คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
25 ส.ค.64 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีที่มีตัวเลขการฉีดวัคซีนของคนไทย 28 ล้านโดส แต่ได้ตั้งเป้า 100 ล้านโดส ภายในปี 64 เหลือเวลาอีกเพียง 4 เดือนเท่านั้น การจัดหาวัคซีน การบริหารจัดการ และการให้บริการต่างๆคิดว่าจะทันตามเป้าที่วางไว้หรือไม่
โดย พญ.อภิสมัย กล่าวว่า นโยบายรัฐบาล ศบค. กำหนดให้ปี 64 จะมีการฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดส คิดตามอัตราส่วนประชากร 50 ล้านคน อัตราฉีดอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านโดสต่อเดือน ดังนั้นต้องฉีดให้ได้ 5 แสนโดสต่อวัน จะเห็นได้ว่าอัตราฉีดของประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเราทำได้เกิน 5 แสนโดสต่อวัน ดังนั้น ยังอยู่ในแผนการจัดการ แต่สิ่งที่สำคัญ การฉีดวัคซีนที่จะสามารถทำได้ตามแผนจะต้องมีการจัดหาวัคซีนให้ทันกับการฉีดด้วย จากการที่เราเริ่มฉีดเข็มแรกในวันที่ 7 มิ.ย. หลายคนจะครบฉีดเข็มสองในเดือนก.ย. ฉะนั้นการจัดหาวัคซีนช่วงเดือนส.ค. ยอดรวม 13.8 ล้านโดส ในจำนวนนี้เป็นซิโนแวค 6.5 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 5.8 ล้านโดส ไฟเซอร์ จากยอดบริจาค 1.5 ล้านโดส และรวมซิโนฟาร์ม 1 ล้านโดส ดังนั้น เดือนส.ค. เป็นไปตามแผนคือ ฉีดวันละ 5 แสนโดสขึ้นไป
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ส่วนเดือนก.ย. จะมีวัคซีนที่บางส่วนมาถึงแล้วและบางส่วนทยอยมารวมแล้ว 15 ล้านโดส ประกอบด้วย ซิโนแวค 6 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดส ไฟเซอร์จะมาเพิ่มอีก 2 ล้านโดส ส่วนต.ค.ซิโนแวคจะมาอีก 6 ล้านโดส ไฟเซอร์ 8 ล้านโดส และพ.ย. นั้นจะจัดสรรวัคซีนให้ได้รวมๆประมาณ 17 ล้านโดส
อย่างไรก็ตาม จากการที่รัฐบาลเจรจากับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า สะท้อนให้เห็นการแพร่ระบาดที่มีตัวเลขสูงขึ้นของประเทศไทยทางผู้ผลิตให้คำมั่นว่าจะจัดสรรให้พื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่เดือนก.ย.-ธ.ค. เป็นต้นไป เดือนละ 7 ล้านโดสเป็นอย่างน้อย คือ ถ้ามีกำลังผลิตได้มากขึ้น ประเทศไทยจะได้รับการจัดสรรที่มากขึ้นกว่านี้ ซึ่งไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ในเดือนส.ค.แล้ว ก.ย.มา 2 ล้านโดส ต.ค. 8 ล้านโดส พ.ย.และธ.ค. มาอีกเดือนละ 10 ล้านโดส
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า และสิ่งสำคัญกระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วงผู้สูงอายุและ 7 กลุ่มโรค เนื่องจากหลายคนไปที่จุดฉีดวัคซีนแล้วไม่มั่นใจวัคซีนซิโนแวค จึงขอย้ำว่าการใช้วัคซีนไขว้หรือวัคซีนผสมฉีดเข็มหนึ่งเป็นซิโนแวค ตามด้วยเข็มสองแอสตร้าเซนเนก้า จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงสามารถป้องกันโรค ป้องกันอัตราป่วยหนัก และป้องกันการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอเน้นย้ำให้ทุกคนมั่นใจเรื่องการจัดสรรวัคซีน เรื่องความปลอดภัยที่กระทรวงสาธารณสุขพยายามกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด
https://www.thaipost.net/main/detail/114506
25 ส.ค.64 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีที่มีตัวเลขการฉีดวัคซีนของคนไทย 28 ล้านโดส แต่ได้ตั้งเป้า 100 ล้านโดส ภายในปี 64 เหลือเวลาอีกเพียง 4 เดือนเท่านั้น การจัดหาวัคซีน การบริหารจัดการ และการให้บริการต่างๆคิดว่าจะทันตามเป้าที่วางไว้หรือไม่
