อยากทราบว่า ภาษาไทย (ซึ่งจะกล่าวโดยเจาะจงคือภาษาไทยกรุงเทพฯ สำเนียงภาคกลาง) เริ่มเป็นภาษากลางของประเทศไทยตั้งแต่ประมาณช่วงใด
คหสต. เดาว่า น่าจะเป็นช่วงประมาณรัชกาลที่หก ถึงช่วงสมัยรัฐบาลจอมพล ป. หลังจากที่รัฐชาติสยาม/ไทยได้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ห้า ทว่าก็เป็นรัฐชาติในเชิงกายภาพ มีอาณาเขตและประชากรที่แน่นอน ทว่าผู้คนในแต่ละภาคก็ยังมีความรู้สึกเรื่องชาติไม่เท่ากันอยู่ เช่นในเชียงใหม่ยังเรียกคนที่มาจากกรุงเทพฯว่าเมืองใต้ เป็นต้น และยังมีภาษา ตัวอักษรและวัฒนธรรมที่ต่างกันไป ทำให้ในสมัยรัชกาลที่หกเริ่มมีการส่งเสริมความรู้สึกเรื่องชาติขึ้นมา ผ่านระบบการศึกษา ซึ่งใช้ภาษาไทย หรือภาษากรุงเทพฯเป็นภาษาหลัก (ถ้าจำไม่ผิดในเรื่องกลิ่นกาสะลอง ป้ายต่างๆตามเมืองเชียงใหม่ในปี 2467 รัชกาลที่หก ก็เป็นภาษาไทยกลางแล้ว แม้แต่บันทึกของกาสะลองที่ถูกนายแคว้นเขียนต่อก็ใช้ตัวอักษรไทยเขียนใช้คำเมืองปนไทยบ้าง) โดยนโยบายนี้ได้ถูกปฏิบัติเรื่อยมาและเด่นชัดมากขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนในปัจจุบันแม้จะมีความพยายามอนุรักษ์ตัวอักษรพื้นเมืองไว้ ทว่าภาษาไทยกลางก็ได้เป็นภาษาหลักของไทยแล้ว นี่คือในส่วนของภาษาเขียน ส่วนเรื่องภาษาพูด อันนี้เคยอ่านบทความของคุณนิติภูมิ นวรัตน์ (เกิดประมาณปี 2500 ต้นๆถ้าจำไม่ผิด) เขาเล่าว่า สมัยก่อนที่สื่อโทรทัศน์หรือวิทยุยังไม่ค่อยแพร่หลายแบบทุกวันนี้ ภาษาพูดของคนในถิ่นต่างๆนั้นต่างกันมาก เขาเล่าอีกว่า สมัยก่อนถ้าบ้านไหนจะส่งลูกหลานไปเรียนที่กรุงเทพฯ จะจ้างครูมาฝึกพูดภาษากรุงเทพฯก่อนเลย คือถ้าเป็นจริง ขนาดสำเนียงของบ้านเขาที่เป็นภาคตะวันออกที่จัดว่าเป็นภาษาไทยกลางยังต้องมีการเรียนเพิ่ม สำหรับคนในภาคอื่นๆก็คงต้องมีการปรับภาษาด้วยเหมือนกัน ซึ่งต่อมาน่าจะมีน้อยลงเพราะสื่อแพร่หลายมากขึ้น ถ้าเป็นตามนี้ ภาษาไทยกลางในฐานะภาษาพูดน่าจะเริ่มเป็นภาษากลางในช่วงหลังจากสื่อเริ่มแพร่หลายแล้ว ต่างจากภาษาเขียนที่เริ่มเป็นภาษากลางในช่วงประมาณรัชกาลที่หก จนถึงสมัยรัฐบาลจอมพล ป.
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
ภาษาไทยเริ่มเป็นภาษากลางของประเทศไทยตั้งแต่ประมาณช่วงใด
คหสต. เดาว่า น่าจะเป็นช่วงประมาณรัชกาลที่หก ถึงช่วงสมัยรัฐบาลจอมพล ป. หลังจากที่รัฐชาติสยาม/ไทยได้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ห้า ทว่าก็เป็นรัฐชาติในเชิงกายภาพ มีอาณาเขตและประชากรที่แน่นอน ทว่าผู้คนในแต่ละภาคก็ยังมีความรู้สึกเรื่องชาติไม่เท่ากันอยู่ เช่นในเชียงใหม่ยังเรียกคนที่มาจากกรุงเทพฯว่าเมืองใต้ เป็นต้น และยังมีภาษา ตัวอักษรและวัฒนธรรมที่ต่างกันไป ทำให้ในสมัยรัชกาลที่หกเริ่มมีการส่งเสริมความรู้สึกเรื่องชาติขึ้นมา ผ่านระบบการศึกษา ซึ่งใช้ภาษาไทย หรือภาษากรุงเทพฯเป็นภาษาหลัก (ถ้าจำไม่ผิดในเรื่องกลิ่นกาสะลอง ป้ายต่างๆตามเมืองเชียงใหม่ในปี 2467 รัชกาลที่หก ก็เป็นภาษาไทยกลางแล้ว แม้แต่บันทึกของกาสะลองที่ถูกนายแคว้นเขียนต่อก็ใช้ตัวอักษรไทยเขียนใช้คำเมืองปนไทยบ้าง) โดยนโยบายนี้ได้ถูกปฏิบัติเรื่อยมาและเด่นชัดมากขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. จนในปัจจุบันแม้จะมีความพยายามอนุรักษ์ตัวอักษรพื้นเมืองไว้ ทว่าภาษาไทยกลางก็ได้เป็นภาษาหลักของไทยแล้ว นี่คือในส่วนของภาษาเขียน ส่วนเรื่องภาษาพูด อันนี้เคยอ่านบทความของคุณนิติภูมิ นวรัตน์ (เกิดประมาณปี 2500 ต้นๆถ้าจำไม่ผิด) เขาเล่าว่า สมัยก่อนที่สื่อโทรทัศน์หรือวิทยุยังไม่ค่อยแพร่หลายแบบทุกวันนี้ ภาษาพูดของคนในถิ่นต่างๆนั้นต่างกันมาก เขาเล่าอีกว่า สมัยก่อนถ้าบ้านไหนจะส่งลูกหลานไปเรียนที่กรุงเทพฯ จะจ้างครูมาฝึกพูดภาษากรุงเทพฯก่อนเลย คือถ้าเป็นจริง ขนาดสำเนียงของบ้านเขาที่เป็นภาคตะวันออกที่จัดว่าเป็นภาษาไทยกลางยังต้องมีการเรียนเพิ่ม สำหรับคนในภาคอื่นๆก็คงต้องมีการปรับภาษาด้วยเหมือนกัน ซึ่งต่อมาน่าจะมีน้อยลงเพราะสื่อแพร่หลายมากขึ้น ถ้าเป็นตามนี้ ภาษาไทยกลางในฐานะภาษาพูดน่าจะเริ่มเป็นภาษากลางในช่วงหลังจากสื่อเริ่มแพร่หลายแล้ว ต่างจากภาษาเขียนที่เริ่มเป็นภาษากลางในช่วงประมาณรัชกาลที่หก จนถึงสมัยรัฐบาลจอมพล ป.
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