คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
เบื้องหลังวัคซีนฉุกเฉิน: ‘ผลิตไป, ส่งมอบไป, ฉีดไป’
เบื้องหลังการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทย, AstraZeneca และ Siam Bioscience ค่อนข้างจะไม่เหมือนความสัมพันธ์รัฐและธุรกิจในยามปกติ
เพราะวิกฤติโควิด-19 นำมาซึ่งความผิดปกติในเกือบทุกมิติของการประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ
สัมผัสความงามของฤดูใบไม้ผลิในญี่ปุ่น หรือ ชุนบุน (Shunbun) กับ Grand Seiko SBGJ251Grand Seiko
ข่าวคราวที่ออกมาบ่อยครั้งก็เป็นเพียงแค่ภาพภายนอกที่เห็น แต่ข้างหลังภาพนั้นมีหลายรายละเอียดที่น่าสนใจ
วันก่อนผมคุยในรายการ Suthichai Live กับ นพ. นคร เปรมศรี, ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อสอบถามถึงความเป็นไปที่ไม่ค่อยจะได้รับรู้ระหว่างกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตวัคซีนให้ไทยเราในวันนี้และวันข้างหน้า
คุณหมอเริ่มโดยบอกว่า ต้องยอมรับร่วมกันก่อนว่านี่เป็นสภาพของการทำงานที่มีความไม่แน่นอนสูงตลอด
“ตามข้อตกลงในการทำงานร่วมกันนั้น กระทรวงสาธารณสุขของเราจะส่งแผนกำลังการฉีดวัคซีนของเราไปให้ AstraZeneca จากนั้นเขาก็จะไปดูว่าเขาจะมีแผนการผลิตวัคซีนได้เท่าไหร่เพื่อให้สอดคล้องต้องกัน...”
เป็นสถานการณ์ที่คุณหมอนครบอกว่าเป็นลักษณะ “ผลิต (วัคซีน) ไปใช้ไป”
กำลังการผลิตของ AstraZeneca ในไทยคือของ Siam Bioscience ก็จะอยู่ในลักษะของการค่อยๆ เพิ่มขึ้น
เมื่อแผนการผลิตเริ่มคงที่ การส่งมอบก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น
“ดังนั้นที่เราบอกว่า 6 ล้านโดสบ้าง 10 ล้านโดสบ้างนั้น คือแผนที่เราส่งไปให้เขา...”
อีกด้านหนึ่งก็ต้องเข้าใจด้วยว่า Siam Bioscience ซึ่งรับจ้างผลิตให้ AstraZeneca นั้น มีพันธสัญญาที่ต้องผลิตเพื่อส่งไปให้ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วย
“เขาก็จะเปิดแผนให้เราดูว่าผลิตได้เท่าไหร่ ส่งให้ไทยได้เท่าไหร่และส่งออกไปเท่าไหร่...เราเป็น Hub การผลิต และมี 8 ประเทศในภูมิภาคนี้ที่ขอเข้าถึงวัคซีนที่ผลิตในไทยให้เขา...บางประเทศจองซื้อมากกว่าไทยเราด้วยซ้ำ เป็น 100 ล้านโดส”
สถานภาพของ Siam Bioscience คือ Contract Manufacturing Organization (CMO) หรือองค์กรที่รับจ้างผลิตที่ต้องได้มาตรฐานระดับโลกที่เขาต้องการ
“ความจริง มีอีกหลายประเทศที่อยากจะได้สัญญากับ AstraZeneca แบบ Siam Bioscience แต่เขาเลือกเราเพราะศักยภาพที่จะทำตามมาตรฐานระดับสากลได้” คุณหมอนครเล่า
คุณหมอบอกว่า เมื่อ Siam Bioscience ส่งมอบวัคซีนที่ผลิตให้กับ AstraZeneca เขาก็บอกว่าส่งมอบให้ไทยก่อนและจะส่งออกไปในเดือนกรกฎาคม
“ตัวเลขที่เราได้ยินพูดๆ กันนั้นคือแผนฝ่ายเรา ส่วนแผนการส่งมอบนั้น...”
ดั่งที่นายเจมส์ ทีก กรรมการผู้จัดการของ AstraZeneca (Thailand) พูดในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา
ตัวเลขการผลิต, การฉีดและส่งมอบต้องพูดกันเป็นรายสัปดาห์
“เป็นการทำงานบนพื้นฐานของ partnership หรือแบบกัลยาณมิตร เพราะเราต้องมีความเข้าใจต่อกัน...”
