[25/06/64] ข่าวรอบโควิด: ไม่ล็อกดาวน์ กทม. ปิดแคมป์คนงาน/จำกัดเดินทาง, เรื่องเล่าจากหมอ

วันสุดท้ายของการทำงาน ข้อมูลไหลพอๆกับกระแสดราม่า จะพยายามสรุปสาระสำคัญในวันนี้ครับ

1. สรุปสถานการณ์โควิด
- ผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,644 คน: กทม. 1,142 คน, ปริมณฑล 949 คน, จังหวัดอื่นๆ 1,360 คน, เรือนจำ 162 คน
- หายป่วยเพิ่ม 1,751 คน
- เสียชีวิตเพิ่ม 44 คน

2. คลัสเตอร์ใหม่
- กทม: เขตบางบอน 1) บริษัทผลิตเสื้อผ้า บางแค 2) บริษัทผลติบรรจุภัณฑ์และภาชนะ
         : เขตคลองสามวา 1) แคมป์คนงาน ถ.พระยาสุเรนทร์ 2) แคมป์ก่อสร้างคู้บอน
         : เขตสวนหลวง 1) แคมป์ก่อสร้างพัฒนาการ 38 (ติด 198 จากทั้งหมด 233 คน)
- สมุทรปราการ: อ.บางพลี บริษัทชิ้นส่วนรถยนต์
- นนทบุรี: อ.บางกรวย บริษัทผลิตภัฑ์พลาสติก
- นครปฐม: อ.สามพราน โรงฆ่าสัตว์
- ปทุมธานี: อ.เมือง บริษัทผลิตลวดโลหะ
               : อ.หลาดหลุมแก้ว โรงงานชนม
- ฉะเชิงเทรา: อ.บางปะกง บริษัทผลิตสี

3. ข้อเสนอและแผนต่างๆ

1) เพิ่มเตียงผู้ป่วยสีเหลือง-แดงในกทม.-ปริมณฑล
- รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน: เหลือง 70 แดง 16
- รพ.ราชพิพัฒน์: เหลือง 100 แดง 40 (แดงเป็น modular ICU เริ่ม 10 ก.ค.)
- รพ.ธนยุรี (มณฑลทหารบกที่ 11): เหลือง 200 แดง 55 เริ่ม 2 ก.ค.

2) โรงเรียนแพทย์เสนอให้แพทย์จบใหม่ราวๆ 2,000 คน เข้ามาช่วยในเดือนก.ค. และพยายามเพิ่มเตียงในกทม.-ปริมณฑล โดยรายงานให้ทราบเป็นระยะ

3) กทม.คุมยากต่างจากสมุทรสาคร คือ
- ปิดโรงงานในสมุทรสาคร และให้ทุกคนใช้ชีวิตในโรงงานราว 28 วันก็ควบคุมและหยุดการระบาดได้
- ปิดแคมป์คนงานกทม. 28 วัน ยังไม่สามารหยุดการระบาดได้ เนื่องจาก ผู้ติดเชื้อ"เล็ดลอด"ไปยังชุมชน และปิดแคมป์นึง เคลื่อนย้ายไปอีกแคมป์นึงเกิดเป็นการระบาดใหม่

4) ล็อกเป็นจุด โดยมี 3 ส่วน 1.ปิดพื้นที่ความเสี่ยงสูง 2.ปิดเฉพาะบุคคลกลุ่มเสี่ยง เช่น พื้นที่มีแรงงานต่างชาติ 3. ปิดในกิจกรรม กิจการเสี่ยงมากกว่าปิดทั้งหมด

5) ถ้าล็อคดาวน์ อาจกระทบจนเกิดการแพร่ระบาดได้ เช่น กรณี โรงเรียนมัรกัส จ.ยะลา เมื่อปิดรร. ทำให้เดินทางกลับบ้านในจังหสัดอื่น และเกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่อื่นเพิ่มขึ้น

