สวัสดีค่ะ ปัจจุบันดิฉันกำลังจะศึกษาต่อหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท) ที่จุฬาฯ หมวดกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาค่ะ ในขณะที่เตรียมตัวสอบปริญญาโทนั้น ดิฉันก็เคยหาแนวข้อสอบหรือคำแนะนำต่าง ๆ เหมือนกับทุกท่าน แต่หาไม่ค่อยเจอเลยค่ะ5555 วันนี้ดิฉันเลยจะมาแชร์ประสบการณ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสอบเข้าปริญญาโทของตัวเอง ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ ดิฉันหวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่กำลังหาข้อมูลและสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทในประเทศค่ะ โดยกระทู้นี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ สาขาหรือหมวดวิชาที่เปิดรับสมัครและแผนการศึกษา การสมัครสอบ ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ วิชาที่สอบ แนวข้อสอบเก่า เรื่องที่ออกบ่อย และข้อสอบปีนี้ (ปี 2564) แนะนำหนังสือที่ดิฉันอ่าน และการสอบสัมภาษณ์ค่ะ
1. คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ
ทั้งจุฬาฯและธรรมศาสตร์กำหนดว่า ต้องสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต หรือเป็นผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา (คือเรียนอยู่ปี 4 ก็สามารถสมัครสอบได้ค่ะ) อย่างดิฉันก็สมัครสอบตอนเรียนปี 4 เทอมสุดท้ายค่ะ โดยทั้ง 2 มหาวิทยาลัยไม่ได้กำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำไว้ แต่ผู้สมัครต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งดิฉันจะพูดต่อไปค่ะ
2. สาขาหรือหมวดวิชาที่เปิดรับสมัครและแผนการศึกษา
- จุฬาฯ เปิดสอน 4 หมวดวิชา คือ หมวดวิชากฎหมายเอกชนและธุรกิจ หมวดวิชากฎหมายอาญาและกระบวนยุติธรรมทางอาญา หมวดวิชากฎหมายมหาชน และหมวดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ โดยการเลือกหมวดวิชาจะเลือกสมัครได้ 2 หมวด ส่วนแผนการศึกษา จุฬาฯ เปิดการสอน 2 แผนการศึกษา คือ แผนวิทยานิพนธ์และแผนเอกัตศึกษา ซึ่งตอนดิฉันสมัครสอบเลือกได้แค่แผนเดียวเท่านั้นค่ะ ความแตกต่างระหว่าง 2 แผนการศึกษานี้ คือ แผนวิทยานิพนธ์จะมุ่งทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อเสนอบทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อวงการนิติศาสตร์ค่ะ ส่วนแผนเอกัตศึกษาจะมุ่งการเรียนการสอนในห้องเรียน และต้องทำเอกัตศึกษาซึ่งเป็นรูปแบบรายงานภายใต้ความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อวิเคราะห์ประเด็นเฉพาะเรื่องค่ะ หากท่านใดอยากเห็นตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์และเอกัตศึกษา สามารถเข้าไปดูในลิงก์นี้ได้เลยค่ะ
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31
- ส่วนที่ธรรมศาสตร์ เปิดสอน 8 สาขาวิชา คือ สาขากฎหมายเอกชน สาขากฎหมายอาญา สาขากฎหมายมหาชน สาขากฎหมายระหว่างประเทศ สาขากฎหมายธุรกิจ สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ สาขากฎหมายภาษี และสาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกสาขาวิชาจะเลือกสมัครได้ 2 สาขาเช่นเดียวกับจุฬาฯ ค่ะ อย่างไรก็ตาม สำหรับตอนดิฉันสมัครสอบของธรรมศาสตร์ยังไม่มีให้เลือกแผนการศึกษาอย่างจุฬาฯ ค่ะ
3. การสมัครสอบ
