ที่มาของกระทู้นี้ มาจากการอธิบายของ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตามคลิปนี้นะครับ ( นาทีที่ 25.35-29.31 )
ฟังคลิปเต็มได้ที่ :
https://www.facebook.com/247882362577951/videos/1043271256078698
“ถ้าผมจะลองเปรียบเทียบ การฉีดวัคซีนเสมือนหนึ่งการคาดเข็มขัดนิรภัยเวลาเราขับรถ เพราะฉะนั้นทุกคนคาดเข็มขัดนิรภัย ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงและความเสี่ยงเสียชีวิตจะลดลงเหมือนกัน การฉีดวัตซีนก็ทำนองเดียวกันกับการคาดเข็มขัดนิรภัย แต่ถ้าในรถนั้นมันมีอุปกรณ์อื่นเพิ่มเติม มีถุงลมนิรภัย มีระบบเบรกที่ดี มีโครงสร้างตัวถังที่ดี มันก็เสมือนหนึ่งที่เราใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่าง มันต้องเป็นองค์ประกอบประกอบกัน มันถึงจะทำให้โดยรวมแล้วเราปลอดภัยเมื่อเราเกิดอุบัติเหตุจากรถ”
“ทีนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ ก็คือความเร็วกับสิ่งที่ชนปะทะ ถ้าชนปะทะหน้าอย่างรุนแรง ความเร็วสูง มันก็จะเกิดโอกาสการเสียชีวิตโดยง่ายหรือว่าบาดเจ็บรุนแรง แม้ว่าเข็มขัดนิรภัยนั้นจะคุณภาพดีมาก ถุงลมนิรภัยจะดี เบรกจะดี โครงสร้างรถยนต์จะเหล็กแข็งยังไง แต่ถ้าชนด้วยความรุนแรงก็จะเสียชีวิตหรือบาดเจ็บได้”
.
“ทำนองเดียวกันกับวัคซีนเช่นเดียวกัน ถ้าเราฉีดวัคซีนแล้วเราไปอยู่ในสถานที่ที่มีเชื้อมาก มีสถานที่แออัดอากาศไม่ถ่ายเท พบเชื้อได้บ่อย เดี๋ยวก็ไปเจอๆ ในขณะที่ประสิทธิผลของวัคซีนมันมีอยู่เท่าเดิม แต่เราเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ฉะนั้นคือเหตุทำให้เรามีข้อมูลว่าบางทีฉีดวัคซีนไปแล้วแม้ว่าถ้ายังอยู่ในความเสี่ยงก็มีโอกาสที่จะป่วยได้เหมือนกัน เราก็เห็นกันแล้ว แม้กระทั่งคนที่ฉีดวัคซีนครบแล้วไปอยู่ในบ่อนการพนันที่ผ่านมา ก็ด้วยความประมาท ก็เป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19”
“หรือแม้แต่การทดลองจริงๆ ตอนที่วัคซีนซิโนแวคไปทำการทดลองในบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มนี้เขาไมได้พาตัวเองเข้าไปเสี่ยงแต่จำเป็นในการทำหน้าที่ของเขา เขาจำเป็นต้องเสี่ยง เขาเจอผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตลอดเวลา เจอทุกวัน เจอในปริมาณมาก เจอในสถานที่ที่จำกัด ไอซียูบ้าง หอผู้ป่วยบ้าง ดังนั้นการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ที่ประเทศบราซิล ที่ทำในบุคลาการทางการแพทย์แล้วมีสถานการณ์การระบาดรุนแรง อย่างเช่นตัวอย่างวัคซีนซิโนแวค ก็เลยแสดงประสิทธิผลจากการทดลองออกมาที่ประมาณ 50% ที่เอาไปแชร์ต่อๆ กันว่าวัควีนซิโนแวคมีผลแค่ 50% เพราะหยิบเอาตัวเลขนี้ไปพูด”
“แต่วัคซีนซิโนแวคตัวเดียวกัน พอไปทำการทดลองที่ประเทศตุรกี มีประสิทธิผล 80 กว่า%
