อยู่บ้านต้านโควิดไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งอ่านหนังสืออีกแล้ว ช่วงนี้ผละจากหนังสือนวนิยายไปพักหนึ่ง หันมาหยิบหนังสือประวัติศาสตร์ ยิ่งอ่านยิ่งสนุก ยิ่งอยากรู้ว่าใครเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร บนชั้นหนังสือมีหนังสือประวัติศาสตร์อยู่หลายเล่ม โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของล้นเกล้ารัชกาลต่าง ๆ ในราชวงศ์จักรี
เช่นหนังสือ “พระเจ้ากรุงสยาม”ของส.ธรรมยศ “แคทยาและเจ้าฟ้าสยาม” โดยหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์, “หมอฝรั่งในวังสยาม”ของนพ.มัลคอมสมิธ “รักในราชสำนัก” โดยพิมาน แจ่มจรัส, “สมเด็จพระมหาเจษฎาธิบดินทร์” โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี,”พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”, “บันทึกการเดินทางโดยอองรี มูโอต์” กรรณิกา จรรแสงแปล, “ประวัติต้นรัชกาลที่6” โดยราม วชิราวุธ(นามปากกาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ “เจ้าชีวิต พงศาวดาร 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี” โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
หนังสือเหล่านี้ผมซื้อเก็บสะสมไว้นานพอสมควร แต่ไม่ได้ลงมืออ่านเป็นจริงเป็นจัง บางเล่มเช่น เจ้าชีวิตและประวัติต้นรัชการที่หก รวมทั้งเรื่องพระเจ้ากรุงสยามนั้น พี่จรัญ หอมเทียนทองซื้อมาฝาก ได้มาแล้วผมก็อ่านเท่าที่สนใจ เช่นเรื่องที่แต่งโดยรัชกาลที่6 นั้นผมชอบเป็นพิเศษ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ก็อ่านตอนที่อยากรู้เท่านั้น ที่ไม่อยากรู้ก็ไม่ได้เปิดอ่าน
หนังสือที่ผมอ่านจบไปแล้วก็มี “บันทึกการเดินทางของอองรี มูโอต์” “ประวัติต้นรัชการที่6” และ “หมอฝรั่งในวังสยาม” ส่วนเรื่องของแหม่มแอนนานั้นเคยมีหนังสืออยู่ในครอบครอง แต่ประกฎว่าถึงคราวที่อยากอ่านขึ้นมาอีก หนังสือก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย
ช่วงนี้เป็นช่วงที่อยู่แต่ในบ้านไม่ออกไปไหน หนังสือปกแข็งเหล่านี้ก็ถูกรื้อออกมาจากชั้นวาง ผมเกิดความอยากรู้เรื่องของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิเศษ เพราะไล่ลำดับจาก 9 รัชกาลแล้วไม่มีพระองค์อยู่ในทำเนียบ
ในสารบาญของหนังสือ “เจ้าชีวิต” เขียนว่า บทที่1 พระพุทธยอดฟ้า บทที่2 พระพุทธเลิศหล้า บทที่3 พระนั่งเกล้า บทที่ 4 พระจอมเกล้า บทที่5 พระจุลจอมเกล้า บทที่6 พระมุงกุฎเกล้า บทที่7 พระปกเกล้า และบทส่ง ภายหลังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ไม่มีชื่อของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
แม้ว่าชื่อของพระองค์ได้ตั้งเป็นชื่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งว่า “สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร กับเขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี แต่พระองค์มิได้เป็นพระมหากษัตริย์
ในหนังสือ “เจ้าชีวิต” เล่มเดียวกันได้เขียนถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าไว้ตอนหนึ่งว่า
“เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกผ่านพ้นไปแล้ว ในไม่ช้าก็ถึงเวลาที่จะตั้งสมเด็จพระมหาอุปราช และก็เป็นดังที่เดากันไว้ คือทรงแต่งตั้งสมเด็จพระอนุชาพระองค์เดียวที่ร่วมพระมารดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี แต่แทนที่จะทรงแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ รัชกาลที่ 4 ทรงเสด็จถอยหลังไปราว 250 ปี คือถึงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า คือแทนที่จะตั้งพระอนุชาเป็น “วังหน้า” กลับทรงตั้งเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง พระราชทานพระราชพิธีบวรราชาภิเษกอันใหญ่หลวง เกือบจะเท่าเทียมกับบรมราชาภิเษก และโปรดให้เสด็จไปประทับที่ “วังหน้า” ซึ่งว่างมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว คนไทยเราไม่ชอบเรียกพระบรมวงศ์ชั้นสูงโดยพระนามอันแท้จริง รัชกาลที่4 ทรงคิดจะขนานพระนามใหม่ถวายพระเจ้าแผ่นดินเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว
ฉะนั้นจึงถวายพระนามใหม่แด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3 ว่า พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอนุชาธิราชนั้น พระราชทานนามว่า พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามทั้งสามนี้ทรงช่างเลือก คือพระนั่งเกล้าพระนามเดินว่า ทับ พระองค์เองพระนามเดิมว่า มงกุฎ ก็เลยเป็นจอมเกล้า ส่วนพระปิ่นเกล้านั้น ก็พระนามเดิมว่า จุฑามณี
มีเรื่องเชื่อกันอยู่มากว่า พระจอมเกล้าทรงใคร่ที่จะให้ที่ประชุมถวายราชบัลลังก์แก่พระปิ่นเกล้าฯพร้อมกันกับพระองค์เอง ฉะนั้นทรงตั้งให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่คู่กัน และที่เป็นเช่นนั้นเพราะทรงทราบว่า พระชะตาของพระปิ่นเกล้าแรงนัก วันหนึ่งน่าจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงทำให้พระจอมเกล้า ทรงเกรงไปว่าถ้าทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่พระองค์เดียว น่ากลัวจะไม่มีพระชนมายุยืน เพราะจะต้องเสด็จสวรรคตให้พระปิ่นเกล้าฯได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่เมื่อมาคิดดูว่าพระจอมเกล้า ได้ทรงผนวชมานานถึง 28 พรรษาทรงเป็นพระภิกษุผู้ทรงตั้งธรรมยุติกนิกายอันเคร่งครัดและนับถือพระอภิธรรมอย่างแบบใหม่ ฉะนั้นแม้จะเป็นเรื่องราวที่มีผู้เชื่ออยู่มาก แต่ผู้เขียนรู้สึกว่ายากที่จะเชื่อได้ พระองค์จะทรงเกรงกลัวหมุกมุ่นอยู่ในความคิดอย่างเก่าโบราณล้าสมัยเช่นนั้น น่าจะเป็นเพราะทรงรักใคร่เอ็นดูพระอนุชาธิราชอย่างลึกซึ้ง เช่นพระนเรศวรทรงรักใคร่พระเอกาทศรถ แต่อาจจะทรงเล็งเห็นว่าพระปิ่นเกล้าฯก็ทรงมีนิสัยใคร่จะแข่งขันกับพระองค์จึงทรงตั้งให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินคู่กันเสีย เป็นการแสดงความรักอย่างใหญ่หลวงที่พี่มีแก่น้อง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการตัดหนทางที่สมเด็จพระอนุชาธิราชจะทรงคิดว่า อาจจะมีทางเป็นใหญ่ขึ้นต่อไปได้”
นพ.มัลคอล์ม สมิธเขียนถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไว้ในหนังสือ “หมอฝรั่งในวังสยาม” ไว้ตอนหนึ่งว่า