6) ยกตัวอย่างตลาดสี่มุมเมือง ในอ.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตลาดค้าขายข้ามจังหวัด ประชากรหมุนเวียนราว 30,000-40,000 คน เพื่อให้ตลาดประคับประคองการขายได้ จึงตั้งวอร์รูม หรือ "ศบค.ตลาดสี่มุมเมือง" ความร่วมมือจาก 1. ผู้ว่าฯ, คณะกรรมการคสบคุมโรค, หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ 2. ตำรวจ มหาดไทย และฝ่ายปกครอง 3. ผู้ประกอบการ ผู้ซื้อ และแรงงาน ทำให้ภายในตลาดมี มีรถตรวจคัดกรองตั้งอยู่ในตลาด, เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ 08.00-03.00 น. เพราะตลาดเปิด 24 ชม. และตั้งรพ.สนามในตลาดเก่าชื่อ รพ.สนามบุญรักษา ดังนั้นความพยายามของจังหวัดที่จะควบคุมโรคให้อยู่ในวงที่ควบคุมได้ และให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ การปิดตลาดอาจไม่ใช่การตอบโจทย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสาธารณสุข

7) ตั้งมาตรการคัดกรอง - กักตัวเตรียมพร้อมทหารเกณฑ์ผลัดใหม่ จำนวน 60,000 นาย ซึ่งรายงานตัววันที่ 1 ก.ค. ทั่วประเทศ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

4. ไม่ล็อกดาวน์กทม. ปิดแคมป์ก่อสร้าง 1 เดือน มีผลบังคับในวันจันทร์ที่ 28 มิ.ย.
- ให้กระทรวงแรงงาน และผู้ประกอบการดูแลทั้งแรงงานต่างชาติและคนไทย แต่ห้ามเคลื่อนย้าย ให้อยู่ในวงจำกัด
- ในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และ 4 จังหวัดภาคใต้ คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ขอความร่วมมืออย่าเดินทางหรือเคลื่อนย้ายไปพื้นที่อื่น เบื้องต้นขอ 1 เดือน
- จัดหาเตียง ICU เพิ่ม 100 เตียง

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

5. เรื่องเล่าจากหมอ: พิธีกร Thai PBS มีโอกาสพูดคุยกับหมอหลายท่าน และถามว่า "ถึงจุดที่ต้องเลือกรักษาใคร หรือไม่รักษาใคร"
- คุณหมอท่านนึงบอก "ทำอยู่ทุกวัน รายไหนหนัก อายุมากหรือไม่มีญาติ บางทีต้องตัดสินใจหยุดรักษา เพื่อเก็บเตียงเอาไว้ช่วยคนที่น่าจะช่วย" แต่ไม่ได้ประกาศเป็นทางการว่า จะถอดเครื่องช่วยหายใจคนนึง เพื่อไปช่วยอีกคนนึง พร้อมบอกเพิ่มเติมว่า เตียงเต็มแล้ว ต้องตัดสินใจว่า "เลือกว่าจะปล่อยคนเดิม" หรือ "ปฎิเสธคนใหม่" นี่คือสิ่งที่ลำบากใจอยู่ทุกวัน
- หมออีกท่านนึงบอก อาจไม่ถึงขั้นที่ต้องเลือก แต่มีผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ ผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจนานๆ เมื่อหายจากโควิดแล้ว แต่ต้องพักฟื้นและต้องใส่ท่อช่วยหายใจอีกระยะ แต่ต้องย้ายไปอยุ่วอร์ดอื่นเร็วขึ้น ซึ่งจะไปเบียดบังทรัพยากรผู้ป่วยโรคอื่นๆมากขึ้น
- อีกกรณีนึงเมื่อแพทย์พยากรณ์โรค หรือว่าประเมินความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยคนไหนมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง โดยปกติอาจจะยื้ออีกสักระยะนึง แต่สถานการณ์นี้ แพทย์ต้องตัดสินใจเร็ว เมื่อเห็นว่าการรอดชีวิตมีน้อย จะลดยาช่วยพยุงอาการต่างๆ ไม่ปั้มหัวใจ และบอกญาติตรงๆ ญาติบางส่วนก็เข้าใจ แต่ญาติบางส่วนต้องการยื้ออีกสักระยะ สิ่งที่หมอไม่ต้องการบอกตรงๆ คือ "ต้องการเตียงกลับมาเร็ว" เพื่อรองรับผู้ป่วยรายใหม่ที่เข้ามา
- หมออีกท่านบอก พยายามให้โอกาสคนไข้ทุกคน แต่ "ถ้าปอดไม่ดีขึ้นจริง และปลายทางมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิต" ก็ต้องยอมรับว่าเป็นการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า ต้องเตรียมไว้รักษาชีวิตผู้ป่วยที่รอเตียง ICU อยู่
- พิธีกรสรุปว่า นี่คือสถานการณ์จริง ที่ทางการแพทย์เรียกการรักษาแบบนี้ว่า Palliative care หรือการดูแลแบบประคับประคองในระยะสุดท้าย จะเน้นการลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และครอบครัว ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ คุณหมอทุกคนบอก "ไม่อยากจะเลือกเลย ในการจะรักษาใคร แต่การอธิบายแบบนี้น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า ในการอธิบาย "เตียงเต็ม" ทิ้งท้ายว่า "นี่คือชีวิตจริง ที่คุณหมอหลายคนเผชิญอยู่ ณ เวลานี้"

