คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
แถลงข่าวผลการประชุมบอร์ดบีโอไอ 30 มิถุนายน 2564
โดย นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ
https://www.facebook.com/boithailandnews/posts/1417838215239271
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สรุปสถานการณ์ข่าวประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2564
ข่าวเกี่ยวกับสำนักงานและการลงทุน
1. ประเด็น 'บิ๊กตู่'ปลื้มไทยอันดับ1ปท.กำลังพัฒนา
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาลนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายกฯแจ้งที่ประชุมทราบถึงการที่ไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ในอาเซียน 3 ปีติดต่อกันเรื่องประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่นยืน และเป็นลำดับที่ 3 ในทวีปเอเชีย โดยการจัดอันดับได้นำหลายมิติมาพิจารณา เราได้คะแนนเฉลี่ยจาก 17 ข้อ รวม 74.19% ซึ่งคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยขอภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ที่ 65.7 คะแนน โดยข้อที่เป็นประเด็นสำคัญๆ ที่นำมาพิจารณา เช่น เรื่องการขจัดความยากจน คุณภาพการศึกษาภายในประเทศ การจัดการน้ำและสุขาภิบาล อุตสาหกรรมและนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน การขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การลดความเหลื่อมล้ำ ฯลฯ (มติชน)
2. ประเด็น กนอ.เคาะตั้งนิคมเอเพ็กซ์กรีนตั้งเป้า2ปีดึงเงินลงทุนกว่า6.4หมื่นล้าน
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กนอ. (บอร์ด กนอ.) อนุมัติให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 1 แห่ง โดยร่วมดำเนินงานกับ บริษัท เอเพ็กซ์ ปาร์ค ในรูปแบบของนิคมอุตสาหกรรม ร่วมดำเนินงาน เป็นการเพิ่มพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การขยายตัวของอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve และอุตสาหกรรมที่ได้รับการ ส่งเสริมตามโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตอบสนองนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีศักยภาพตามยุทธศาสตร์ ของประเทศเชิงพื้นที่ (Area based) โดยเอกชน เป็นผู้ลงทุนพัฒนาและให้บริการระบบสาธารณูปโภค ภายใต้การกำกับของ กนอ. ทั้งนี้คาดว่าจะใช้ระยะเวลาพัฒนาพื้นที่และเปิดให้บริการได้ภายใน 2 ปี และจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนประมาณ 64,000 ล้านบาท เกิดการจ้างแรงงานประมาณ 16,000 คน (แนวหน้า)
3. ประเด็น ศก.เวียดนาม'ขยายตัว' 3 ชาติเอเชียถูกหั่นจีดีพี
การรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาล ในอินเดีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าวิกฤติสาธารณสุขที่เกิดขึ้นจะบรรเทาเบาบางลง เศรษฐกิจของประเทศจะพลิกฟื้น ทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ ของโลกอย่างเอสแอนด์พี หั่นตัวเลข คาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ(จีดีพี) ของ 3 ประเทศนี้ สวนทางกับเวียดนามที่แม้ต้องรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 เหมือนกัน กลับมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. 