สวัสดีครับ
กระทู้นี้มีขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่น้องๆคณะนิติศาสตร์ที่เรียนจบปริญญาตรี หรือ ทำงานแล้วเริ่มรู้สึกอยากเรียนต่อขึ้นมา
หรือ สำหรับใครที่กำลังเรียนปริญญาโทอยู่แล้วรู้สึกท้อใจก็เข้ามาแชร์กันได้ครับ
กระทู้นี้เป็นตัวอย่างประสบการณ์ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิตที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ
การสอบข้อเขียน (หากข้อมูลในส่วนนี้ไม่อัพเดทต้องขออภัยด้วย เพราะ การสอบเข้าของผมผ่านมา 3-4 ปีแล้ว อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ผู้เข้าสอบควรตรวจสอบจากประกาศของคณะนิติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง)
รายละเอียดในการสอบเข้าปริญญาโทที่จุฬานั้น โดยทั่วไปแล้วการสอบภาคเช้าจะเป็นวิชาทั่วไปแบบกว้างๆที่ทุกสาขาจะต้องสอบเหมือนกัน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน เป็นต้น ซึ่งรายวิชาที่ต้องอ่านจะมีอยู่ในประกาศของคณะนิติศาสตร์ ถ้าจำไม่ผิดข้อสอบจะมี 5 ข้อ แต่ละข้อคนละวิชากัน เนื้อหาในการสอบจะมีทั้งโจทย์ที่เป็นตุ๊กตา และ โจทย์ที่เป็นบรรยาย สิ่งสำคัญที่ควรอ่านไปคือหลักกฎหมายที่สำคัญๆของกฎหมายเหล่านี้ เช่น หลักกฎหมายแพ่ง หลักเสรีภาพในการทำสัญญา หลักการที่เป็นหัวใจของกฎหมายมหาชน-รัฐธรรมนูญ เป็นต้น ปัญหาของคนสอบเข้าคือบางทีรู้สึกว่าเนื้อหาที่บอกในประกาศมันกว้างมากจนไม่รู้จะอ่านอะไรดี
Tips ตอนนั้นผมใช้เทคนิคโดยการขอข้อสอบเข้าปริญญาโทจากเพื่อนที่เรียนธรรมศาสตร์ (หาของจุฬาไม่ได้) ย้อนหลังไปหลายๆปี เพื่อมาดูแนวว่าข้อสอบออกหลักกฎหมายอะไรเยอะๆ แล้วลิสต์มาว่าเราจะอ่านอะไรบ้าง ให้ความสำคัญกับอะไร รวมถึงฝึกเขียนตอบข้อสอบของทุกปีเท่าที่จะทำได้โดยหวังว่าข้อสอบของจุฬาจะไม่แตกต่างกันมากนัก (ฮ่าๆ) ประโยชน์คือ ในข้อสอบบรรยาย ถึงแม้โจทย์จะไม่ตรงกันเป๊ะ แต่หลักกฎหมายที่เราเตรียมไปสามารถนำไปเขียนได้และช่วยผมเอาไว้ได้มากๆหลายข้อเลย
ส่วนการสอบภาคบ่ายนั้น เนื้อหาที่สอบของแต่ละสาขาจะไม่เหมือนกัน เช่น สาขามหาชนก็อาจต้องไปเน้นอ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชนมากหน่อย สาขากฎหมายเอกชนและธุรกิจอาจต้องไปเน้นอ่านกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท พรบ. ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม กฎหมายพาณิชย์ เช่น เอกเทศสัญญา ให้มาก เป็นต้น แต่ผมจำไม่ได้ว่าภาคบ่ายมีข้อสอบกี่ข้อ (น่าจะ 5 เหมือนกัน)
***สาขายอดฮิตที่มีการแข่งขันกันสูง จำนวนคนสอบเข้าเยอะและรับน้อยในหลายๆปี คือ สาขากฎหมายเอกชนและธุรกิจ***
การสอบสัมภาษณ์