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หมวดต่างประเทศ

6. ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดเดือนที่แล้วในสหรัฐฯ เป็นผู้ไม่ได้รับวัคซีน 99%
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง 150 คน จากผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในเดือนพ.ค. และ 99.2% ของผู้เสียชีวิตกลุ่มนี้ เป็นผู้ไม่ได้รับวัคซีนครบโดส
- สัมพันธ์กับแนวโน้มการรักษาตัวในรพ. ในเดือน พ.ค. มีผู้รับวัคซีนครบโดสแล้วเข้ารักษาตัวในรพ.ไม่ถึง 1,200 คน จากผู้ป่วยทั้งหมด 853,000 คน
- ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐฯ บอกว่า ปัจจุบัน สหรัฐฯ สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด ได้เกือบทั้งหมดแล้ว ถึงแม้มีผู้ติดเชื้อใหม่และเสียชีวิตรายวันเฉลี่ยอยู่ที่ 11,310 และ 305 รายตามลำดับก็ตาม
- ทั้งนี้ ปธน. โจไบเดนตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้ 70% ของประชากรภายในวันที่ 4 ก.ค. หรือวันชาติสหรัฐฯ แต่เจ้าที่หน้ารัฐบาลยอมรับว่าการบรรลุเป้าหมาย อาะเลื่อนไปอีกหลายสัปดาห์ โดยปัจจุบันผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ราว 66% ได้รับวัคซีน 1 โดส และ 56% ได้รับวัคซีนครบโดส

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

7. มีความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างอาการอักเสบที่หัวใจในผู้มีอายุน้อย กับการรับวัคซีนชนิด mRNA แต่ยืนยันว่าพบได้ยาก
- คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการสร้างภูมิคุ้มกันของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ระบุไว้ข้างต้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดหลังรับวัคซีนชนิด mRNA โดสที่ 2 ของ Moderna หรือ Pfizer
- พบผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบรวม 1,226 กรณี จากการฉีดวัคซีนสองยี่ห้อดังกล่าวราว 300 ล้านโดส (ข้อมูลถึงวันที่ 11 มิ.ย. 2021) ซึ่งมักเป็นผู้ที่มีอาการในสัปดาห์แรกหลังรับวัคซีนโดสที่สอง ส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อย และหลายคนหายได้เองหรือรักษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- ส่วนใหญ่พบผู้ที่อายุน้อยกว่า 30 ปี เพศชายมากกว่าหญิง
- อาการดังกล่าวยังถือว่าพบได้ยาก โดยผู้มีอายุ 12-39 ปี หลังรับวัคซีนโดสที่สองภายใน 21 วัน พบอาการข้างต้นอยู่ที่ 12.6 กรณีต่อ 1 ล้านโดสสำหรับวัคซีนทั้งสองชนิดรวมกัน หากแยกชนิดกัน Moderna พบได้ 19.8 รายต่อ 1 ล้านโดส ส่วน Pfizer พบ 8 รายต่อ 1 ล้านโดส
- อาการข้างต้น มีแนวโน้มไม่ปรากฎในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- ทำให้ทราบว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบพบได้มากขึ้น หากติดเชื้อโควิด-19 และความเสี่ยงต่อหัวใจจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจร้ายแรงมากกว่า

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

8. เชื้อที่แพร่ระบาดในเซเชลส์ เป็นโควิด-19 สายพันธุ์เบต้า แม้ราว 70% ของประชากรฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว
- สถาบันวิจัยทางด้านการแพทย์ในเคนยา (KEMRI) รายงานผลการตรวจสอบเชื้อโควิด-19 ของพลเมืองเซเชลส์ที่ส่งไปตรวจสอบ
- สายพันธ์ุเบตาเป็นเชื้อหลักแพร่ระบาดในเซเชลส์ ยังตรวจพบเชื้ออัลฟา และเชื้อเดลตาบ้างบางส่วน ทำให้เซเชลส์ต้องปิดเกาะและยกระดับมาตรการรับมือโควิด-19 อีกครั้ง
- ต้นเดือน พ.ค. ยอดผู้ติดเชื้อเคยสูงถึง 2,400 ราย เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ภายใน 1 สัปดาห์ โดย 37% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นผู้ที่เข้ารับวัคซีนครบโดสแล้ว 
- คณะกรรมการด้านสาธารณสุขของเซเชลล์ ระบุว่า ยังไม่สามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีน 2 ชนิดนี้ได้ เนื่องจาก Sinopharm ส่วนใหญ่ใช้ฉีดให้กับอายุต่ำกว่า 60 ปี ขณะที่ Covishield (AZ ผลิตในอินเดีย) ใช้ฉีดให้กับอายุ 60 ปีขึ้นไป
- กำลังตรวจสอบว่าวัคซีนทั้งสองชนิดส่งผลต่อพลเมืองทั้งสองกลุ่มอย่างไร
- ผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยใน 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 70 ราย ส่วนประชากร 70,660 ราย หรือคิดเป็น 72.4% ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และประชากร 67,305 ราย หรือคิดเป็น 68 ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

9. เผยงานวิจัยใหม่ ชี้ความเป็นไปได้โควิด-19 ระบาดในจีนตั้งแต่ตุลาคม 2019
- ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคนต์ ของอังกฤษ เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยล่าสุด ผ่านวารสารการแพทย์ PLOS Pathogens
- โดยสร้างแบบจำลองทางสถิติที่เรียกว่า ‘การประมาณเชิงเส้นอย่างเหมาะสม (Optimal Linear Estimation: OLE)’ พบว่าวันที่ 17 พ.ย. 2019 คือวันที่เป็นไปได้มากที่สุดของการเกิดการระบาดของโควิด-19 เป็นครั้งแรก
- จากการวิเคราะห์ยังพบว่า เชื้อโควิด-19 อาจแพร่ระบาดไปทั่วโลกแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2020
- การระบาดนอกจีนครั้งแรกอาจเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 ม.ต. 2020 ส่วนการระบาดครั้งแรกในยุโรปอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในสเปนเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2020 และในสหรัฐฯ อาจเกิดการระบาดตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2020
- งานวิจัยไม่ได้ระบุต้นตอการระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งการระบาดรายแรกในจีนที่ได้รับการบันทึกอย่างเป็นทางการ พบเชื่อมโยงกับตลาดค้าส่งสัตว์ป่าและอาหารทะเลหัวหนาน แต่ในบางกรณีที่พบช่วงแรกๆ กลับไม่พบความเชื่อมโยงกับตลาดแห่งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเชื้อโควิด-19 นั้นอาจระบาดอยู่ในพื้นที่โดยรอบอยู่แล้ว ก่อนจะไปถึงตลาดหัวหนาน

ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ติดลิมิต อ่านต่อในความเห็นที่ 1
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่