แม่ท้องอยากรู้ ฉีดวัคซีนโควิดตอนท้อง มีข้อห้ามและข้อระวังอะไรบ้าง ?

แม่ท้องหลายคนสงสัย ฉีดวัคซีนโควิดตอนท้อง ได้หรือไม่ ฉีดแล้วจะเป็นอันตรายแก่ทารกในครรภ์ เสี่ยงแท้ง หรือเป็นอะไรหรือไม่ วันนี้เราจึงได้ รวบรวมทุกข้อสงสัยของแม่ ๆ มาสอบถามเจ้าหน้าที่ที่กรมอนามัย เกี่ยวกับ เรื่องของฉีดวันซีนสำหรับคนท้อง จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย


แม่ท้องฉีดวัคซีนได้ไหม ?
เรื่องของการฉีดโควิด – 19 ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากโควิด – 19 เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในไทย วัคซีนที่พัฒนาในปัจจุบันคือวัคซีนที่เพิ่งจะเริ่มใช้ ก่อนหน้านี้มีแต่การทดลองวัคซีนกับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น ไม่ได้มีการทดลองการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ และยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับคนท้องเท่าที่ควร

แต่สถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้น หญิงตั้งครรภ์ในกรุงเทพ และปริมณฑล มีการติดโควิดประมาณ 500 คน และเสียชีวิตเป็นจำนวน 8 ราย จึงต้องเปลี่ยนแนวใหม่ในการฉีดวัคซีน ว่าคนท้องก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนจึงได้มีการศึกษาข้อมูลจากทางต่างประเทศ โดยทางต่างประเทศเขาไม่ได้มีข้อจำกัดในการฉีดวัคซีนสำหรับคนท้อง แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องมีอายุ 16 หรือ 18 ปีก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน ซึ่งในต่างประเทศคนท้องก็สามารถฉีดวัคซีนได้เช่นกัน ซึ่งในประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีคนท้องติดเชื้อโควิด – 19 เยอะขึ้น

จึงทำให้ได้มีการนำมาฉีดให้กับหญิงตั้งครรภ์ โดยในช่วงแรก ฉีดให้กับคนท้องที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก่อน แต่ระหว่างนั้น ก็มีคนท้องติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น จึงทำให้เปลี่ยนแนวทางเป็น ให้คนท้องทุกคนฉีด และยินดีที่จะฉีด เนื่องจากคนท้องมีโอกาสติดเชื้อโควิดรุนแรงมากกว่า และมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่า จึงแนะนำให้แม่ท้องฉีดวัคซีนป้องกันไว้ด้วย

ควรฉีดเมื่ออายุครรภ์เท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย
ควรฉีดวัคซีนเมื่ออายุครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งในช่วง 3 เดือน เป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะ ซึ่งวัคซีนไม่ได้ทำให้ทารกเกิดมาพิการแต่อย่างใด แต่เพื่อตัดความกังวลของแม่ ๆ ที่กำลังคิดที่จะฉีดวัคซีน แนะนำให้ฉีดเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขึ้นไป เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ และความสบายใจของตัวคุณแม่เอง
 
ก่อนคนท้องฉีดวัคซีนโควิด ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง  ?
 - 2 วันก่อนการฉีดวัคซีน ควรงดการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
 - ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม
 - หลังจากการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 วัน พยายามงดใช้แขนข้างที่ได้รับการฉีดวัคซีน ไม่ควรเกร็งแขน หรือบีบนวดบริเวณที่ฉีด
 - หากเป็นไข้ ควรรอให้หายป่วยสักระยะก่อน สัก 1 – 2 สัปดาห์ และทำการเช็กว่าเคยมีประวัติของการแพ้วัคซีนหรือไม่
 - ในเรื่องของการแพ้อาหารแล้วฉีดวัคซีน สามารถฉีดได้ เนื่องจากการแพ้อาหาร ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน และตัววัคซีนไม่ได้มีส่วนผสมของโปรตีน ที่ทำให้เกิดการแพ้ได้

กรณีที่คุณแม่ติดโควิดแต่หายแล้ว ต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ ?
ในกรณีที่คุณแม่ เคยติดเชื้อโควิด – 19 มาก่อนแล้ว คุณแม่ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีน ถึงแม้ว่าร่างกายจะเคยได้รับเชื้อไวรัสตัวนี้มาแล้ว มีภูมิคุ้มกันแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องฉีด เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายอาจจะตกลง เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้แค่ 3 เดือน เท่านั้น แนะนำว่า ควรฉีดวัคซีนหลังจากที่หายป่วยจากโควิดแล้ว 3 – 6 เดือน

วัคซีนโควิด สามารถป้องกันได้นานแค่ไหน
โดยประมาณ คือ 3 เดือน หลังจากนั้นภูมิคุ้มกันก็อาจจะลดลง แต่ปัญหาจริง ๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัคซีน ขึ้นอยู่ที่ตัวเชื้อไวรัสมากกว่า เนื่องจากเชื้อไวรัสมีหลากหลายสายพันธุ์และกลายพันธุ์ เชื้อไวรัสโควิด – 19 ก็เหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดหนักในสมัยก่อน โดยจะมีการฉีดวัคซีนในทุก ๆ ปี แต่ละปีจะแตกต่างกัน ตามเชื้อและสายพันธุ์ของปีนั้น ๆ โดยเชื้อที่รุนแรงกว่าก็จะกลบเชื้อไวรัสที่อ่อนกว่า เชื้อที่มีความรุนแรงกว่าก็จะเข้ามาแทนที่ วัคซีนทุกตัวไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ 100 % ซึ่งหมายความว่า การที่ฉีดเข้าไปแล้วก็สามารถติดได้อีก วัคซีนจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ แต่ลดจำนวนการติดเชื้อ อาจจะไม่ได้เต็มที่ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน และสายพันธุ์นั้น ๆ
 
วัคซีนโควิดสามารถช่วยป้องกันลูกในท้องได้ไหม ?
เนื่องจากทารกที่เกิดมาในช่วงแรกจะยังไม่มีภูมิต้านทาน แต่จะได้ภูมิต้านทานจากแม่ เมื่อคุณแม่ฉีดวัคซีนก็จะมีภูมิต้านทาน ซึ่งภูมิต้านทานก็สามารถส่งไปยังลูกในท้องได้ แต่ภูมิต้านทานไม่สามารถอยู่ได้นาน จะอยู่ได้แค่เดือนแรก ๆ เท่านั้น จึงทำให้เป็นสาเหตุว่าทำไม ทำไมต้องฉีดวัคซีนของทารกให้ครบตามที่กำหนด

ติดโควิดในช่วงใกล้คลอด ต้องรับมืออย่างไรบ้าง ?
ถ้าติดเชื้ออยู่ไม่ควรได้รับการฉีดวัคซีน ควรรอ 3 – 6 เดือนก่อน แล้วค่อยฉีด
เมื่อรู้ว่าติดเชื้อโควิด ควรพบแพทย์ทันที หากติดเชื้อจะต้องกักตัวตามสถานที่ที่ทางโรงพยาบาลจัดหาให้ แต่อาจจะมีการแบ่งในเรื่องของอายุครรภ์ เช่น ถ้าอยู่ในช่วง 36 สัปดาห์ใกล้คลอด อาจจะต้องนอกที่โรงพยาบาลเลย เพราะว่ามีโอกาสคลอดได้
 
กรณีที่ฉีดวัคซีนแล้วแพ้ เกิดจากสาเหตุอะไร
กรณีที่แพ้วัคซีน จะเกิดจากการฉีดวัคซีน ที่เคยฉีดแล้วมีอาการแพ้ เช่น ในกรณีที่ ฉีดเข็มที่ 1 แล้วแพ้ เข็มที่ 2 ก็อาจจะต้องเปลี่ยนชนิดของวัคซีน หรือตัวยาวัคซีนชนิดอื่น เพื่อไม่ให้เกิดการแพ้ ส่วนในเรื่องของการ กินกาแฟ ออกกำลังกาย ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการแพ้ของวัคซีน เพียงแค่คุณแม่ไม่อดนอน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด กินอาหารครบ ดื่มน้ำให้ครบในปริมาณที่เหมาะสม

ถ้าคุณแม่แพ้วัคซีนควรรับมืออย่างไร ?
 - อาการไม่พึงประสงค์
คือ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่ตัวเราเองรู้อยู่แล้วว่ามันอาจจะต้องเกิด ได้แก่ อาการปวด บวม มีไข้ อาการเหมือนคนที่ไม่สบาย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกคน แล้วแต่สภาพร่างกายของแต่ละคน
 
 - อาการแพ้วัคซีน
ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบโต้กับเชื้อมากกว่าปกติ โดยอาการจะครอบคลุมหลายระบบของร่างกาย เช่น อาการบวม หายใจไม่ออก มีผื่นแดง โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 30 นาที ยกเว้นการเกิดลิ่มเลือด เนื่องจากเป็นอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่ส่วนใหญ่อาการลิ่มเลือดอุดตัน ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดที่ต่างประเทศฝั่งยุโรปมากกว่า

หากเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน สังเกตยังไง ?
ภาวะลิ่มเลือด คือภาวะที่เลือดรวมเป็นก้อนแล้วไปอุดตันอวัยวะใด อวัยวะหนึ่งของร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะพบในคนต่างประเทศ คือ ไปอุดตันในสมอง ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จะมีอาการกับอวัยวะใด ขึ้นอยู่กับว่า ลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณอวัยวะใด

หากแม่ท้องเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จะอันตรายมากน้อยแค่ไหน ?
โอกาสการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันมีน้อยมาก ๆ คือเกิด 1 ใน 4 ในล้านคน แต่โดยภาวการณ์ตั้งครรภ์ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะอุดตันอยู่แล้ว ซึ่งความเสี่ยงมากกว่า 1 ในล้าน ประมาณ 0.5 – 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งข้อมูลตรงนี้เป็นของแถบยุโรป ในไทยเจอน้อยมาก ๆ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่