เมื่อสอบติดข้อเขียนแล้ว ยังไม่แน่ว่าจะได้เรียน เพราะ การสอบสัมภาษณ์ของนิติศาสตร์ ปริญญาโท ที่จุฬาฯ นั้นมีการคัดออก และ คัดออกเยอะด้วย (เช่น ในปีที่ผมสอบเข้ามีคนสอบติดข้อเขียนประมาณ 34 คน แต่สอบผ่านสัมภาษณ์เพียง 20 คนต้นๆเท่านั้น คือ ตัดออกเป็นสิบคนเลย) สิ่งที่คนเข้าสอบอาจไม่รู้เลยถ้าเป็นเด็กจากมหาวิทยาลัยอื่น หรือ ไม่มีเพื่อนบอกก่อน คือ ในเอกสารการสมัครสอบตอนแรกจะมีช่องให้กรอกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่สนใจจะทำ ส่วนนี้แหละที่จะมีผลสำคัญมากในการสอบสัมภาษณ์ เราต้องจำไว้ให้ดีว่ากรอกหัวข้ออะไรไป เพราะ กรรมการสอบจะนำมาใช้ถามเราว่าประเด็นปัญหาที่สนใจนั้นคืออะไร เราทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำไมสนใจอยากที่จะทำเรื่องนี้ เราต้องเตรียมเนื้อหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่อยากทำไว้ไปให้มีข้อมูลพอสมควร อาจตอบถูกผิดไปบ้างไม่เป็นไร เพราะ เรายังไม่ได้ทำวิจัยจริงจัง แต่กรรมการต้องการดูการหาข้อมูล การเตรียมความพร้อมของผู้เข้าสอบว่ามีศักยภาพในการเข้ามาทำวิทยานิพนธ์หรือไม่
บรรยากาศในการสอบสัมภาษณ์ ในปีของผมมีกรรมการสอบเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์เกือบ 10 ท่าน มานั่งล้อมเรา แล้วอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใกล้เคียงกับหัวข้อที่เราสนใจประมาณ 2-3 คนจะเป็นคนยิงคำถาม ขอให้ตอบด้วยความมั่นใจ อย่ารน อะไรที่ไม่ทราบก็ให้บอกตรงๆว่าในส่วนนี้ยังศึกษาไม่ถึง
การเรียน Coursework
การเรียน Coursework นั้นจะคล้ายกับเราย้อนกลับไปสมัยเรียนปริญญาตรีแต่จะไม่ลงรายละเอียดเท่า คือมีอาจารย์มาสอนเราในแต่ละวิชา มีงานให้ทำ มีการสอบปลายภาค ปีแรกของการเรียน Coursework จะค่อนข้างหนักหน่อย เพราะ มีงาน การบ้าน หรือ พรีเซ้นท์ให้ทำค่อนข้างเยอะ พร้อมๆกันในหลายวิชา หากใครทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยก็ควรจัดสรรค์เวลาให้ดี การสอบวัดผลนั้นจะไม่มีการสอบกลางภาคแต่จะมีสอบปลายภาคทีเดียว และเราต้องรักษาเกรดเฉลี่ยให้อย่าต่ำกว่าเกรด B ไม่งั้นจะเรียนไม่จบ (ใช้คำว่า "เกรดเฉลี่ย" หมายความว่า ไม่จำเป็นที่ทุกวิชาห้ามต่ำกว่า B ถ้าบางวิชาเราได้ C เราก็ต้องมีวิชาที่ได้ A เพื่อดึงเกรดให้โดยรวมแล้วไม่ต่ำกว่า B )
ถ้าผ่านปีหนึ่งไปได้ ปีสองจะสบายแล้วครับ วิชาเรียนจะเหลือน้อยลงมาก ยิ่งถ้าใครไม่เก็บวิชา ก.ต. เพื่อที่จะไปสอบผู้พิพากษาจะค่อนข้างว่างลงเยอะเลยทีเดียว แต่สิ่งสำคัญของปีสองจะขอพูดในหัวข้อถัดไปละกันครับ
สำหรับผมนั้น ผมประทับใจกับการเรียน Coursework กับอาจารย์ที่จุฬาฯ ครับ เพราะ ผมไม่ได้เรียนปริญญาตรีที่นี่ ทำให้ได้รับบรรยากาศที่แปลกใหม่ การเรียนมีความใกล้ชิดกับอาจารย์มากกว่าตอนเรียนปริญญาตรี แถมอาจารย์ยังชอบยกเคสต่างประเทศของคอมมอนลอว์มาสอนมากพอสมควรด้วย ทำให้การเรียนน่าสนใจและสนุกขึ้นอีก
