ทำไมสำเนียงไทยภาคกลางสมัยนี้ถึงเปลี่ยนไปไม่เหมือนสำเนียงสมัยเมื่อ 30-40 ปีก่อน

พอดีเห็นคลิปนี้แล้วสงสัยสำเนียงภาษาไทยสมัยก่อนมีความสุขุม หนักแน่น ดูฟังเป็นทางการกว่าสำเนียงไทยภาคกลางกว่าสมัยนี้ แล้วผู้หลับผู้ใหญ่ลุงๆป้าๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็พูดเป็นสำเนียงไทยปัจจุบัน แล้วสำเนียงมันเปลี่ยนไปตอนไหน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
การเป็นผู้ประกาศข่าว จะต้องสอบ บัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในการสอบก็จะมีการอบรมเรื่องเสียง การอ่านออกเสียง บุคลิกภาพ และอีกหลายอย่าง แต่เดิมนั้นผู้ประกาศข่าวจะไม่ได้ใส่อารมณ์เข้าไปเหมือนสมัยนี้ เน้นเสียง ชัดถ้อยชัดคำ ตามหลักภาษา
เสียงในโฆษนา ก็เช่นกันครับ พูดชัด พูดช้า พูดหนักแน่น การลงเสียง เป็นคุณสมบัติหลักของคนในแวดวง สื่อสารมวลชน
แม้สมัยนี้จะมีลูกเล่นของเสียง มีอารมณ์ใส่เข้าไปเยอะขึ้น แต่พื้นฐานทุกคนต้องมีความถูกต้องของการออกเสียง
ความคิดเห็นที่ 5
เข้าใจว่าสมัยก่อน เรียกว่า "อ่านข่าว" คือให้ผู้ประกาศข่าว นั่งอ่านข่าวอย่างเดียว
โดยจะอ่านตามสคริปทุกตัวอักษร ส่วนปัจจุบันนี้ บริบทในการอ่านข่าวนั้นเปลี่ยนไป
ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเริ่มต้นจาก "สรยุทธ" ที่ย้ายมาอยู่ช่อง 3 เมื่อราว 20 ปีที่แล้ว
โดยเปลี่ยนจากการอ่านข่าว เป็นการเล่าข่าว โดยใช้ชื่อ "เรื่องเล่าเช้านี้" ทำให้
การดูข่าวนั้นเข้าใจง่ายขึ้น และดูเป็นกันเองกับผู้ชม
ความคิดเห็นที่ 2
อันนี้ไม่เรียกว่าสำเนียงเปลี่ยน แค่วิธีการพูดช้าและไม่ใส่อารมณ์แบบปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่