เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้ต้องการให้วัคซีนเป็นเรื่องการเมือง และมองว่าวัคซีนควรจะกระจายสู่ทุกคนในชาติโดยไม่จำกัดเฉพาะบัตรประชาชน เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรคและลดความสูญเสียจากโควิต-19 ตามแนวทาง EQUAL ACCESS ของรัฐบาล
เรื่องวัคซีนสำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เคยได้เขียนถึงเป็นระยะมาแล้ว เรามาดูกันว่าตัวเลขของชาวต่างชาติที่ได้สัญชาติไทย (ไม่มีบัตรประชาชน) ตามการสำรวจของสำมะโนประชากร ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนเท่าใด
[ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓]
จำนวนราษฎรรวมที่ไม่ได้สัญชาติไทยมีจำนวนรวม ๙๕๘,๖๐๗ คน เฉพาะในกรุงเทพฯ มีจำนวน ๑๐๐,๓๔๖ คน ซึ่งจำนวนนี้ได้รวมชาวต่างชาติที่ใช้ชีวิตวัยเกษียณในประเทศไทยรวมถึงมีครอบครัวเป็นคนไทยหรือมีความใกล้ชิดกับผู้มีสัญชาติไทยคาดว่ามีจำนวนไม่น้อยกว่า 5-10 ล้านคน การดูแลประชากรกลุ่มนี้ย่อมส่งผลที่ดีต่อผู้มีสัญชาติไทยทั้งการช่วยป้องกันการสูญเสียโดยตรงและช่วยป้องกันการแพร่ระบาดได้อีกทาง
ผู้ตั้งกระทู้ชื่นชมแนวทางรัฐบาลที่ดำเนินการโดยยึดหลัก EQUAL ACCESS หรือการเข้าถึงวัคซีนโดยยึดหลักความเท่าเทียม ทั้งนี้ตามหลักสากลของการป้องกันและควบคุมโรค ควรจัดให้ประชากรในกลุ่มสูงอายุและมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ถ้าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) โดยไม่จำกัดสัญชาติหรือเชื้อชาติแต่อย่างใด
ข้อมูลที่แสดงจำนวนกลุ่มดังกล่าวสำหรับผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยจะหามาเพิ่มเติม เบื้องต้นสมมติว่ามีจำนวน 15% หรือคิดเป็นหนึ่งแสนห้าหมื่นคน และวันนี้เราได้เตรียมระบบให้คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงการจองวัคซีนได้ทางใดบ้างแล้ว?
ระบบต่าง ๆ ถูกออกแบบมาสำหรับผู้มีสัญชาติไทยที่มีบัตรประชาชน ซึ่งได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมตามความเห็นของผู้เขียน เริ่มด้วยการออกแบบโดยใช้ไลน์และแอปฯ “หมอพร้อม” และการลงทะเบียนที่สถานพยาบาลของแต่ละพื้นที่ จากนั้นก็มีการขยายช่องทางผ่านแอปฯของแต่ละจังหวัด และเพิ่มช่องทางที่เข้าถึงได้สะดวกมากขึ้นผ่านการลงทะเบียน ณ ร้านสะดวกซื้อ มีเอกชนร่วมเปิดพื้นที่ให้ลงทะเบียนและฉีดวัคซีนกระจายไปทุกจังหวัด ทำให้ไม่น่ากังวลสำหรับช่องทางการลงทะเบียนสำหรับผู้มีบัตรประชาชน
ส่วนชาวต่างชาติซึ่งมีทั้งจากข้อมูลสำมะโนประชากรราวล้านคน รวมถึง นทท. ที่ยังคงอยู่ในประเทศขณะนี้ ผู้เขียนได้ลองสำรวจตามเว็บไซต์สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น ภูเก็ต พัทยา พบว่า ยังมีชาวต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มสูงอายุยังคงกังวลเรื่องการได้รับวัคซีนอยู่ อาจจะต้องเพิ่มช่องทางให้เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นนอกเหนือจากการให้ติดต่อผ่านสถานทูตและโรงพยาบาลที่เคยมีประวัติการรักษาตัวมาก่อน ข้อเสนอต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์หากสามารถทำได้