ถ้าเรายึดตัวเลขเป็นสรณะจริงๆ แสดงว่าซิโนแวคบราซิลกับซิโนแวคตุรกีมันมีคุณภาพต่างกันอย่างนั้นหรือ นั่นก็ไม่ถูกต้อง วัคซีนตัวเดียวกันถ้าทดลองในสถานที่ต่างกัน มันก็ให้ผลออกมาต่างกันแม้กระทั่งเป็นวัคซีนตัวเดียวกัน ฉะนั้นการที่จะไปหยิบเอาประสิทธิผลวัคซีนตัวโน้นตัวนี้มาเปรียบเทียบกัน เราหยิบเอามาแต่ค่าเดียว แล้วเราไมได้ดูถึงรายละเอียดภายในของมัน เราก็จะงงงวยกับตัวเลข แล้วเราก็จะนึกว่าตัวโน้นดีกว่าตัวนั้น ตัวนั้นดีกว่าตัวนี้ แล้วก็เปรียบเทียบกันไปต่างๆ นานา”
-----------------------------------------------------
นับตั้งแต่มนุษย์เผชิญสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่คนจำนวนมากตั้งความหวังคือการได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างที่เคยก่อนวิกฤติครั้งนี้ ทั้งการเที่ยวต่างประเทศ การร่วมกิจกรรมกินเลี้ยงสังสรรค์ไม่ว่าในสถานบันเทิงหรือสถานที่อื่นๆ ตลอดจนงานเทศกาลประเพณีต่างๆ ซึ่งหลายอย่างก็ไม่ได้มีคุณค่าทางจิตใจ อย่างที่มีคำกล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องรวมกลุ่มแยกเดี่ยวไม่ได้เท่านั้น ( แม้แต่การเรียนหรือทำงานออนไลน์ หลังๆ ก็เริ่มพูดกันว่าไม่สามารถมาแทนการเรียนในห้องเรียนมีเพื่อนมีครูบาอาจารย์ หรือทำงานในออฟฟิศที่มีเพื่อนร่วมงาน มีหัวหน้ามีลูกน้องเห็นตัวเป็นๆ ได้ เพราะการอยู่กับคนตัวเป็นๆ มันกระตุ้นความอยากเรียน-อยากทำงาน ที่ออนไลน์สิ่งนี้หายไป ) แต่ยังมีคุณค่าด้านเศรษฐกิจด้วย เช่น กิจการแสงสียามราตรีของไทย เป็นหนึ่งในสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกแม้แต่ประเทศที่อวดอ้างว่าเคร่งศาสนา หรือเทศกาลสงกรานต์สาดน้ำ ก็เป็นหนึ่งในเทศกาลโด่งดังระดับโลกที่มีเงินสะพัดหลักหมื่นล้านบาททุกปี นั่นจึงทำให้มนุษย์ตั้งความหวังกับวัคซีนไว้มาก ว่ามันจะทำให้วันคืนเก่าๆ ที่หายไปช่วงโควิด-19 ระบาดทำให้ต้องล็อกดาวน์ สั่งปิดสั่งห้ามโน่นนี่นั่นต่างๆ นานา กลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง
แต่แล้วเมื่อพบว่า วัคซีนโควิดไม่ว่ายี่ห้อไหนก็แล้วแต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ( เช่น ไฟเซอร์ที่อวยกันมากก็ป้องกันได้ 94% ยังมีโอกาสติดเชื้อได้อีก 6% ส่วนยี่ห้ออื่นๆ ก็รองๆ ลงมา ) ทุกยี่ห้อทำได้เพียงลดอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตเมื่อติดเชื้อแล้วเท่านั้น ( ซึ่งตรงนี้ทุกยี่ห้อไม่ต่างกันมาก ) ด้านหนึ่งหลายประเทศที่ฉีดวัคซีนกันจนครึ่งค่อนประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงแต่ยังมีให้เห็น แต่อัตราการป่วยหนักหรือการตายลดลงมาก ก็เริ่มคลายมาตรการคุมเข้ม เช่น บางพื้นที่ไม่ต้องใส่หน้ากาก กิจกรรมต่างๆ ที่มีคนรวมตัวกันมากๆ ก็เริ่มกลับมาจัดได้ แต่อีกด้านหนึ่ง ก็ยังมีเสียงเตือนว่า ทางที่ดีที่สุด มาตรการที่เคยมีควรมีต่อไปไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม
.
เลยเป็นที่มาของกระทู้นี้ละครับ คุณคิดว่าท้ายที่สุดแล้ว มนุษย์เราจะกล้ากลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมๆ เหมือนสมัยที่ยังไม่มีไวรัสโควิด-19 ระบาดหรือไม่? และถามทุกท่านด้วยครับ ว่ากล้ากลับไปใช้ชีวิตหรือดำเนินวิถีเศรษฐกิจอย่างวันคืนเก่าๆ นั้นหรือเปล่า?