เขาบอกฝ่ายไทยว่าทุกชีวิตที่อยู่ในสัญญาซื้อขายกับเขานั้น “มีค่าเท่านั้นหมด”
ผมถามคุณหมอนครว่าฝ่าย AstraZeneca บอกได้หรือไม่ว่าความสามารถในการผลิตเต็มที่ของเขาคือเท่าไหร่
“มันออกมาในรูปของการประเมินมากกว่าเพราะ Siam Bioscience เพิ่งเริ่มงานผลิตวัคซีน แต่ผมต้องยืนยันว่าตั้งแต่เริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก AstraZeneca มาให้ฝ่าย Siam Bioscience ในช่วงแค่ 6 เดือนนั้น มองในมุมของผมในฐานะวิชาการมันคืออเมซิ่งแล้วนะ เป็นเรื่องน่าทึ่ง...”
คุณหมอนครบอกว่าคนที่เกี่ยวข้องทำงาน 24 ชั่วโมงกันจริงๆ ทั้งฝ่ายถ่ายทอดและฝ่ายรับเทคโนโลยีก็ทำงานกัน 24 ชั่วโมง โดยคุยผ่านออนไลน์กันได้ เขามีผู้เชี่ยวชาญที่ประจำอยู่หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีอยู่ 3 แห่ง 3 ไทม์โซน ที่ออสเตรเลีย, ยุโรปและอเมริกา
“ก็ต้องเปลี่ยนกะกันมาแลกเปลี่ยนกันทั้งสองฝ่าย ถือได้ว่ามีการถ่ายทอดเทคโนโลยีตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา...”
เรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังฉากอย่างนี้เราไม่ค่อยจะได้รับรู้กัน
แต่ในภาวะของวิกฤติที่ความไม่แน่นอนสูงและเปลี่ยนได้ตลอดเวลา การผลิตและส่งมอบกับการกระจายและฉีดวัคซีนจึงมีรายละเอียดที่ควรแก่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไม่น้อยเลย
https://www.thaipost.net/main/detail/105953
เบื้องหลังการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทย, AstraZeneca และ Siam Bioscience ค่อนข้างจะไม่เหมือนความสัมพันธ์รัฐและธุรกิจในยามปกติ
เพราะวิกฤติโควิด-19 นำมาซึ่งความผิดปกติในเกือบทุกมิติของการประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ
สัมผัสความงามของฤดูใบไม้ผลิในญี่ปุ่น หรือ ชุนบุน (Shunbun) กับ Grand Seiko SBGJ251Grand Seiko
ข่าวคราวที่ออกมาบ่อยครั้งก็เป็นเพียงแค่ภาพภายนอกที่เห็น แต่ข้างหลังภาพนั้นมีหลายรายละเอียดที่น่าสนใจ
วันก่อนผมคุยในรายการ Suthichai Live กับ นพ. นคร เปรมศรี, ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อสอบถามถึงความเป็นไปที่ไม่ค่อยจะได้รับรู้ระหว่างกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตวัคซีนให้ไทยเราในวันนี้และวันข้างหน้า
คุณหมอเริ่มโดยบอกว่า ต้องยอมรับร่วมกันก่อนว่านี่เป็นสภาพของการทำงานที่มีความไม่แน่นอนสูงตลอด
“ตามข้อตกลงในการทำงานร่วมกันนั้น กระทรวงสาธารณสุขของเราจะส่งแผนกำลังการฉีดวัคซีนของเราไปให้ AstraZeneca จากนั้นเขาก็จะไปดูว่าเขาจะมีแผนการผลิตวัคซีนได้เท่าไหร่เพื่อให้สอดคล้องต้องกัน...”
เป็นสถานการณ์ที่คุณหมอนครบอกว่าเป็นลักษณะ “ผลิต (วัคซีน) ไปใช้ไป”
กำลังการผลิตของ AstraZeneca ในไทยคือของ Siam Bioscience ก็จะอยู่ในลักษะของการค่อยๆ เพิ่มขึ้น
เมื่อแผนการผลิตเริ่มคงที่ การส่งมอบก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น
“ดังนั้นที่เราบอกว่า 6 ล้านโดสบ้าง 10 ล้านโดสบ้างนั้น คือแผนที่เราส่งไปให้เขา...”