- จุฬาฯ จะมีให้กรอกข้อมูลส่วนตัว (ค่อนข้างเยอะเลยค่ะ) และให้ส่งเอกสารประกอบการสมัคร (รูปถ่าย, สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาใบรับรองผลการเรียน, สำเนาปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษา, สำเนาใบรายงานผลภาษาอังกฤษ ซึ่งดิฉันจะพูดถึงผลคะแนนภาษาอังกฤษในหัวข้อต่อไปค่ะ) เพราะฉะนั้นควรเตรียมข้อมูลและเอกสารให้พร้อมก่อนสมัครสอบค่ะ
- ส่วนของธรรมศาสตร์ ตอนที่ดิฉันสมัครสอบจะมีให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและให้ส่งผลคะแนนภาษาอังกฤษแค่นั้นค่ะ (ยังไม่ต้องส่งเอกสารประกอบอื่น ๆ) หรือหากยังไม่มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ก็สามารถส่งทีหลังได้ค่ะ และที่สำคัญคือของธรรมศาสตร์ตอนสมัครสอบจะให้กรอกหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือหัวข้อค้นคว้าอิสระเลยค่ะ ดังนั้นผู้สมัครก็ควรศึกษาหัวข้อที่สนใจมาก่อนล่วงหน้าค่ะ โดยหัวข้อที่กรอกไปตอนสมัครไม่ได้ผูกมัดว่าเราต้องทำหัวข้อนี้จริง ๆ แต่อาจารย์ก็อาจจะถามถึงสิ่งที่เรากรอกไปได้ตอนที่สัมภาษณ์ค่ะ เพราะฉะนั้นก็ต้องเตรียมข้อมูลมาตอบคำถามด้วยค่ะ
4. ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ
- สำหรับจุฬาฯ ผู้สมัครสอบต้องสอบ CU-TEP ให้ได้คะแนนตั้งแต่ 30 คะแนน หรือสอบ TOEFL ให้ได้ตั้งแต่ 400 หรือ IELTS ให้ได้ตั้งแต่ 3.0 (เลือกสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง) โดยคะแนนสอบภาษาอังกฤษเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้สมัคร และไม่นำมารวมกับคะแนนสอบข้อเขียน ถ้าได้เกินตามเกณฑ์นี้แล้ว ผู้สมัครก็จะสามารถสอบข้อเขียนได้ค่ะ ดิฉันเลือกสอบ CU-TEP เพราะทางจุฬาฯ จัดสอบให้กับนิสิตตอนอยู่ปี 3 เลยนำคะแนนที่สอบไปมายื่นค่ะ
- แต่ของธรรมศาสตร์ ต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS โดยไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ แต่จะนำมารวมกับคะแนนสอบข้อเขียนด้วย โดยจะคิดคะแนนภาษาอังกฤษเป็นคะแนนเต็ม 20 คะแนน ดิฉันเลือกสอบ TU-GET เพราะค่าสมัครสอบถูกที่สุดในนี้ค่ะ5555 สำหรับหนังสือที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ ดิฉันซื้อหนังสือของสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาทำค่ะ (เล่มเหลือง - แดง)
5. วิชาที่สอบ แนวข้อสอบเก่า เรื่องที่ออกบ่อย และข้อสอบปีนี้
- สำหรับจุฬาฯ คะแนนสอบข้อเขียน 100 คะแนน ออกสอบหมวดวิชาละ 1 ข้อ โดยมีเวลาสอบหมวดละ 2 ชั่วโมงค่ะ (รวมเวลารับข้อสอบ - ส่งคำตอบ) ถ้าเลือกสอบหมวดวิชาไหน ก็จะสอบวัดความรู้เฉพาะหมวดนั้นเท่านั้นค่ะ อย่างดิฉันเลือกสอบหมวดอาญาฯ กับหมวดกฎหมายมหาชนไป ก็เข้าสอบเฉพาะ 2 หมวดนี้ หมวดอื่นไม่ต้องเข้าสอบค่ะ รายละเอียดการวัดความรู้ มีดังนี้ค่ะ (อ้างอิงจากรายละเอียดแนบท้ายประกาศการรับสมัคร ปีการศึกษา 2564)
• หมวดวิชากฎหมายเอกชนและธุรกิจ วัดความรู้กฎหมายว่าด้วยเอกเทศสัญญาสำคัญหรือกฎหมายว่าด้วยครอบครัว กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายภาษี
• หมวดวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา วัดความรู้กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิดกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
• หมวดวิชากฎหมายมหาชน วัดความรู้หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน กฎหมายปกครอง และกฎหมายรัฐธรรมนูญ
• หมวดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ วัดความรู้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองและแผนกคดีบุคคล
สำหรับข้อสอบเก่า จุฬาฯ ไม่มีการเผยแพร่ข้อสอบเก่าเลยค่ะ ทำให้ดิฉันเองไม่ทราบแนวข้อสอบ ต้องอาศัยการถามจากรุ่นพี่เอาค่ะ โดยปีการศึกษา 2563 ข้อสอบหมวดอาญาฯ นำเรื่องการระบาดของโควิด 19 มาแต่งเป็นข้อเท็จจริง ให้วินิจฉัยความรับผิดทางอาญาค่ะ (ไม่ได้มีธงตายตัว) ส่วนในปีนี้ (ปีการศึกษา 2564) ที่ดิฉันสอบข้อสอบถามเกี่ยวกับหลักการทั่วไปเลยค่ะ แล้วให้วิเคราะห์ สำหรับหมวดอาญาฯ ออกเรื่องกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด เหตุที่ต้องมีหลักเช่นนี้ การตีความแบบขยายความหรือใช้บทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งจะสามารถกระทําได้หรือไม่ภายใต้หลักดังกล่าวหรือไม่ และหมวดมหาชนออกเรื่องหลักนิติธรรม ถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องบัญญัติข้อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามหลักนิติธรรมไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ
- ส่วนธรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเลือกสาขาใด ทุกสาขาต้องสอบข้อสอบข้อเขียนเดียวกันหมดเลยค่ะ ออกสอบ 4 ข้อ (หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลักกฎหมายอาญา หลักกฎหมายมหาชน และหลักกฎหมายระหว่างประเทศ) ข้อละ 20 คะแนน รวมเป็นข้อเขียนกฎหมาย 80 คะแนน โดยมีเวลาสอบทั้งหมด 5 ชั่วโมง (รวมเวลารับข้อสอบ - ส่งคำตอบ) และนำผลคะแนนภาษาอังกฤษอีก 20 คะแนนมารวมด้วย รวมทั้งหมดเป็น 100 คะแนน
สำหรับข้อสอบเก่า สามารถหาแนวข้อสอบเก่าได้จากเว็บไซต์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเพจบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน Facebook ได้เลยค่ะ แต่ไม่มีเฉลยนะคะ
https://www.facebook.com/1550783831846121/photos/a.1552632218327949/3084908281766994/
ถ้าดูจากข้อสอบเก่าจะเห็นได้ว่า สถิติข้อสอบทั้ง 4 ข้อมักจะถามเกี่ยวกับความเข้าใจและความจำ เป็นแนวบรรยายมากกว่า จะไม่ค่อยถามแนววินิจฉัยหรือข้อสอบตุ๊กตาเท่าไหร่ค่ะ แต่ปีนี้ข้อสอบเน้นแนวตุ๊กตามากเลยค่ะ
• ข้อหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องที่จะออกบ่อย ๆ ได้แก่ หลักสุจริต หลักอิสระทางแพ่ง นิติกรรม สัญญา หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนและข้อยกเว้น กฎหมายละเมิด และเรื่องที่ออกรองลงมา คือ หนี้ กฎหมายทรัพย์ และเอกเทศสัญญา
ในปี 2564 ข้อสอบแพ่งออกสอบเป็นตุ๊กตาค่ะ ให้แสดงความคิดเห็น โดยนำพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 แก้ไขให้หญิงอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์สามารถทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายมาแต่งเป็นข้อเท็จจริงค่ะ ออกสอบเกี่ยวกับเรื่องความมีผลของนิติกรรม องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของนิติกรรม และการทำสัญญาต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือไม่ อย่างไรค่ะ
• ข้อหลักกฎหมายอาญา จากสถิติส่วนใหญ่จะออกกฎหมายอาญาภาคทั่วไป โดยเฉพาะมาตรา 59 สำคัญมาก ๆ ออกบ่อยมาก ๆ และก็พวกหลักการทั่วไปต่าง ๆ ที่เคยออกสอบ อย่างเช่น หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ไม่มีกฎหมาย หลักความยินยอมในทางอาญา หลักกฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำโดยจำเป็น หลัก presumption of innocence เป็นต้น แต่ก็เคยมีกฎหมายอาญาภาคความผิดออกสอบมาด้วยเช่นกันค่ะ อย่างเช่น การใช้กลอุบายเพื่อลักทรัพย์ การฉ้อโกง มาตรา 289(2) มาตรา 224 เป็นต้น เพราะฉะนั้นก็ต้องอ่านภาคความผิดไปด้วยค่ะ อ่านไปให้ครอบคลุม อย่าทิ้ง!!!