โดย พญ.อภิสมัย กล่าวว่า นโยบายรัฐบาล ศบค. กำหนดให้ปี 64 จะมีการฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดส คิดตามอัตราส่วนประชากร 50 ล้านคน อัตราฉีดอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านโดสต่อเดือน ดังนั้นต้องฉีดให้ได้ 5 แสนโดสต่อวัน จะเห็นได้ว่าอัตราฉีดของประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเราทำได้เกิน 5 แสนโดสต่อวัน ดังนั้น ยังอยู่ในแผนการจัดการ แต่สิ่งที่สำคัญ การฉีดวัคซีนที่จะสามารถทำได้ตามแผนจะต้องมีการจัดหาวัคซีนให้ทันกับการฉีดด้วย จากการที่เราเริ่มฉีดเข็มแรกในวันที่ 7 มิ.ย. หลายคนจะครบฉีดเข็มสองในเดือนก.ย. ฉะนั้นการจัดหาวัคซีนช่วงเดือนส.ค. ยอดรวม 13.8 ล้านโดส ในจำนวนนี้เป็นซิโนแวค 6.5 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 5.8 ล้านโดส ไฟเซอร์ จากยอดบริจาค 1.5 ล้านโดส และรวมซิโนฟาร์ม 1 ล้านโดส ดังนั้น เดือนส.ค. เป็นไปตามแผนคือ ฉีดวันละ 5 แสนโดสขึ้นไป
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ส่วนเดือนก.ย. จะมีวัคซีนที่บางส่วนมาถึงแล้วและบางส่วนทยอยมารวมแล้ว 15 ล้านโดส ประกอบด้วย ซิโนแวค 6 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดส ไฟเซอร์จะมาเพิ่มอีก 2 ล้านโดส ส่วนต.ค.ซิโนแวคจะมาอีก 6 ล้านโดส ไฟเซอร์ 8 ล้านโดส และพ.ย. นั้นจะจัดสรรวัคซีนให้ได้รวมๆประมาณ 17 ล้านโดส
อย่างไรก็ตาม จากการที่รัฐบาลเจรจากับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า สะท้อนให้เห็นการแพร่ระบาดที่มีตัวเลขสูงขึ้นของประเทศไทยทางผู้ผลิตให้คำมั่นว่าจะจัดสรรให้พื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่เดือนก.ย.-ธ.ค. เป็นต้นไป เดือนละ 7 ล้านโดสเป็นอย่างน้อย คือ ถ้ามีกำลังผลิตได้มากขึ้น ประเทศไทยจะได้รับการจัดสรรที่มากขึ้นกว่านี้ ซึ่งไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ในเดือนส.ค.แล้ว ก.ย.มา 2 ล้านโดส ต.ค. 8 ล้านโดส พ.ย.และธ.ค. มาอีกเดือนละ 10 ล้านโดส
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า และสิ่งสำคัญกระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วงผู้สูงอายุและ 7 กลุ่มโรค เนื่องจากหลายคนไปที่จุดฉีดวัคซีนแล้วไม่มั่นใจวัคซีนซิโนแวค จึงขอย้ำว่าการใช้วัคซีนไขว้หรือวัคซีนผสมฉีดเข็มหนึ่งเป็นซิโนแวค ตามด้วยเข็มสองแอสตร้าเซนเนก้า จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงสามารถป้องกันโรค ป้องกันอัตราป่วยหนัก และป้องกันการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอเน้นย้ำให้ทุกคนมั่นใจเรื่องการจัดสรรวัคซีน เรื่องความปลอดภัยที่กระทรวงสาธารณสุขพยายามกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด
https://www.thaipost.net/main/detail/114506
แสดงความคิดเห็น
💚มาลาริน/เรื่องฉีดวัคซีนของไทยกำลังไปได้ตามเป้าค่ะ..เมื่อวาน(24ส.ค.)ก็ได้ 585,214 โดส ในอาเซียนก็ไล่ตามอันดับต้นๆมาติดๆ
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานยอดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนในวันที่ 24 ส.ค.64 เวลา 18.00 น. มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีน 585,214 โดส รายละเอียดดังนี้
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เพิ่มขึ้น (โดส) สะสมตั้งแต่ 7 มิ.ย.64 สะสมตั้งแต่ 28 ก.พ.64
24 ส.ค.64 585,214 24,097,138 28,197,659
เข็มที่ 1 400,825 18,461,251 21,231,498
เข็มที่ 2 175,026 5,075,263 6,405,537
เข็มที่ 3 9,363 560,624 560,624
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. กล่าวถึง แผนบริหารจัดการวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดสภายในปี 2564 ว่า ศบค. กำหนดให้ในปี 64 จะมีการฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดส ซึ่งคิดจากอัตราส่วนประชาชน 50 ล้านคน และอัตราการฉีดอยู่ที่ 15 ล้านโดส/ เดือน และต้องฉีดให้ได้ 5 แสนโดส/วัน ซึ่งอัตราการฉีดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สามารถฉีดได้เกินกว่า 5 แสนโดสถือว่า อยู่ในแผนการ บริหารจัดการ