การทำวิทยานิพนธ์
สิ่งสำคัญของปีสอง คือ การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ และ การทำวิทยานิพนธ์ (ถ้าเป็นไปได้ใครหาได้ตั้งแต่ปี 1 ยิ่งดี) โดยเฉพาะคนที่อยากเรียนจบสองปี ขึ้นปีสองมาควรจะรีบหาหัวข้อให้ได้และรีบทาบทามอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่ต้นๆเลย ในปีสองจะมีวิชาสัมนาที่เป็นวิชาช่วยให้นิสิตหาหัวข้อที่ตนเองสนใจโดยจะมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญแต่ละสายกฎหมายเวียนมาสอนแต่ละคาบแตกต่างกันไป และ การสอบของวิชานี้ คือ การจำลองให้นิสิตทำวิทยานิพนธ์รวมถึงพรีเซ้นท์หัวข้อที่ตนอยากทำ ส่วนตัวผมมองว่าใครอยากจบสองปีก็ควรได้หัวข้อตั้งแต่ก่อน หรือ ขณะที่เรียนวิชาสัมนาเพื่อที่จะได้นำมาต่อยอดทำวิทยานิพนธ์ได้โดยไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำงาน 2 รอบ
การทำวิทยานิพนธ์นั้นมีหลายปัจจัยมากที่จะทำให้เราเรียนจบช้าหรือเร็ว เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการ ขอบเขตของหัวข้อของเราว่าใหญ่ขนาดไหน กฎหมายต่างประเทศที่เราต้องเปรียบเทียบมีกี่ประเทศและข้อมูลของประเทศนั้นๆหาได้ยากง่ายขนาดไหน ซึ่งบางปัจจัยตัวผู้เรียนเองก็ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น การจะเรียนให้จบอาจจะต้องวางแผนให้ดี เผื่อเวลาไว้ให้กับปัจจัยเพิ่มเติมที่อาจเข้ามาทำให้เราเสียเวลามากขึ้นด้วย และ ที่สำคัญ คือ จะต้องมีวินัยในการเขียน การหาข้อมูลวิทยานิพนธ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่งั้นจะขาดช่วงไปแล้วทำให้ต้องกลับมาทบทวนเนื้อหาเดิม ล่าช้าไปอีก
แนวทางของอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านก็ไม่เหมือนกัน บางท่านให้ส่งงานทางอีเมล์ได้ บางท่านก็ให้เข้าไปพูดคุยปรึกษาส่งงานที่คณะ ในจุดนี้ก็อาจจะต้องถามรุ่นพี่ หรือ ถามเพื่อนที่พอทราบข้อมูลว่าอาจารย์แต่ละท่านมีลักษณะอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจต่อไป
**จุฬาฯ นั้นมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้นิสิตปีสองทุกคนจะต้องสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ในปี 2 เทอม 2 ส่วนการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์นั้นทำเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 ปี (จุดนี้มีความแตกต่างจากที่ธรรมศาสตร์)**
สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อรุ่นน้องที่สนใจจะเรียนปริญญาโทกฎหมาย และ ผู้สนใจคนอื่นๆนะครับ ส่วนใครที่กำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่นั้นผมขอเป็นกำลังใจให้ สู้ต่อไปอย่าถอยครับ