ในปี 2564 ข้อสอบกฎหมายอาญาให้วินิจฉัยความรับผิดตามกฎหมายอาญาค่ะ โดยนำเรื่องการระบาดของโควิด 19 มาแต่งเป็นข้อเท็จจริงด้วย ออกสอบเกี่ยวกับมาตรา 59 และความผิดต่อชีวิตค่ะ
• ข้อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ขอบเขตการออกสอบมักจะเน้นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองค่ะ เรื่องที่ออกบ่อย ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน บ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา เรื่องที่เกี่ยวกับรัฐทั้งหมด ความคุ้มกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายระหว่างประเทศคดีบุคคลก็อย่าทิ้งค่ะ ควรอ่านไปด้วยเผื่อออกสอบ
ในปี 2564 ข้อสอบกฎหมายระหว่างประเทศให้อธิบายองค์ประกอบของความเป็นรัฐ และอภิปรายว่าไต้หวันและฮ่องกงเป็นรัฐหรือไม่ เพราะเหตุใดค่ะ
• ข้อหลักกฎหมายมหาชน มักออกหลักการทั่วไป เรื่องสำคัญ ๆ แต่ขอบเขตวิชานี้กว้างมากค่ะ เรื่องที่ออกบ่อย ๆ ได้แก่ ระบอบประชาธิปไตย หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลักความเป็นสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หลักนิติรัฐ นิติธรรม หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การกระทำทางปกครองต่าง ๆ บริการสาธารณะ การตรวจสอบถ่วงดุล เป็นต้น เรื่องอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ต้องอ่านไปด้วยนะคะ ข้อสอบเคยออกเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ด้วยค่ะ
ในปี 2564 ข้อสอบหลักกฎหมายมหาชน ออกบรรยายผสมตุ๊กตาเลยค่ะ ถามเกี่ยวกับความหมายและประเภทของพระราชกำหนด และให้ข้อเท็จจริงมา ถามว่าพระราชกำหนดดังกล่าวตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ ศาลใดมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนที่ถูกต้องครบถ้วนสำหรับการเสนอความเห็นนี้หรือไม่ ศาลมีอำนาจพิจารณาปัญหาตามความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่
แชร์ประสบการณ์และให้ข้อมูลสอบเข้าปริญญาโท นิติศาสตร์ จุฬาและธรรมศาสตร์
1. คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ
ทั้งจุฬาฯและธรรมศาสตร์กำหนดว่า ต้องสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต หรือเป็นผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา (คือเรียนอยู่ปี 4 ก็สามารถสมัครสอบได้ค่ะ) อย่างดิฉันก็สมัครสอบตอนเรียนปี 4 เทอมสุดท้ายค่ะ โดยทั้ง 2 มหาวิทยาลัยไม่ได้กำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำไว้ แต่ผู้สมัครต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งดิฉันจะพูดต่อไปค่ะ
2. สาขาหรือหมวดวิชาที่เปิดรับสมัครและแผนการศึกษา
- จุฬาฯ เปิดสอน 4 หมวดวิชา คือ หมวดวิชากฎหมายเอกชนและธุรกิจ หมวดวิชากฎหมายอาญาและกระบวนยุติธรรมทางอาญา หมวดวิชากฎหมายมหาชน และหมวดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ โดยการเลือกหมวดวิชาจะเลือกสมัครได้ 2 หมวด ส่วนแผนการศึกษา จุฬาฯ เปิดการสอน 2 แผนการศึกษา คือ แผนวิทยานิพนธ์และแผนเอกัตศึกษา ซึ่งตอนดิฉันสมัครสอบเลือกได้แค่แผนเดียวเท่านั้นค่ะ ความแตกต่างระหว่าง 2 แผนการศึกษานี้ คือ แผนวิทยานิพนธ์จะมุ่งทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อเสนอบทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อวงการนิติศาสตร์ค่ะ ส่วนแผนเอกัตศึกษาจะมุ่งการเรียนการสอนในห้องเรียน และต้องทำเอกัตศึกษาซึ่งเป็นรูปแบบรายงานภายใต้ความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อวิเคราะห์ประเด็นเฉพาะเรื่องค่ะ หากท่านใดอยากเห็นตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์และเอกัตศึกษา สามารถเข้าไปดูในลิงก์นี้ได้เลยค่ะ https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31