1. จากวัคซีนทางเลือกที่เปรียบดัง ฝนจากฟ้า ที่ทางสถาบันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สามารถจัดหาวัคซีนซิโนฟาร์มมาได้ มิ.ย. จำนวน 1 ล้านโดสในเบื้องต้น อยากให้กลุ่มตัวแทน รพ.เอกชนที่เคยตั้งใจร่วมกันซื้อกับทางภาครัฐก่อนหน้า แต่ติดขัดปัญหาทั้งเงื่อนไขการดีลกับรัฐจากผู้ผลิต และปัญหาวัคซีนที่ยังคงขาดแคลนอยู่เมื่อเดือนก่อน เป็นความตั้งใจที่ดีที่จะจัดหาวัคซีนทางเลือก อยากให้เดินหน้าให้สำเร็จ โดยติดต่อกับทางราชวิทยาลัยอีกครั้งเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติได้เข้าวัคซีนนี้
2. จัดทำรายชื่อ รพ.เอกชน สำหรับฉีดวัคซีนทางเลือก ในแต่ละจังหวัดและควรมีกระจายไปทุกอำเภอ โดยแต่ละจังหวัดรับวัคซีนจากตัวแทน รพ.เอกชน และบริหารจัดการในระดับย่อยเหมือนที่ภาครัฐดำเนินการกับวัคซีนหลักในปัจจุบัน
3. ทำแอปฯ สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการฉีดวัคซีน โดยสามารถค้นหา รพ.เอกชนที่เปิดให้จองและฉีดได้ชัดเจน
4. ถ้าต้นทุนวัคซีน X+Y+Z+V ซึ่งรวมค่าวัคซีน ค่าขนส่ง เก็บรักษา ค่าประกัน แล้วมีราคาประมาณหนึ่งพันบาท ราคาวัคซีนต่อเข็มที่เอกชนต้องจ่ายจะเท่ากับ 1,100 บาท (เพิ่มขึ้น 10% เพื่อให้มีวัคซีนเพิ่มเติมสำหรับผุ้ขาดโอกาสต่อไป) ทาง รพ.เอกชนสามารถคิดค่าบริการฉีดเข็มละ 500 บาท โดยไม่คิดค่าวัคซีนได้หรือไม่ เทียบกับผลที่จะได้รับแล้วคุ้มค่าหรือไม่ เพราะมีต้นทุนเกิดขึ้น 600 บาทต่อเข็ม หรือ 600 ล้านบาทสำหรับทุก ๆ ล้านโดส สิ่งที่ผู้เขียนสามารถนึกถึงได้วันนี้คือการจัดทำแคมเปญการฉีดวัคซีนฟรีให้ชาวต่างชาติที่มาตรวจสุขภาพประจำปีและคิดค่าบริการฉีดวัคซีนทางเลือกเพิ่ม 500 บาทนั้นก็น่าจะพอครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ระดับหนึ่ง แต่จะผิดระเบียบข้อบังคับของทางราชวิทยาลัยหรือไม่ น่าจะลองปรึกษาหาทางออกได้
5. เมื่อการฉีดวัคซีนให้กลุ่มสูงอายุและกลุ่มโรคเสี่ยงตามด้วยกลุ่มที่เหลือของชาวต่างชาติที่ฉีดโดย รพ.เอกชน ตามกรณีที่พูดถึงนี้ ทำได้ครบถ้วน และ ในช่วงเวลาที่ภาครัฐได้ดำเนินการฉีดให้ประชาชนคนไทยได้ในวงกว้างแล้ว รพ.เอกชนอาจสามารถขยายของเขตมาให้บริการกับประชาชนคนไทยได้ในลักษณะวัคซีนทางเลือก เช่น ในช่วงเดือน ก.ย. เป็นต้นไป เพื่อความสะดวกสำหรับประชาชนที่ต้องการวัคซีนทางเลือกและเป็นช่วงเวลาที่การบริหารจัดการฉีดวัคซีนผ่านช่วงที่ยากลำบากไปแล้ว ส่วนใหญ่ในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนได้เป็นจำนวนมาก เช่น อเมริกา อังกฤษ จีน ฯลฯ การจะเริ่มฉีดวัคซีนตัวที่สองหรือสาม มักทำในภายหลังเช่นเมื่อเข้าสู่เดือนที่สี่หรือห้าของการระดมฉีดระดับประเทศ ซึ่งของไทยได้นับเรื่องการฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติและจะเริ่มนับวันที่ 7 มิ.