อีกด้านหนึ่งก็ต้องเข้าใจด้วยว่า Siam Bioscience ซึ่งรับจ้างผลิตให้ AstraZeneca นั้น มีพันธสัญญาที่ต้องผลิตเพื่อส่งไปให้ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วย
“เขาก็จะเปิดแผนให้เราดูว่าผลิตได้เท่าไหร่ ส่งให้ไทยได้เท่าไหร่และส่งออกไปเท่าไหร่...เราเป็น Hub การผลิต และมี 8 ประเทศในภูมิภาคนี้ที่ขอเข้าถึงวัคซีนที่ผลิตในไทยให้เขา...บางประเทศจองซื้อมากกว่าไทยเราด้วยซ้ำ เป็น 100 ล้านโดส”
สถานภาพของ Siam Bioscience คือ Contract Manufacturing Organization (CMO) หรือองค์กรที่รับจ้างผลิตที่ต้องได้มาตรฐานระดับโลกที่เขาต้องการ
“ความจริง มีอีกหลายประเทศที่อยากจะได้สัญญากับ AstraZeneca แบบ Siam Bioscience แต่เขาเลือกเราเพราะศักยภาพที่จะทำตามมาตรฐานระดับสากลได้” คุณหมอนครเล่า
คุณหมอบอกว่า เมื่อ Siam Bioscience ส่งมอบวัคซีนที่ผลิตให้กับ AstraZeneca เขาก็บอกว่าส่งมอบให้ไทยก่อนและจะส่งออกไปในเดือนกรกฎาคม
“ตัวเลขที่เราได้ยินพูดๆ กันนั้นคือแผนฝ่ายเรา ส่วนแผนการส่งมอบนั้น...”
ดั่งที่นายเจมส์ ทีก กรรมการผู้จัดการของ AstraZeneca (Thailand) พูดในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา
ตัวเลขการผลิต, การฉีดและส่งมอบต้องพูดกันเป็นรายสัปดาห์
“เป็นการทำงานบนพื้นฐานของ partnership หรือแบบกัลยาณมิตร เพราะเราต้องมีความเข้าใจต่อกัน...”
เขาบอกฝ่ายไทยว่าทุกชีวิตที่อยู่ในสัญญาซื้อขายกับเขานั้น “มีค่าเท่านั้นหมด”
ผมถามคุณหมอนครว่าฝ่าย AstraZeneca บอกได้หรือไม่ว่าความสามารถในการผลิตเต็มที่ของเขาคือเท่าไหร่
“มันออกมาในรูปของการประเมินมากกว่าเพราะ Siam Bioscience เพิ่งเริ่มงานผลิตวัคซีน แต่ผมต้องยืนยันว่าตั้งแต่เริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก AstraZeneca มาให้ฝ่าย Siam Bioscience ในช่วงแค่ 6 เดือนนั้น มองในมุมของผมในฐานะวิชาการมันคืออเมซิ่งแล้วนะ เป็นเรื่องน่าทึ่ง...”
คุณหมอนครบอกว่าคนที่เกี่ยวข้องทำงาน 24 ชั่วโมงกันจริงๆ ทั้งฝ่ายถ่ายทอดและฝ่ายรับเทคโนโลยีก็ทำงานกัน 24 ชั่วโมง โดยคุยผ่านออนไลน์กันได้ เขามีผู้เชี่ยวชาญที่ประจำอยู่หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีอยู่ 3 แห่ง 3 ไทม์โซน ที่ออสเตรเลีย, ยุโรปและอเมริกา
“ก็ต้องเปลี่ยนกะกันมาแลกเปลี่ยนกันทั้งสองฝ่าย ถือได้ว่ามีการถ่ายทอดเทคโนโลยีตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา...”
เรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังฉากอย่างนี้เราไม่ค่อยจะได้รับรู้กัน
แต่ในภาวะของวิกฤติที่ความไม่แน่นอนสูงและเปลี่ยนได้ตลอดเวลา การผลิตและส่งมอบกับการกระจายและฉีดวัคซีนจึงมีรายละเอียดที่ควรแก่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไม่น้อยเลย
https://www.thaipost.net/main/detail/105953
แสดงความคิดเห็น
↔️มาลาริน/โฆษกสธ.พูดเอง..แผนจัดการวัคซีน คือปัญหา การทยอยเข้าปท.ไม่แน่นอน แต่ต้องกระจาย 77จว.วอนผู้โจมตีขอเข้าใจข้อจำกัด
วันที่ 11 มิถุนายน 2564 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัวระบุว่า“ความจริง เรื่อง วัคซีนโควิด 19 เข้ามาทีละนิด แถมต้องคิดเผื่อเข็ม 2”
• แผนบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 หลังจากมีข่าวว่าบางจุดฉีด ไม่มีวัคซีนให้บริการโดยระบุว่า.....👇
1) วัคซีนโควิด 19 ประเทศไทย ในภาพรวมจัดหามา เพียงพอต่อความต้องการอย่างแน่นอน จะไม่มีประชาชนถูกละเลย ทั้งนี้ หากวัคซีนมาทีละหลัก 5-10 ล้านโดส การจัดการจะง่าย หารเอาจากจำนวนวัคซีนที่มีอยู่ได้เลย
พบปัญหาคือ....👇
1) วัคซีนทยอยมาเป็นหลักแสนโดสบ้าง เป็นหลัก 1 ล้านโดสเศษบ้าง และไม่ได้เข้ามาในวันที่แน่นอน แต่ต้องกระจายให้ 77 จังหวัดทั่วประเทศ
• กระทรวงสาธารณสุขต้องจัดการจากวัคซีนที่ได้รับมาอย่างจำกัด ไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม
- การบริหารจัดการ ต้องคำนึงถึงความต้องการของแต่ละพื้นที่ ที่ไม่เท่ากัน
- พื้นที่ที่มีการระบาดมาก ย่อมต้องการมาก พื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบอย่างสาหัส ย่อมต้องการมาก
2) วัคซีนโควิด 19 ต้องฉีด 2 เข็ม ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานขอให้คำนวณการให้บริการที่ต้องสอดคล้องกับความสามารถในการฉีด และจำนวนวัคซีนที่จะเข้ามาแต่ละล็อต หากโรงพยาบาลหนึ่งฉีดเข็ม 1 ให้ประชาชนจบในวันเดียว 2 พันโดส หากวันที่ต้องฉีดเข็ม 2 มีประชาชนที่ต้องมารับบริการเข็ม 1 จำนวน 1 พันโดส เท่ากับต้องฉีดรวดเดียวทั้งเข็ม 1-2 ถึง 3 พันโดส จะเกินพละกำลังไปหรือไม่ ตรงนี้ผู้ให้บริการต้องวางแผนให้ละเอียด
3) การโจมตีเรื่องการเลื่อนการฉีด ไปถึงวัคซีนหมด ก็ต้องขอให้เข้าใจข้อจำกัดในการทำงาน
กระทรวงสาธารณสุข ขอขอบคุณประชาชน ที่มารับบริการวัคซีน รวมถึงคนทำงาน ที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ หากมีปัญหาประการใด ทางกระทรวงฯ ขอน้อมรับไว้ และหาทางแก้ไขตามข้อเท็จจริง และเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม"
นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ
ที่ปรึกษาระดับกระทรวง รก.11
และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข
https://www.naewna.com/local/579482
พิจารณากันตามที่คุณหมอ โฆษกสธ.ท่านชี้แจงมาเลยค่ะ
จะเข้าใจหรือไม่ ทางสธ.ก็ได้ชี้แจงแล้ว
การโดนตำหนิติเตียนเป็นปกติของคนทำงานที่ไม่อาจทำให้ถูกใจคนทั้งหมด
แต่คนไม่ฟังเหตุผลคือดื้อรั้น จะเอาชนะ เพื่อความสะใจ แก้ไขอะไรได้ไหม ไม่ทราบ...?
ลองพิจารณาดูตัวเราเถอะค่ะ บางครั้งเราก็ยังทำงานผิดพลาดได้
หมอออกมาพูดเอง...หวังว่าจะผ่อนคลายความโกรธลงไป(หรือจะเพิ่มก็ไม่ทราบค่ะ)
สำหรับมาลารินคนเชียร์ลุงตู่....เข้าใจดีในข้อจำกัดนี้ดี