คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เวลา 12.30 น.
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เวลา 12.30 น.
Live แถลงข่าวการให้บริการฉีดวัดซีนโควิด-19 แก่ผู้ที่ถูกเลื่อนจากการลงทะเบียนหมอพร้อม ระหว่างเดือนมิถุนายน
ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ศูนย์ฉีดวัดซีนกลางบางซื่อ
[ 15 มิถุนายน 2564 ]
https://www.facebook.com/643148052494633/videos/177588717644362/ (มีคลิป)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/345397837078547
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันอังคาร 15 มิถุนายน 2564
ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 3,000 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 202,264 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 1,814 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 640 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 5 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้ 541 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 55,467 ราย)
เสียชีวิตรวม 1,485 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 19 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 162,718 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 4,774 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 38,061 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 2,355 ราย มีรายละเอียดดังนี้ จากกรุงเทพฯ(872) ปริมณฑล (845) จังหวัดอื่น ๆ (638)
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 5 ราย และเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่กรุงเทพฯ(2) ชลบุรี(1) สมุทรปราการ(1) และ จันทบุรี(1) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศญี่ปุ่น 1 ราย
- จากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย
- จากประเทศซาอุดิอาระเบีย 1 ราย
- จากประเทศเบลเยียม 1 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 1 ราย
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 177 ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 3.8 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.16 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 161 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 91.06)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10,010 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 615,232 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 29.5 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 62,597 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 28.2 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 95.6
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 79 และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 94 ของโลก
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 145,826 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 196 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 3,248 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 662,457 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 4,949 ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 38,969 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 348 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 2,010 ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 127 ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 272 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 59 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/3892962487495961
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เวลา 12.30 น.
Live แถลงข่าวการให้บริการฉีดวัดซีนโควิด-19 แก่ผู้ที่ถูกเลื่อนจากการลงทะเบียนหมอพร้อม ระหว่างเดือนมิถุนายน
ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ศูนย์ฉีดวัดซีนกลางบางซื่อ
[ 15 มิถุนายน 2564 ]
https://www.facebook.com/643148052494633/videos/177588717644362/ (มีคลิป)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2564
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/345397837078547
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันอังคาร 15 มิถุนายน 2564
ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 3,000 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 202,264 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 1,814 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 640 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 5 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้ 541 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 55,467 ราย)
เสียชีวิตรวม 1,485 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 19 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 162,718 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 4,774 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 38,061 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 2,355 ราย มีรายละเอียดดังนี้ จากกรุงเทพฯ(872) ปริมณฑล (845) จังหวัดอื่น ๆ (638)