ทั้งนี้ การจัดหาวัคซีนในเดือนส.ค.อยู่ที่ประมาณ 13.8 ล้านโดส แบ่งเป็นซิโนแวค 6.5 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 5.8 ล้านโดส ไฟเซอร์ที่ได้รับจากการบริจาค 1.5 ล้านโดส และชิโนฟาร์ม 1 ล้านโดส และสามารถฉีดได้ตามแผนวันละ 5 แสนโดสขึ้นไป และต้องมีการจัดหาวัคซีนให้ทันตามแผนด้วย ซึ่งในเดือนก.ย.ถือเป็นเดือนที่สำคัญ เพราะจากการเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ ผ่านมานั้น หลายคนจะครบกำหนดต้องฉีดเข็ม 2 ในเดือนก.ย. โดยมีวัคซีนที่จะเข้ามาแล้วประมาณ 15 ล้านโดส แบ่งเป็น ซิโนแวค 6 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดส ไฟเซอร์จะเข้าเพิ่ม 2 ล้านโดส
ส่วนในเดือน ต.ค.และพ.ย. จะมีการจัดสรรวัคซีนอยู่ที่ 17 ล้านโดส แบ่งเป็น ซิโนแวค 6 ล้านโดส แอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดส ไฟเซอร์จะเข้าเพิ่ม 8 ล้านโดส (ส่วน พ.ย.และธ.ค. ไฟเซอร์จะเข้ามาเดือนละ 10 ล้านโดส)
"จากการที่รัฐบาลเจรจากับแอสตร้าเซนเนก้าในส่วนของผู้ผลิต สะท้อนให้เห็นสถานการณ์การแพร่ระบาดมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูง ขึ้นของประเทศ แอสตร้าเซนเนก้าให้คำมั่นจะจัดสรรให้ลงพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่กันยายนเป็นต้นไปเดือนละ 7 ล้านโดสเป็นอย่างน้อย ถ้ามี กำลังมากขึ้นประเทศไทยจะได้รับการจัดสรรมากขึ้นกว่านี้ แต่ที่น้อยๆอย่างน้อยๆ ก.ย.ไปจนถึงธ.ค. แอสตร้าเซนเนก้าจะจัดส่งให้ได้เดือน ละ 7 ล้านโดส"พญ.อภิสมัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม พญ.อภิสมัย ยืนยันว่า กระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมและเตรียมรับมืออย่างเต็มที่ ทั้งในการจัดหาวัคซีน การเตรียมฉีดวัคซีน รวมถึงการจัดการขนส่ง
https://www.ryt9.com/s/iq01/3251030
ไทยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากกว่า 27.6 ล้านโดสแล้ว กทม.ฉีดวัคซีนเข็มแรกกว่า 84.9%
อว. เผยไทยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 27,612,445 โดส และทั่วโลกแล้ว 4,987 ล้านโดส ใน 203 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 233.94 ล้านโดส โดยจังหวัดของไทยที่ฉีดมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ โดยฉีดวัคซีนเข็มแรกกว่า 84.9%
วันนี้ (24 ส.ค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 4,987 ล้านโดส ใน 203 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 36.1 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 363 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 171 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว
ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 233.94 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (76.6% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 91.10 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 27,612,445 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 55.65%
ในการฉีดวัคซีน จำนวน 4,987 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ...👇
1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 27,612,445 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 20,830,673 โดส (31.5% ของประชากร)
-เข็มสอง 6,230,511 โดส (9.4% ของประชากร)
-เข็มสาม 551,261 โดส (0.8% ของประชากร)
2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 24 ส.ค. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 27,612,445 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 573,446 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 501,688 โดส/วัน
3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 9,315,125 โดส
