จันทร์ที่ผ่านมา หลายๆคนแชร์เรื่องเทศกาลบ๊ะจ่าง หลายๆท่านเขียนเรื่อ กำเนิดบ๊ะจ่าง ที่ต่างคนเขียนตรงกันว่า.. .
บ๊ะจ่างกำเนิดจากความรัก ความผูกพันที่ชาวบ้านมีต่อขุนนางแคว้นฉู่ นาม " 屈原 [Qū Yuán] ฉวี่ เหวียน "
ทั้งที่เวลานั้น แคว้นฉู่ เป็นเพียงแคว้นเล็กๆทางใต้ ที่ไม่ได้มีอำนาจหรือความสำคัญใดๆ ที่ชาวบ้านสามัญจะจดจำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่แคว้นสำคัญทางเหนือของจีนคอยแต่ก่อสงครามรบพุ่งกันไปมาเมื่อราว พ.ศ. 200
ตนที่มีพละกำลัง มีอำนาจบารมีที่จะให้คุณให้โทษ จึงอยู่ในฐานะที่ผู้คนจะกล่าวขวัญถึง ........
ในบ้านเรา น้อยคนจะทราบว่า ศัพท์ขนมจ้างที่ภาษาจีนเขียนว่า 粽子 ไม่ได้ถูกเก็บบันทึกอยู่ใน
說 文 解 字 ซึ่งเป็นดิกโบราณที่เขียนในยุคราชวงศ์ฮั่น โดย 許慎
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ( พ.ศ. 700 ) ย้อนหลังไป ในประเทศจีนยัง “ ไม่มี ” อาหารที่เรียกว่าขนมจ้าง
หรือ ให้ตรงประเด็นก็ต้องว่า “ ในยุคของท่าน ฉวี่เหวียน ยังไม่มีขนมจ้างครับ ” .........
กำเนิดของขนมจ้างไม่ได้ข้องเกี่ยวอะไรกับท่าน ฉวี่เหวียน อย่างที่สอนกันปาวๆ ในห้องเรียนวัฒนธรรมจีน ของบ้านเราครับ
นักประวัติศาสตร์จีน ท่านว่า ธรรมเนียมการกิน ขนมจ้าง มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ในบันทึกชื่อ เฟิง ถู่ จี้ 《 风 土 记 》
บันทึกโดย โจว ฉู่ ในรัชสมัย ซิจิ้น ( 周 处 , 西 晋 ) ในราว พ.ศ. 800
ในบันทีก เฟิงถู่จี้ ว่า ขนมจ้างหรือที่ในบันทึกเรียก เจี่ยว สู่ ท่านว่า
“ 仲夏 端午,烹鹜 角黍。” หรือ ตวนอู่ กลางฤดูร้อน หุงต้ม เจี่ยวสู่ .
ธรรมเนียมการกินขนม เจี่ยวสู่ ใน วันตวนอู่ และกลางฤดูร้อน เริ่มถือปฏิบัติก่อนในกลุ่มราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแคว้นต่างๆ
ที่เป็นมณฑลเจียงซูในปัจจุบัน ( 江 苏 )
เจี่ยวสู่ หรือขนมจ้างโบราณ ทำจากข้าวฟ่าง และผลไม้แห้ง ห่อด้วยใบกก
ท่านกิน เจี่ยวสู่ในช่วงกลางฤดูร้อน เพราะข้าวฟ่างมีสรรพคุณบำรุงธาตุ ลดไข้ แก้อาการอาเจียน และ รักษาอาการท้องเดิน
ซึ่งเป็นอาการร่วมของลักษณะไข้หวัด ที่มักจะระบาดติดต่อกัน ในฃ่วงฤดูร้อนของประเทศจีนที่มักจะมีฝนตกชุก
จากธรรมเนียมการกิน เจี่ยวสู่ ของชาวเจียงซู ภายหลังจึงแพร่หลายไปสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ
เจี่ยวสู่ ภายหลังเพี้ยนเปลี่ยนชื่อเป็น โจ้งจื่อ ( 粽子 หรือ 糉子 )
ทั้งวิธีปรุงแต่ง และกรรมวิธีการห่อ และใบไม้ที่ใช้ห่อก็มีแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
....................................
ปล. เรื่องเล่าที่นำ ขนมจ้าง ไปพันผูกกับกวี ฉวี่ เหวียน ที่เป็นเหตุการณ์ต่างยุค ต่างสมัย
และทำเอาผู้คนหลงเชื่อกันทั้งบ้าน ทั้งเมือง
เพิ่งจะกำเนิดในรัชสมัยหนันเฉา โดยนักเขียนนาม อู๋จวิน ( 吴 钧 ) ในหนังสือ 《续齐谐记》เมื่อราว พ.ศ. 1000 ครับ
. .
กำเนิดของขนมบ๊ะจ่าง ไม่ได้ข้องเกี่ยวอะไรกับท่าน ฉวี่เหวียน ครับ...
บ๊ะจ่างกำเนิดจากความรัก ความผูกพันที่ชาวบ้านมีต่อขุนนางแคว้นฉู่ นาม " 屈原 [Qū Yuán] ฉวี่ เหวียน "
ทั้งที่เวลานั้น แคว้นฉู่ เป็นเพียงแคว้นเล็กๆทางใต้ ที่ไม่ได้มีอำนาจหรือความสำคัญใดๆ ที่ชาวบ้านสามัญจะจดจำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่แคว้นสำคัญทางเหนือของจีนคอยแต่ก่อสงครามรบพุ่งกันไปมาเมื่อราว พ.ศ. 200
說 文 解 字 ซึ่งเป็นดิกโบราณที่เขียนในยุคราชวงศ์ฮั่น โดย 許慎
กำเนิดของขนมจ้างไม่ได้ข้องเกี่ยวอะไรกับท่าน ฉวี่เหวียน อย่างที่สอนกันปาวๆ ในห้องเรียนวัฒนธรรมจีน ของบ้านเราครับ
คัดจาก
https://web.facebook.com/plu.danai/posts/2833012610281869?__cft__[0]=AZU01vRQ8SASqv3qkwCg-cUjb2Xf041-5fHcHrinNbcdXzku02OYDFtMDeYN5ZST5yt7rAOrLZJF0XTqegj0dl42s5faFX7IEVHbiSUTrxD30PVQOrej-h46kyzVkISBsSY&__tn__=%2CO%2CP-R