- ส่วนที่ธรรมศาสตร์ เปิดสอน 8 สาขาวิชา คือ สาขากฎหมายเอกชน สาขากฎหมายอาญา สาขากฎหมายมหาชน สาขากฎหมายระหว่างประเทศ สาขากฎหมายธุรกิจ สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ สาขากฎหมายภาษี และสาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกสาขาวิชาจะเลือกสมัครได้ 2 สาขาเช่นเดียวกับจุฬาฯ ค่ะ อย่างไรก็ตาม สำหรับตอนดิฉันสมัครสอบของธรรมศาสตร์ยังไม่มีให้เลือกแผนการศึกษาอย่างจุฬาฯ ค่ะ
3. การสมัครสอบ
- จุฬาฯ จะมีให้กรอกข้อมูลส่วนตัว (ค่อนข้างเยอะเลยค่ะ) และให้ส่งเอกสารประกอบการสมัคร (รูปถ่าย, สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาใบรับรองผลการเรียน, สำเนาปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองว่าจะสำเร็จการศึกษา, สำเนาใบรายงานผลภาษาอังกฤษ ซึ่งดิฉันจะพูดถึงผลคะแนนภาษาอังกฤษในหัวข้อต่อไปค่ะ) เพราะฉะนั้นควรเตรียมข้อมูลและเอกสารให้พร้อมก่อนสมัครสอบค่ะ
- ส่วนของธรรมศาสตร์ ตอนที่ดิฉันสมัครสอบจะมีให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและให้ส่งผลคะแนนภาษาอังกฤษแค่นั้นค่ะ (ยังไม่ต้องส่งเอกสารประกอบอื่น ๆ) หรือหากยังไม่มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ก็สามารถส่งทีหลังได้ค่ะ และที่สำคัญคือของธรรมศาสตร์ตอนสมัครสอบจะให้กรอกหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือหัวข้อค้นคว้าอิสระเลยค่ะ ดังนั้นผู้สมัครก็ควรศึกษาหัวข้อที่สนใจมาก่อนล่วงหน้าค่ะ โดยหัวข้อที่กรอกไปตอนสมัครไม่ได้ผูกมัดว่าเราต้องทำหัวข้อนี้จริง ๆ แต่อาจารย์ก็อาจจะถามถึงสิ่งที่เรากรอกไปได้ตอนที่สัมภาษณ์ค่ะ เพราะฉะนั้นก็ต้องเตรียมข้อมูลมาตอบคำถามด้วยค่ะ
4. ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ
- สำหรับจุฬาฯ ผู้สมัครสอบต้องสอบ CU-TEP ให้ได้คะแนนตั้งแต่ 30 คะแนน หรือสอบ TOEFL ให้ได้ตั้งแต่ 400 หรือ IELTS ให้ได้ตั้งแต่ 3.0 (เลือกสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง) โดยคะแนนสอบภาษาอังกฤษเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้สมัคร และไม่นำมารวมกับคะแนนสอบข้อเขียน ถ้าได้เกินตามเกณฑ์นี้แล้ว ผู้สมัครก็จะสามารถสอบข้อเขียนได้ค่ะ ดิฉันเลือกสอบ CU-TEP เพราะทางจุฬาฯ จัดสอบให้กับนิสิตตอนอยู่ปี 3 เลยนำคะแนนที่สอบไปมายื่นค่ะ
- แต่ของธรรมศาสตร์ ต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS โดยไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ แต่จะนำมารวมกับคะแนนสอบข้อเขียนด้วย โดยจะคิดคะแนนภาษาอังกฤษเป็นคะแนนเต็ม 20 คะแนน ดิฉันเลือกสอบ TU-GET เพราะค่าสมัครสอบถูกที่สุดในนี้ค่ะ5555 สำหรับหนังสือที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ ดิฉันซื้อหนังสือของสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาทำค่ะ (เล่มเหลือง - แดง)
5. วิชาที่สอบ แนวข้อสอบเก่า เรื่องที่ออกบ่อย และข้อสอบปีนี้