ย. ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับวัคซีนทางเลือกควรเป็นเดือน ก.ย. หรือ ต.ค. เป็นต้นไป ตอนนี้วัคซีนซิโนฟาร์มควรให้เฉพาะบางองค์กร บางหน่วยงานตามยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัดโดยที่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและเป็นไปตามความมุ่งหวังของทางสถาบันที่คาดว่าจะช่วยให้การฉีดวัคซีนตัวหลักที่ภาครัฐได้จัดเตรียมให้ประชาชนไว้แล้วสามารถฉีดได้เร็วขึ้น
แนวทางการกระจายวัคซีนทางเลือก
วัคซีนทางเลือกที่ได้มาในระยะนี้จะยังคงมีจำกัด เดือน มิ.ย. มีจำนวน 1 ล้านโดส กลุ่มที่มีความจำเป็นคือ กลุ่มชาวต่างชาติ 300,000 โดส อีก 700,000 สำหรับองค์กร บริษัท จังหวัดต่าง ๆ กระจาย โดยคิดตามส่วนที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและระดับการระบาดรวมถึงความสำคัญของภาคการท่องเที่ยวและประชาชนมาก อาทิ กทม. นครราชสีมา 20 ส่วน จังหวัดปริมณฑล EEC ภูเก็ต สุราษฎรฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น อุบล อุดร เพชรบุรี จังหวัดละ 10 ส่วน ที่เหลือจังหวัดละส่วน รวม 200 ส่วนๆ ละ 5,000 ต่อทุก ๆ ล้านโดส กระจายให้คนไทยต่อชาวต่างชาติ 7 ต่อ 3 และเปลี่ยนไปเป็น 9 ต่อ 1 ในทุก ๆ ล้านโดสต่อไปเมื่อกลุ่มสูงอายุและโรคเสี่ยงของชาวต่างชาติหมดไป
กรณีแรงงานข้ามชาติซึ่งมีจำนวนหลายล้านคนนั้น เข้าใจว่าน่าจะได้รับวัคซีน AZ ตามสิทธิประกันสังคม จึงไม่นับอยู่ในกลุ่มดังกล่าว
ส่วนในกลุ่มสุดท้ายที่ควรได้รับการดูแล สามารถได้วัคซีนจาก 10% ที่สถาบันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะได้รับวัคซีนจากองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องจัดซื้อมาเพิ่มเติมนั้น หากมีเป็นไปได้อาจจัดหาเพิ่มโดยใช้วัคซีนเข็มเดียวเช่น จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เป็นต้น เพื่อฉีดให้กับผู้ด้อยโอกาส ด้วยความช่วยเหลือจาก มูลนิธิต่าง ๆ อสม. อสต. เพื่อฉีดให้กับผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนตามวัตถุประสงค์ของราชวิทยาลัย ซึ่งน่าชื่นชมมากที่มองถึงโอกาสการเข้าถึงวัคซีนสำหรับคนทุกกลุ่ม เพราะหากทุกคนไม่ปลอดภัย ประเทศก็ยังไม่ปลอดภัยจากการระบาดของโควิด-19 ได้ครับ
ตัวผู้เขียนได้รับวัคซีนแล้วเนื่องจากทาง สธ. ได้ปรับการให้บริการตามสถานการณ์ ต้องขอขอบคุณในเรื่องนี้ ส่วนคนรอบข้าง ประชาชนในพื้นที่ก็ได้รับวัคซีนและจองวัคซีนได้ไม่มีปัญหาใด ๆ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนได้รับวัคซีน รวมถึงเยาวชนในประเทศเมื่อมีวัคซีนที่พัฒนาออกมาและมีเพียงพอสำหรับประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทยด้วยเช่นกัน
ขอบคุณทุกความเห็นล่วงหน้าครับ
วัคซีนทางเลือก กับการกระจายวัคซีนผ่านรพ.เอกชนให้ชาวต่างชาติ ทำได้อย่างไรและแบบใดเหมาะสมที่สุด ?
