วันนี้จะมารีวิวการสอบเข้า นิติ ปโท เนื่องจากเห็นหลายม. เปิดรับสมัครแล้ว เราเป็นคนที่สอบเมื่อปีที่แล้ว ที่เลือกเปิดเผยผ่านพันทิปเพราะว่าจขกท. ได้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มนี้ในการรวบรวมสอบเข้าด้วยเช่นกัน ซึ่งจะขอบอกเฉพาะลักษณะของการสอบเข้าและเตรียมตัวเท่านั้น ไม่ลงไปถึงเนื้อของข้อสอบและขอให้กระทู้เป็นส่วนหนึ่งของการทำความเข้าใจเท่านั้นหรือเป็น รูปแบบ ณ ปีนั้น ๆ
โปรดยึดประกาศของคณะเป็นสำคัญเพราะแต่ละปีอาจจะไม่เหมือนกัน
จขกท. เลือกสอบสอง ม. คือ ม.ย่านท่าพระจันทร์ และย่านสามย่าน ทั้งสองอันเป็นหลักสูตร นม.
จุดร่วมของทั้งสองม. ที่เราต้องเตรียมคือ คะแนนภาษาอังกฤษ จขกท. ขอแนะนำว่าให้สอบผ่านก่อนแล้วค่อยสมัครจะสะดวกมากกว่า แต่ถ้าไม่ทัน (จำได้ว่าของม. ย่านสามย่านจะให้ยื่นได้ถึงวันสอบสัมภาษณ์) ถ้าทุนทรัพย์และความมั่นใจในภาษาไม่ถึงขนาด TOELF ให้สอบภาษาอังกฤษของม. นั้น ๆ แทนจะง่ายและประหยัดมากกว่า และพยายามสอบให้ผ่านทั้งเกณฑ์สอบเข้า และเกณฑ์ออกของ ม.นั้น ๆ แต่ถ้าไม่ไหวก็เอาเกณฑ์เข้าก่อน
จุดร่วมทางด้านการเตรียมตัวสอบ ข้อสอบตุ๊กตาแบบป.ตรีนั้นไม่มี หรือมีคุณก็จะต้องตอบเป็นทฤษฎีประกอบวิเคราะห์ / ข้อสอบมักจะเป็นข้อสอบสั้น ๆ แต่สิ่งที่ตอบนั้นไม่ได้สั้นเหมือนคำถาม คือ การตอบทฤษฎี ในด้านเนื้อหาความเห็นส่วนตัวไม่ได้ออกลึกมาก แต่ออกได้กว้างมาก ๆ ซึ่งการเตรียมตัวควรดูกว้าง ๆ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในช่วงนั้น
ม.ย่านท่าพระจันทร์
ม. ย่านท่าพระจันทร์ มีสาขาเยอะมากกว่าย่านสามย่าน มี ถึง 8 สาขา ซึ่งตอนสมัครจะได้เลือกสองอันดับว่าอยากเรียนสาขาไหน เป็นสองอันดับแรก จุดสำคัญ คือ ม. ย่านท่าพระจันทร์จะมีข้อสอบสี่ข้อ 100 คะแนน ให้เวลา 4 ชั่วโมง แยกออกเป็น 4 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก่ 1 กลุ่มกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2 กลุ่มกฎหมายอาญา 3 กลุ่มกฎหมายมหาชน (ซึ่งอาจรวมทั้งมหาชน รัฐธรรมนูญ และปกครอง) 4 กลุ่มกฎหมายต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าเนื้อหาที่ต้องอ่านมีเยอะมากกว่า โดยเราอาจจะลองเปิดดูเพื่อสโคปเนื้อหาได้จากข้อสอบเก่าซึ่งเผยแพร่เป็นสาธารณะอยู่แล้ว
จุดที่สองเราจะทราบว่าป.โท ต้องทำงานวิจัย ม. ย่านท่าพระจันทร์ ไม่ได้ให้เลือกตั้งแต่แรกว่าจะทำ สารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ แต่จะให้เลือกเมื่อเราจะได้ทำแล้ว แต่เวลาให้เขียนใบสมัครหรือสอบสัมภาษณ์เค้าจะให้เขียนหัวข้อที่เราอยากทำ
การสอบสัมภาษณ์ เมื่อคุณสอบผ่านข้อเขียนก็จะนัดสอบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับอาจารย์หมวดวิชาที่คุณสอบได้ ซึ่งบรรยากาศจะ Relax มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับท่านอาจารย์ แต่โดยส่วนตัวบรรยากาศไม่น่ากลัว
ม.ย่านสามย่าน