“ต้นปี 2394 พระนั่งเกล้าฯ ทรงประชวร ประมาณกลางเดือนมีนาคมพระอาการทรุดหนัก เห็นได้ว่าใกล้จะสิ้นพระชนม์ ปัญหาการสืบราชสมบัติเป็นเรื่องใหญ่ของเสนาบดีมุขอำมาตย์ พระองค์มีประราชประสงค์จะให้โอรสองค์ใหญ่สืบราชสมบัติแต่ไม่ตรงกับความเห็นของฝ่ายมีอำนาจสนับสนุนเจ้าฟ้ามงกุฏ พวกเขาคิดว่าพระองค์ถูกแย่งราชบัลลังก์ไปเมื่อ26ปีที่แล้วมา และในช่วงปีเหล่านั้นไม่มีอะไรทำให้ทรงสูญเสียสิทธิ์ไป ยิ่งกว่านั้นชื่อเสียงฐานะพระภิกษุและความรอบรู้ของพระองค์ชนะใจพวกเขา ความรู้สึกส่วนใหญ่จึงเอนเอียงเข้าข้างเจ้าฟ้ามุงกุฏ และพระนั่งเกล้าฯก็ทรงทราบถึงเรื่องนี้ เพื่อตอบสนองพระราชประสงค์ที่จะให้โอรสองค์ใดองค์หนึ่งของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พวกเขากราบบังคมทูลขณะใกล้เสด็จสวรรคตว่า องค์รัชทายาทได้รับการคัดเลือกแล้ว
วันที่ 15 มีนาคม มีการประชุมกันระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และมุขมนตรีเพื่อปรึกษาหารือกันในเรื่องนี้ จนถึงเวลานั้นเห็นได้ชัดว่า ยังไม่มีใครกล้าประกาศว่าจะเข้าข้างฝ่ายไหน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ผู้มีอำนาจที่สุดในแผ่นดินคนหนึ่งได้รับการสอบถามถึงความเห็น ท่านพูดอย่างเปิดเผยว่า ไม่เห็นมีใครในราชอาณาจักรเหมาะสมไปกว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ ยิ่งไปกว่านั้นตัวท่านยังพร้อมใช้อำนาจทั้งหมดที่มีสนับสนุนความคิดดังกล่าว
เจ้าฟ้ามงกุฏจึงได้รับการกราบบังคมทูลถามถึงความสมัครพระทัย ทรงลังเล ตรัสว่าอยู่ห่างจากการงานแผ่นดินมายาวนาน ไม่มั่นพระทัยว่าจะทรงทำได้ตามลำพัง แต่จะทรงยอมรับราชสมบัติถ้าหากพระอนุชาคือกรมขุนอิศเรศรังสรรค์(พระปิ่นเกล้า)ได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์องค์ที่สอง ข้อนี้คนทั้งหมดพอใจเห็นด้วย เพราะตรงกับความคิดเห็นของพวกเขาอยู่แล้ว”
หลังจากขึ้นครองราชแล้ว นพ.มัลคอล์ม สมิธเขียนถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าอีกตอนหนึ่งว่า
“พระอนุชาแท้ ๆ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สองมีพระราชทัศนะก้าวหน้าล้ำยุคในด้านการปกครองยิ่งกว่าพระจอมเกล้า ฯ ด้วยซ้ำ เพราะโปรดประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ชื่นชมและได้รับการยกย่องจากคนส่วนใหญ่ว่าทรงปราดเปรื่องกว่าพระเชษฐาพระองค์ทรงตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่ว พระราชวังที่ประทับสร้างและทรงตกแต่งตามแบบยุโรปด้วยรสนิยมอันสูงส่ง”
ในหนังสือ “พระเจ้ากรุงสยามของส.ธรรมยศ เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า
“ในระหว่างที่เจ้าพี่ทรงอุปสมบทอยู่นั้น เจ้าฟ้าน้อยบังเอิญทรงมีครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นชาวอังกฤษแท้คนหนึ่งชื่อ โทมัส จอร์จ น็อกซ์ จึงทรงเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษอย่างอังกฤษ ทำให้เป็นที่สรรเสริญกันในหมู่ชาวต่างประเทศในสมัยนั้นมาก กล่าวคือทรงแตกฉานภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง ทำให้ทรงเข้าพระทัยในตำราทันสมัยต่าง ๆ อันทำให้ทัศนะของพระองค์ในทางการปกครองก้าวหน้ากว่าพระเชษฐาอย่างไม่อาจเปรียบเทียบกันได้