แชร์ประสบการณ์เรียนปริญญาโทกฎหมายภายในประเทศ
กระทู้นี้มีขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่น้องๆคณะนิติศาสตร์ที่เรียนจบปริญญาตรี หรือ ทำงานแล้วเริ่มรู้สึกอยากเรียนต่อขึ้นมา
หรือ สำหรับใครที่กำลังเรียนปริญญาโทอยู่แล้วรู้สึกท้อใจก็เข้ามาแชร์กันได้ครับ
กระทู้นี้เป็นตัวอย่างประสบการณ์ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิตที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ
การสอบข้อเขียน (หากข้อมูลในส่วนนี้ไม่อัพเดทต้องขออภัยด้วย เพราะ การสอบเข้าของผมผ่านมา 3-4 ปีแล้ว อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ผู้เข้าสอบควรตรวจสอบจากประกาศของคณะนิติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง)
รายละเอียดในการสอบเข้าปริญญาโทที่จุฬานั้น โดยทั่วไปแล้วการสอบภาคเช้าจะเป็นวิชาทั่วไปแบบกว้างๆที่ทุกสาขาจะต้องสอบเหมือนกัน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน เป็นต้น ซึ่งรายวิชาที่ต้องอ่านจะมีอยู่ในประกาศของคณะนิติศาสตร์ ถ้าจำไม่ผิดข้อสอบจะมี 5 ข้อ แต่ละข้อคนละวิชากัน เนื้อหาในการสอบจะมีทั้งโจทย์ที่เป็นตุ๊กตา และ โจทย์ที่เป็นบรรยาย สิ่งสำคัญที่ควรอ่านไปคือหลักกฎหมายที่สำคัญๆของกฎหมายเหล่านี้ เช่น หลักกฎหมายแพ่ง หลักเสรีภาพในการทำสัญญา หลักการที่เป็นหัวใจของกฎหมายมหาชน-รัฐธรรมนูญ เป็นต้น ปัญหาของคนสอบเข้าคือบางทีรู้สึกว่าเนื้อหาที่บอกในประกาศมันกว้างมากจนไม่รู้จะอ่านอะไรดี
Tips ตอนนั้นผมใช้เทคนิคโดยการขอข้อสอบเข้าปริญญาโทจากเพื่อนที่เรียนธรรมศาสตร์ (หาของจุฬาไม่ได้) ย้อนหลังไปหลายๆปี เพื่อมาดูแนวว่าข้อสอบออกหลักกฎหมายอะไรเยอะๆ แล้วลิสต์มาว่าเราจะอ่านอะไรบ้าง ให้ความสำคัญกับอะไร รวมถึงฝึกเขียนตอบข้อสอบของทุกปีเท่าที่จะทำได้โดยหวังว่าข้อสอบของจุฬาจะไม่แตกต่างกันมากนัก (ฮ่าๆ) ประโยชน์คือ ในข้อสอบบรรยาย ถึงแม้โจทย์จะไม่ตรงกันเป๊ะ แต่หลักกฎหมายที่เราเตรียมไปสามารถนำไปเขียนได้และช่วยผมเอาไว้ได้มากๆหลายข้อเลย
ส่วนการสอบภาคบ่ายนั้น เนื้อหาที่สอบของแต่ละสาขาจะไม่เหมือนกัน เช่น สาขามหาชนก็อาจต้องไปเน้นอ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชนมากหน่อย สาขากฎหมายเอกชนและธุรกิจอาจต้องไปเน้นอ่านกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท พรบ. ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม กฎหมายพาณิชย์ เช่น เอกเทศสัญญา ให้มาก เป็นต้น แต่ผมจำไม่ได้ว่าภาคบ่ายมีข้อสอบกี่ข้อ (น่าจะ 5 เหมือนกัน)
***สาขายอดฮิตที่มีการแข่งขันกันสูง จำนวนคนสอบเข้าเยอะและรับน้อยในหลายๆปี คือ สาขากฎหมายเอกชนและธุรกิจ***
การสอบสัมภาษณ์