- สำหรับจุฬาฯ คะแนนสอบข้อเขียน 100 คะแนน ออกสอบหมวดวิชาละ 1 ข้อ โดยมีเวลาสอบหมวดละ 2 ชั่วโมงค่ะ (รวมเวลารับข้อสอบ - ส่งคำตอบ) ถ้าเลือกสอบหมวดวิชาไหน ก็จะสอบวัดความรู้เฉพาะหมวดนั้นเท่านั้นค่ะ อย่างดิฉันเลือกสอบหมวดอาญาฯ กับหมวดกฎหมายมหาชนไป ก็เข้าสอบเฉพาะ 2 หมวดนี้ หมวดอื่นไม่ต้องเข้าสอบค่ะ รายละเอียดการวัดความรู้ มีดังนี้ค่ะ (อ้างอิงจากรายละเอียดแนบท้ายประกาศการรับสมัคร ปีการศึกษา 2564)
• หมวดวิชากฎหมายเอกชนและธุรกิจ วัดความรู้กฎหมายว่าด้วยเอกเทศสัญญาสำคัญหรือกฎหมายว่าด้วยครอบครัว กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายภาษี
• หมวดวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา วัดความรู้กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิดกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
• หมวดวิชากฎหมายมหาชน วัดความรู้หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน กฎหมายปกครอง และกฎหมายรัฐธรรมนูญ
• หมวดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ วัดความรู้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองและแผนกคดีบุคคล
สำหรับข้อสอบเก่า จุฬาฯ ไม่มีการเผยแพร่ข้อสอบเก่าเลยค่ะ ทำให้ดิฉันเองไม่ทราบแนวข้อสอบ ต้องอาศัยการถามจากรุ่นพี่เอาค่ะ โดยปีการศึกษา 2563 ข้อสอบหมวดอาญาฯ นำเรื่องการระบาดของโควิด 19 มาแต่งเป็นข้อเท็จจริง ให้วินิจฉัยความรับผิดทางอาญาค่ะ (ไม่ได้มีธงตายตัว) ส่วนในปีนี้ (ปีการศึกษา 2564) ที่ดิฉันสอบข้อสอบถามเกี่ยวกับหลักการทั่วไปเลยค่ะ แล้วให้วิเคราะห์ สำหรับหมวดอาญาฯ ออกเรื่องกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด เหตุที่ต้องมีหลักเช่นนี้ การตีความแบบขยายความหรือใช้บทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งจะสามารถกระทําได้หรือไม่ภายใต้หลักดังกล่าวหรือไม่ และหมวดมหาชนออกเรื่องหลักนิติธรรม ถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องบัญญัติข้อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามหลักนิติธรรมไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ
- ส่วนธรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเลือกสาขาใด ทุกสาขาต้องสอบข้อสอบข้อเขียนเดียวกันหมดเลยค่ะ ออกสอบ 4 ข้อ (หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลักกฎหมายอาญา หลักกฎหมายมหาชน และหลักกฎหมายระหว่างประเทศ) ข้อละ 20 คะแนน รวมเป็นข้อเขียนกฎหมาย 80 คะแนน โดยมีเวลาสอบทั้งหมด 5 ชั่วโมง (รวมเวลารับข้อสอบ - ส่งคำตอบ) และนำผลคะแนนภาษาอังกฤษอีก 20 คะแนนมารวมด้วย รวมทั้งหมดเป็น 100 คะแนน
สำหรับข้อสอบเก่า สามารถหาแนวข้อสอบเก่าได้จากเว็บไซต์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเพจบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน Facebook ได้เลยค่ะ แต่ไม่มีเฉลยนะคะ https://www.facebook.com/1550783831846121/photos/a.1552632218327949/3084908281766994/
ถ้าดูจากข้อสอบเก่าจะเห็นได้ว่า สถิติข้อสอบทั้ง 4 ข้อมักจะถามเกี่ยวกับความเข้าใจและความจำ เป็นแนวบรรยายมากกว่า จะไม่ค่อยถามแนววินิจฉัยหรือข้อสอบตุ๊กตาเท่าไหร่ค่ะ แต่ปีนี้ข้อสอบเน้นแนวตุ๊กตามากเลยค่ะ
