ทางเลือกของคนแพ้นมวัว 🐮🐮
อย่างที่ทราบกันดีนะครับว่า นมวัวเป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียม ดังนั้น นมวัวจึงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะหาซื้อง่าย ราคาถูก มีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัย แต่ปัจจุบันกลับพบว่า มีคนแพ้นมวัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กทารก 👶
สาเหตุหลักของโรคนี้เกิดจากการแพ้โปรตีนที่อยู่ในนมวัว ซึ่งปฏิกิริยานี้อาจเกิดจากกระบวนการทำงานของแอนติบอดี้ IgE mediated หรือ non IgE mediated หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารกตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ทารกบางรายมีอาการแพ้นมวัวติดตัวมาตั้งแต่เกิด นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากระบบการย่อยอาหารของทารกที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ด้วยเช่นกัน
แล้วโรคแพ้นมวัวมีอาการอย่างไร มีวิธีการรักษาหรือป้องกันหรือไม่ และทางเลือกสำหรับคนแพ้นมวัวมีอะไรบ้าง พี่หมอมีคำตอบทุกข้อสงสัยแล้วครับ
รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองแพ้นมวัว 👇
1. มีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะพ่อหรือแม่
2. มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากดื่มนมวัว เช่น ปากบวม ตาบวม มีผื่นลมพิษ หรือผื่นแพ้ผิวหนังที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด
3. มีประวัติว่าแม่ดื่มนมวัวในช่วงตั้งครรภ์มากกว่าปกติ ซึ่งโปรตีนที่อยู่ในนมวัวอาจกระตุ้นให้ทารกเกิดการแพ้ได้
4. กรณีที่เด็กกินนมแม่อย่างเดียว ในขณะที่แม่ดื่มนมวัวมากกว่าปกติในช่วงให้นม
5. เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือมีประวัติเปลี่ยนนมมาหลายยี่ห้อ
อาการแพ้นมวัว 😰
หากเป็นอาการเฉียบพลันที่เกิดจาก IgE mediated (ปฏิกิริยาความไวต่อสารกระตุ้นการแพ้) อาการจะเกิดขึ้นหลังดื่มนมวัวภายใน 15 นาที - 2 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละคนก็จะมีอาการแพ้ที่แตกต่างกันไป เช่น มีผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง ลมพิษ ปากบวม ลิ้นบวม หายใจลำบาก ปวดท้อง หรืออาเจียน เป็นต้น
แต่หากเป็นอาการที่เกิดจาก non IgE mediated หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน อาการจะเกิดขึ้นหลังดื่มนมวัวประมาณ 6-48 ชั่วโมง ซึ่งอาการก็จะแตกต่างกัน เช่น มีผื่นแพ้ตามผิวหนัง หรือถ่ายเป็นมูกเลือด
ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าแพ้นมวัว 🤔
สำหรับคนทั่วไปที่มีอาการแพ้ไม่รุนแรงมาก อย่างแรกเลยก็คือ งดดื่มนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิดอย่างน้อย 3-6 เดือนถึง 1 ปี แล้วค่อยกลับมาทดลองดื่มดูใหม่ โดยเริ่มต้นจากปริมาณน้อยๆ ก่อน แต่ถ้ามีอาการรุนแรง พี่หมอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันทีนะครับ
สำหรับทารกที่กินนมแม่ สามารถกินนมแม่ต่อได้ แต่คุณแม่ต้องงดดื่มนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อน จึงจะสามารถกลับมาให้นมได้เหมือนเดิม โดยในระหว่างที่งดนมแม่ อาจพิจารณาใช้นมสูตรเปปไทด์สายสั้น ซึ่งเป็นนมสูตรพิเศษทางการแพทย์ทดแทนไปก่อน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจเปลี่ยนเป็นนมที่เป็นอาหารทางการแพทย์ หรือที่เรียกว่าสูตรกรดอะมิโน ส่วนคุณแม่ที่งดดื่มนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว ควรได้รับแคลเซียมเสริมด้วย
การรักษาอาการแพ้นมวัว
นอกจากการงดนมวัว และให้ยารักษาตามอาการแล้ว สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ไม่ได้แพ้ถั่วเหลือง อาจพิจารณาใช้นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม รสหวานน้อย เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้
การป้องกัน
ในเด็กเล็ก การดื่มนมแม่ช่วยป้องกันการแพ้อาหารได้ เพราะเป็นการลดการสัมผัสโปรตีนแปลกปลอมจากนมผสม ที่สำคัญ นมแม่ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วย สำหรับเด็กที่ไม่มีอาการแพ้นมวัว ไม่ควรงดนมวัว เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้ โดยเฉพาะแคลเซียม
ทางเลือกสำหรับเด็กโต หรือผู้ใหญ่ที่แพ้นมวัว 👍
1.
นมถั่วเหลือง โดยให้เลือกนมถั่วเหลืองที่มีการเสริมแคลเซียม เพราะนมถั่วเหลืองจากธรรมชาติจะมีแคลเซียมต่ำ
2.
นมอัลมอนด์ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจำกัดปริมาณแคลอรีในแต่ละวัน เนื่องจากนมอัลมอนด์ให้พลังงานต่ำกว่านมวัว และนมถั่วเหลือง แถมยังอุดมไปด้วยไขมันดี และวิตามินอี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ มีโปรตีนและแคลเซียมน้อย ซึ่งอาจไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะมีสารอาหารไม่เพียงพอ
3.
นมข้าวโพด และนมจากข้าว มีโปรตีนไม่มากนักเมื่อเทียบกับนมวัว จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีประวัติการแพ้ถั่ว หรืออัลมอนด์
ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่บริโภคนมจากพืชก็คือ ควรเลือกสูตรหวานน้อย หรือไม่หวานเลย เพราะบางผลิตภัณฑ์มักมีน้ำตาลสูง ดังนั้น ก่อนซื้อก็อย่าลืมอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ด้วยนะครับ 🔍
นอกจากนี้ ยังมีอาหารทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ที่มีอาการแพ้นมวัว ดังนี้
1. อาหารทางการแพทย์สูตรโปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy protein-based formula) ใช้รักษาผู้ที่มีภาวะแพ้โปรตีนจากนมวัว แต่ก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะในถั่วเหลืองก็มีโปรตีนที่ทำให้แพ้ได้
2. อาหารทางการแพทย์สูตรเปปไทด์สายสั้น (Extensively hydrolyzed formula) เป็นสูตรอาหารที่ทำให้โปรตีนผ่านกระบวนการย่อยโดยใช้เอนไซม์ ความร้อน หรือกระบวนการ Ultrafiltration
3. อาหารทางการแพทย์สูตรกรดอะมิโน (Amino acid-based formula) เป็นสูตรนมที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน ส่วนคาร์โบไฮเดรตจะปราศจากแลคโตส ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากนมวัวอย่างรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยนมสูตรเปปไทด์ขนาดเล็ก
4. อาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย (Modular formula) คือ นมสูตรทางการแพทย์ที่มีไว้สำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น นมสูตรโปรตีนจากเนื้อไก่ หรือนมข้าวอะมิโน เป็นต้น
นมวัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ เพราะมีโปรตีนและแคลเซียมสูง แต่สำหรับผู้ที่แพ้นมวัวก็ไม่ต้องเสียใจไปนะครับ เพราะเรายังสามารถเลือกรับประทานอาหารอื่นๆ เพื่อทดแทนโปรตีนจากนมวัวได้ เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ หรือถั่วเมล็ดแห้ง ส่วนแคลเซียม เราก็สามารถรับประทานพวกปลาตัวเล็ก เต้าหู้ก้อน บร็อคโคลี่ และผักกวางตุ้ง ทดแทนได้เช่นกัน
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย โดยดูว่า ในแต่ละมื้อเรารับประทานอาหารครบ 5 หมู่หรือไม่ รวมถึงคำนึงเรื่องปริมาณที่เหมาะสมด้วย เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ของตัวเราเอง 💪💪💪
ทางเลือกของคนแพ้นมวัว
อย่างที่ทราบกันดีนะครับว่า นมวัวเป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียม ดังนั้น นมวัวจึงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะหาซื้อง่าย ราคาถูก มีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัย แต่ปัจจุบันกลับพบว่า มีคนแพ้นมวัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กทารก 👶