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 5 ราย และเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่กรุงเทพฯ(2) ชลบุรี(1) สมุทรปราการ(1) และ จันทบุรี(1) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศญี่ปุ่น 1 ราย
- จากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย
- จากประเทศซาอุดิอาระเบีย 1 ราย
- จากประเทศเบลเยียม 1 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 1 ราย
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 177 ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 3.8 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.16 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 161 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 91.06)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10,010 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 615,232 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 29.5 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 62,597 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 28.2 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 95.6
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 79 และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 94 ของโลก
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 145,826 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 196 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 3,248 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 662,457 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 4,949 ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 38,969 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 348 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 2,010 ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 127 ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 272 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 59 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/3892962487495961
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💝15มิ.ย. หายป่วยสูงลิ่วค่ะ 4,774คน ป่วยใหม่ 3,000คน เสียชีวิต19คน/'ภูมิคุ้มกันหมู่'แค่ไหน ถึงจะสู้'โควิดได้
การระบาดของ ไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 15 มิ.ย. 64 ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 3,000 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,360 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 640 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 202,264 ราย
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 19 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 1,391 ราย ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 1,485 ราย
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943512
ต้องมี'ภูมิคุ้มกันหมู่'แค่ไหน ถึงจะสู้'ไวรัสโควิด' ได้
ตามหลักการแล้ว เมื่อใดก็ตามที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดได้มากกว่า 60-75% จึงจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ และเมื่อถึงตอนนั้น จะทำให้การแพร่ระบาดของไวรัสน้อยลง
ศ.ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ (หน่วยงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างไบโอเทค และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เล่าในวันเทคนิคการแพทย์ไทย ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในประเด็น “เปิดความนัยภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด”
✔"ภูมิคุ้มกัน"ทำงานอย่างไร
"ระบบภูมิคุ้มกัน" เป็นระบบของร่างกายที่คอยมองหาเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อมีเชื้อโรคเข้ามา จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงาน ระบบภูมิคุ้มกันจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ เมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้น จะสามารถจับได้อย่างจำเพาะกับเชื้อโรคที่กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน
แต่ภูมิคุ้มกันไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด ต้องใช้เวลาสร้างประมาณ 2 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นสามารถยับยั้งเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่เซลล์เป้าหมายและทำลายเชื้อโรคได้
อาจารย์วัชระ บอกว่า วัคซีนโควิดที่นักวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้น อาศัยแนวคิดที่ว่านำไวรัสโควิดที่ไม่ก่อโรค หรือส่วนของไวรัสโควิดมาฉีดเข้าร่างกาย กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นล่วงหน้า ให้ภูมิคุ้มกันมาดักทำลายเชื้อโรคเมื่อได้รับเชื้อโควิดในเวลาต่อมา
"ไวรัสโควิดเป็นไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา บางทีเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตายไป บางทีเปลี่ยนแปลงแล้วน่ากลัวกว่าเดิม กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ดุร้ายยิ่งขึ้น
ตอนนี้ไวรัสโควิดมีการกลายพันธุ์ไปมากแล้ว จนไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมแทบหาไม่เจอแล้ว แต่วัคซีนที่เราใช้อยู่ ออกแบบและพัฒนามาโดยอาศัยไวรัสสายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นต้นแบบ
ภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นด้วยวัคซีน จะสู้กับเชื้อโควิดกลายพันธุ์ได้ไหม อันนี้น่าคิด แต่ไม่ต้องตกใจ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้าอย่างมาก ผมว่าเราสู้โควิดได้ นักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาวัคซีนรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสู้กับไวรัสสายพันธุ์ใหม่”
นอกจากนี้ อาจารย์วัชระยังเล่าถึงการดีไซน์วัคซีนโควิดของจีนว่า พวกเขาเอาไวรัสโควิดมาเลี้ยงเยอะๆ แล้วฆ่ามันให้ตาย จากนั้นนำมาฉีดเป็นวัคซีนให้คน
“เป็นวัคซีนเชื้อตายไม่ก่อให้เกิดโรค การเอาไวรัสมาฆ่าแล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ แต่ต้องกระตุ้นหลายครั้ง และอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันไม่ครบทุกส่วน อาจขาดการกระตุ้นทีเซลล์นักฆ่า จริงๆ เทคโนโลยีแบบนี้มีใช้มานานแล้ว วัคซีนแบบนี้คือ วัคซีน ซิโนแวค และซิโนฟาร์ม”
✔การดีไซน์วัคซีน
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ประเทศตะวันตก พัฒนาวัคซีนอีกรูปแบบหนึ่ง โดยการนำ Adenovirus (ไวรัสชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ไวรัสโควิด) มาปรับแต่งพันธุกรรม ไม่ทำให้เกิดโรค แต่จะไปบอกเซลล์ในร่างกายให้สร้างโปรตีนหนามหรือโปรตีน Spike
ของไวรัสโควิด
วัคซีนแบบนี้กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทุกรูปแบบที่ร่างกายมี เป็นเทคนิคที่ใช้ในวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า สปุตนิค วี และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
ส่วนการดีไซน์วัคซีนอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การสร้างพันธุกรรม mRNA ที่กำหนดการสร้างโปรตีนหนามของไวรัสโควิด แล้วฉีดเข้าไปเลย เทคโนโลยีวัคซีน mRNA นี้ใช้ในวัคซีน ไฟเซอร์ และโมเดอร์น่า
“ผมมั่นใจว่าการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน สามารถป้องกันไวรัสโควิดได้ แต่วัคซีนจากเชื้อตายจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีนัก ฉีดครั้งเดียวไม่ได้ ใครที่ฉีดซิโนแวคจะต้องฉีดครั้งต่อไป
ส่วนเทคโนโลยีวัคซีน mRNA เพิ่งมีการนำมาใช้ครั้งแรกในโลก ถ้าถามว่าจะมีผลข้างเคียงระยะยาวไหม ขอตอบว่ายังไม่รู้ แต่ก่อนที่พวกเขาจะดีไซน์เป็นวัคซีนและนำมาใช้ คงได้กางทฤษฎีและพิจารณาอย่างดีแล้ว ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่นี่เป็นทฤษฎี เหตุการณ์จริงไม่มีใครรู้” อาจารย์วัชระ กล่าว
✔เรื่องสำคัญคือ ภูมิคุ้มกันหมู่
ถ้าจะไม่ให้ไวรัสแพร่เชื้อต่อไป คนในประเทศต้องมีภูมิคุ้มกันหมู่ ประมาณ 60-75% ของประชากรทั้งหมดซึ่งต้องได้รับวัคซีน อาจารย์วัชระ ยกตัวอย่างว่า ถ้าคน 80% ไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่คน 20% มีภูมิคุ้มกัน เชื้อก็จะระบาดในกลุ่ม 80% อย่างนี้ไม่สามารถจะหยุดโรคระบาดได้
“แม้จะมีคนที่มีภูมิคุ้มกัน 50% ของประชากร ก็ยังไม่สามารถป้องกันการระบาดของโรคได้ แบบนี้เรียกว่าไม่มีภูมิคุ้มกันหมู่
ถ้าเมื่อใดก็ตามประชากรมีภูมิคุ้มกันจำนวนมากๆ ไวรัสก็จะไม่มีที่ไป แม้จะมีคนไม่มีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง จำนวนน้อยๆ ไวรัสก็จะไม่สามารถแพร่กระจายต่อเนื่องจากคนต่อคนได้
ผมเชื่อว่าในอนาคตจะมีวัคซีนที่ป้องกันไวรัสโควิดได้ พวกเราต้องฉีดวัคซีน ถ้ายังมีใครคิดว่าจะไม่ฉีดวัคซีน โอกาสจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ก็ยากขึ้น
✔ตรวจภูมิคุ้มกันโควิดอย่างไร
มีคำถามที่พบบ่อย ฉีดวัคซีนโควิดแล้วมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นไหม จะตรวจอย่างไร
อาจารย์วัชระ เน้นว่า ปัจจุบันชุดตรวจภูมิคุ้มกันโควิดมี 2 แบบ คือ ชุดตรวจภูมิคุ้มกันเพื่อการวินิจฉัยโรค เป็นชุดตรวจที่ใช้ตรวจสอบว่าคนนั้นๆ เคยติดเชื้อโควิดหรือไม่ ชุดตรวจนี้ไม่เหมาะที่จะนำมาตรวจภูมิคุ้มกันจากการฉีดว้คซีน
และชุดตรวจอีกชนิดหนึ่งคือ ชุดตรวจที่ออกแบบมา เพื่อตรวจภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ ชุดตรวจแบบนี้จึงสามารถนำมาใช้ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด เพื่อประเมินผลของวัคซีนได้
มีคำถามอีกว่า ทำไมฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แล้วตรวจภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น แต่บางคนฉีดซิโนแวคตรวจภูมิคุ้มกันขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา บอกว่า ในทางทฤษฎีแล้วหลังฉีดวัคซีน ภูมิคุ้มกันจะสร้างขึ้นในสองสัปดาห์ แต่บางคนอาจนานกว่านั้น เป็นเดือนก็มีเหมือนกัน ปัญหาที่ตรวจภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเลือกชุดตรวจผิด
“ต้องเลือกชุดตรวจให้ถูกต้อง หากใช้ชุดตรวจสำหรับเช็คภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน N (Nucleocapsid protein) ถ้านำมาตรวจคนที่ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า ก็จะไม่เจอ(ผลลบ) เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนาม (โปรตีน Spike)
แต่ชุดตรวจนี้คนที่ฉีดซิโนแวค อาจจะให้ผลบวก เพราะมีภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน N แต่ถ้าใช้ชุดตรวจภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนาม ก็จะให้ผลบวกทั้งสองวัคซีน”
ดังนั้น การตรวจภูมิคุ้มกันโควิด จึงต้องเลือกชุดตรวจที่เหมาะสม
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/943603
https://news.thaipbs.or.th/content/305168
ตัวเลขหายป่วยมากกว่าป่วยใหม่ ทำให้จำนวนที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลง ในตอนนี้เหลือประมาณสามหมื่นกว่าคน
ลดภาระให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยมานานนับเดือนค่ะ