• ข้อหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องที่จะออกบ่อย ๆ ได้แก่ หลักสุจริต หลักอิสระทางแพ่ง นิติกรรม สัญญา หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนและข้อยกเว้น กฎหมายละเมิด และเรื่องที่ออกรองลงมา คือ หนี้ กฎหมายทรัพย์ และเอกเทศสัญญา
ในปี 2564 ข้อสอบแพ่งออกสอบเป็นตุ๊กตาค่ะ ให้แสดงความคิดเห็น โดยนำพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 แก้ไขให้หญิงอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์สามารถทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายมาแต่งเป็นข้อเท็จจริงค่ะ ออกสอบเกี่ยวกับเรื่องความมีผลของนิติกรรม องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของนิติกรรม และการทำสัญญาต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือไม่ อย่างไรค่ะ
• ข้อหลักกฎหมายอาญา จากสถิติส่วนใหญ่จะออกกฎหมายอาญาภาคทั่วไป โดยเฉพาะมาตรา 59 สำคัญมาก ๆ ออกบ่อยมาก ๆ และก็พวกหลักการทั่วไปต่าง ๆ ที่เคยออกสอบ อย่างเช่น หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ไม่มีกฎหมาย หลักความยินยอมในทางอาญา หลักกฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำโดยจำเป็น หลัก presumption of innocence เป็นต้น แต่ก็เคยมีกฎหมายอาญาภาคความผิดออกสอบมาด้วยเช่นกันค่ะ อย่างเช่น การใช้กลอุบายเพื่อลักทรัพย์ การฉ้อโกง มาตรา 289(2) มาตรา 224 เป็นต้น เพราะฉะนั้นก็ต้องอ่านภาคความผิดไปด้วยค่ะ อ่านไปให้ครอบคลุม อย่าทิ้ง!!!
ในปี 2564 ข้อสอบกฎหมายอาญาให้วินิจฉัยความรับผิดตามกฎหมายอาญาค่ะ โดยนำเรื่องการระบาดของโควิด 19 มาแต่งเป็นข้อเท็จจริงด้วย ออกสอบเกี่ยวกับมาตรา 59 และความผิดต่อชีวิตค่ะ
• ข้อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ขอบเขตการออกสอบมักจะเน้นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองค่ะ เรื่องที่ออกบ่อย ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน บ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา เรื่องที่เกี่ยวกับรัฐทั้งหมด ความคุ้มกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายระหว่างประเทศคดีบุคคลก็อย่าทิ้งค่ะ ควรอ่านไปด้วยเผื่อออกสอบ
ในปี 2564 ข้อสอบกฎหมายระหว่างประเทศให้อธิบายองค์ประกอบของความเป็นรัฐ และอภิปรายว่าไต้หวันและฮ่องกงเป็นรัฐหรือไม่ เพราะเหตุใดค่ะ
• ข้อหลักกฎหมายมหาชน มักออกหลักการทั่วไป เรื่องสำคัญ ๆ แต่ขอบเขตวิชานี้กว้างมากค่ะ เรื่องที่ออกบ่อย ๆ ได้แก่ ระบอบประชาธิปไตย หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลักความเป็นสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หลักนิติรัฐ นิติธรรม หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การกระทำทางปกครองต่าง ๆ บริการสาธารณะ การตรวจสอบถ่วงดุล เป็นต้น เรื่องอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ต้องอ่านไปด้วยนะคะ ข้อสอบเคยออกเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ด้วยค่ะ
ในปี 2564 ข้อสอบหลักกฎหมายมหาชน ออกบรรยายผสมตุ๊กตาเลยค่ะ ถามเกี่ยวกับความหมายและประเภทของพระราชกำหนด และให้ข้อเท็จจริงมา ถามว่าพระราชกำหนดดังกล่าวตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ ศาลใดมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนที่ถูกต้องครบถ้วนสำหรับการเสนอความเห็นนี้หรือไม่ ศาลมีอำนาจพิจารณาปัญหาตามความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่