“ธรรมกายแลคือพระตถาคต”

พระตถาคตหรือพระพุทธเจ้าของเรา
 พระองค์เพียบพร้อมด้วยรูปกายสมบัติและธรรมกายสมบัติไม่มีใครทัดเทียมได้ 
แต่รูปกายก็ตกอยู่ในไตรลักษณ์คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา 
จะหาสาระเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ ส่วนธรรมกายต่างหากเป็นส่วนที่สำคัญ 
เรื่องนี้พระองค์ตรัสสอนวักกลิผู้สนใจแต่รูปกายของพระตถาคตแต่ไม่สนใจธรรม 
ให้ท่านวักกลิสนใจอีกกายหนึ่งคือธรรมกายหมายถึงสนใจธรรม
 เพราะผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นก็เห็นเราตถาคต เพราะธรรมกายแลคือพระตถาคต
 หรืออีกความหมายหนึ่ง ตถาคตคือธรรมกาย ถ้าจะเห็นตถาคตได้ถูกต้องจริงๆ ก็ต้องเห็นให้ถึงธรรมกาย
 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต (ธมฺมกาโย โข ตถาคโต) ”
 ปรากฏในอรรถกถาวักกลิสูตรที่ 5 ความว่า
       ในบทว่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ (ดูก่อนวักกลิผู้ใดห็นธรรม) นี้ 
พึงทราบอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมกายที่ตรัสไว้ว่า
 “ขอถวายพระพรมหาบพิตร ธรรมกายแลคือพระตถาคต (ตถาคตคือธรรมกาย) 
ความจริงโลกุตรธรรม 9 อย่าง (มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1) ชื่อว่า พระกายของพระตถาคต
โย โข วกฺกลิ ธมฺมนฺติ อิธ ภควา "ธมฺมกาโย โข มหาราช ตถาคโต"ติ วุตฺตํ ธมฺมกายตํ ทสฺเสติ. 
นววิโธ หิ โลกุตฺตรธมฺโม ตถาคตสฺส กาโย นาม.
ทำไมพระตถาคตจึงชือว่าธรรมกาย หรือทำไม ธรรมกายแลคือพระตถาคต?
                   ในเรื่องปรากฏเรื่องราวในอัคคัญสูตร ปาฏิกวรรคที่วาเสฏฐะ
และภารทวาชะจากตระกูลพราหมณ์บวชเป็นสามเณรแล้วโดนพวกพราหมณ์ด่าอย่างเสียหายมากมาย
 ในเรื่องชาติตระกูลพราหมณ์สูงกว่าคนอื่น พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้เห็นทำนองว่า 
ไม่ว่าเกิดในชาติตระกูลวรรณะใด ถ้าทำไม่ดีผิดศีลธรรมเป็นต้นก็ไม่ประเสริฐเลย แล้วตรัสสอนว่า 
"เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า" 
ถ้ามีธรรมดีปฏิบัติตนดีแม้จะเกิดในสกุลไหนก็ตามเช่นออกบวชแล้ว แม้พระราชายังถวายความเคารพนับถือได้เช่นกัน
              และเมื่อออกบวชแล้วก็เป็นพวกพระสมณศากยบุตร 
คือเหมือนเป็นลูกของพระพุทธเจ้าหรือของพระคถาคตดังที่ตรัสไว้ว่า
 "พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ 
เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกัน 
พากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็นพวกไหน 
เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตรดังนี้เถิด
        ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล 
มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง 
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้
 ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค 
เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม 
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ"
ถอดความจาก http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=1703&Z=2129
   และเพราะเหตุไร พระตถาคตจึงชื่อว่าธรรมกาย
 เพราะทรงดำริพุทธพจน์คือธรรมแล้วนำออกมาแสดง ฉะนั้นพระองค์จึงเป็นธรรมกาย 
ปรากฏในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี ภาค ๓ ฉบับมหาจุฬาฯ ข้อ ๑๑๘ หน้า ๕๐ ซึ่งขยายความในอัคคัญสูตร ปาฏิกวรรคว่า
          ตตฺถ "ธมฺมกาโย อิติปิ"ติ กสฺมา ตถาคโต "ธมฺมกาโย"ติ วุตฺโต. ตถาคโต หิ เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ หทเยน จินฺเตตฺวา วาจาย อภินีหริ. เตนสฺส กาโย ธมฺมมยตฺตา ธมฺโมว. อิติ ธมฺโม กาโย อสฺสาติ ธมฺมกาโย. ธมฺมกายตฺตาเอว พฺรหฺมกาโย. ธมฺโม หิ เสฏฺฐฏฺเฐน พฺรหฺมาติ วุจฺจติ. ธมฺมภูโตติ ธมฺมสภาโว. ธมฺมภูตตฺตาเอว พฺรหฺมภูโต.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่