'ธนาธร' ผุด 'ก้าวหน้ากู้วิกฤตกิ่งแก้ว' ซ่อมบ้านปชช.รายได้น้อย เสียหายจากรง.ระเบิด ฟรี
https://www.matichon.co.th/politics/news_2819689
‘ธนาธร’ เปิดโครงการ ‘ก้าวหน้ากู้วิกฤตกิ่งแก้ว’ ซ่อมบ้านปชช.รายได้น้อย เสียหายจากโรงงานระเบิด ‘ฟรี’
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า จัดไลฟ์เฟซบุ๊กผ่านช่องทางเพจเฟซบุ๊ก
Thanathorn Juangroongruangkit – ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประชาสัมพันธ์ถึงโครงการ “
ก้าวหน้ากู้วิกฤติกิ่งแก้ว” ซึ่งคณะก้าวหน้าได้รวบรวมอาสาสมัครกว่า 30 ชีวิต เตรียมเข้าพื้นที่ซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากกรณีเหตุระเบิดสารเคมีที่โรงงานหมิงตี้เคมิคัล บนถนนกิ่งแก้ว เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยนาย
ธนาธร ระบุว่า แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะผ่านมาได้ 2-3 วันแล้ว แต่ยังมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบอีกเป็นจำนวนมาก ตนในฐานะที่เป็นคนที่เคยทำงานแถวนั้น รู้สึกเสียใจต่อความสูญเสียและผลกระทบที่พี่น้องประชาชนทุกคนได้รับ ถนนกิ่งแก้วทั้งเส้นเป็นถนนเศรษฐกิจที่สำคัญ ประกอบด้วยร้านค้าพาณิชย์ ตลาดสด โรงงานอุตสาหกรรม และบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนมากมาย เหตุการณ์โรงงานไฟไหม้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย เป็นอาสาสมัครดับเพลิง และยังมีผู้บาดเจ็บไม่น้อยกว่า 30 ราย กระทบโรงงานอุตสาหกรรมโดยรอบประมาณ 1,120 โครงการ และกระทบหมู่บ้านและชุมชนเป็นจำนวน 994 หมู่บ้าน จนถึงวันนี้มีผู้แจ้งความที่ สภ.บางแก้ว แล้วเป็นจำนวน 432 คน มีบ้านเรือนได้รับความเสียหายถึง 569 หลัง คณะก้าวหน้าจึงได้เริ่มโครงการ “
ก้าวหน้ากู้วิกฤติกิ่งแก้ว” ขึ้นมา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในส่วนที่คณะก้าวหน้ามีศักยภาพสามารถช่วยเหลือได้ โดยในการนี้ จะเป็นการเข้าไปฟื้นฟูชุมชนและบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหายที่ผ่านมา
นาย
ธนาธร กล่าวว่า หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทีมงานของคณะก้าวหน้าได้เข้าไปสำรวจความต้องการและความเสียหายที่เกิดขึ้น ตั้งแต่บริเวณ ซ.กิ่งแก้ว 23-25 ซึ่งคณะก้าวหน้าได้รวบรวมอาสาสมัครมาได้ประมาณ 30 ราย ที่พร้อมเข้าไปซ่อมบ้านเรือนให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน โครงการของเราส่วนหนึ่ง ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เอสเอส เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในซอยกิ่งแก้ว อีกส่วนหนึ่งโดย บริษัท ไทยซัมมิท รวมถึงกลุ่มช่างที่ทำงานรับเหมาก่อสร้างในชุมชนละแวกนั้น ที่กำลังขาดงานและรายได้ในช่วงวิกฤตโควิด เรานำอาสาสมัครทั้งสามกลุ่มนี้เข้ามารวมกันเป็นทีม ที่พร้อมเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป คณะก้าวหน้าจะนำอาสาสมัครส่วนนี้ เข้าไปซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนให้กับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ ไม่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจจะสามารถซ่อมแซมบ้านเรือนด้วยตัวเองได้ และจะเข้าไปซ่อมแซมอาคารเรียน-ห้องพักครูให้กับโรงเรียนกิ่งแก้วด้วย โดยโครงการนี้ คาดว่าจะสามารถสำเร็จลุล่วงได้โดยใช้เวลาไม่น่าจะเกินหนึ่งสัปดาห์ โดยสถานที่ที่จะใช้ในการประสานงานจะอยู่ในบริเวณโรงเรียนกิ่งแก้ว
“ตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป เราจะอยู่ในชุมชนบริเวณนั้น ท่านใดต้องการเข้ามาพบปะพูดคุยกันสามารถมาพบกับเราได้ ขณะที่บ้านเรือนใดได้รับความเสียหาย แล้วตัวเองมีปัญหาทางเศรษฐกิจเดือดร้อนไม่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยตัวเอง ก็มาบอกว่าเราได้ หากไม่เหนือบ่ากว่าแรง พวกเราจะเข้าไปช่วยทุกท่าน” นาย
ธนาธร กล่าว
นาย
ธนาธร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนเห็นว่ายังมีปัญหาอีกมากมายที่จะต้องสะสางกัน จากกรณีระเบิดและเพลิงไหม้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศ สิ่งปนเปื้อนที่จะลงไปในแหล่งน้ำ รวมทั้งการเยียวยาพี่น้องประชาชนจากทางบริษัทหรือจากทางภาครัฐ ที่จะต้องเรียกร้องกันต่อไป หรือไม่ว่าจะเป็นการหามาตรการทางอุตสาหกรรม ที่จะควบคุมโรงงานที่มีสารเคมีไวไฟเก็บไว้เป็นจำนวนมากอย่างไร ไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่จะต้องอาศัยหน่วยงานของรัฐ แต่บางสิ่งที่พวกเราประชาชนคนละไม้คนละมือลงมือทำร่วมกันได้ เราก็อยากจะใช้ศักยภาพ ทรัพยากร และเครือข่ายที่พวกเรามีเข้าไปซ่อมแซมฟื้นฟูชุมชนให้กับคนที่ได้รับผลกระทบ
“จากนี้ต่อไปภาครัฐก็คงจะต้องหาวิธีการที่จะเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ สืบหาต้นตอสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งจะนำมาสู่การปรับปรุงกระบวนการของภาครัฐ ที่เข้มงวดกับโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ มากขึ้นต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย แต่ในขณะเดียวกันบ้านเรือนของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดในบริเวณรอบนั้นมีจำนวนมาก นี่เป็นสิ่งที่พวกเราพอจะทำได้บ้าง เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อาจจะได้ไม่มากมายนัก แต่ผมและทีมงานคณะก้าวหน้าก็พร้อมที่จะตั้งใจอย่างเต็มที่ มีเรื่องราวอย่างไรจะมาเล่าให้ทุกท่านทราบต่อไป” นาย
ธนาธร กล่าว
https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/videos/340504354231594/
หมอพยาบาล-ประชาชน เครียดโควิดซึมเศร้า กรมสุขภาพจิตเร่งค้นหาผู้ป่วยเยียวยา
https://www.thairath.co.th/news/society/2136197
หมอพยาบาล-ประชาชน เครียดโควิดซึมเศร้า กรมสุขภาพจิตเร่งค้นหาผู้ป่วยเยียวยา
เมื่อวันที่ 8 ก.ค.กรมสุขภาพจิต จัดการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2564 สุขภาพจิตดี วิถีชีวิตใหม่ : New Normal Mental Health พญ.
พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเปิดประชุมว่า บทเรียนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลกระทบด้านสุขภาพจิตช่วงปีที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตได้เรียนรู้ ทบทวน และพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตอย่างครอบคลุม เช่น การเสริมสร้างพลังใจให้คนไทยทุกคนด้วยวัคซีนใจ จัดทีมวิกฤติสุขภาพจิตเยียวยาจิตใจประชาชน บุคลากรสาธารณสุข และกลุ่มกักกัน รวมทั้งสื่อสารสาธารณะให้ประชาชนตระหนักแต่ไม่ตระหนกต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
พญ.
พรรณพิมลกล่าวด้วยว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิตที่ตัวเลขเพิ่มมากขึ้นแต่ละวัน ส่งผลให้เกิดความเครียดวิตกกังวล อ่อนล้า และสิ้นหวัง โดยข้อมูลจากการสำรวจภาวะสภาพจิตใจของประชาชน เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาพบว่าสภาพจิตใจของประชาชนในการระบาดระลอกเดือน เม.ย.2564 ที่เผชิญกับสถานการณ์โควิดพบภาวะเครียดยังไม่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ความเครียดจะค่อยๆลดลงภายใน 2-3 เดือน เมื่อเปรียบเทียบรายพื้นที่พบว่าประชาชน ใน กทม. และปริมณฑลมีความเครียดมากกว่าในต่างจังหวัด ภาวะเครียดที่เกิดขึ้น มีทั้งเครียดกลัวติดเชื้อ เกิดภาวะซึมเศร้าจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเอง
ทางแก้ปัญหาเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุข และกรมสุขภาพจิตไม่ได้นิ่งนอนใจ นอกจากมีนโยบายลงค้นหาผู้ป่วย ร่วมทำงานกับชุมชน ยังจะเข้าไปดูแลสภาพจิตใจ โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.เป็นพื้นที่ซับซ้อน เตรียมแบ่งเป็นโซนทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน เพราะจะทราบดีว่าครอบครัวไหนพื้นที่ไหนป่วยหรือมีคนติดเชื้อรอการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ภาวะความเครียดที่เกิดขึ้น อยากให้ทุกคนคิดว่า เราต้องผ่านไปได้ และต้องพยายามร่วมกันหาแนวทางดำเนินชีวิตวิถีใหม่
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ส่วนความเครียดในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ มีการสำรวจสม่ำเสมอ และมีช่องทางจัดการให้กลุ่มบุคลากรที่ทำงานหนักอ่อนล้าได้ระบาย และมีวิธีพูดให้กำลังใจ และคิดว่าชีวิตไม่ได้มีเรื่องงานอย่างเดียว เพราะส่วนใหญ่บุคลากรมุ่งทำงานอย่างเสียสละ ต้องทำงานเป็นผลัด และยังต้องกัก 14 วัน ทำให้บางคนเกิดความเครียด เพราะไม่ได้พบปะครอบครัว ซึ่งความเครียดในบุคลากรที่พบ มีทั้ง
1. เครียดเหนื่อยเพราะงานหนัก และอ่อนล้า ทำไมสถานการณ์ไม่คลี่คลาย
2. เครียดกังวลติดเชื้อ
3. เครียดกังวลเกี่ยวกับครอบครัว ทั้งการไม่ได้พบปะ หรือไปพบปะครอบครัวก็กลัวติดเชื้ออีก.
40 ซีอีโอ ชี้ ไม่ควรล็อกดาวน์ทั้งปท. หวั่นเจ็บแต่ไม่จบ ควรจำกัดเฉพาะที่ จี้รบ.เร่งจัดหาวัคซีน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2819745
40 ซีอีโอพลัส จี้ ‘บิ๊กตู่’ ยกระดับมาตรการคุมเข้มเฉพาะพื้นที่ หวั่นวัคซีนมาช้า คุมระบาดไม่ไหว พร้อมหนุนฉีดวัคซีน 8 หมื่นโดส/วัน
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม นาย
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการหารือกับ 40 CEOs (พลัส) เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 8 กรกฎาคม ว่า ภาคเอกชนต่างรู้สึกเป็นห่วงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งกระทบต่อเนื่องไปยังความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่การจัดหาและการกระจายวัคซีนก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
นาย
สนั่น กล่าววว่า ในมุมมองของ 40 CEOs (พลัส) ขอเสนอให้จำกัดเฉพาะบางพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ควรล็อคดาวน์ทั้งประเทศ โดยให้ดำเนินการควบคุมเฉพาะพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดมาก งดการเคลื่อนย้ายของประชาชน เน้นให้ประชาชนทำงานที่บ้าน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนั้น มาตรการที่จะประกาศใช้ต้องคำนึงและให้ครอบคลุมถึงแนวทางการดูแล และเยียวยาทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนควบคู่กันไปด้วย ไม่เช่นนั้นจะเกิดการเคลื่อนย้ายของประชาชนกลับภูมิลำเนา ซึ่งส่งผลให้การระบาดกระจายไปทั่วประเทศ และในที่สุดจะนำไปสู่ความล้มเหลวทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจ (เจ็บแต่ไม่จบ) และจะลามไปถึงปัญหาทางสังคมอีกในอนาคต
“ปัจจุบันการฉีดวัคซีนในประเทศไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศไทยได้ 1 โดส 13% และครบ 2 โดสเพียง 4% ของประชากรเท่านั้น สาเหตุเพราะจัดหาวัคซีนได้น้อยกว่าที่ได้วางแผนไว้
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจึงขอเสนอให้ภาครัฐต้องมีการเตรียมการ ทั้งจัดหาและจัดสรรวัคซีนให้เร็วและเพียงพอ ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีน 25 ศูนย์ นอกโรงพยาบาล ของหอการค้าไทยและภาคีมีความสามารถที่จะเสริมและรองรับการกระจายวัคซีนได้จำนวน 80,000 โดสต่อวัน และมีมาตรการรองรับผู้ฉีดทุกกลุ่มอายุ สามารถแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลได้ จึงอยากให้ภาครัฐพิจารณาใช้ประโยชน์จากศูนย์ฉีดฯ นี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นาย
สนั่น กล่าว
ทั้งนี้ ภาครัฐควรจัดหายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะมารักษาเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ และเพิ่มจำนวนเตียงที่มารองรับผู้ป่วยให้มากขึ้นอีกด้วย รวมถึงมีมาตรการ Home Isolation ที่ชัดเจน พร้อมเสริมการตรวจเชิงรุกโดย Rapid test ในราคาที่เหมาะสม เพื่อคัดแยกผู้ติดเชื้อออกมา
สำหรับ Phuket Sandbox ที่ได้เปิดประเทศในวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ตรงกับวันที่ครบรอบภารกิจ 99 วันแรกในการทำงานของคณะกรรมการหอการค้าไทยชุดนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ และนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล ซึ่งบทเรียนของการเปิดภูเก็ต นั้น หอการค้าไทยเห็นด้วยที่จะมีการนำไปขยายผลการทดลองเปิดนี้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศให้ได้ โดยเฉพาะเรื่องการจัด COE (Certificate of Entry) และขอเสนอให้นำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น Digital Vaccine Passport ที่ได้มาตรฐานและนานาชาติยอมรับ เพราะไม่สามารถปลอมแปลง และตรวจสอบความถูกต้องได้
“แม้ว่าการเปิดประเทศจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า หอการค้าฯ และภาคีภาคเอกชน เห็นว่ารัฐบาลควรมุ่งเป้าไปที่การตรวจในเชิงรุก ควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายก่อน ซึ่งหากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ดีขึ้นกว่านี้ การเปิดประเทศคงเป็นไปได้ยาก” นาย
สนั่น กล่าว
JJNY : 'ธนาธร'ผุด'ก้าวหน้ากู้วิกฤตกิ่งแก้ว'│หมอพยาบาล-ปชช.เครียดโควิด│40 ซีอีโอ หวั่นเจ็บแต่ไม่จบ│เคสเศร้า ช่วยแม่ไม่ทัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2819689
‘ธนาธร’ เปิดโครงการ ‘ก้าวหน้ากู้วิกฤตกิ่งแก้ว’ ซ่อมบ้านปชช.รายได้น้อย เสียหายจากโรงงานระเบิด ‘ฟรี’
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า จัดไลฟ์เฟซบุ๊กผ่านช่องทางเพจเฟซบุ๊ก Thanathorn Juangroongruangkit – ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประชาสัมพันธ์ถึงโครงการ “ก้าวหน้ากู้วิกฤติกิ่งแก้ว” ซึ่งคณะก้าวหน้าได้รวบรวมอาสาสมัครกว่า 30 ชีวิต เตรียมเข้าพื้นที่ซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากกรณีเหตุระเบิดสารเคมีที่โรงงานหมิงตี้เคมิคัล บนถนนกิ่งแก้ว เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยนายธนาธร ระบุว่า แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะผ่านมาได้ 2-3 วันแล้ว แต่ยังมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบอีกเป็นจำนวนมาก ตนในฐานะที่เป็นคนที่เคยทำงานแถวนั้น รู้สึกเสียใจต่อความสูญเสียและผลกระทบที่พี่น้องประชาชนทุกคนได้รับ ถนนกิ่งแก้วทั้งเส้นเป็นถนนเศรษฐกิจที่สำคัญ ประกอบด้วยร้านค้าพาณิชย์ ตลาดสด โรงงานอุตสาหกรรม และบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนมากมาย เหตุการณ์โรงงานไฟไหม้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย เป็นอาสาสมัครดับเพลิง และยังมีผู้บาดเจ็บไม่น้อยกว่า 30 ราย กระทบโรงงานอุตสาหกรรมโดยรอบประมาณ 1,120 โครงการ และกระทบหมู่บ้านและชุมชนเป็นจำนวน 994 หมู่บ้าน จนถึงวันนี้มีผู้แจ้งความที่ สภ.บางแก้ว แล้วเป็นจำนวน 432 คน มีบ้านเรือนได้รับความเสียหายถึง 569 หลัง คณะก้าวหน้าจึงได้เริ่มโครงการ “ก้าวหน้ากู้วิกฤติกิ่งแก้ว” ขึ้นมา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในส่วนที่คณะก้าวหน้ามีศักยภาพสามารถช่วยเหลือได้ โดยในการนี้ จะเป็นการเข้าไปฟื้นฟูชุมชนและบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหายที่ผ่านมา
นายธนาธร กล่าวว่า หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทีมงานของคณะก้าวหน้าได้เข้าไปสำรวจความต้องการและความเสียหายที่เกิดขึ้น ตั้งแต่บริเวณ ซ.กิ่งแก้ว 23-25 ซึ่งคณะก้าวหน้าได้รวบรวมอาสาสมัครมาได้ประมาณ 30 ราย ที่พร้อมเข้าไปซ่อมบ้านเรือนให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน โครงการของเราส่วนหนึ่ง ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เอสเอส เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในซอยกิ่งแก้ว อีกส่วนหนึ่งโดย บริษัท ไทยซัมมิท รวมถึงกลุ่มช่างที่ทำงานรับเหมาก่อสร้างในชุมชนละแวกนั้น ที่กำลังขาดงานและรายได้ในช่วงวิกฤตโควิด เรานำอาสาสมัครทั้งสามกลุ่มนี้เข้ามารวมกันเป็นทีม ที่พร้อมเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป คณะก้าวหน้าจะนำอาสาสมัครส่วนนี้ เข้าไปซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนให้กับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ ไม่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจจะสามารถซ่อมแซมบ้านเรือนด้วยตัวเองได้ และจะเข้าไปซ่อมแซมอาคารเรียน-ห้องพักครูให้กับโรงเรียนกิ่งแก้วด้วย โดยโครงการนี้ คาดว่าจะสามารถสำเร็จลุล่วงได้โดยใช้เวลาไม่น่าจะเกินหนึ่งสัปดาห์ โดยสถานที่ที่จะใช้ในการประสานงานจะอยู่ในบริเวณโรงเรียนกิ่งแก้ว
“ตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป เราจะอยู่ในชุมชนบริเวณนั้น ท่านใดต้องการเข้ามาพบปะพูดคุยกันสามารถมาพบกับเราได้ ขณะที่บ้านเรือนใดได้รับความเสียหาย แล้วตัวเองมีปัญหาทางเศรษฐกิจเดือดร้อนไม่สามารถซ่อมแซมได้ด้วยตัวเอง ก็มาบอกว่าเราได้ หากไม่เหนือบ่ากว่าแรง พวกเราจะเข้าไปช่วยทุกท่าน” นายธนาธร กล่าว
นายธนาธร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนเห็นว่ายังมีปัญหาอีกมากมายที่จะต้องสะสางกัน จากกรณีระเบิดและเพลิงไหม้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศ สิ่งปนเปื้อนที่จะลงไปในแหล่งน้ำ รวมทั้งการเยียวยาพี่น้องประชาชนจากทางบริษัทหรือจากทางภาครัฐ ที่จะต้องเรียกร้องกันต่อไป หรือไม่ว่าจะเป็นการหามาตรการทางอุตสาหกรรม ที่จะควบคุมโรงงานที่มีสารเคมีไวไฟเก็บไว้เป็นจำนวนมากอย่างไร ไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่จะต้องอาศัยหน่วยงานของรัฐ แต่บางสิ่งที่พวกเราประชาชนคนละไม้คนละมือลงมือทำร่วมกันได้ เราก็อยากจะใช้ศักยภาพ ทรัพยากร และเครือข่ายที่พวกเรามีเข้าไปซ่อมแซมฟื้นฟูชุมชนให้กับคนที่ได้รับผลกระทบ
“จากนี้ต่อไปภาครัฐก็คงจะต้องหาวิธีการที่จะเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ สืบหาต้นตอสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งจะนำมาสู่การปรับปรุงกระบวนการของภาครัฐ ที่เข้มงวดกับโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ มากขึ้นต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย แต่ในขณะเดียวกันบ้านเรือนของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดในบริเวณรอบนั้นมีจำนวนมาก นี่เป็นสิ่งที่พวกเราพอจะทำได้บ้าง เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อาจจะได้ไม่มากมายนัก แต่ผมและทีมงานคณะก้าวหน้าก็พร้อมที่จะตั้งใจอย่างเต็มที่ มีเรื่องราวอย่างไรจะมาเล่าให้ทุกท่านทราบต่อไป” นายธนาธร กล่าว
https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/videos/340504354231594/
หมอพยาบาล-ประชาชน เครียดโควิดซึมเศร้า กรมสุขภาพจิตเร่งค้นหาผู้ป่วยเยียวยา
https://www.thairath.co.th/news/society/2136197
หมอพยาบาล-ประชาชน เครียดโควิดซึมเศร้า กรมสุขภาพจิตเร่งค้นหาผู้ป่วยเยียวยา
เมื่อวันที่ 8 ก.ค.กรมสุขภาพจิต จัดการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2564 สุขภาพจิตดี วิถีชีวิตใหม่ : New Normal Mental Health พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเปิดประชุมว่า บทเรียนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลกระทบด้านสุขภาพจิตช่วงปีที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตได้เรียนรู้ ทบทวน และพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตอย่างครอบคลุม เช่น การเสริมสร้างพลังใจให้คนไทยทุกคนด้วยวัคซีนใจ จัดทีมวิกฤติสุขภาพจิตเยียวยาจิตใจประชาชน บุคลากรสาธารณสุข และกลุ่มกักกัน รวมทั้งสื่อสารสาธารณะให้ประชาชนตระหนักแต่ไม่ตระหนกต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
พญ.พรรณพิมลกล่าวด้วยว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 และผู้เสียชีวิตที่ตัวเลขเพิ่มมากขึ้นแต่ละวัน ส่งผลให้เกิดความเครียดวิตกกังวล อ่อนล้า และสิ้นหวัง โดยข้อมูลจากการสำรวจภาวะสภาพจิตใจของประชาชน เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาพบว่าสภาพจิตใจของประชาชนในการระบาดระลอกเดือน เม.ย.2564 ที่เผชิญกับสถานการณ์โควิดพบภาวะเครียดยังไม่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ความเครียดจะค่อยๆลดลงภายใน 2-3 เดือน เมื่อเปรียบเทียบรายพื้นที่พบว่าประชาชน ใน กทม. และปริมณฑลมีความเครียดมากกว่าในต่างจังหวัด ภาวะเครียดที่เกิดขึ้น มีทั้งเครียดกลัวติดเชื้อ เกิดภาวะซึมเศร้าจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเอง
ทางแก้ปัญหาเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุข และกรมสุขภาพจิตไม่ได้นิ่งนอนใจ นอกจากมีนโยบายลงค้นหาผู้ป่วย ร่วมทำงานกับชุมชน ยังจะเข้าไปดูแลสภาพจิตใจ โดยเฉพาะพื้นที่ กทม.เป็นพื้นที่ซับซ้อน เตรียมแบ่งเป็นโซนทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน เพราะจะทราบดีว่าครอบครัวไหนพื้นที่ไหนป่วยหรือมีคนติดเชื้อรอการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ภาวะความเครียดที่เกิดขึ้น อยากให้ทุกคนคิดว่า เราต้องผ่านไปได้ และต้องพยายามร่วมกันหาแนวทางดำเนินชีวิตวิถีใหม่
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ส่วนความเครียดในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ มีการสำรวจสม่ำเสมอ และมีช่องทางจัดการให้กลุ่มบุคลากรที่ทำงานหนักอ่อนล้าได้ระบาย และมีวิธีพูดให้กำลังใจ และคิดว่าชีวิตไม่ได้มีเรื่องงานอย่างเดียว เพราะส่วนใหญ่บุคลากรมุ่งทำงานอย่างเสียสละ ต้องทำงานเป็นผลัด และยังต้องกัก 14 วัน ทำให้บางคนเกิดความเครียด เพราะไม่ได้พบปะครอบครัว ซึ่งความเครียดในบุคลากรที่พบ มีทั้ง
1. เครียดเหนื่อยเพราะงานหนัก และอ่อนล้า ทำไมสถานการณ์ไม่คลี่คลาย
2. เครียดกังวลติดเชื้อ
3. เครียดกังวลเกี่ยวกับครอบครัว ทั้งการไม่ได้พบปะ หรือไปพบปะครอบครัวก็กลัวติดเชื้ออีก.
40 ซีอีโอ ชี้ ไม่ควรล็อกดาวน์ทั้งปท. หวั่นเจ็บแต่ไม่จบ ควรจำกัดเฉพาะที่ จี้รบ.เร่งจัดหาวัคซีน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2819745
40 ซีอีโอพลัส จี้ ‘บิ๊กตู่’ ยกระดับมาตรการคุมเข้มเฉพาะพื้นที่ หวั่นวัคซีนมาช้า คุมระบาดไม่ไหว พร้อมหนุนฉีดวัคซีน 8 หมื่นโดส/วัน
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการหารือกับ 40 CEOs (พลัส) เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 8 กรกฎาคม ว่า ภาคเอกชนต่างรู้สึกเป็นห่วงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งกระทบต่อเนื่องไปยังความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่การจัดหาและการกระจายวัคซีนก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
นายสนั่น กล่าววว่า ในมุมมองของ 40 CEOs (พลัส) ขอเสนอให้จำกัดเฉพาะบางพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ควรล็อคดาวน์ทั้งประเทศ โดยให้ดำเนินการควบคุมเฉพาะพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดมาก งดการเคลื่อนย้ายของประชาชน เน้นให้ประชาชนทำงานที่บ้าน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนั้น มาตรการที่จะประกาศใช้ต้องคำนึงและให้ครอบคลุมถึงแนวทางการดูแล และเยียวยาทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนควบคู่กันไปด้วย ไม่เช่นนั้นจะเกิดการเคลื่อนย้ายของประชาชนกลับภูมิลำเนา ซึ่งส่งผลให้การระบาดกระจายไปทั่วประเทศ และในที่สุดจะนำไปสู่ความล้มเหลวทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจ (เจ็บแต่ไม่จบ) และจะลามไปถึงปัญหาทางสังคมอีกในอนาคต
“ปัจจุบันการฉีดวัคซีนในประเทศไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศไทยได้ 1 โดส 13% และครบ 2 โดสเพียง 4% ของประชากรเท่านั้น สาเหตุเพราะจัดหาวัคซีนได้น้อยกว่าที่ได้วางแผนไว้
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจึงขอเสนอให้ภาครัฐต้องมีการเตรียมการ ทั้งจัดหาและจัดสรรวัคซีนให้เร็วและเพียงพอ ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีน 25 ศูนย์ นอกโรงพยาบาล ของหอการค้าไทยและภาคีมีความสามารถที่จะเสริมและรองรับการกระจายวัคซีนได้จำนวน 80,000 โดสต่อวัน และมีมาตรการรองรับผู้ฉีดทุกกลุ่มอายุ สามารถแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลได้ จึงอยากให้ภาครัฐพิจารณาใช้ประโยชน์จากศูนย์ฉีดฯ นี้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายสนั่น กล่าว
ทั้งนี้ ภาครัฐควรจัดหายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะมารักษาเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ และเพิ่มจำนวนเตียงที่มารองรับผู้ป่วยให้มากขึ้นอีกด้วย รวมถึงมีมาตรการ Home Isolation ที่ชัดเจน พร้อมเสริมการตรวจเชิงรุกโดย Rapid test ในราคาที่เหมาะสม เพื่อคัดแยกผู้ติดเชื้อออกมา
สำหรับ Phuket Sandbox ที่ได้เปิดประเทศในวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ตรงกับวันที่ครบรอบภารกิจ 99 วันแรกในการทำงานของคณะกรรมการหอการค้าไทยชุดนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ และนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล ซึ่งบทเรียนของการเปิดภูเก็ต นั้น หอการค้าไทยเห็นด้วยที่จะมีการนำไปขยายผลการทดลองเปิดนี้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศให้ได้ โดยเฉพาะเรื่องการจัด COE (Certificate of Entry) และขอเสนอให้นำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น Digital Vaccine Passport ที่ได้มาตรฐานและนานาชาติยอมรับ เพราะไม่สามารถปลอมแปลง และตรวจสอบความถูกต้องได้
“แม้ว่าการเปิดประเทศจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า หอการค้าฯ และภาคีภาคเอกชน เห็นว่ารัฐบาลควรมุ่งเป้าไปที่การตรวจในเชิงรุก ควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายก่อน ซึ่งหากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ดีขึ้นกว่านี้ การเปิดประเทศคงเป็นไปได้ยาก” นายสนั่น กล่าว