เรื่องวัคซีนสำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เคยได้เขียนถึงเป็นระยะมาแล้ว เรามาดูกันว่าตัวเลขของชาวต่างชาติที่ได้สัญชาติไทย (ไม่มีบัตรประชาชน) ตามการสำรวจของสำมะโนประชากร ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนเท่าใด [ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓]
จำนวนราษฎรรวมที่ไม่ได้สัญชาติไทยมีจำนวนรวม ๙๕๘,๖๐๗ คน เฉพาะในกรุงเทพฯ มีจำนวน ๑๐๐,๓๔๖ คน ซึ่งจำนวนนี้ได้รวมชาวต่างชาติที่ใช้ชีวิตวัยเกษียณในประเทศไทยรวมถึงมีครอบครัวเป็นคนไทยหรือมีความใกล้ชิดกับผู้มีสัญชาติไทยคาดว่ามีจำนวนไม่น้อยกว่า 5-10 ล้านคน การดูแลประชากรกลุ่มนี้ย่อมส่งผลที่ดีต่อผู้มีสัญชาติไทยทั้งการช่วยป้องกันการสูญเสียโดยตรงและช่วยป้องกันการแพร่ระบาดได้อีกทาง
ผู้ตั้งกระทู้ชื่นชมแนวทางรัฐบาลที่ดำเนินการโดยยึดหลัก EQUAL ACCESS หรือการเข้าถึงวัคซีนโดยยึดหลักความเท่าเทียม ทั้งนี้ตามหลักสากลของการป้องกันและควบคุมโรค ควรจัดให้ประชากรในกลุ่มสูงอายุและมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ถ้าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) โดยไม่จำกัดสัญชาติหรือเชื้อชาติแต่อย่างใด
ข้อมูลที่แสดงจำนวนกลุ่มดังกล่าวสำหรับผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยจะหามาเพิ่มเติม เบื้องต้นสมมติว่ามีจำนวน 15% หรือคิดเป็นหนึ่งแสนห้าหมื่นคน และวันนี้เราได้เตรียมระบบให้คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงการจองวัคซีนได้ทางใดบ้างแล้ว?
ระบบต่าง ๆ ถูกออกแบบมาสำหรับผู้มีสัญชาติไทยที่มีบัตรประชาชน ซึ่งได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมตามความเห็นของผู้เขียน เริ่มด้วยการออกแบบโดยใช้ไลน์และแอปฯ “หมอพร้อม” และการลงทะเบียนที่สถานพยาบาลของแต่ละพื้นที่ จากนั้นก็มีการขยายช่องทางผ่านแอปฯของแต่ละจังหวัด และเพิ่มช่องทางที่เข้าถึงได้สะดวกมากขึ้นผ่านการลงทะเบียน ณ ร้านสะดวกซื้อ มีเอกชนร่วมเปิดพื้นที่ให้ลงทะเบียนและฉีดวัคซีนกระจายไปทุกจังหวัด ทำให้ไม่น่ากังวลสำหรับช่องทางการลงทะเบียนสำหรับผู้มีบัตรประชาชน
ส่วนชาวต่างชาติซึ่งมีทั้งจากข้อมูลสำมะโนประชากรราวล้านคน รวมถึง นทท. ที่ยังคงอยู่ในประเทศขณะนี้ ผู้เขียนได้ลองสำรวจตามเว็บไซต์สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น ภูเก็ต พัทยา พบว่า ยังมีชาวต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มสูงอายุยังคงกังวลเรื่องการได้รับวัคซีนอยู่ อาจจะต้องเพิ่มช่องทางให้เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นนอกเหนือจากการให้ติดต่อผ่านสถานทูตและโรงพยาบาลที่เคยมีประวัติการรักษาตัวมาก่อน ข้อเสนอต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์หากสามารถทำได้
1. จากวัคซีนทางเลือกที่เปรียบดัง ฝนจากฟ้า ที่ทางสถาบันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สามารถจัดหาวัคซีนซิโนฟาร์มมาได้ มิ.ย. จำนวน 1 ล้านโดสในเบื้องต้น อยากให้กลุ่มตัวแทน รพ.เอกชนที่เคยตั้งใจร่วมกันซื้อกับทางภาครัฐก่อนหน้า แต่ติดขัดปัญหาทั้งเงื่อนไขการดีลกับรัฐจากผู้ผลิต และปัญหาวัคซีนที่ยังคงขาดแคลนอยู่เมื่อเดือนก่อน เป็นความตั้งใจที่ดีที่จะจัดหาวัคซีนทางเลือก อยากให้เดินหน้าให้สำเร็จ โดยติดต่อกับทางราชวิทยาลัยอีกครั้งเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติได้เข้าวัคซีนนี้
2. จัดทำรายชื่อ รพ.เอกชน สำหรับฉีดวัคซีนทางเลือก ในแต่ละจังหวัดและควรมีกระจายไปทุกอำเภอ โดยแต่ละจังหวัดรับวัคซีนจากตัวแทน รพ.เอกชน และบริหารจัดการในระดับย่อยเหมือนที่ภาครัฐดำเนินการกับวัคซีนหลักในปัจจุบัน
3. ทำแอปฯ สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการฉีดวัคซีน โดยสามารถค้นหา รพ.เอกชนที่เปิดให้จองและฉีดได้ชัดเจน
4. ถ้าต้นทุนวัคซีน X+Y+Z+V ซึ่งรวมค่าวัคซีน ค่าขนส่ง เก็บรักษา ค่าประกัน แล้วมีราคาประมาณหนึ่งพันบาท ราคาวัคซีนต่อเข็มที่เอกชนต้องจ่ายจะเท่ากับ 1,100 บาท (เพิ่มขึ้น 10% เพื่อให้มีวัคซีนเพิ่มเติมสำหรับผุ้ขาดโอกาสต่อไป) ทาง รพ.เอกชนสามารถคิดค่าบริการฉีดเข็มละ 500 บาท โดยไม่คิดค่าวัคซีนได้หรือไม่ เทียบกับผลที่จะได้รับแล้วคุ้มค่าหรือไม่ เพราะมีต้นทุนเกิดขึ้น 600 บาทต่อเข็ม หรือ 600 ล้านบาทสำหรับทุก ๆ ล้านโดส สิ่งที่ผู้เขียนสามารถนึกถึงได้วันนี้คือการจัดทำแคมเปญการฉีดวัคซีนฟรีให้ชาวต่างชาติที่มาตรวจสุขภาพประจำปีและคิดค่าบริการฉีดวัคซีนทางเลือกเพิ่ม 500 บาทนั้นก็น่าจะพอครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ระดับหนึ่ง แต่จะผิดระเบียบข้อบังคับของทางราชวิทยาลัยหรือไม่ น่าจะลองปรึกษาหาทางออกได้
5. เมื่อการฉีดวัคซีนให้กลุ่มสูงอายุและกลุ่มโรคเสี่ยงตามด้วยกลุ่มที่เหลือของชาวต่างชาติที่ฉีดโดย รพ.เอกชน ตามกรณีที่พูดถึงนี้ ทำได้ครบถ้วน และ ในช่วงเวลาที่ภาครัฐได้ดำเนินการฉีดให้ประชาชนคนไทยได้ในวงกว้างแล้ว รพ.เอกชนอาจสามารถขยายของเขตมาให้บริการกับประชาชนคนไทยได้ในลักษณะวัคซีนทางเลือก เช่น ในช่วงเดือน ก.ย. เป็นต้นไป เพื่อความสะดวกสำหรับประชาชนที่ต้องการวัคซีนทางเลือกและเป็นช่วงเวลาที่การบริหารจัดการฉีดวัคซีนผ่านช่วงที่ยากลำบากไปแล้ว ส่วนใหญ่ในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนได้เป็นจำนวนมาก เช่น อเมริกา อังกฤษ จีน ฯลฯ การจะเริ่มฉีดวัคซีนตัวที่สองหรือสาม มักทำในภายหลังเช่นเมื่อเข้าสู่เดือนที่สี่หรือห้าของการระดมฉีดระดับประเทศ ซึ่งของไทยได้นับเรื่องการฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติและจะเริ่มนับวันที่ 7 มิ.