- เข็มที่ 2 3,459,697 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 9,442,786 โดส
- เข็มที่ 2 1,905,095 โดส
- เข็มที่ 3 204,128 โดส
วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 1,888,983 โดส
- เข็มที่ 2 834,867 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 183,779 โดส
- เข็มที่ 2 30,852 โดส
- เข็มที่ 3 347,133 โดส
4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 122.2% เข็มที่2 106.2% เข็มที่3 77.4%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 54.1% เข็มที่2 32.9% เข็มที่3 0%
- อสม เข็มที่1 61.3% เข็มที่2 28.6% เข็มที่3 0%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 36.9% เข็มที่1 7.1% เข็มที่3 0%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 40.5% เข็มที่2 12.6% เข็มที่3 0%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 40% เข็มที่2 4.6% เข็มที่3 0%
- หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่1 5.1% เข็มที่2 0.4% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 41.7% เข็มที่2 12.5% เข็มที่3 1.1%
5. จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 62.7% เข็มที่2 15.5% เข็มที่3 1.1% ประกอบด้วย
- กรุงเทพฯ เข็มที่1 84.9% เข็มที่2 19.8% เข็มที่3 1.6%
- สมุทรสาคร เข็มที่1 39.3% เข็มที่2 16.3% เข็มที่3 0.5%
- นนทบุรี เข็มที่1 39% เข็มที่2 13.8% เข็มที่3 0.7%
- สมุทรปราการ เข็มที่1 43.4% เข็มที่2 9.3% เข็มที่3 0.6%
- ปทุมธานี เข็มที่1 42.2% เข็มที่2 9.7% เข็มที่3 0.5%
- นครปฐม เข็มที่1 25.8% เข็มที่2 6.6% เข็มที่3 0.7%
จังหวัดอื่น ๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 20.1% เข็มที่2 6.9% เข็มที่3 0.7%
- ชลบุรี เข็มที่1 34.8% เข็มที่2 11.4% เข็มที่3 1.0%
- พระนครศรีอยุธยา เข็มที่1 24.7% เข็มที่2 6.4% เข็มที่3 0.4%
- สงขลา เข็มที่1 28% เข็มที่2 8.9% เข็มที่3 1.2%
- ยะลา เข็มที่1 29.8% เข็มที่2 9.3% เข็มที่3 0.7%
- ปัตตานี เข็มที่1 23.1% เข็มที่2 7.1% เข็มที่3 0.5%
- ฉะเชิงเทรา เข็มที่1 46.3% เข็มที่2 8% เข็มที่3 0.6%
6. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 233,945,758 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 91,109,808 โดส (21.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. มาเลเซีย จำนวน 31,792,363 โดส (56.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
3. ฟิลิปปินส์ จำนวน 30,693,019 โดส (15.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
4. ไทย จำนวน 27,612,445 โดส (31.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. กัมพูชา จำนวน 18,326,954 โดส (58.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
6. เวียดนาม จำนวน 17,065,896 โดส (15.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
7. สิงคโปร์ จำนวน 8,746,612 โดส (76.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
8. พม่า จำนวน 4,456,857 โดส (4.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
9. ลาว จำนวน 3,874,672 โดส (29.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 246,716 โดส (41%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ
https://mgronline.com/qol/detail/9640000083636
เป้าหมายไม่ไกลสุดเอื้อม เพราะวัคซีนมิใช่ดวงจันทร์อันแสนไกล หรือดวงดาวอันไกลโพ้น
แต่คือวัคซีนสิ่งที่ไม่ไกลเป้าหมายที่ได้วางไว้ แม้จะหายากในระยะแรกๆ
"วัคซีน นั้นหายาก ต้องลำบากออกเรือไป ขนส่งจากแดนไกล ใช้น้ำแข็ง เปลืองน้ำมัน แช่เย็นต้องเสียไฟ วัคซีนใช้ เงิน ทั้งนั้น โควิดทำหมดกัน โอ้ลูกหลานจำจงดี ”
อีก 4 เดือน ในที่สุดเรากำลังเอื้อมมือแตะจะถึงเป้าหมายกันแล้วนะคะ
มีกำลังใจให้สู้ค่ะ