ม .ย่านสามย่าน ถ้าเป็นหลักสูตร นม. จะมีเพียง 4 สาขาเท่านั้น ตอนสมัครเหมือน ม. ย่านท่าพระจันทร์ คือ ให้เลือกสองหมวดวิชาเท่านั้น แต่ข้อดีของม. ย่านสามย่านคือ เลือกหมวดวิชาไหนสอบแค่หมวดวิชานั้นทำให้เนื้อหาตรงกับสิ่งที่เราสนใจเลย ไม่ต้องอ่านวิชาอื่น ๆ เช่น คุณเลือกวิชาอาญาก็สอบเพียงแค่วิชาอาญาเท่านั้น ในปีที่จขกท. สอบ มี ข้อสอบแค่ 1 ข้อ 100 คะแนน ก็อาจจะดูกดดันกว่าเล็กน้อยตรงที่ถ้าเราอ่านไม่ตรงเลยอาจจะไม่มีอะไรมาเฉลี่ยคะแนน (ในปีของจขกท. ซึ่งปีอื่น ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง) ซึ่งม.นี้ก็ไม่ได้มีข้อสอบเก่าเปิดเผย อาจจะต้องถามต่อปากต่อปากจากรุ่นก่อนหน้า
เรื่องงานวิจัย ม.ย่านสามย่านจะให้เราเลือกเลยว่าจะทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ซึ่งสารนิพนธ์จะอัพเกรดเป็นสารนิพนธ์ได้ แต่เมื่อเลือกวิทยานิพนธ์แล้วก็ต้องทำตลอดไปไม่เปลี่ยนแปลงดังนั้นขอให้เพื่อน ๆ ตรวจสอบว่าลงถูกแผนหรือไม่ เพราะวิทยานิพนธ์อาจจะมี Requirement เยอะกว่าในการจบการศึกษา
การสอบสัมภาษณ์ ที่นี้อาจจะกดดันมากกว่าเพราะมีการคัดคนออก คุณควรเตรียมเรื่องที่คุณอยากทำแต่หัวข้อนั้นไม่ได้ผูกพันว่าคุณต้องทำ แต่ควรเตรียมว่าอยากทำประมาณไหน เพราะอะไร มีปัญหาอะไร กรรมการสอบสัมเยอะมาก อย่าง จขกท. เจออาจารย์ 7 ท่าน นอกจากหัวข้อแล้วจะมีการถามกฎหมายเกี่ยวกับหมวดวิชานั้นเป็นดวงนะคะว่าจะเจอเรื่องไหน แล้วก็ถามปกติทั่วไป
ตัวจขกท. ขอจบการรีวิวเท่านี้ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านในการเตรียมตัวสอบ อนึ่งสอบผ่านแล้วการเรียนป.โท มีผลกระทบต่อการเงิน จิตใจ และเวลาอย่างมากขอให้พิจารณาถึงความพร้อมของตัวเอง แต่เมื่อเจอเพื่อน ๆ เรียนด้วยกันคุณอาจจะไม่รู้สึกอะไร และสนุกกับการเรียน หากเกิดการผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้าค่ะ
เตรียมตัวสอบ ป.โท นิติศาสตร์ (หลักสูตรนม. )
จขกท. เลือกสอบสอง ม. คือ ม.ย่านท่าพระจันทร์ และย่านสามย่าน ทั้งสองอันเป็นหลักสูตร นม.
จุดร่วมของทั้งสองม. ที่เราต้องเตรียมคือ คะแนนภาษาอังกฤษ จขกท. ขอแนะนำว่าให้สอบผ่านก่อนแล้วค่อยสมัครจะสะดวกมากกว่า แต่ถ้าไม่ทัน (จำได้ว่าของม. ย่านสามย่านจะให้ยื่นได้ถึงวันสอบสัมภาษณ์) ถ้าทุนทรัพย์และความมั่นใจในภาษาไม่ถึงขนาด TOELF ให้สอบภาษาอังกฤษของม. นั้น ๆ แทนจะง่ายและประหยัดมากกว่า และพยายามสอบให้ผ่านทั้งเกณฑ์สอบเข้า และเกณฑ์ออกของ ม.นั้น ๆ แต่ถ้าไม่ไหวก็เอาเกณฑ์เข้าก่อน
จุดร่วมทางด้านการเตรียมตัวสอบ ข้อสอบตุ๊กตาแบบป.ตรีนั้นไม่มี หรือมีคุณก็จะต้องตอบเป็นทฤษฎีประกอบวิเคราะห์ / ข้อสอบมักจะเป็นข้อสอบสั้น ๆ แต่สิ่งที่ตอบนั้นไม่ได้สั้นเหมือนคำถาม คือ การตอบทฤษฎี ในด้านเนื้อหาความเห็นส่วนตัวไม่ได้ออกลึกมาก แต่ออกได้กว้างมาก ๆ ซึ่งการเตรียมตัวควรดูกว้าง ๆ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในช่วงนั้น
ม.ย่านท่าพระจันทร์
ม. ย่านท่าพระจันทร์ มีสาขาเยอะมากกว่าย่านสามย่าน มี ถึง 8 สาขา ซึ่งตอนสมัครจะได้เลือกสองอันดับว่าอยากเรียนสาขาไหน เป็นสองอันดับแรก จุดสำคัญ คือ ม. ย่านท่าพระจันทร์จะมีข้อสอบสี่ข้อ 100 คะแนน ให้เวลา 4 ชั่วโมง แยกออกเป็น 4 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก่ 1 กลุ่มกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2 กลุ่มกฎหมายอาญา 3 กลุ่มกฎหมายมหาชน (ซึ่งอาจรวมทั้งมหาชน รัฐธรรมนูญ และปกครอง) 4 กลุ่มกฎหมายต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าเนื้อหาที่ต้องอ่านมีเยอะมากกว่า โดยเราอาจจะลองเปิดดูเพื่อสโคปเนื้อหาได้จากข้อสอบเก่าซึ่งเผยแพร่เป็นสาธารณะอยู่แล้ว
จุดที่สองเราจะทราบว่าป.โท ต้องทำงานวิจัย ม. ย่านท่าพระจันทร์ ไม่ได้ให้เลือกตั้งแต่แรกว่าจะทำ สารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ แต่จะให้เลือกเมื่อเราจะได้ทำแล้ว แต่เวลาให้เขียนใบสมัครหรือสอบสัมภาษณ์เค้าจะให้เขียนหัวข้อที่เราอยากทำ
การสอบสัมภาษณ์ เมื่อคุณสอบผ่านข้อเขียนก็จะนัดสอบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับอาจารย์หมวดวิชาที่คุณสอบได้ ซึ่งบรรยากาศจะ Relax มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับท่านอาจารย์ แต่โดยส่วนตัวบรรยากาศไม่น่ากลัว
ม.ย่านสามย่าน
ม .ย่านสามย่าน ถ้าเป็นหลักสูตร นม. จะมีเพียง 4 สาขาเท่านั้น ตอนสมัครเหมือน ม. ย่านท่าพระจันทร์ คือ ให้เลือกสองหมวดวิชาเท่านั้น แต่ข้อดีของม. ย่านสามย่านคือ เลือกหมวดวิชาไหนสอบแค่หมวดวิชานั้นทำให้เนื้อหาตรงกับสิ่งที่เราสนใจเลย ไม่ต้องอ่านวิชาอื่น ๆ เช่น คุณเลือกวิชาอาญาก็สอบเพียงแค่วิชาอาญาเท่านั้น ในปีที่จขกท. สอบ มี ข้อสอบแค่ 1 ข้อ 100 คะแนน ก็อาจจะดูกดดันกว่าเล็กน้อยตรงที่ถ้าเราอ่านไม่ตรงเลยอาจจะไม่มีอะไรมาเฉลี่ยคะแนน (ในปีของจขกท. ซึ่งปีอื่น ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง) ซึ่งม.นี้ก็ไม่ได้มีข้อสอบเก่าเปิดเผย อาจจะต้องถามต่อปากต่อปากจากรุ่นก่อนหน้า
เรื่องงานวิจัย ม.ย่านสามย่านจะให้เราเลือกเลยว่าจะทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ซึ่งสารนิพนธ์จะอัพเกรดเป็นสารนิพนธ์ได้ แต่เมื่อเลือกวิทยานิพนธ์แล้วก็ต้องทำตลอดไปไม่เปลี่ยนแปลงดังนั้นขอให้เพื่อน ๆ ตรวจสอบว่าลงถูกแผนหรือไม่ เพราะวิทยานิพนธ์อาจจะมี Requirement เยอะกว่าในการจบการศึกษา
การสอบสัมภาษณ์ ที่นี้อาจจะกดดันมากกว่าเพราะมีการคัดคนออก คุณควรเตรียมเรื่องที่คุณอยากทำแต่หัวข้อนั้นไม่ได้ผูกพันว่าคุณต้องทำ แต่ควรเตรียมว่าอยากทำประมาณไหน เพราะอะไร มีปัญหาอะไร กรรมการสอบสัมเยอะมาก อย่าง จขกท. เจออาจารย์ 7 ท่าน นอกจากหัวข้อแล้วจะมีการถามกฎหมายเกี่ยวกับหมวดวิชานั้นเป็นดวงนะคะว่าจะเจอเรื่องไหน แล้วก็ถามปกติทั่วไป
ตัวจขกท. ขอจบการรีวิวเท่านี้ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านในการเตรียมตัวสอบ อนึ่งสอบผ่านแล้วการเรียนป.โท มีผลกระทบต่อการเงิน จิตใจ และเวลาอย่างมากขอให้พิจารณาถึงความพร้อมของตัวเอง แต่เมื่อเจอเพื่อน ๆ เรียนด้วยกันคุณอาจจะไม่รู้สึกอะไร และสนุกกับการเรียน หากเกิดการผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้าค่ะ