[🔎] 2 ยักษ์ใหญ่ "จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ - ช่อง3" เคลื่อนทัพแข่งสู่ตลาดอินเตอร์ฯ

 
 
หลายปีที่ผ่านมา “ดิจิทัล ดิสรัปชั่น” เป็นตัวแปรใหญ่ที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทั้งการเสพสื่อ รับชมรายการโทรทัศน์ ละคร ซีรีส์ ฟังเพลง 
หรือดูคอนเทนท์ ทำให้ธุรกิจสื่อดั้งเดิม(Traditional Media) ที่ปรับตัวไม่ทันการณ์ แทบล้มหายตายจากวงการไป 
 
เมื่อเทคโนโลยีให้กำเนิด “แพลตฟอร์มออนไลน์” ใหม่ๆ แทนที่สื่อเก่า มีโซเชียลมีเดีย ใช้ติดต่อสื่อสารแบ่งปันเรื่องราว มีสตรีมมิ่งตัวกลางสำหรับฟังเพลง 
มีสื่อออนไลน์ให้ภาพและเสียงหรือ Over-The-Top : OTT ให้ผู้บริโภคเลือกดูภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ รายการโปรดได้ทุกที่ทุกเวลา 
ที่สำคัญแต่ละแพลตฟอร์มจุดแข็งที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกแพลตฟอร์มต้องการคือ “เนื้อหา-Content” 
และต้องเป็นระดับท็อปลิสต์ หรือ Content is King เพื่อสะกดคนดูให้อยู่ที่หน้าจอ หรือแพลตฟอร์มนั้นๆนานที่สุด ให้สามารถทำเงินทั้งโฆษณา 
หากติดใจก็สมัครสมาชิกรายเดือนรายปีสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ 
 
นับวันแพลฟอร์มใหม่ๆตบเท้าเข้ามาเป็น “ตัวกลาง” เพื่อป้อนคอนเทนท์ให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
ที่รู้กกันดี มีทั้งเน็ตฟลิกซ์(Netflix) วิว(Vui) วีทีวี(WeTV) อ้ายฉีอี้( iQIYI) เอชบีโอ โก(HBO GO)
และดิสนีย์ พลัส(Disney plus) ที่จ่อแถลงข่าวเปิดอย่างเป็นทางการในไทย นี่ยังไม่นับกับแพลตฟอร์มของไทย และเทศอีกจำนวนมาก
โดยเฉพาะบรรดา “ธุรกิจสื่อ” ไม่ว่าจะเป็นช่อง 7 มี Bugaboo TV, ช่อง 3 มี CH3Plus และ CH3Plus Premium แบบบอกรับสมาชิก, 
ช่องโมโน 29 มี โมโนแม็กซ์ ฯ เป็นต้น เรียกว่าใครไม่ลุกขึ้นมาทรานส์ฟอร์ม ขยายสู่ออนไลน์ ถือว่าตกขบวนเรียบร้อยแล้ว 
 
การเข้ามาของแพลตฟอร์มมากมาย จึงตามมาด้วยคอนเทนท์หลากหลายให้เลือกเสพ ทั้งจากฮอลลีวู้ด, จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ยุโรป และไทย 
ซึ่งในตลาดนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ขาใหญ่” ยังเป็นชาติตะวันตก ขณะที่เกาหลีใต้ สร้างผลงานโดดเด่นไม่แพ้กัน 
เพราะสามารถเบียดไปอยู่ยืนอันดับต้นๆของโลกได้อย่างแข็งแกร่ง 
 
ย้อนกลับมาดูธุรกิจสื่อและบันเทิง(Media and Entertainment) ของไทย 
ซึ่งถูกพายุดิจิทัลซัดจนซวนเซ พยายามปรับโครงสร้างกันจ้าละหวั่น เพื่อหนีภาวะ “ขาดทุน” 
และหากทางพลิกทำ “กำไร” เพื่อจะดื่มด่ำกับความมั่งคั่งเหมือนในอดีต บ้างผ่าตัดองค์กรไปสู่การเป็นบริษัทจำหน่ายสินค้า 
โดยต่อยอดจากสินทรัพย์ที่มีคือธุรกิจบันเทิง จนประสบความสำเร็จอย่าง “อาร์เอส”  ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่ดี 
 
ขณะที่ค่ายสื่อและบันเทิงยักษ์ใหญ่ที่กำลังพลิกกระบวนท่าหาทางสร้าง New S-curve ในอนาคต
ด้วยการทรานส์ฟอร์มตัวเองไปสู่ “ผู้ผลิตคอนเทนท์” หรือ Content Provider เต็มสูบ ยกให้ “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” และ “บีอีซี เวิล์ด”หรือช่อง 3 
ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน แต่ยุทธวิธีแตกต่างตามโครงสร้าง พื้นฐาน และธุรกิจหลักของตนเอง 
ค่ายไหนจะไปอยู่ตรงไหนในสมรภูมิการผลิตคอนเทนท์ กรุงเทพธุรกิจ Bizweek แชร์วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของแม่ทัพ-นายกอง 2 บริษัท 

 
 
     
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่