6.6% จีดีพีของเวียดนามในไตรมาส ดังกล่าวขยายตัวเพราะอานิสงส์ด้านการ ส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการส่งออกสมาร์ทโฟนและผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้ก่อนหน้านี้จะมีข่าวเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในหมู่คนงานที่โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายแห่งทางตอนเหนือของประเทศ สำนักงานสถิติทั่วไปของเวียดนามระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศในครึ่งแรกของปีขยายตัว 5.64% จาก 1.82% ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้การขยายตัวของเศรษฐกิจจะน้อยกว่าที่"วีเอ็นไดเร็ค ซิเคียวริตีส์ "คาดการณ์ไว้ที่ 7% แต่ก็ถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจในยุคที่ทั่วทั้งภูมิภาคกำลังรับศึกหนักกับโรคระบาดใหญ่อย่างนี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ประเด็น กมธ.ชงยกเครื่องโครงสร้างดิจิทัล
น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ผ่านมากมธ.ดีอีเอส ได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมาธิการการผลักดันนโยบายการปรับโครงสร้างดิจิทัล (Digital Transformation) โดยมี พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธาน กมธ.ดีอีเอส เป็นประธานเพื่อพิจารณางานด้านโครงสร้างดิจิทัล หลังจากที่ภัยพิบัติโควิด-19 ที่ผ่านมานำมาซึ่งความเสียหายทั้งในระบบเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก แผนฟื้นฟูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเป็นโอกาสที่จะมีการปรับโครงสร้างของประเทศให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย (Goals) ของสหประชาชาติ นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยได้มีการริเริ่มในการทำแผนฟื้นฟูประเทศหลังจากเกิดภัยพิบัติโควิดแล้ว (เดลินิวส์)
5. ประเด็น คอลัมน์ EEC Analysis: สถิติตั้ง'โรงงานใหม่'เพิ่มต่อเนื่อง
ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาท่ามกลางสถานการณ์ โควิด-19 ที่รุนแรงอย่างต่อเนื่องแต่พบว่าจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ จำพวก 3 และที่ได้ใบรับแจ้งประกอบกิจการ จำพวก 2 กรุงเทพฯและภูมิภาคมีจำนวน 223 โรงงาน เม็ดเงินลงทุน 62,867.29 ล้านบาท มีการจ้างงานคนงาน 10,167 คน ทั้งนี้ กรุงเทพยังมีจำนวนโรงงานตั้งใหม่เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ 69 โรง เงินลงทุน 4,468 ล้านบาท โดยการจ้างงานเป็นชาย 1,083 คน และหญิง 739 คน ขณะที่ภูมิภาคมีการตั้งโรงงานสูงสุดคือ ภาคตะวันออก 40 โรง รองลงมาคือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ สำหรับการตั้งโรงงานใหม่ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา มีจำนวน 232 โรง มูลค่าเงินลงทุน 11,712 ล้านบาท และมีการจ้างงานรวม 6,031 คน โดยพบว่าภาคใต้มีจำนวนโรงงานได้รับอนุญาต ประกอบกิจการสูงสุด 37 โรง กลาง 34 โรง ตะวันออก 30 โรง ชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตยังมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว (กรุงเทพธุรกิจ)
6. ประเด็น คลังโว7แบงก์รัฐเงินพร้อมปล่อยกู้แสนล้านอุ้มSME
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.วานนี้ เห็นชอบให้ขยายระยะเวลามาตรการทางการเงิน จากธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยขยายระยะเวลาในการขอสินเชื่อออกไปถึงสิ้นปี 2564 พร้อมกันนี้สถาบันการเงินของรัฐ 7 แห่ง ยังได้ขยายมาตรการพักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย หรือขยายเวลาชำระหนี้ เป็นต้นไปจนถึง 31 ธ.ค. 2564 โดยทั้ง 7 สถาบันการเงินของรัฐยังคงมีวงเงินสินเชื่อเหลือสำหรับให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกรวม 104,000 ล้านบาท โดยมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ 7 แบงก์รัฐจะขยายไปถึงสิ้นปี 2564 ซึ่งบางมาตรการ เช่น สินเชื่อ อาจต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 (ข่าวหุ้น)
https://www.facebook.com/boithailandnews/posts/1417513471938412
แถลงข่าวผลการประชุมบอร์ดบีโอไอ 30 มิถุนายน 2564
โดย นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ
https://www.facebook.com/boithailandnews/posts/1417838215239271
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สรุปสถานการณ์ข่าวประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2564
ข่าวเกี่ยวกับสำนักงานและการลงทุน
1. ประเด็น 'บิ๊กตู่'ปลื้มไทยอันดับ1ปท.กำลังพัฒนา
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ที่ทำเนียบรัฐบาลนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายกฯแจ้งที่ประชุมทราบถึงการที่ไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ในอาเซียน 3 ปีติดต่อกันเรื่องประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่นยืน และเป็นลำดับที่ 3 ในทวีปเอเชีย โดยการจัดอันดับได้นำหลายมิติมาพิจารณา เราได้คะแนนเฉลี่ยจาก 17 ข้อ รวม 74.19% ซึ่งคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยขอภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ที่ 65.7 คะแนน โดยข้อที่เป็นประเด็นสำคัญๆ ที่นำมาพิจารณา เช่น เรื่องการขจัดความยากจน คุณภาพการศึกษาภายในประเทศ การจัดการน้ำและสุขาภิบาล อุตสาหกรรมและนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน การขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การลดความเหลื่อมล้ำ ฯลฯ (มติชน)
2. ประเด็น กนอ.เคาะตั้งนิคมเอเพ็กซ์กรีนตั้งเป้า2ปีดึงเงินลงทุนกว่า6.4หมื่นล้าน
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กนอ. (บอร์ด กนอ.) อนุมัติให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 1 แห่ง โดยร่วมดำเนินงานกับ บริษัท เอเพ็กซ์ ปาร์ค ในรูปแบบของนิคมอุตสาหกรรม ร่วมดำเนินงาน เป็นการเพิ่มพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การขยายตัวของอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve และอุตสาหกรรมที่ได้รับการ ส่งเสริมตามโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตอบสนองนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีศักยภาพตามยุทธศาสตร์ ของประเทศเชิงพื้นที่ (Area based) โดยเอกชน เป็นผู้ลงทุนพัฒนาและให้บริการระบบสาธารณูปโภค ภายใต้การกำกับของ กนอ. ทั้งนี้คาดว่าจะใช้ระยะเวลาพัฒนาพื้นที่และเปิดให้บริการได้ภายใน 2 ปี และจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนประมาณ 64,000 ล้านบาท เกิดการจ้างแรงงานประมาณ 16,000 คน (แนวหน้า)
3. ประเด็น ศก.เวียดนาม'ขยายตัว' 3 ชาติเอเชียถูกหั่นจีดีพี
การรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาล ในอินเดีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าวิกฤติสาธารณสุขที่เกิดขึ้นจะบรรเทาเบาบางลง เศรษฐกิจของประเทศจะพลิกฟื้น ทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ ของโลกอย่างเอสแอนด์พี หั่นตัวเลข คาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ(จีดีพี) ของ 3 ประเทศนี้ สวนทางกับเวียดนามที่แม้ต้องรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 เหมือนกัน กลับมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. 6.6% จีดีพีของเวียดนามในไตรมาส ดังกล่าวขยายตัวเพราะอานิสงส์ด้านการ ส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการส่งออกสมาร์ทโฟนและผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้ก่อนหน้านี้จะมีข่าวเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในหมู่คนงานที่โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายแห่งทางตอนเหนือของประเทศ สำนักงานสถิติทั่วไปของเวียดนามระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศในครึ่งแรกของปีขยายตัว 5.64% จาก 1.82% ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้การขยายตัวของเศรษฐกิจจะน้อยกว่าที่"วีเอ็นไดเร็ค ซิเคียวริตีส์ "คาดการณ์ไว้ที่ 7% แต่ก็ถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจในยุคที่ทั่วทั้งภูมิภาคกำลังรับศึกหนักกับโรคระบาดใหญ่อย่างนี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ประเด็น กมธ.ชงยกเครื่องโครงสร้างดิจิทัล
น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ผ่านมากมธ.ดีอีเอส ได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมาธิการการผลักดันนโยบายการปรับโครงสร้างดิจิทัล (Digital Transformation) โดยมี พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธาน กมธ.ดีอีเอส เป็นประธานเพื่อพิจารณางานด้านโครงสร้างดิจิทัล หลังจากที่ภัยพิบัติโควิด-19 ที่ผ่านมานำมาซึ่งความเสียหายทั้งในระบบเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก แผนฟื้นฟูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเป็นโอกาสที่จะมีการปรับโครงสร้างของประเทศให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย (Goals) ของสหประชาชาติ นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยได้มีการริเริ่มในการทำแผนฟื้นฟูประเทศหลังจากเกิดภัยพิบัติโควิดแล้ว (เดลินิวส์)
5. ประเด็น คอลัมน์ EEC Analysis: สถิติตั้ง'โรงงานใหม่'เพิ่มต่อเนื่อง
ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาท่ามกลางสถานการณ์ โควิด-19 ที่รุนแรงอย่างต่อเนื่องแต่พบว่าจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ จำพวก 3 และที่ได้ใบรับแจ้งประกอบกิจการ จำพวก 2 กรุงเทพฯและภูมิภาคมีจำนวน 223 โรงงาน เม็ดเงินลงทุน 62,867.29 ล้านบาท มีการจ้างงานคนงาน 10,167 คน ทั้งนี้ กรุงเทพยังมีจำนวนโรงงานตั้งใหม่เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ 69 โรง เงินลงทุน 4,468 ล้านบาท โดยการจ้างงานเป็นชาย 1,083 คน และหญิง 739 คน ขณะที่ภูมิภาคมีการตั้งโรงงานสูงสุดคือ ภาคตะวันออก 40 โรง รองลงมาคือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ สำหรับการตั้งโรงงานใหม่ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา มีจำนวน 232 โรง มูลค่าเงินลงทุน 11,712 ล้านบาท และมีการจ้างงานรวม 6,031 คน โดยพบว่าภาคใต้มีจำนวนโรงงานได้รับอนุญาต ประกอบกิจการสูงสุด 37 โรง กลาง 34 โรง ตะวันออก 30 โรง ชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตยังมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว (กรุงเทพธุรกิจ)
6. ประเด็น คลังโว7แบงก์รัฐเงินพร้อมปล่อยกู้แสนล้านอุ้มSME
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.วานนี้ เห็นชอบให้ขยายระยะเวลามาตรการทางการเงิน จากธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยขยายระยะเวลาในการขอสินเชื่อออกไปถึงสิ้นปี 2564 พร้อมกันนี้สถาบันการเงินของรัฐ 7 แห่ง ยังได้ขยายมาตรการพักชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย หรือขยายเวลาชำระหนี้ เป็นต้นไปจนถึง 31 ธ.ค. 2564 โดยทั้ง 7 สถาบันการเงินของรัฐยังคงมีวงเงินสินเชื่อเหลือสำหรับให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกรวม 104,000 ล้านบาท โดยมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ 7 แบงก์รัฐจะขยายไปถึงสิ้นปี 2564 ซึ่งบางมาตรการ เช่น สินเชื่อ อาจต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 (ข่าวหุ้น)
https://www.facebook.com/boithailandnews/posts/1417513471938412
แสดงความคิดเห็น
💚มาลาริน/เห็นด้วยกับท่านค่ะ.."ปองพล" ขออย่าด้อยค่า เย้ยหยันคำ "นะจ๊ะ" ขอช่วยกันรักษาความน่ารักของคนไทย
วันที่ 30 มิ.ย.64 นายปองพล อดิเรกสาร อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
"นะจ๊ะ..นะจ๊ะ
คำว่า “นะจ๊ะ” กำลังถูกพูดถึงกันมากในโซเชียลมีเดียเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรีใช้ปิดท้ายประโยคที่พูดคุยกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 25 มิ.ย. 2564
“นะ” และ “จ๊ะ” เป็น 2 คำที่คนไทยมักใช้แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกในทางดีปิดท้ายประโยคต่อผู้ที่สนทนาด้วยระหว่างคนต่างวัยและคนวัยเดียวกัน เด็กหรือผู้มีวัยน้อยกว่ามักใช้ “นะ” ออดอ้อน อ้อนวอน หรือชักชวนให้ผู้วัยเดียวกันหรือสูงวัยกว่าเล็กน้อยทำในสิ่งที่ตนต้องการ เช่น ไปเที่ยวกันนะ อย่าพูดไปนะ ส่วนผู้สูงวัยมักจะใช้คำ “นะจ๊ะ” ปิดท้ายประโยคเพื่อปลอบหรือปรามผู้วัยน้อยกว่าให้รู้สึกถึงความอ่อนโยน เมตตา และห่วงใย เช่น อย่ากลับดึกนะจ๊ะ ระวังตัวด้วยนะจ๊ะ เที่ยวให้สนุกนะจ๊ะ
ในช่วงชีวิตของผมซึ่งอีกปีเดียวก็จะครบ 80 ปีเต็มนั้นได้ใช้ “นะจ๊ะ” และได้ยิน “นะจ๊ะ”มานับครั้งไม่ถ้วนในสังคมของคนไทยตั้งแต่เป็นเด็ก เติบโตเป็นหนุ่ม เข้าสู่วัยกลางคน และสูงวัยให้ความรู้สึกว่าเราโชคดีที่ได้มีโอกาสอยู่ในสังคมที่มีความสุภาพนอบน้อมต่อกัน นึกถึงใจเขาใจเรา ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ซึ่งผมได้เคยเขียนบทความเรื่อง “ความน่ารักของคนไทยกำลังจะหายไป” โพสต์ลงใน Facebook เมื่อ 24 ก.ค. 2563 แสดงความเสียดายที่บรรยากาศของความน่ารักของคนไทยกำลังเริ่มหายไปกับกาลเวลาและการพัฒนาของเทคโนโลยีซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างวัยห่างเหินจีดจางไป
การพบปะซึ่งหน้าเพื่อพูดจาหารือแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นต่อกันอย่างสุภาพถูกแทนที่ด้วยโทรศัพท์มือถือ การส่งไลน์ การโพสต์ในเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ และการใช้โซเชียลมีเดียอื่นๆ ทำให้ความเกรงอกเกรงใจลดน้อยลงไปถูกแทนที่ด้วยความก้าวร้าว ความหยาบคาย การใส่ร้ายป้ายสี และการบิดเบือนข้อมูล มีศัพท์อื่นๆอุบัติขึ้นมาเช่น บุลลี่ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ bully แปลว่าข่มเหงรังแกด้วยกายหรือวาจา และทัวร์ลง เป็นต้น
การใช้คำสุภาพเช่น “นะจ๊ะ” จะถูกเย้ยหยันด้อยค่าและกลายเป็นคำที่สังคมส่วนหนึ่งซึ่งเหินห่างจากการใช้คำ “นะจ๊ะ” ไม่ยอมรับ ดังเช่นในสองสามวันที่ผ่านมาได้มีกระแสโซเชียลมีเดียส่วนหนึ่งโหมโจมตีพล.อ.ประยุทธ์ฯในการใช้คำว่า “นะจ๊ะ”กับผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล แต่ก็มีโซเชียลมีเดียอีกไม่น้อยที่แสดงความเข้าใจในการใช้ “นะจ๊ะ” ปิดท้ายประโยคที่พูดกับผู้สื่อข่าวในวันนั้นเป็นการแสดงความเอ็นดูต่อผู้สื่อข่าวที่อ่อนวัยกว่าและคุ้นเคยกันซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ฯก็ได้ใช้คำ “นะจ๊ะ” มาแล้วหลายครั้ง
ขอปิดท้ายด้วยการขอให้พวกเราช่วยกันรักษาความน่ารักของคนไทยให้คงอยู่ต่อไปนะจ๊ะ"
https://siamrath.co.th/n/257497
เอาแล้วไง คำว่า "นะจ๊ะ" ในตอนนี้เป็นคำที่นิยมใช้มากเลยนะจ๊ะ