สาเหตุหลักของโรคนี้เกิดจากการแพ้โปรตีนที่อยู่ในนมวัว ซึ่งปฏิกิริยานี้อาจเกิดจากกระบวนการทำงานของแอนติบอดี้ IgE mediated หรือ non IgE mediated หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารกตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ทารกบางรายมีอาการแพ้นมวัวติดตัวมาตั้งแต่เกิด นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากระบบการย่อยอาหารของทารกที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ด้วยเช่นกัน
แล้วโรคแพ้นมวัวมีอาการอย่างไร มีวิธีการรักษาหรือป้องกันหรือไม่ และทางเลือกสำหรับคนแพ้นมวัวมีอะไรบ้าง พี่หมอมีคำตอบทุกข้อสงสัยแล้วครับ
รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองแพ้นมวัว 👇
1. มีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะพ่อหรือแม่
2. มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากดื่มนมวัว เช่น ปากบวม ตาบวม มีผื่นลมพิษ หรือผื่นแพ้ผิวหนังที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด
3. มีประวัติว่าแม่ดื่มนมวัวในช่วงตั้งครรภ์มากกว่าปกติ ซึ่งโปรตีนที่อยู่ในนมวัวอาจกระตุ้นให้ทารกเกิดการแพ้ได้
4. กรณีที่เด็กกินนมแม่อย่างเดียว ในขณะที่แม่ดื่มนมวัวมากกว่าปกติในช่วงให้นม
5. เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือมีประวัติเปลี่ยนนมมาหลายยี่ห้อ
อาการแพ้นมวัว 😰
หากเป็นอาการเฉียบพลันที่เกิดจาก IgE mediated (ปฏิกิริยาความไวต่อสารกระตุ้นการแพ้) อาการจะเกิดขึ้นหลังดื่มนมวัวภายใน 15 นาที - 2 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละคนก็จะมีอาการแพ้ที่แตกต่างกันไป เช่น มีผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง ลมพิษ ปากบวม ลิ้นบวม หายใจลำบาก ปวดท้อง หรืออาเจียน เป็นต้น
แต่หากเป็นอาการที่เกิดจาก non IgE mediated หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน อาการจะเกิดขึ้นหลังดื่มนมวัวประมาณ 6-48 ชั่วโมง ซึ่งอาการก็จะแตกต่างกัน เช่น มีผื่นแพ้ตามผิวหนัง หรือถ่ายเป็นมูกเลือด
ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าแพ้นมวัว 🤔
สำหรับคนทั่วไปที่มีอาการแพ้ไม่รุนแรงมาก อย่างแรกเลยก็คือ งดดื่มนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิดอย่างน้อย 3-6 เดือนถึง 1 ปี แล้วค่อยกลับมาทดลองดื่มดูใหม่ โดยเริ่มต้นจากปริมาณน้อยๆ ก่อน แต่ถ้ามีอาการรุนแรง พี่หมอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันทีนะครับ
สำหรับทารกที่กินนมแม่ สามารถกินนมแม่ต่อได้ แต่คุณแม่ต้องงดดื่มนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อน จึงจะสามารถกลับมาให้นมได้เหมือนเดิม โดยในระหว่างที่งดนมแม่ อาจพิจารณาใช้นมสูตรเปปไทด์สายสั้น ซึ่งเป็นนมสูตรพิเศษทางการแพทย์ทดแทนไปก่อน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจเปลี่ยนเป็นนมที่เป็นอาหารทางการแพทย์ หรือที่เรียกว่าสูตรกรดอะมิโน ส่วนคุณแม่ที่งดดื่มนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว ควรได้รับแคลเซียมเสริมด้วย
การรักษาอาการแพ้นมวัว
นอกจากการงดนมวัว และให้ยารักษาตามอาการแล้ว สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ไม่ได้แพ้ถั่วเหลือง อาจพิจารณาใช้นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม รสหวานน้อย เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้