เมื่อสอบติดข้อเขียนแล้ว ยังไม่แน่ว่าจะได้เรียน เพราะ การสอบสัมภาษณ์ของนิติศาสตร์ ปริญญาโท ที่จุฬาฯ นั้นมีการคัดออก และ คัดออกเยอะด้วย (เช่น ในปีที่ผมสอบเข้ามีคนสอบติดข้อเขียนประมาณ 34 คน แต่สอบผ่านสัมภาษณ์เพียง 20 คนต้นๆเท่านั้น คือ ตัดออกเป็นสิบคนเลย) สิ่งที่คนเข้าสอบอาจไม่รู้เลยถ้าเป็นเด็กจากมหาวิทยาลัยอื่น หรือ ไม่มีเพื่อนบอกก่อน คือ ในเอกสารการสมัครสอบตอนแรกจะมีช่องให้กรอกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่สนใจจะทำ ส่วนนี้แหละที่จะมีผลสำคัญมากในการสอบสัมภาษณ์ เราต้องจำไว้ให้ดีว่ากรอกหัวข้ออะไรไป เพราะ กรรมการสอบจะนำมาใช้ถามเราว่าประเด็นปัญหาที่สนใจนั้นคืออะไร เราทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำไมสนใจอยากที่จะทำเรื่องนี้ เราต้องเตรียมเนื้อหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่อยากทำไว้ไปให้มีข้อมูลพอสมควร อาจตอบถูกผิดไปบ้างไม่เป็นไร เพราะ เรายังไม่ได้ทำวิจัยจริงจัง แต่กรรมการต้องการดูการหาข้อมูล การเตรียมความพร้อมของผู้เข้าสอบว่ามีศักยภาพในการเข้ามาทำวิทยานิพนธ์หรือไม่
บรรยากาศในการสอบสัมภาษณ์ ในปีของผมมีกรรมการสอบเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์เกือบ 10 ท่าน มานั่งล้อมเรา แล้วอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญใกล้เคียงกับหัวข้อที่เราสนใจประมาณ 2-3 คนจะเป็นคนยิงคำถาม ขอให้ตอบด้วยความมั่นใจ อย่ารน อะไรที่ไม่ทราบก็ให้บอกตรงๆว่าในส่วนนี้ยังศึกษาไม่ถึง
การเรียน Coursework
การเรียน Coursework นั้นจะคล้ายกับเราย้อนกลับไปสมัยเรียนปริญญาตรีแต่จะไม่ลงรายละเอียดเท่า คือมีอาจารย์มาสอนเราในแต่ละวิชา มีงานให้ทำ มีการสอบปลายภาค ปีแรกของการเรียน Coursework จะค่อนข้างหนักหน่อย เพราะ มีงาน การบ้าน หรือ พรีเซ้นท์ให้ทำค่อนข้างเยอะ พร้อมๆกันในหลายวิชา หากใครทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยก็ควรจัดสรรค์เวลาให้ดี การสอบวัดผลนั้นจะไม่มีการสอบกลางภาคแต่จะมีสอบปลายภาคทีเดียว และเราต้องรักษาเกรดเฉลี่ยให้อย่าต่ำกว่าเกรด B ไม่งั้นจะเรียนไม่จบ (ใช้คำว่า "เกรดเฉลี่ย" หมายความว่า ไม่จำเป็นที่ทุกวิชาห้ามต่ำกว่า B ถ้าบางวิชาเราได้ C เราก็ต้องมีวิชาที่ได้ A เพื่อดึงเกรดให้โดยรวมแล้วไม่ต่ำกว่า B )
ถ้าผ่านปีหนึ่งไปได้ ปีสองจะสบายแล้วครับ วิชาเรียนจะเหลือน้อยลงมาก ยิ่งถ้าใครไม่เก็บวิชา ก.ต. เพื่อที่จะไปสอบผู้พิพากษาจะค่อนข้างว่างลงเยอะเลยทีเดียว แต่สิ่งสำคัญของปีสองจะขอพูดในหัวข้อถัดไปละกันครับ
สำหรับผมนั้น ผมประทับใจกับการเรียน Coursework กับอาจารย์ที่จุฬาฯ ครับ เพราะ ผมไม่ได้เรียนปริญญาตรีที่นี่ ทำให้ได้รับบรรยากาศที่แปลกใหม่ การเรียนมีความใกล้ชิดกับอาจารย์มากกว่าตอนเรียนปริญญาตรี แถมอาจารย์ยังชอบยกเคสต่างประเทศของคอมมอนลอว์มาสอนมากพอสมควรด้วย ทำให้การเรียนน่าสนใจและสนุกขึ้นอีก