พระนิสัยที่แตกต่างกันอย่างหน้ามือเป็นหลังมือคือ เจ้าฟ้าใหญ่ทรงถือระเบียบประเพณีต่าง ๆ ของไทยอย่างเคร่งครัด แตกต่างกับเจ้าฟ้าน้อย “ไม่ทรงเอาอย่างไทย” แต่กล่าวคือทรงเป็นสุภาพบุรุษแห่งโลก ทรงมีเหตผล ทรงประณีตละเอียดละออ ไม่ทรงถือพระองค์ และไม่โปรดให้ใครยกย่องเพ็ดทูลพระองค์ว่าเป็น “เจ้าฟ้าเจ้าสวรรค์” พระองค์ทรงขอให้ใครต่อใครเรียกพระองค์ว่า “ท่านน้อย”อย่างที่สุภาพบุรุษพึงมีต่อสุภาพบุรุษ
ในหนังสือเล่มนี้ได้เขียนยกย่องสมเด็จพระปิ่นเกล้าไว้มาก แต่ในขณะเดียวก็ไม่ค่อยได้พูดถึงความดีของพระจอมเกล้าไว้เท่าที่ควร
“พระเจ้ากรุงสยาม”เคยเป็นหนังสือ “ต้องห้าม” ในยุคสมัยหนึ่ง แต่บัดนี้ก็พอจะหาซื้อมาอ่านกันได้ตามร้านหนังสือทั่วไป
ส่วนหนังสือที่น่าอ่านอีกเล่มหนึ่งคือ “แคทยา และเจ้าฟ้าสยาม” เขียนโดยหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์นั้นได้เขียนถึงพระปิ่นเกล้าไว้ตอนหนึ่งว่า
“ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้ไม่นาน พระจอมเกล้าฯก็ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าจุฑามณี พระอนุชาร่วมพระราชมารดาขึ้นเป็นพระบวรราชเจ้า ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกที่ยิ่งใหญ่หรูหรา เกือบจะไม่ต่างไปจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์เอง”
หนังสือ “รักในราชสำนัก” ของพิมาน แจ่มจรัส มีอยู่บทหนึ่งเขียนถึงเรื่องความรักของสมเด็จพระปิ่นเกล้าไว้ที่หน้า263 ว่า
“สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระวรกายงามสง่า มีความรู้ มีสังคมที่ดี มีพระอารมณ์ขัน และอะไรต่อมิอะไรที่สมเด็จพระจอมเกล้าไม่มี”
“วังหน้าเป็นหนุ่มแข็งแรง ขี่ช้างน้ำมัน ขี่ม้าเทศสูงสามศอกเศษ ยิงปืนทุกวัน ชอบการทหารมาก มีวิทยาคมดี ฤาษีมุนีแพทย์หมอมีวิทยานับถือเข้าอยู่ด้วยมาก ผู้หญิงรักมาก เลี้ยงดูลูกเมียดี”
ข้อความดังกล่าวอยู่ในพระราชหัตเลขาของพระจอมเกล้าที่ส่งไปถึงพระยาสุรยวงศ์มนตรีราชทูตซึ่งเดินทางไปเจริญทางพระราชไมตรียังประเทศอังกฤษ
ในหนังสือเล่มนี้พูดถึงพระมเหสีและพระสนมจำนวนมากของพระปิ่นเกล้า แต่เขียนอธิบายเหตุผลไว้อย่างชัดเจนว่า
“ปกติพระเจ้าแผ่นดินจะเกี้ยวสาวมิได้ พวกขุนนางจึงชอบนำลูกสาวที่สวยที่สุดมาถวาย โดยหวังจะได้มีพระเจ้าแผ่นดินเป็นลูกเขย”
หนังสือยังให้ข้อมูลอีกว่า สมเด็จพระปิ่นเกล้านั้นทรงแต่งกลอนได้ไพเราะและคล้องจอง มีความหมายดี ดังเช่น
“อันตัวเรานี้ก็รองพระจอมเกล้า
เป็นปิ่นเกล้าในสยามภาษา
ยศศักดิ์ประจักษ์ทั่วทุกพารา
พระทรงธรรมกรุณาชุบเลี้ยงเรา
ถึงใครใครที่จะตกมาเป็นห้าม
ไม่มีความขายหน้าดอกหนาเจ้า
เสียแต่ไม่ฉายเฉิดเพริดพริ้งเพรา
เพราะแก่เฒ่าหงุบหงับไม่ฉับไว
ถ้าจะว่าไปจริงทุกสิ่งสิ้น
ก็พอกินตามแก่แก้ขัดได้
ฤาน้ำจิตคิดเห็นเป็นเช่นไร
จึงมิได้ปลงรักสักเวลา
การสิ่งใดที่ไม่เรามิชอบ
อ้อนวอนปลอบจงจำอย่างทำหนา
ก็ไม่ฟังขัดขืนอัธยา
ยังกับว่าตอไม้ไม่ไหวติง
ที่ข้อใหญ่ชี้ให้เห็นเรื่องเล่นเพื่อน
ทำให้เฟือนราชกิจผิดทุกสิ่ง
ถ้าจะเปรียบเนื้อความไปตามจริง
เสมอหญิงเล่นชู้จากสามี
นี่หากวังมีกำแพงแข็งรายรอบ
เป็นคันขอบดุจเขื่อนคีรีศรี
ถ้าหาไม่เจ้าจอมหม่อมเหล่านี้
จะไปเล่นจำจี้กับชายเอยฯ..
อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ยิ่งอ่านยิ่งสนุก ยิ่งทำให้อยากค้นคว้าหาอ่านเพิ่ม แต่อ่านแล้วก็มักจะลืม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบันทึกไว้ จะได้รู้ในภายหลังว่า วันนี้ได้อ่านอะไรไปบ้าง อ่านแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร
วันหลังจะหาหนังสือ “แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม”ที่หายไป มาอ่านให้จบสักที
------
#บ้านหนังสือ
http://bannangsue.lnwshop.com
พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เช่นหนังสือ “พระเจ้ากรุงสยาม”ของส.ธรรมยศ “แคทยาและเจ้าฟ้าสยาม” โดยหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์, “หมอฝรั่งในวังสยาม”ของนพ.มัลคอมสมิธ “รักในราชสำนัก” โดยพิมาน แจ่มจรัส, “สมเด็จพระมหาเจษฎาธิบดินทร์” โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี,”พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”, “บันทึกการเดินทางโดยอองรี มูโอต์” กรรณิกา จรรแสงแปล, “ประวัติต้นรัชกาลที่6” โดยราม วชิราวุธ(นามปากกาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ “เจ้าชีวิต พงศาวดาร 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี” โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
หนังสือเหล่านี้ผมซื้อเก็บสะสมไว้นานพอสมควร แต่ไม่ได้ลงมืออ่านเป็นจริงเป็นจัง บางเล่มเช่น เจ้าชีวิตและประวัติต้นรัชการที่หก รวมทั้งเรื่องพระเจ้ากรุงสยามนั้น พี่จรัญ หอมเทียนทองซื้อมาฝาก ได้มาแล้วผมก็อ่านเท่าที่สนใจ เช่นเรื่องที่แต่งโดยรัชกาลที่6 นั้นผมชอบเป็นพิเศษ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ก็อ่านตอนที่อยากรู้เท่านั้น ที่ไม่อยากรู้ก็ไม่ได้เปิดอ่าน
หนังสือที่ผมอ่านจบไปแล้วก็มี “บันทึกการเดินทางของอองรี มูโอต์” “ประวัติต้นรัชการที่6” และ “หมอฝรั่งในวังสยาม” ส่วนเรื่องของแหม่มแอนนานั้นเคยมีหนังสืออยู่ในครอบครอง แต่ประกฎว่าถึงคราวที่อยากอ่านขึ้นมาอีก หนังสือก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย
ช่วงนี้เป็นช่วงที่อยู่แต่ในบ้านไม่ออกไปไหน หนังสือปกแข็งเหล่านี้ก็ถูกรื้อออกมาจากชั้นวาง ผมเกิดความอยากรู้เรื่องของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิเศษ เพราะไล่ลำดับจาก 9 รัชกาลแล้วไม่มีพระองค์อยู่ในทำเนียบ
ในสารบาญของหนังสือ “เจ้าชีวิต” เขียนว่า บทที่1 พระพุทธยอดฟ้า บทที่2 พระพุทธเลิศหล้า บทที่3 พระนั่งเกล้า บทที่ 4 พระจอมเกล้า บทที่5 พระจุลจอมเกล้า บทที่6 พระมุงกุฎเกล้า บทที่7 พระปกเกล้า และบทส่ง ภายหลังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ไม่มีชื่อของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
แม้ว่าชื่อของพระองค์ได้ตั้งเป็นชื่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งว่า “สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า” เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร กับเขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี แต่พระองค์มิได้เป็นพระมหากษัตริย์
ในหนังสือ “เจ้าชีวิต” เล่มเดียวกันได้เขียนถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าไว้ตอนหนึ่งว่า
“เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกผ่านพ้นไปแล้ว ในไม่ช้าก็ถึงเวลาที่จะตั้งสมเด็จพระมหาอุปราช และก็เป็นดังที่เดากันไว้ คือทรงแต่งตั้งสมเด็จพระอนุชาพระองค์เดียวที่ร่วมพระมารดาคือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี แต่แทนที่จะทรงแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ รัชกาลที่ 4 ทรงเสด็จถอยหลังไปราว 250 ปี คือถึงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า คือแทนที่จะตั้งพระอนุชาเป็น “วังหน้า” กลับทรงตั้งเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง พระราชทานพระราชพิธีบวรราชาภิเษกอันใหญ่หลวง เกือบจะเท่าเทียมกับบรมราชาภิเษก และโปรดให้เสด็จไปประทับที่ “วังหน้า” ซึ่งว่างมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว คนไทยเราไม่ชอบเรียกพระบรมวงศ์ชั้นสูงโดยพระนามอันแท้จริง รัชกาลที่4 ทรงคิดจะขนานพระนามใหม่ถวายพระเจ้าแผ่นดินเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว
ฉะนั้นจึงถวายพระนามใหม่แด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3 ว่า พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอนุชาธิราชนั้น พระราชทานนามว่า พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามทั้งสามนี้ทรงช่างเลือก คือพระนั่งเกล้าพระนามเดินว่า ทับ พระองค์เองพระนามเดิมว่า มงกุฎ ก็เลยเป็นจอมเกล้า ส่วนพระปิ่นเกล้านั้น ก็พระนามเดิมว่า จุฑามณี
มีเรื่องเชื่อกันอยู่มากว่า พระจอมเกล้าทรงใคร่ที่จะให้ที่ประชุมถวายราชบัลลังก์แก่พระปิ่นเกล้าฯพร้อมกันกับพระองค์เอง ฉะนั้นทรงตั้งให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่คู่กัน และที่เป็นเช่นนั้นเพราะทรงทราบว่า พระชะตาของพระปิ่นเกล้าแรงนัก วันหนึ่งน่าจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงทำให้พระจอมเกล้า ทรงเกรงไปว่าถ้าทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่พระองค์เดียว น่ากลัวจะไม่มีพระชนมายุยืน เพราะจะต้องเสด็จสวรรคตให้พระปิ่นเกล้าฯได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่เมื่อมาคิดดูว่าพระจอมเกล้า ได้ทรงผนวชมานานถึง 28 พรรษาทรงเป็นพระภิกษุผู้ทรงตั้งธรรมยุติกนิกายอันเคร่งครัดและนับถือพระอภิธรรมอย่างแบบใหม่ ฉะนั้นแม้จะเป็นเรื่องราวที่มีผู้เชื่ออยู่มาก แต่ผู้เขียนรู้สึกว่ายากที่จะเชื่อได้ พระองค์จะทรงเกรงกลัวหมุกมุ่นอยู่ในความคิดอย่างเก่าโบราณล้าสมัยเช่นนั้น น่าจะเป็นเพราะทรงรักใคร่เอ็นดูพระอนุชาธิราชอย่างลึกซึ้ง เช่นพระนเรศวรทรงรักใคร่พระเอกาทศรถ แต่อาจจะทรงเล็งเห็นว่าพระปิ่นเกล้าฯก็ทรงมีนิสัยใคร่จะแข่งขันกับพระองค์จึงทรงตั้งให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินคู่กันเสีย เป็นการแสดงความรักอย่างใหญ่หลวงที่พี่มีแก่น้อง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการตัดหนทางที่สมเด็จพระอนุชาธิราชจะทรงคิดว่า อาจจะมีทางเป็นใหญ่ขึ้นต่อไปได้”
นพ.มัลคอล์ม สมิธเขียนถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไว้ในหนังสือ “หมอฝรั่งในวังสยาม” ไว้ตอนหนึ่งว่า
“ต้นปี 2394 พระนั่งเกล้าฯ ทรงประชวร ประมาณกลางเดือนมีนาคมพระอาการทรุดหนัก เห็นได้ว่าใกล้จะสิ้นพระชนม์ ปัญหาการสืบราชสมบัติเป็นเรื่องใหญ่ของเสนาบดีมุขอำมาตย์ พระองค์มีประราชประสงค์จะให้โอรสองค์ใหญ่สืบราชสมบัติแต่ไม่ตรงกับความเห็นของฝ่ายมีอำนาจสนับสนุนเจ้าฟ้ามงกุฏ พวกเขาคิดว่าพระองค์ถูกแย่งราชบัลลังก์ไปเมื่อ26ปีที่แล้วมา และในช่วงปีเหล่านั้นไม่มีอะไรทำให้ทรงสูญเสียสิทธิ์ไป ยิ่งกว่านั้นชื่อเสียงฐานะพระภิกษุและความรอบรู้ของพระองค์ชนะใจพวกเขา ความรู้สึกส่วนใหญ่จึงเอนเอียงเข้าข้างเจ้าฟ้ามุงกุฏ และพระนั่งเกล้าฯก็ทรงทราบถึงเรื่องนี้ เพื่อตอบสนองพระราชประสงค์ที่จะให้โอรสองค์ใดองค์หนึ่งของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พวกเขากราบบังคมทูลขณะใกล้เสด็จสวรรคตว่า องค์รัชทายาทได้รับการคัดเลือกแล้ว
วันที่ 15 มีนาคม มีการประชุมกันระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และมุขมนตรีเพื่อปรึกษาหารือกันในเรื่องนี้ จนถึงเวลานั้นเห็นได้ชัดว่า ยังไม่มีใครกล้าประกาศว่าจะเข้าข้างฝ่ายไหน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ผู้มีอำนาจที่สุดในแผ่นดินคนหนึ่งได้รับการสอบถามถึงความเห็น ท่านพูดอย่างเปิดเผยว่า ไม่เห็นมีใครในราชอาณาจักรเหมาะสมไปกว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ ยิ่งไปกว่านั้นตัวท่านยังพร้อมใช้อำนาจทั้งหมดที่มีสนับสนุนความคิดดังกล่าว
เจ้าฟ้ามงกุฏจึงได้รับการกราบบังคมทูลถามถึงความสมัครพระทัย ทรงลังเล ตรัสว่าอยู่ห่างจากการงานแผ่นดินมายาวนาน ไม่มั่นพระทัยว่าจะทรงทำได้ตามลำพัง แต่จะทรงยอมรับราชสมบัติถ้าหากพระอนุชาคือกรมขุนอิศเรศรังสรรค์(พระปิ่นเกล้า)ได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์องค์ที่สอง ข้อนี้คนทั้งหมดพอใจเห็นด้วย เพราะตรงกับความคิดเห็นของพวกเขาอยู่แล้ว”
หลังจากขึ้นครองราชแล้ว นพ.มัลคอล์ม สมิธเขียนถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าอีกตอนหนึ่งว่า
“พระอนุชาแท้ ๆ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สองมีพระราชทัศนะก้าวหน้าล้ำยุคในด้านการปกครองยิ่งกว่าพระจอมเกล้า ฯ ด้วยซ้ำ เพราะโปรดประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ชื่นชมและได้รับการยกย่องจากคนส่วนใหญ่ว่าทรงปราดเปรื่องกว่าพระเชษฐาพระองค์ทรงตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่ว พระราชวังที่ประทับสร้างและทรงตกแต่งตามแบบยุโรปด้วยรสนิยมอันสูงส่ง”
ในหนังสือ “พระเจ้ากรุงสยามของส.ธรรมยศ เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า
“ในระหว่างที่เจ้าพี่ทรงอุปสมบทอยู่นั้น เจ้าฟ้าน้อยบังเอิญทรงมีครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นชาวอังกฤษแท้คนหนึ่งชื่อ โทมัส จอร์จ น็อกซ์ จึงทรงเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษอย่างอังกฤษ ทำให้เป็นที่สรรเสริญกันในหมู่ชาวต่างประเทศในสมัยนั้นมาก กล่าวคือทรงแตกฉานภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง ทำให้ทรงเข้าพระทัยในตำราทันสมัยต่าง ๆ อันทำให้ทัศนะของพระองค์ในทางการปกครองก้าวหน้ากว่าพระเชษฐาอย่างไม่อาจเปรียบเทียบกันได้
พระนิสัยที่แตกต่างกันอย่างหน้ามือเป็นหลังมือคือ เจ้าฟ้าใหญ่ทรงถือระเบียบประเพณีต่าง ๆ ของไทยอย่างเคร่งครัด แตกต่างกับเจ้าฟ้าน้อย “ไม่ทรงเอาอย่างไทย” แต่กล่าวคือทรงเป็นสุภาพบุรุษแห่งโลก ทรงมีเหตผล ทรงประณีตละเอียดละออ ไม่ทรงถือพระองค์ และไม่โปรดให้ใครยกย่องเพ็ดทูลพระองค์ว่าเป็น “เจ้าฟ้าเจ้าสวรรค์” พระองค์ทรงขอให้ใครต่อใครเรียกพระองค์ว่า “ท่านน้อย”อย่างที่สุภาพบุรุษพึงมีต่อสุภาพบุรุษ