การป้องกัน
ในเด็กเล็ก การดื่มนมแม่ช่วยป้องกันการแพ้อาหารได้ เพราะเป็นการลดการสัมผัสโปรตีนแปลกปลอมจากนมผสม ที่สำคัญ นมแม่ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วย สำหรับเด็กที่ไม่มีอาการแพ้นมวัว ไม่ควรงดนมวัว เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้ โดยเฉพาะแคลเซียม
ทางเลือกสำหรับเด็กโต หรือผู้ใหญ่ที่แพ้นมวัว 👍
1. นมถั่วเหลือง โดยให้เลือกนมถั่วเหลืองที่มีการเสริมแคลเซียม เพราะนมถั่วเหลืองจากธรรมชาติจะมีแคลเซียมต่ำ
2. นมอัลมอนด์ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจำกัดปริมาณแคลอรีในแต่ละวัน เนื่องจากนมอัลมอนด์ให้พลังงานต่ำกว่านมวัว และนมถั่วเหลือง แถมยังอุดมไปด้วยไขมันดี และวิตามินอี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ มีโปรตีนและแคลเซียมน้อย ซึ่งอาจไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะมีสารอาหารไม่เพียงพอ
3. นมข้าวโพด และนมจากข้าว มีโปรตีนไม่มากนักเมื่อเทียบกับนมวัว จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีประวัติการแพ้ถั่ว หรืออัลมอนด์
ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่บริโภคนมจากพืชก็คือ ควรเลือกสูตรหวานน้อย หรือไม่หวานเลย เพราะบางผลิตภัณฑ์มักมีน้ำตาลสูง ดังนั้น ก่อนซื้อก็อย่าลืมอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ด้วยนะครับ 🔍
นอกจากนี้ ยังมีอาหารทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ที่มีอาการแพ้นมวัว ดังนี้
1. อาหารทางการแพทย์สูตรโปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy protein-based formula) ใช้รักษาผู้ที่มีภาวะแพ้โปรตีนจากนมวัว แต่ก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะในถั่วเหลืองก็มีโปรตีนที่ทำให้แพ้ได้
2. อาหารทางการแพทย์สูตรเปปไทด์สายสั้น (Extensively hydrolyzed formula) เป็นสูตรอาหารที่ทำให้โปรตีนผ่านกระบวนการย่อยโดยใช้เอนไซม์ ความร้อน หรือกระบวนการ Ultrafiltration
3. อาหารทางการแพทย์สูตรกรดอะมิโน (Amino acid-based formula) เป็นสูตรนมที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน ส่วนคาร์โบไฮเดรตจะปราศจากแลคโตส ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากนมวัวอย่างรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยนมสูตรเปปไทด์ขนาดเล็ก
4. อาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย (Modular formula) คือ นมสูตรทางการแพทย์ที่มีไว้สำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น นมสูตรโปรตีนจากเนื้อไก่ หรือนมข้าวอะมิโน เป็นต้น
นมวัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ เพราะมีโปรตีนและแคลเซียมสูง แต่สำหรับผู้ที่แพ้นมวัวก็ไม่ต้องเสียใจไปนะครับ เพราะเรายังสามารถเลือกรับประทานอาหารอื่นๆ เพื่อทดแทนโปรตีนจากนมวัวได้ เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ หรือถั่วเมล็ดแห้ง ส่วนแคลเซียม เราก็สามารถรับประทานพวกปลาตัวเล็ก เต้าหู้ก้อน บร็อคโคลี่ และผักกวางตุ้ง ทดแทนได้เช่นกัน
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย โดยดูว่า ในแต่ละมื้อเรารับประทานอาหารครบ 5 หมู่หรือไม่ รวมถึงคำนึงเรื่องปริมาณที่เหมาะสมด้วย เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ของตัวเราเอง 💪💪💪