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )
ถ้าฉีดวัคซีนแล้วยังติดโควิดได้แม้โอกาสจะน้อยลง คิดว่ามนุษย์จะยังกล้าใช้ชีวิตหรือมีเศรษฐกิจเดิมๆอย่างในอดีตอีกไหมครับ?
ฟังคลิปเต็มได้ที่ : https://www.facebook.com/247882362577951/videos/1043271256078698
“ถ้าผมจะลองเปรียบเทียบ การฉีดวัคซีนเสมือนหนึ่งการคาดเข็มขัดนิรภัยเวลาเราขับรถ เพราะฉะนั้นทุกคนคาดเข็มขัดนิรภัย ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงและความเสี่ยงเสียชีวิตจะลดลงเหมือนกัน การฉีดวัตซีนก็ทำนองเดียวกันกับการคาดเข็มขัดนิรภัย แต่ถ้าในรถนั้นมันมีอุปกรณ์อื่นเพิ่มเติม มีถุงลมนิรภัย มีระบบเบรกที่ดี มีโครงสร้างตัวถังที่ดี มันก็เสมือนหนึ่งที่เราใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่าง มันต้องเป็นองค์ประกอบประกอบกัน มันถึงจะทำให้โดยรวมแล้วเราปลอดภัยเมื่อเราเกิดอุบัติเหตุจากรถ”
“ทีนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ ก็คือความเร็วกับสิ่งที่ชนปะทะ ถ้าชนปะทะหน้าอย่างรุนแรง ความเร็วสูง มันก็จะเกิดโอกาสการเสียชีวิตโดยง่ายหรือว่าบาดเจ็บรุนแรง แม้ว่าเข็มขัดนิรภัยนั้นจะคุณภาพดีมาก ถุงลมนิรภัยจะดี เบรกจะดี โครงสร้างรถยนต์จะเหล็กแข็งยังไง แต่ถ้าชนด้วยความรุนแรงก็จะเสียชีวิตหรือบาดเจ็บได้”
.
“ทำนองเดียวกันกับวัคซีนเช่นเดียวกัน ถ้าเราฉีดวัคซีนแล้วเราไปอยู่ในสถานที่ที่มีเชื้อมาก มีสถานที่แออัดอากาศไม่ถ่ายเท พบเชื้อได้บ่อย เดี๋ยวก็ไปเจอๆ ในขณะที่ประสิทธิผลของวัคซีนมันมีอยู่เท่าเดิม แต่เราเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ฉะนั้นคือเหตุทำให้เรามีข้อมูลว่าบางทีฉีดวัคซีนไปแล้วแม้ว่าถ้ายังอยู่ในความเสี่ยงก็มีโอกาสที่จะป่วยได้เหมือนกัน เราก็เห็นกันแล้ว แม้กระทั่งคนที่ฉีดวัคซีนครบแล้วไปอยู่ในบ่อนการพนันที่ผ่านมา ก็ด้วยความประมาท ก็เป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19”
“หรือแม้แต่การทดลองจริงๆ ตอนที่วัคซีนซิโนแวคไปทำการทดลองในบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มนี้เขาไมได้พาตัวเองเข้าไปเสี่ยงแต่จำเป็นในการทำหน้าที่ของเขา เขาจำเป็นต้องเสี่ยง เขาเจอผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตลอดเวลา เจอทุกวัน เจอในปริมาณมาก เจอในสถานที่ที่จำกัด ไอซียูบ้าง หอผู้ป่วยบ้าง ดังนั้นการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ที่ประเทศบราซิล ที่ทำในบุคลาการทางการแพทย์แล้วมีสถานการณ์การระบาดรุนแรง อย่างเช่นตัวอย่างวัคซีนซิโนแวค ก็เลยแสดงประสิทธิผลจากการทดลองออกมาที่ประมาณ 50% ที่เอาไปแชร์ต่อๆ กันว่าวัควีนซิโนแวคมีผลแค่ 50% เพราะหยิบเอาตัวเลขนี้ไปพูด”
“แต่วัคซีนซิโนแวคตัวเดียวกัน พอไปทำการทดลองที่ประเทศตุรกี มีประสิทธิผล 80 กว่า%
