วันนี้ ๔ กรกฎาคม วันชาติสหรัฐอเมริกา จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เทียบกับรัชสมัยของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ได้มีการลงบทความเรื่อง “ประธานาธิบดีแห่งกรุงสยาม” เขียนโดย เอกลักษณ์ ไชยภูมี
ในบทความดังกล่าวนั้นได้มีการระบุไว้ว่า รัชกาลที่ ๔ ได้มีพระราชหัตถเลขา (จดหมาย) ไปยังพระสหายชาวต่างชาติ คือ พันโทวิลเลียม เจ บัตเตอร์เวิร์ธ โดยในพระราชหัตถเลขาดังกล่าว ได้ทรงระบุไว้ว่าพระองค์ทรงเป็น “newly elect President or Acting King of Siam” หมายถึงว่าทรงเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกใหม่แห่งกรุงสยาม
ซึ่งการที่ทรงระบุว่าทรงเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกใหม่นั้น น่าจะสื่อถึงการที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์โดยเหล่าขุนนางอำมาตย์ต่าง ๆ เป็นผู้เลือก หรือที่เรียกกันว่า มหาชนนิกรสโมสรสมมติ โดยในพระนามเต็มของรัชกาลที่ ๔ จะมีอยู่วรรคหนึ่งที่ว่า “สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ” และอีกเหตุผลหนึ่งนั้น อาจจะเป็นการสะท้อนพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงต้องการเปรียบเทียบที่มาที่ไปของตำแหน่งพระมหากษัตริย์ของพระองค์กับประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา และแสดงให้เห็นว่าพระองค์ก็ทรงมีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองของประเทศทางตะวันตกด้วย
ในภาษาไทย ก่อนที่คำว่าประธานาธิบดีจะหมายถึงประมุขของประเทศที่ไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น คำคำนี้เคยถูกใช้ในวงการสงฆ์มาก่อน โดยปรากฏในพระนามเต็มของสมเด็จพระสังฆราชทั้งสิ้น ๖ พระองค์ เริ่มต้นที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ที่ทรงขึ้นดำรงตำแหน่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ และเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งในสร้อยพระนามของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๖ พระองค์ดังที่ได้กล่าวไปนั้นจะปรากฏคำว่า ปทาน,ประธานาธิบดินทร,ประธานาธิบดี,ปธานาธิบดี อยู่ในพระนามทั้งสิ้น แตกต่างกันไปในแต่ละพระองค์ ซึ่งก็หมายถึงว่าทรงเป็นประธานของสงฆ์ทั้งปวง (ปัจจุบันนี้ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ก็ยังคงเรียกว่า อธิบดีสงฆ์)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตต หรือ สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน (สะกดตามวิธีในสมัยนั้น) ในประกาศดังกล่าวได้มีการระบุว่าจะต้องมีกลุ่มข้าราชการและเสนาบดีต่าง ๆ เข้าไปทำหน้าที่จำนวน ๒๐ คน และจะต้องคัดเลือกบุคคลหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่ “ไวซ์เปรสิเดนต์” ที่จะคอยทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมเวลาที่ “เปรสิเดนต์” ไม่อยู่ ซึ่งเปรสิเดนต์ในที่นี้ก็หมายถึงรัชกาลที่ ๕ นั้นเอง ตามที่ระบุในประกาศนั้นกล่าวไว้ว่า “สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเปนเปรสิเดนต์ หัวน่าปธานาธิบดี”
และในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ-สยามที่ชื่อ “คัมภีร์สรรพพจนานุโยค” ของหมอสมิทนั้น ได้ระบุความหมายของคำว่า President ไว้ว่า คนที่เขาตั้งให้เปนพนักงาน เปนหัวน่าครองหมู่คนอันเข้ากันเปนพรรคพวกให้จัดการของเขาแลบังคับคราวชุมนุมกัน;ผู้ครองหัวเมืองฤๅประเทศใหญ่;ประธานาธิบดี,ผู้อำนวยการ;สภานายก;อะธิบดีในวิทยาลัยโรงเรียน;ผู้มีกำลัง จึงสันนิษฐานว่าการเรียกรัชกาลที่ ๕ เป็น ปธานาธิบดี น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำคำว่าประธานาธิบดีที่เดิมใช้กล่าวถึงประธานสังฆมณฑลมาใช้แทนตำแหน่งทางโลก
ลิงก์สำหรับบทความในเว็บ ซึ่งสรุปจากบทความในหนังสืออีกที
https://www.silpa-mag.com/history/article_66894
ประธานาธิบดีแห่งกรุงสยาม
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ได้มีการลงบทความเรื่อง “ประธานาธิบดีแห่งกรุงสยาม” เขียนโดย เอกลักษณ์ ไชยภูมี
ในบทความดังกล่าวนั้นได้มีการระบุไว้ว่า รัชกาลที่ ๔ ได้มีพระราชหัตถเลขา (จดหมาย) ไปยังพระสหายชาวต่างชาติ คือ พันโทวิลเลียม เจ บัตเตอร์เวิร์ธ โดยในพระราชหัตถเลขาดังกล่าว ได้ทรงระบุไว้ว่าพระองค์ทรงเป็น “newly elect President or Acting King of Siam” หมายถึงว่าทรงเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกใหม่แห่งกรุงสยาม
ซึ่งการที่ทรงระบุว่าทรงเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกใหม่นั้น น่าจะสื่อถึงการที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์โดยเหล่าขุนนางอำมาตย์ต่าง ๆ เป็นผู้เลือก หรือที่เรียกกันว่า มหาชนนิกรสโมสรสมมติ โดยในพระนามเต็มของรัชกาลที่ ๔ จะมีอยู่วรรคหนึ่งที่ว่า “สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ” และอีกเหตุผลหนึ่งนั้น อาจจะเป็นการสะท้อนพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๔ ที่ทรงต้องการเปรียบเทียบที่มาที่ไปของตำแหน่งพระมหากษัตริย์ของพระองค์กับประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา และแสดงให้เห็นว่าพระองค์ก็ทรงมีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองของประเทศทางตะวันตกด้วย
ในภาษาไทย ก่อนที่คำว่าประธานาธิบดีจะหมายถึงประมุขของประเทศที่ไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น คำคำนี้เคยถูกใช้ในวงการสงฆ์มาก่อน โดยปรากฏในพระนามเต็มของสมเด็จพระสังฆราชทั้งสิ้น ๖ พระองค์ เริ่มต้นที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ที่ทรงขึ้นดำรงตำแหน่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ และเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งในสร้อยพระนามของสมเด็จพระสังฆราชทั้ง ๖ พระองค์ดังที่ได้กล่าวไปนั้นจะปรากฏคำว่า ปทาน,ประธานาธิบดินทร,ประธานาธิบดี,ปธานาธิบดี อยู่ในพระนามทั้งสิ้น แตกต่างกันไปในแต่ละพระองค์ ซึ่งก็หมายถึงว่าทรงเป็นประธานของสงฆ์ทั้งปวง (ปัจจุบันนี้ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ก็ยังคงเรียกว่า อธิบดีสงฆ์)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตต หรือ สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน (สะกดตามวิธีในสมัยนั้น) ในประกาศดังกล่าวได้มีการระบุว่าจะต้องมีกลุ่มข้าราชการและเสนาบดีต่าง ๆ เข้าไปทำหน้าที่จำนวน ๒๐ คน และจะต้องคัดเลือกบุคคลหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่ “ไวซ์เปรสิเดนต์” ที่จะคอยทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมเวลาที่ “เปรสิเดนต์” ไม่อยู่ ซึ่งเปรสิเดนต์ในที่นี้ก็หมายถึงรัชกาลที่ ๕ นั้นเอง ตามที่ระบุในประกาศนั้นกล่าวไว้ว่า “สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเปนเปรสิเดนต์ หัวน่าปธานาธิบดี”
และในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ-สยามที่ชื่อ “คัมภีร์สรรพพจนานุโยค” ของหมอสมิทนั้น ได้ระบุความหมายของคำว่า President ไว้ว่า คนที่เขาตั้งให้เปนพนักงาน เปนหัวน่าครองหมู่คนอันเข้ากันเปนพรรคพวกให้จัดการของเขาแลบังคับคราวชุมนุมกัน;ผู้ครองหัวเมืองฤๅประเทศใหญ่;ประธานาธิบดี,ผู้อำนวยการ;สภานายก;อะธิบดีในวิทยาลัยโรงเรียน;ผู้มีกำลัง จึงสันนิษฐานว่าการเรียกรัชกาลที่ ๕ เป็น ปธานาธิบดี น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการนำคำว่าประธานาธิบดีที่เดิมใช้กล่าวถึงประธานสังฆมณฑลมาใช้แทนตำแหน่งทางโลก
ลิงก์สำหรับบทความในเว็บ ซึ่งสรุปจากบทความในหนังสืออีกที
https://www.silpa-mag.com/history/article_66894