ทุกกฎหมายมีช่องโหว่ และมนุษย์ก็สามารถหาช่องโหว่นั้นเพื่อตักตวงกอบโกยผลประโยชน์เข้าหาตัวเองได้เสมอ ไม่สิ! หลายครั้ง ก็มนุษย์จอมเจ้าเล่ห์นี่แหละที่ใช้อำนาจสร้างช่องโหว่นั้นขึ้นมาเองด้วยซ้ำ เหมือนกับกฎหมายผู้พิทักษ์ที่ถูกหยิบมาพูดถึงใน I Care a Lot ซึ่ง J Blakeson ผู้กำกับ/เขียนบท ได้แรงบันดาลใจมาจากคดีจริงที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แล้วเมื่อไม่กี่วันมานี้ เรื่องของกฎหมายผู้พิทักษ์ก็ฉาวโฉ่ขึ้นมาอีกครั้งกับ #FreeBritney
.
Marla Grayson หญิงสาวผู้ทำงานที่ผู้พิพากษาชื่นชมว่าช่างมีเมตตาเหลือเกิน เพราะเธอได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือดูแลเหล่าคนชราที่อ่อนแอ เจ็บป่วย หรือไม่สามารถดูแลตัวเองได้ บ้างมีอาการทางสมอง บ้างนอนติดเตียง และหลายรายปราศจากลูกหลานคอยดูแล แล้วมันก็เป็นหน้าที่ของ “ผู้พิทักษ์” (The Guardian) อย่างเธอที่จะเข้ามาช่วยเหลือจัดการส่งตัวพวกเค้าเข้าสู่บ้านพักคนชรา ดูแลเรื่องจิปาถะต่างๆ ตามกฎหมาย รวมถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ด้วย ทว่า Marla ไม่ใช่นักบุญอย่างที่ใครคิด เธอเป็นนักธุรกิจ ... ไม่สิ! เธอเป็นอาชญากรต่างหาก เพราะเธอและ Fran คนรักสาวจับมือร่วมกับคุณหมอที่ดูแลผู้สูงอายุ มองหาคนแก่รวยๆ ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จัดการส่งเรื่องขึ้นศาลเพื่อให้พิจารณาส่งตัวพวกเค้าไปอยู่บ้านพักคนชรา แล้วเธอจะเป็นคนดูแลพิทักษ์ประโยชน์ต่างๆ ให้เอง (โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ) และหลังจากทำเช่นนี้มาแล้วเป็นสิบๆ ราย Marla ไม่รู้ตัวเลยว่า กำลังจะเจอกับโจทย์หิน เพราะหญิงแก่ท่าทางธรรมดาๆ อย่าง Jennifer ที่ถูกเธอจัดการส่งตัวไปบ้านพักคนชราสดๆ ร้อนๆ นั้นมีเบื้องลึกเบื้องหลังมากกว่าที่เห็น
.
จริงๆ ตัวเรื่องมันมีอะไรแปลกใหม่อยู่เหมือนกัน แต่เรากลับรู้สึกว่ามันพยายาม “เจ๋ง” หรือ “เท่” มากเกินไป แล้วก็ไปได้ไม่สุด อย่างสไตล์การเล่าเรื่องที่ตัดฉึบฉับกระโดดข้ามอะไรที่ไม่จำเป็น การขายคาแร็คเตอร์ร้ายลึกบ้าดีเดือดที่ต้องมาเจอกับตัวละครที่ผสมระหว่างความหลุดโลกกับความโหดนิ่งๆ การวางแผนซ้อนแผน เพื่อเอาคืนไปมา อะไรพวกนี้ เราคิดว่ามีหนังหลายเรื่องทำได้ดีกว่า หรือแม้กระทั่งคาแร็คเตอร์ของ Rosamund Pike, Peter Dinklage และ Dianne Wiest มันก็ไม่ได้ทำให้ร้องว้าว หรือมีอะไรเหนือความคาดหมาย ทว่าปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับเราก็คือ เราไม่รู้สึกอยากเอาใจช่วยใครในเรื่องเลย
.
ก็นั่งวิเคราะห์ตัวเองอยู่นานแหละมากว่าทำไม ตรงนี้ไม่ได้เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ไม่มีใครในเรื่องเป็นคนดีขาวสะอาดบริสุทธิ์หรอกนะ เพราะมันมีหนังอีกหลายเรื่องที่เราสามารถเอาใจช่วยตัวละครที่มีสีเทาๆ หรือมีสีดำมืดสนิทได้ด้วยซ้ำ แต่กับ I Care a Lot เราไม่ได้ยืนอยู่ข้างใครเลย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งนางร้ายตัวแสบอย่าง Marla กับ Fran ฝั่งหญิงชราลึกลับอย่าง Jennifer หรือฝั่งมาเฟียขาโหดอย่าง Roman แล้วก็พบว่า นอกจากเราจะไม่อินกับปูมหลังของตัวละครแล้ว เรายังไม่ซื้อกับอุดมการณ์ของใครเลยสักคนน่ะสิ เข้าใจว่า หนังพยายามจิกกัดโลกทุนนิยม หรือความฝันของคนยุคนี้ที่อยากร่ำอยากรวย อยากมีเงินเยอะๆ โดยไม่สนใจวิธีการหรือศีลธรรมอะไรอีกต่อไป หรือการพูดถึงความทะเยอทะยานของ Marla ที่ต้องการก้าวขึ้นไปสู่จุดที่ดีกว่า ความอยากเอาชนะ ความอยากเป็นที่หนึ่ง แต่อะไรพวกนี้มันไม่ใช่สิ่งที่เราเชื่อเลย แล้วก็เห็นอยู่ชัดๆ ว่ามันต้องแลกมาด้วยอะไรมากมายแค่ไหน
.
ต้องใส่หมายเหตุไว้ด้วยว่า เราไม่ได้มีปัญหากับการเป็นเลสเบี้ยนของตัวละคร Marla กับ Fran เลย ถึงจะมีเสียงแว่วๆ มาอยู่บ้างว่า ไม่ชอบที่ให้ตัวละครเลสเบี้ยนเป็นผู้ร้าย สำหรับเราแล้ว มันคงเป็นเรื่องไร้สาระหากจะรณรงค์ให้ตัวละคร LGBTQ+ เป็นตัวละครผู้เคร่งศีลธรรมดีงามเท่านั้น เพราะในโลกของความเป็นจริงมันไม่ใช่ และเราต้องการอะไรหลากหลายกว่านั้น ที่สำคัญ ที่สุดแล้ว การนำเสนอตัวละครเลสเบี้ยนใน I Care a Lot ก็ออกมาสมจริงสมจัง โดยเฉพาะในความสัมพันธ์ของตัวละคร แล้วมันก็สะท้อนอะไรหลายอย่างในตัวละคร ทั้งเรื่องปมในใจ ที่พูดเป็นนัยว่าพ่อแม่ครอบครัวนั้นไม่ยอมรับในตัวตนของเธอ และการวาดฝันในอนาคตของ Marla ที่มี Fran อยู่ด้วยเสมอ
.
จริงๆ ถ้าหนังมันจะเพี้ยนคลั่งบ้าดีเดือดไปเลย เราอาจจะดูสนุกดูเพลินได้ โดยไม่ต้องไปสนใจเลยว่า ตัวละครฝั่งไหนจะมีปูมหลัง ปมในใจ หรือมีอุดมการณ์อะไร ให้มันฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ แผนซ้อนกล จะถึงเลือดถึงเนื้อ หรือจะเอาชนะด้วยเกมอื่น อะไรแบบไหนก็ได้ หรือให้ตัวละครมันเพี้ยนหลุดไปเลย เราอาจจะชอบมากกว่าที่เป็นอยู่นี้
.
ชม #I Care A Lot ได้ทาง Netflix
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] I Care a Lot (2020)
ทุกกฎหมายมีช่องโหว่ และมนุษย์ก็สามารถหาช่องโหว่นั้นเพื่อตักตวงกอบโกยผลประโยชน์เข้าหาตัวเองได้เสมอ ไม่สิ! หลายครั้ง ก็มนุษย์จอมเจ้าเล่ห์นี่แหละที่ใช้อำนาจสร้างช่องโหว่นั้นขึ้นมาเองด้วยซ้ำ เหมือนกับกฎหมายผู้พิทักษ์ที่ถูกหยิบมาพูดถึงใน I Care a Lot ซึ่ง J Blakeson ผู้กำกับ/เขียนบท ได้แรงบันดาลใจมาจากคดีจริงที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แล้วเมื่อไม่กี่วันมานี้ เรื่องของกฎหมายผู้พิทักษ์ก็ฉาวโฉ่ขึ้นมาอีกครั้งกับ #FreeBritney
.
Marla Grayson หญิงสาวผู้ทำงานที่ผู้พิพากษาชื่นชมว่าช่างมีเมตตาเหลือเกิน เพราะเธอได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือดูแลเหล่าคนชราที่อ่อนแอ เจ็บป่วย หรือไม่สามารถดูแลตัวเองได้ บ้างมีอาการทางสมอง บ้างนอนติดเตียง และหลายรายปราศจากลูกหลานคอยดูแล แล้วมันก็เป็นหน้าที่ของ “ผู้พิทักษ์” (The Guardian) อย่างเธอที่จะเข้ามาช่วยเหลือจัดการส่งตัวพวกเค้าเข้าสู่บ้านพักคนชรา ดูแลเรื่องจิปาถะต่างๆ ตามกฎหมาย รวมถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ด้วย ทว่า Marla ไม่ใช่นักบุญอย่างที่ใครคิด เธอเป็นนักธุรกิจ ... ไม่สิ! เธอเป็นอาชญากรต่างหาก เพราะเธอและ Fran คนรักสาวจับมือร่วมกับคุณหมอที่ดูแลผู้สูงอายุ มองหาคนแก่รวยๆ ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จัดการส่งเรื่องขึ้นศาลเพื่อให้พิจารณาส่งตัวพวกเค้าไปอยู่บ้านพักคนชรา แล้วเธอจะเป็นคนดูแลพิทักษ์ประโยชน์ต่างๆ ให้เอง (โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ) และหลังจากทำเช่นนี้มาแล้วเป็นสิบๆ ราย Marla ไม่รู้ตัวเลยว่า กำลังจะเจอกับโจทย์หิน เพราะหญิงแก่ท่าทางธรรมดาๆ อย่าง Jennifer ที่ถูกเธอจัดการส่งตัวไปบ้านพักคนชราสดๆ ร้อนๆ นั้นมีเบื้องลึกเบื้องหลังมากกว่าที่เห็น
.
จริงๆ ตัวเรื่องมันมีอะไรแปลกใหม่อยู่เหมือนกัน แต่เรากลับรู้สึกว่ามันพยายาม “เจ๋ง” หรือ “เท่” มากเกินไป แล้วก็ไปได้ไม่สุด อย่างสไตล์การเล่าเรื่องที่ตัดฉึบฉับกระโดดข้ามอะไรที่ไม่จำเป็น การขายคาแร็คเตอร์ร้ายลึกบ้าดีเดือดที่ต้องมาเจอกับตัวละครที่ผสมระหว่างความหลุดโลกกับความโหดนิ่งๆ การวางแผนซ้อนแผน เพื่อเอาคืนไปมา อะไรพวกนี้ เราคิดว่ามีหนังหลายเรื่องทำได้ดีกว่า หรือแม้กระทั่งคาแร็คเตอร์ของ Rosamund Pike, Peter Dinklage และ Dianne Wiest มันก็ไม่ได้ทำให้ร้องว้าว หรือมีอะไรเหนือความคาดหมาย ทว่าปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับเราก็คือ เราไม่รู้สึกอยากเอาใจช่วยใครในเรื่องเลย
.
ก็นั่งวิเคราะห์ตัวเองอยู่นานแหละมากว่าทำไม ตรงนี้ไม่ได้เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ไม่มีใครในเรื่องเป็นคนดีขาวสะอาดบริสุทธิ์หรอกนะ เพราะมันมีหนังอีกหลายเรื่องที่เราสามารถเอาใจช่วยตัวละครที่มีสีเทาๆ หรือมีสีดำมืดสนิทได้ด้วยซ้ำ แต่กับ I Care a Lot เราไม่ได้ยืนอยู่ข้างใครเลย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งนางร้ายตัวแสบอย่าง Marla กับ Fran ฝั่งหญิงชราลึกลับอย่าง Jennifer หรือฝั่งมาเฟียขาโหดอย่าง Roman แล้วก็พบว่า นอกจากเราจะไม่อินกับปูมหลังของตัวละครแล้ว เรายังไม่ซื้อกับอุดมการณ์ของใครเลยสักคนน่ะสิ เข้าใจว่า หนังพยายามจิกกัดโลกทุนนิยม หรือความฝันของคนยุคนี้ที่อยากร่ำอยากรวย อยากมีเงินเยอะๆ โดยไม่สนใจวิธีการหรือศีลธรรมอะไรอีกต่อไป หรือการพูดถึงความทะเยอทะยานของ Marla ที่ต้องการก้าวขึ้นไปสู่จุดที่ดีกว่า ความอยากเอาชนะ ความอยากเป็นที่หนึ่ง แต่อะไรพวกนี้มันไม่ใช่สิ่งที่เราเชื่อเลย แล้วก็เห็นอยู่ชัดๆ ว่ามันต้องแลกมาด้วยอะไรมากมายแค่ไหน
.
ต้องใส่หมายเหตุไว้ด้วยว่า เราไม่ได้มีปัญหากับการเป็นเลสเบี้ยนของตัวละคร Marla กับ Fran เลย ถึงจะมีเสียงแว่วๆ มาอยู่บ้างว่า ไม่ชอบที่ให้ตัวละครเลสเบี้ยนเป็นผู้ร้าย สำหรับเราแล้ว มันคงเป็นเรื่องไร้สาระหากจะรณรงค์ให้ตัวละคร LGBTQ+ เป็นตัวละครผู้เคร่งศีลธรรมดีงามเท่านั้น เพราะในโลกของความเป็นจริงมันไม่ใช่ และเราต้องการอะไรหลากหลายกว่านั้น ที่สำคัญ ที่สุดแล้ว การนำเสนอตัวละครเลสเบี้ยนใน I Care a Lot ก็ออกมาสมจริงสมจัง โดยเฉพาะในความสัมพันธ์ของตัวละคร แล้วมันก็สะท้อนอะไรหลายอย่างในตัวละคร ทั้งเรื่องปมในใจ ที่พูดเป็นนัยว่าพ่อแม่ครอบครัวนั้นไม่ยอมรับในตัวตนของเธอ และการวาดฝันในอนาคตของ Marla ที่มี Fran อยู่ด้วยเสมอ
.
จริงๆ ถ้าหนังมันจะเพี้ยนคลั่งบ้าดีเดือดไปเลย เราอาจจะดูสนุกดูเพลินได้ โดยไม่ต้องไปสนใจเลยว่า ตัวละครฝั่งไหนจะมีปูมหลัง ปมในใจ หรือมีอุดมการณ์อะไร ให้มันฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ แผนซ้อนกล จะถึงเลือดถึงเนื้อ หรือจะเอาชนะด้วยเกมอื่น อะไรแบบไหนก็ได้ หรือให้ตัวละครมันเพี้ยนหลุดไปเลย เราอาจจะชอบมากกว่าที่เป็นอยู่นี้
.
ชม #I Care A Lot ได้ทาง Netflix
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้