การทำวิทยานิพนธ์
สิ่งสำคัญของปีสอง คือ การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ และ การทำวิทยานิพนธ์ (ถ้าเป็นไปได้ใครหาได้ตั้งแต่ปี 1 ยิ่งดี) โดยเฉพาะคนที่อยากเรียนจบสองปี ขึ้นปีสองมาควรจะรีบหาหัวข้อให้ได้และรีบทาบทามอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่ต้นๆเลย ในปีสองจะมีวิชาสัมนาที่เป็นวิชาช่วยให้นิสิตหาหัวข้อที่ตนเองสนใจโดยจะมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญแต่ละสายกฎหมายเวียนมาสอนแต่ละคาบแตกต่างกันไป และ การสอบของวิชานี้ คือ การจำลองให้นิสิตทำวิทยานิพนธ์รวมถึงพรีเซ้นท์หัวข้อที่ตนอยากทำ ส่วนตัวผมมองว่าใครอยากจบสองปีก็ควรได้หัวข้อตั้งแต่ก่อน หรือ ขณะที่เรียนวิชาสัมนาเพื่อที่จะได้นำมาต่อยอดทำวิทยานิพนธ์ได้โดยไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำงาน 2 รอบ
การทำวิทยานิพนธ์นั้นมีหลายปัจจัยมากที่จะทำให้เราเรียนจบช้าหรือเร็ว เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการ ขอบเขตของหัวข้อของเราว่าใหญ่ขนาดไหน กฎหมายต่างประเทศที่เราต้องเปรียบเทียบมีกี่ประเทศและข้อมูลของประเทศนั้นๆหาได้ยากง่ายขนาดไหน ซึ่งบางปัจจัยตัวผู้เรียนเองก็ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น การจะเรียนให้จบอาจจะต้องวางแผนให้ดี เผื่อเวลาไว้ให้กับปัจจัยเพิ่มเติมที่อาจเข้ามาทำให้เราเสียเวลามากขึ้นด้วย และ ที่สำคัญ คือ จะต้องมีวินัยในการเขียน การหาข้อมูลวิทยานิพนธ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่งั้นจะขาดช่วงไปแล้วทำให้ต้องกลับมาทบทวนเนื้อหาเดิม ล่าช้าไปอีก
แนวทางของอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านก็ไม่เหมือนกัน บางท่านให้ส่งงานทางอีเมล์ได้ บางท่านก็ให้เข้าไปพูดคุยปรึกษาส่งงานที่คณะ ในจุดนี้ก็อาจจะต้องถามรุ่นพี่ หรือ ถามเพื่อนที่พอทราบข้อมูลว่าอาจารย์แต่ละท่านมีลักษณะอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจต่อไป
**จุฬาฯ นั้นมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้นิสิตปีสองทุกคนจะต้องสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ในปี 2 เทอม 2 ส่วนการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์นั้นทำเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 ปี (จุดนี้มีความแตกต่างจากที่ธรรมศาสตร์)**
สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อรุ่นน้องที่สนใจจะเรียนปริญญาโทกฎหมาย และ ผู้สนใจคนอื่นๆนะครับ ส่วนใครที่กำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่นั้นผมขอเป็นกำลังใจให้ สู้ต่อไปอย่าถอยครับ