ย. ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับวัคซีนทางเลือกควรเป็นเดือน ก.ย. หรือ ต.ค. เป็นต้นไป ตอนนี้วัคซีนซิโนฟาร์มควรให้เฉพาะบางองค์กร บางหน่วยงานตามยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัดโดยที่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและเป็นไปตามความมุ่งหวังของทางสถาบันที่คาดว่าจะช่วยให้การฉีดวัคซีนตัวหลักที่ภาครัฐได้จัดเตรียมให้ประชาชนไว้แล้วสามารถฉีดได้เร็วขึ้น
แนวทางการกระจายวัคซีนทางเลือก
วัคซีนทางเลือกที่ได้มาในระยะนี้จะยังคงมีจำกัด เดือน มิ.ย. มีจำนวน 1 ล้านโดส กลุ่มที่มีความจำเป็นคือ กลุ่มชาวต่างชาติ 300,000 โดส อีก 700,000 สำหรับองค์กร บริษัท จังหวัดต่าง ๆ กระจาย โดยคิดตามส่วนที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและระดับการระบาดรวมถึงความสำคัญของภาคการท่องเที่ยวและประชาชนมาก อาทิ กทม. นครราชสีมา 20 ส่วน จังหวัดปริมณฑล EEC ภูเก็ต สุราษฎรฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น อุบล อุดร เพชรบุรี จังหวัดละ 10 ส่วน ที่เหลือจังหวัดละส่วน รวม 200 ส่วนๆ ละ 5,000 ต่อทุก ๆ ล้านโดส กระจายให้คนไทยต่อชาวต่างชาติ 7 ต่อ 3 และเปลี่ยนไปเป็น 9 ต่อ 1 ในทุก ๆ ล้านโดสต่อไปเมื่อกลุ่มสูงอายุและโรคเสี่ยงของชาวต่างชาติหมดไป
กรณีแรงงานข้ามชาติซึ่งมีจำนวนหลายล้านคนนั้น เข้าใจว่าน่าจะได้รับวัคซีน AZ ตามสิทธิประกันสังคม จึงไม่นับอยู่ในกลุ่มดังกล่าว
ส่วนในกลุ่มสุดท้ายที่ควรได้รับการดูแล สามารถได้วัคซีนจาก 10% ที่สถาบันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะได้รับวัคซีนจากองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องจัดซื้อมาเพิ่มเติมนั้น หากมีเป็นไปได้อาจจัดหาเพิ่มโดยใช้วัคซีนเข็มเดียวเช่น จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เป็นต้น เพื่อฉีดให้กับผู้ด้อยโอกาส ด้วยความช่วยเหลือจาก มูลนิธิต่าง ๆ อสม. อสต. เพื่อฉีดให้กับผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนตามวัตถุประสงค์ของราชวิทยาลัย ซึ่งน่าชื่นชมมากที่มองถึงโอกาสการเข้าถึงวัคซีนสำหรับคนทุกกลุ่ม เพราะหากทุกคนไม่ปลอดภัย ประเทศก็ยังไม่ปลอดภัยจากการระบาดของโควิด-19 ได้ครับ
ตัวผู้เขียนได้รับวัคซีนแล้วเนื่องจากทาง สธ. ได้ปรับการให้บริการตามสถานการณ์ ต้องขอขอบคุณในเรื่องนี้ ส่วนคนรอบข้าง ประชาชนในพื้นที่ก็ได้รับวัคซีนและจองวัคซีนได้ไม่มีปัญหาใด ๆ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนได้รับวัคซีน รวมถึงเยาวชนในประเทศเมื่อมีวัคซีนที่พัฒนาออกมาและมีเพียงพอสำหรับประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทยด้วยเช่นกัน
ขอบคุณทุกความเห็นล่วงหน้าครับ