ถ้าเรายึดตัวเลขเป็นสรณะจริงๆ แสดงว่าซิโนแวคบราซิลกับซิโนแวคตุรกีมันมีคุณภาพต่างกันอย่างนั้นหรือ นั่นก็ไม่ถูกต้อง วัคซีนตัวเดียวกันถ้าทดลองในสถานที่ต่างกัน มันก็ให้ผลออกมาต่างกันแม้กระทั่งเป็นวัคซีนตัวเดียวกัน ฉะนั้นการที่จะไปหยิบเอาประสิทธิผลวัคซีนตัวโน้นตัวนี้มาเปรียบเทียบกัน เราหยิบเอามาแต่ค่าเดียว แล้วเราไมได้ดูถึงรายละเอียดภายในของมัน เราก็จะงงงวยกับตัวเลข แล้วเราก็จะนึกว่าตัวโน้นดีกว่าตัวนั้น ตัวนั้นดีกว่าตัวนี้ แล้วก็เปรียบเทียบกันไปต่างๆ นานา”
-----------------------------------------------------
นับตั้งแต่มนุษย์เผชิญสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่คนจำนวนมากตั้งความหวังคือการได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างที่เคยก่อนวิกฤติครั้งนี้ ทั้งการเที่ยวต่างประเทศ การร่วมกิจกรรมกินเลี้ยงสังสรรค์ไม่ว่าในสถานบันเทิงหรือสถานที่อื่นๆ ตลอดจนงานเทศกาลประเพณีต่างๆ ซึ่งหลายอย่างก็ไม่ได้มีคุณค่าทางจิตใจ อย่างที่มีคำกล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องรวมกลุ่มแยกเดี่ยวไม่ได้เท่านั้น ( แม้แต่การเรียนหรือทำงานออนไลน์ หลังๆ ก็เริ่มพูดกันว่าไม่สามารถมาแทนการเรียนในห้องเรียนมีเพื่อนมีครูบาอาจารย์ หรือทำงานในออฟฟิศที่มีเพื่อนร่วมงาน มีหัวหน้ามีลูกน้องเห็นตัวเป็นๆ ได้ เพราะการอยู่กับคนตัวเป็นๆ มันกระตุ้นความอยากเรียน-อยากทำงาน ที่ออนไลน์สิ่งนี้หายไป ) แต่ยังมีคุณค่าด้านเศรษฐกิจด้วย เช่น กิจการแสงสียามราตรีของไทย เป็นหนึ่งในสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกแม้แต่ประเทศที่อวดอ้างว่าเคร่งศาสนา หรือเทศกาลสงกรานต์สาดน้ำ ก็เป็นหนึ่งในเทศกาลโด่งดังระดับโลกที่มีเงินสะพัดหลักหมื่นล้านบาททุกปี นั่นจึงทำให้มนุษย์ตั้งความหวังกับวัคซีนไว้มาก ว่ามันจะทำให้วันคืนเก่าๆ ที่หายไปช่วงโควิด-19 ระบาดทำให้ต้องล็อกดาวน์ สั่งปิดสั่งห้ามโน่นนี่นั่นต่างๆ นานา กลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง
แต่แล้วเมื่อพบว่า วัคซีนโควิดไม่ว่ายี่ห้อไหนก็แล้วแต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ( เช่น ไฟเซอร์ที่อวยกันมากก็ป้องกันได้ 94% ยังมีโอกาสติดเชื้อได้อีก 6% ส่วนยี่ห้ออื่นๆ ก็รองๆ ลงมา ) ทุกยี่ห้อทำได้เพียงลดอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตเมื่อติดเชื้อแล้วเท่านั้น ( ซึ่งตรงนี้ทุกยี่ห้อไม่ต่างกันมาก ) ด้านหนึ่งหลายประเทศที่ฉีดวัคซีนกันจนครึ่งค่อนประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงแต่ยังมีให้เห็น แต่อัตราการป่วยหนักหรือการตายลดลงมาก ก็เริ่มคลายมาตรการคุมเข้ม เช่น บางพื้นที่ไม่ต้องใส่หน้ากาก กิจกรรมต่างๆ ที่มีคนรวมตัวกันมากๆ ก็เริ่มกลับมาจัดได้ แต่อีกด้านหนึ่ง ก็ยังมีเสียงเตือนว่า ทางที่ดีที่สุด มาตรการที่เคยมีควรมีต่อไปไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม
.
เลยเป็นที่มาของกระทู้นี้ละครับ คุณคิดว่าท้ายที่สุดแล้ว มนุษย์เราจะกล้ากลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมๆ เหมือนสมัยที่ยังไม่มีไวรัสโควิด-19 ระบาดหรือไม่? และถามทุกท่านด้วยครับ ว่ากล้ากลับไปใช้ชีวิตหรือดำเนินวิถีเศรษฐกิจอย่างวันคืนเก่าๆ นั้นหรือเปล่า?
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )