🇹🇭มาลาริน♓วันนี้หายป่วยมากถึง4,439คนป่วยใหม่4,803คนเพิ่มขึ้นจากในเรือนจำแต่คุมได้ ผู้สูงวัย7มิ.ย.ฉีดวัคซีนได้ตามนัดค่ะ

เพี้ยนปักหมุดวันที่ 29 พ.ค. 64 ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 4,803 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,101 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 2,702 ราย 



https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940732

เพี้ยนปักหมุดศบค.ยันคุมโควิดระบาดในเรือนจำได้ ส่วน กทม.ห่วงคลัสเตอร์บางกะปิยอดพุ่ง เฝ้าระวังแคมป์คนงาน



ศบค. ยัน 7 มิ.ย. เริ่มฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง ตามที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ยังคุมแพร่ระบาดเรือนจำได้ พบติดเชื้อมากเพราะเร่งตรวจเชิงรุก กทม. ห่วงคลัสเตอร์บางกะปิ เฝ้าระวัง 4 เขตแคมป์คนงาน

นายเเพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)  (ศบค.) แถลงถึงการรายงานในที่ประชุม ศบค. ว่า วันที่ 7 มิถุนายนนี้

ศบค. ต้องการให้ผู้สูงอายุได้รับวัคซีนตามที่ได้มีการลงทะเบียนไว้ในแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม ดังนั้นการฉีดวัคซีนยังคงสิทธิของผู้สูงอายุและกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง ซึ่งไม่ต้องกังวลใจว่า จะมีการชะลอการฉีดวัคซีนไว้ก่อน อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้มีการวางแผนเตรียมการกระจายวัคซีนไปยัง 77 จังหวัดแล้ว

ในส่วนการค้นหาเชิงรุกในเรือนจำนั้นขณะนี้มีสะสม 22,398 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล และขณะนี้กำลังเตรียมพื้นที่สำหรับรองรับผู้ป่วยอาการหนัก และยังได้รับการยืนยันว่ายังสามารถควบคุมการระบาดได้ เพราะขณะนี้ในเรือนจำเป็นการค้นหาเชิงรุกจึงทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
 
สำหรับภาพรวมของกรุงเทพมหานครอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อยังอยู่ที่กรุงเทพฯและปริมณฑล สำหรับคลัสเตอร์ปัจจุบันเฝ้าระวังสูงสุด 25 พื้นที่ ทั่วกรุงเทพฯ เฝ้าระวัง 6 พื้นที่ และพบใหม่เพิ่มขึ้นอีก 4 พื้นที่ประกอบด้วย เขตดินแดง , เขตวัฒนา , เขตปทุมวัน , เขตคลองสามวา ซึ่งเป็นแคมป์คนงานทั้งหมด จึงต้องจับตา และเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก ขณะที่คลัสเตอร์ บางกะปิยังคงน่าเป็นห่วง ซึ่งอยู่ในช่วงตลาดบางกะปิ ที่มียอดผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุดถึง 896 คน มีผู้เสียชีวิต 12 คน ซึ่งในพื้นนี้ถือว่าเป็นพื้นที่แออัด และยังคงมีความเสี่ยงสูง

https://www.sanook.com/news/8389122

เพี้ยนแคปเจอร์คลัสเตอร์โควิด กทม.พบอีก 4 แห่ง "มหาสารคาม-เพชรบุรี-ชลบุรี-ตรัง" เจอจุดระบาดใหม่



คลัสเตอร์ใหม่ใน มหาสารคาม เพชรบุรี ชลบุรี และตรัง ส่วนใหญ่เป็นโรงงาน

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 64 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวระหว่างการแถลงสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ประจำวัน ว่า แนวโน้มการระบาดในภาพรวมของประเทศคงตัว ทั้งกทม. ปริมณฑล และต่างจังหวัด พบในกลุ่มก้อนอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มก้อนเดิม เริ่มพบในโรงงานประเภทหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานต่างด้าว ผู้ป่วยหนักค่อนข้างคงที่ แต่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบผู้ติดเชื้อผ่านชายแดนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกัมพูชา รวมถึงสถานที่เสี่ยงยังคงเป็นโรงงาน ตลาด แคมป์คนงาน ชุทชนแออัด ปัจจัยเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ

พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด น่าห่วงอยู่ที่ ตลาดบางกะปิ และชุมชนรอบๆ มีผู้ป่วยใหม่ 7 ราย ยอดสะสมในคลัสเตอร์ ตลาดบางกะปิ 453 ราย แคมป์ก่อสร้าง 19 ราย ,ชุมชนและตลาดคลองเตย ผู้ป่วยใหม่ 6 ราย รวมสะสม 1,603 ราย สวนหลวงพระราม 8 บางพลัด ผู้ป่วยใหม่ 11 ราย รวมสะสม 54 ราย และปากคลองตลาด ผู้ป่วยใหม่ 9 ราย สะสม 15 ราย
 
สำหรับจ.นนทบุรี เป็นแคมป์ก่อสร้างผู้ป่วยใหม่ 122 ราย สะสม 697 ราย จ.สมุทรปราการ เป็นโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปจากสัตว์น้ำ เนื้อสัตว์ ผู้ป่วยใหม่ 44 ราย สะสม278ราย จ.ตาก ที่บ้านผาผึ้ง วังเจ้า เป็นการสัมผัสในชุมชน พบผู้ป่วยใหม่ 6 ราย สะสม 51 ราย จ.ประจวบคีรีขันธ์ โรงงานสับปะรดกระป๋องหัวหิน 11 ราย สะสม 89 ราย จ.ระนอง แรงงานแพปลาชาวเมียนมา 5 ราย สะสม 606 ราย นราธิวาส ที่อ.ตากใบ จากการสัมผัสในชุมชน 19 ราย สะสม 134 ราย
ที่จ.มหาสารคาม เป็นคลัสเตอร์ใหม่ มหาวิทยาลัย ในอ.กันทรวิชัย ผู้ป่วย 11 ราย จ.เพชรบุรี โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ ผู้ป่วยใหม่ 30 ราย รวม 3,207 ราย และคลัสเตอร์ใหม่โรงงานผลิตรองเท้าที่เขาย้อย พบป่วย 21 ราย
 
ศบค.เผย ยอดผู้ป่วยโควิดอาการหนัก 1,221 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 406 ราย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า กทม.รายงานตัวเลขใหม่ 1,054 ราย เสียชีวิตสะสม 436 คน เสียชีวิต 1.10% ส่วนคลัสเตอร์ใน กทม.เพิ่มขึ้นเป็น 43 คลัสเตอร์ โดยที่พบใหม่ คือ แคมป์ก่อสร้างในเขต ดินแดง แคมป์ก่อสร้างในเขตวัฒนา แคมป์ก่อสร้างในเขตปทุมวัน และศูนย์ดูแลผู้สูงอายุคลองสามวา



https://www.posttoday.com/social/general/654173

นานาโอเคป่วยใหม่มาก รักษาหายก็เยอะนะคะ

เรือนจำตรวจเชิงรุกได้จำนวนเพิ่ม แค่ศบค.ท่านควบคุมได้ สบายใจค่ะ

กทม.และปริมณฑล และบางจังหวัด ยังมีเพิ่มตามโรงงานและตลาดชุมชน

ใกล้ฉีดวัคซีนเข้าไปทุกวันแล้ว....เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม

ทางรอดของประเทศไทยอยู่ที่บุคลากรทางการแพทย์ และวัคซีนที่มีอยู่ค่ะ

สู้ๆนะคะ....พาพันไฟท์ติ้ง

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 21

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนทั่วโลกแล้ว 1,782 ล้านโดส ใน 197 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 49.782 ล้านโดส ไทยฉีดแล้วมากกว่า 3.34 ล้านโดส"

(28 พฤษภาคม 2564) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 1,782 ล้านโดส ใน 197 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 28.9 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณารายประเทศพบว่าอิสราเอลได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมเกินครึ่งของประชากรแล้ว ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 291 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 133 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 45.869 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (31.7% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 26.487 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 3,347,050 โดส โดยฉีดให้กับบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุขมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 34.7%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 1,782 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 60% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 566.72 ล้านโดส (20.2% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. สหรัฐอเมริกา จำนวน 290.72 ล้านโดส (45.3%)
3. สหภาพยุโรป จำนวน 234.53 ล้านโดส (26.4%)
4. อินเดีย จำนวน 205.45 ล้านโดส (7.5%)

2) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. มัลดีฟส์ (63.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm )
2. อิสราเอล (58.4% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (58.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
4. บาห์เรน (55.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
5. ชิลี (47.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
6. สหราชอาณาจักร (46.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)
7. สหรัฐอเมริกา (45.3%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Johnson&Johnso
8. กาตาร์ (43.7%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech)
9. ฮังการี (42.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
10. อุรุกวัย (38.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer และ Sinovac)

3) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 54.49%
2. อเมริกาเหนือ 19.62%
3. ยุโรป 17.55%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.39%
5. แอฟริกา 1.69%
6. โอเชียเนีย 0.26%

4) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 22,984,902 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 26,487,346 โดส (4.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 4,495,375 โดส (2.0%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V และ AstraZeneca
3. กัมพูชา จำนวน 4,219,733 โดส (12.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca และ Sinovac
4. สิงคโปร์ จำนวน 3,728,869 โดส (31.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
5. ไทย จำนวน 3,347,050 โดส (2.5%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
6. พม่า จำนวน 2,994,900 โดส (2.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
7. มาเลเซีย จำนวน 2,605,036 โดส (3.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
8. เวียดนาม จำนวน 1,034,867 โดส (0.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
9. ลาว จำนวน 835,133 โดส (5.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V
10. บรูไน จำนวน 33,850 โดส (3.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

5) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564
จัดสรรวัคซีนแล้วทั้งหมด 3,880,999 โดส
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 3,347,050   คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 2,319,304 โดส
-เข็มสอง 1,027,746 โดส

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/3843882282403982


Short News !!
COVID-19 Vaccine Daily Update
การพัฒนาวัคซีนโควิด 19 รอบโลก ประจำวัน
จัดทำโดย: NVI Public Affairs Team
https://www.facebook.com/nvikm/posts/1901401930034993


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 28 พ.ค. 2564)
รวม 3,504,125 โดส ใน 77 จังหวัด

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 : 2,415,903 ราย
(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด)

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 : 1,088,222 ราย
(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/334660344818963


คนที่เคยเป็นโรคโควิด-19 แล้วจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ ?

นพ. ยง ภู่วรวรรณ ให้ความเห็นว่า
การติดตามผู้ที่เคยเป็นโรคโควิด แล้ว มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก การติดเชื้อซ้ำส่วนมากจะเกิดขึ้นหลัง 3 เดือนไปแล้วหลังติดเชื้อ
ดังนั้นในผู้ที่เคยติดเชื้อหรือเป็นโรคมาแล้ว เมื่อหายแล้วก็ควรที่จะได้รับวัคซีน โดยให้หลังการติดเชื้อแล้ว 3 ถึง 6 เดือน ในประเทศทางตะวันตก จะให้ตามกำหนดของวัคซีน

ขณะนี้ทางศูนย์ได้ดำเนินการทำวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้ที่หายจากโรค COVID-19 แล้ว ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป เป็นอาสาสมัครมารับวัคซีน ซึ่งมีทั้ง AstraZeneca และ Sinovac 1 ครั้ง และจะขอตรวจภูมิต้านทานติดตามดูระดับภูมิต้านทาน ดังนั้นจะเป็นผู้ที่หายแล้วเกินกว่า 2 เดือน จะเป็นกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อตั้งแต่ก่อนสงกรานต์ เพื่อที่จะได้รับวัคซีนในเดือนหน้า

ส่วนผู้ที่หายมานานมากกว่า 6 เดือนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ติดเชื้อปีที่แล้ว ขณะนี้ได้ให้วัคซีนไปแล้ว 62 คน โดยจะให้วัคซีน 2 ครั้งตามกำหนดของวัคซีน AstraZeneca และ Sinovac อยู่ระหว่างการติดตามผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะขณะนี้เรามีผู้ติดเชื้อเป็นแสนคน และคงเกิน 2 แสน คน ในไม่ช้าอย่างแน่นอน เพื่อเป็นแนวทางในการให้วัคซีนในกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน

ที่มา : Facebook Yong Poovorawan (นพ.ยง ภู่วรวรรณ)
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/334667604818237


ข้อแนะนำการเตรียมตัวเพื่อฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวช
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/334564984828499


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 จำนวน 34 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/334703084814689


เฝ้าระวัง 4 คลัสเตอร์ใหม่ กทม. ได้แก่
เขตดินแดง : 1. แคมป์ก่อสร้าง
เขตวัฒนา   : 2. แคมป์ก่อสร้าง
เขตปทุมวัน : 3. แคมป์ก่อสร้าง
เขตคลองสามวา : 4. ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/334749878143343


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมคำถามที่พบบ่อย
ในการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19
ไทยร่วมใจ "กรุงเทพฯ ปลอดภัย"

ที่มา : เพจ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/334758384809159


28 จังหวัด ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด -19

ลำปาง ลพบุรี อ่างทอง สุรินทร์ นครพนม
ยโสธร ตราด น่าน สุโขทัย สระแก้ว อุบลราชธานี
พิษณุโลก ลำพูน  ชุมพร สิงห์บุรี พะเยา
เลย แพร่ อุตรดิตถ์ ชัยนาท หนองคาย
พังงา อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน หนองบัวลำภู
มุกดาหาร อุทัยธานี  และสตูล

ขอความร่วมมือประชาชนและภาครัฐ
ร่วมมือให้ผู้ติดเชื้อเป็น 0 ต่อไป
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/334753921476272
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่