ในหนังสือเล่มนี้ได้เขียนยกย่องสมเด็จพระปิ่นเกล้าไว้มาก แต่ในขณะเดียวก็ไม่ค่อยได้พูดถึงความดีของพระจอมเกล้าไว้เท่าที่ควร
“พระเจ้ากรุงสยาม”เคยเป็นหนังสือ “ต้องห้าม” ในยุคสมัยหนึ่ง แต่บัดนี้ก็พอจะหาซื้อมาอ่านกันได้ตามร้านหนังสือทั่วไป
ส่วนหนังสือที่น่าอ่านอีกเล่มหนึ่งคือ “แคทยา และเจ้าฟ้าสยาม” เขียนโดยหม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์นั้นได้เขียนถึงพระปิ่นเกล้าไว้ตอนหนึ่งว่า
“ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้ไม่นาน พระจอมเกล้าฯก็ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าจุฑามณี พระอนุชาร่วมพระราชมารดาขึ้นเป็นพระบวรราชเจ้า ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกที่ยิ่งใหญ่หรูหรา เกือบจะไม่ต่างไปจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์เอง”
หนังสือ “รักในราชสำนัก” ของพิมาน แจ่มจรัส มีอยู่บทหนึ่งเขียนถึงเรื่องความรักของสมเด็จพระปิ่นเกล้าไว้ที่หน้า263 ว่า
“สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระวรกายงามสง่า มีความรู้ มีสังคมที่ดี มีพระอารมณ์ขัน และอะไรต่อมิอะไรที่สมเด็จพระจอมเกล้าไม่มี”
“วังหน้าเป็นหนุ่มแข็งแรง ขี่ช้างน้ำมัน ขี่ม้าเทศสูงสามศอกเศษ ยิงปืนทุกวัน ชอบการทหารมาก มีวิทยาคมดี ฤาษีมุนีแพทย์หมอมีวิทยานับถือเข้าอยู่ด้วยมาก ผู้หญิงรักมาก เลี้ยงดูลูกเมียดี”
ข้อความดังกล่าวอยู่ในพระราชหัตเลขาของพระจอมเกล้าที่ส่งไปถึงพระยาสุรยวงศ์มนตรีราชทูตซึ่งเดินทางไปเจริญทางพระราชไมตรียังประเทศอังกฤษ
ในหนังสือเล่มนี้พูดถึงพระมเหสีและพระสนมจำนวนมากของพระปิ่นเกล้า แต่เขียนอธิบายเหตุผลไว้อย่างชัดเจนว่า
“ปกติพระเจ้าแผ่นดินจะเกี้ยวสาวมิได้ พวกขุนนางจึงชอบนำลูกสาวที่สวยที่สุดมาถวาย โดยหวังจะได้มีพระเจ้าแผ่นดินเป็นลูกเขย”
หนังสือยังให้ข้อมูลอีกว่า สมเด็จพระปิ่นเกล้านั้นทรงแต่งกลอนได้ไพเราะและคล้องจอง มีความหมายดี ดังเช่น
“อันตัวเรานี้ก็รองพระจอมเกล้า
เป็นปิ่นเกล้าในสยามภาษา
ยศศักดิ์ประจักษ์ทั่วทุกพารา
พระทรงธรรมกรุณาชุบเลี้ยงเรา
ถึงใครใครที่จะตกมาเป็นห้าม
ไม่มีความขายหน้าดอกหนาเจ้า
เสียแต่ไม่ฉายเฉิดเพริดพริ้งเพรา
เพราะแก่เฒ่าหงุบหงับไม่ฉับไว
ถ้าจะว่าไปจริงทุกสิ่งสิ้น
ก็พอกินตามแก่แก้ขัดได้
ฤาน้ำจิตคิดเห็นเป็นเช่นไร
จึงมิได้ปลงรักสักเวลา
การสิ่งใดที่ไม่เรามิชอบ
อ้อนวอนปลอบจงจำอย่างทำหนา
ก็ไม่ฟังขัดขืนอัธยา
ยังกับว่าตอไม้ไม่ไหวติง
ที่ข้อใหญ่ชี้ให้เห็นเรื่องเล่นเพื่อน
ทำให้เฟือนราชกิจผิดทุกสิ่ง
ถ้าจะเปรียบเนื้อความไปตามจริง
เสมอหญิงเล่นชู้จากสามี
นี่หากวังมีกำแพงแข็งรายรอบ
เป็นคันขอบดุจเขื่อนคีรีศรี
ถ้าหาไม่เจ้าจอมหม่อมเหล่านี้
จะไปเล่นจำจี้กับชายเอยฯ..
อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ยิ่งอ่านยิ่งสนุก ยิ่งทำให้อยากค้นคว้าหาอ่านเพิ่ม แต่อ่านแล้วก็มักจะลืม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบันทึกไว้ จะได้รู้ในภายหลังว่า วันนี้ได้อ่านอะไรไปบ้าง อ่านแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร
วันหลังจะหาหนังสือ “แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม”ที่หายไป มาอ่านให้จบสักที
------
#บ้านหนังสือ
http://bannangsue.lnwshop.com