ทำให้เราไม่มีข้อมูลที่จะพิสูจน์ว่ายาอยู่ได้นานเท่าไร
11. ยาหยอดตาที่มีสารออกฤทธิ์หรือส่วนประกอบที่ลงท้ายด้วยวัน (one) เช่น เดกซ่าเมธาโซน (dexamethasone) หรือไฮโดรคอติโซน (hydrocortisone) ห้ามใช้เด็ดขาดถ้ามีความเป็นไปได้ที่กระจกตาจะฉีกขาด โดนข่วน หรือเป็นแผลหลุม ถ้าสัตว์เลี้ยงตาแดงหรือกระพริบตาเหมือนเจ็บตาห้ามใช้ยาหรือขี้ผึ้งป้ายตาเหล่านี้เพราะจะทำให้อาการแย่ลง ให้ระวังมากเป็นพิเศษกับยาสำหรับตาที่เหลือเก็บ และโดยทั่วไปยาหยอดตาชนิดน้ำควรทิ้งหลังจากเปิดประมาณ 30 วัน