สธ.โชว์ผลศึกษาชิโนแวคป้องกันอัลฟา90%-เดลตา75%
21 กรกฎาคม 2021 - 07:52
สธ.เปิดรายงาน ประสิทธิผลวัคซีนซิโนแวค ป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟา 90% และเดลต้า 75% ย้ำฉีดกระตุ้นสลับชนิด เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิม
เพจไทยคู่ฟ้า เปิดเผยรายงานของ กระทรวงสาธารณสุข ถึงการศึกษาประสิทธิผลวัคซีนซิโนแวค จากสถานการณ์จริงที่ได้นำมาฉีดให้กับคนไทยใน 4 แหล่ง มีดังนี้...👇
1.จ.ภูเก็ต ได้ติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ช่วงเดือนเม.ย. – พ.ค. 2564 จำนวนกว่า 1,500 ราย พบการติดเชื้อ เพียง 124 ราย หากเทียบกันระหว่างผู้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน พบว่าประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.7%
2.จ.สมุทรสาคร ได้ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กว่า 500 ราย ช่วงเดือนเม.ย. 2564 พบติดเชื้อ 116 ราย ประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.5%
3.จ.เชียงราย ได้ศึกษากรณีการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข ช่วงเดือนมิ.ย. 2564 กว่า 500 ราย พบการติดเชื้อ 40 ราย
นอกจากนี้ ยังได้ติดตามความรุนแรงเรื่องปอดอักเสบ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า ประสิทธิผลของซิโนแวค 2 เข็มป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 88.8% และป้องกันปอดอักเสบอยู่ที่ 84.9% สำหรับบุคลากรที่ได้รับแอสตร้าเซนเนกา 1 เข็มครบ 14 วัน ป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 83.8%
4.กรมควบคุมโรค ได้ใช้ฐานข้อมูลติดตามบุคลากรสาธารณสุขที่ติดเชื้อทั้งประเทศ และข้อมูลการรับวัคซีน ตั้งแต่ 1 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2564 พบว่า ประสิทธิผลอยู่ที่ 71% โดยช่วงเดือนพ.ค. 2564 ที่พบการระบาดเป็นสายพันธุ์อัลฟา ประสิทธิผลอยู่ที่ 75% และช่วงเดือนมิ.ย. 2564 ที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาแทนที่อัลฟาประสิทธิผลอยู่ที่ประมาณ 20 – 40%
ดังนั้น หากฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม สามารถป้องกันติดเชื้อ จากสายพันธุ์อัลฟาได้ประมาณร้อยละ 90 และป้องกันปอดอักเสบได้ร้อยละ 85 ส่วนประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลตาขณะนี้ ถือว่ายังคงที่คือร้อยละ 75 ซึ่งไม่ต่างจากเดิมที่ร้อยละ 71
สำหรับการฉีดเข็มกระตุ้น และการฉีดสลับประเภทของวัคซีนนั้น จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ พบว่าจะสามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิมได้รวดเร็วและสูงมากขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/news_149590/
มาเลเซียชี้วัคซีนโควิด 'ซิโนแวค' และ 'ไฟเซอร์' มีประสิทธิภาพเท่าเทียมในการใช้งานจริง
เผยแพร่: 21 ก.ค. 2564 06:39 ปรับปรุง: 21 ก.ค. 2564 06:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
นายแพทย์นูร์ ฮิแชม อับดุลลาห์ อธิบดีกรมสุขภาพของมาเลเซีย เมื่อวันอังคาร (20 ก.ค.) ปฏิเสธคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานของวัคซีนซิโนแวค อ้างอิงข้อมูลจากการใช้งานจริงว่ามันมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับวัคซีนของไฟเซอร์ ในการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
ในข้อความที่โพสต์บนเฟซบุ๊ก นูร์ ฮิแชม ระบุว่าเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ที่ตีพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐฯ เผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค บริษัทสัญชาติจีน ในชิลี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม ในประชาชน 4.2 ล้านคนที่ฉีดครบ 2 เข็ม เปรียบเทียบกับ 5.5 ล้านคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
เขาอ้างอิงรายงานระบุว่า "ซิโนแวคถูกพบว่าสามารถลดการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 65.9% ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 87.5% และการป่วยหนักถึงขั้นเข้าห้องไอซียู 90.3% และลดอัตราการเสียชีวิต 86.3%"
นายแพทย์นูร์ ฮิแชม บอกต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลได้ระบุเมื่อไม่นานที่ผ่านมา ว่าวัคซีนของไฟเซอร์ลดการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 64% แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 93%
"เพราะฉะนั้น ไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างวัคซีนซิโนแวคกับวัคซีนไฟเซอร์ในการใช้งานจริง" เขากล่าว "ทั้งสองมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้ออาการรุนแรงและเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการ"
พวกผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของมาเลเซียเคยบอกว่า วัคซีนทุกตัวมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันตัวกลายพันธุ์เดลตา แต่มันยังช่วยป้องกันการติดเชื้ออาการหนักอันมีต้นตอจากตัวกลายพันธุ์ดังกล่าว
นอกจากนี้แล้ว พวกผู้เชี่ยวชาญยังอ้างอิงข้อมูลที่พบว่าดินแดนที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์เดลตาสูงสุดในปัจจุบัน ก็คือสหราชอาณาจักรและประเทศต่างๆ ในยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วัคซีนของไฟเซอร์และแอสตร้าเซนเนก้า เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ที่ใช้วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม อาดัม บาบา รัฐมนตรีสาธารณสุขมาเลเซีย เผยว่า มาเลเซียจะหยุดฉีดวัคซีนซิโนแวคเมื่อสต๊อกวัคซีนซิโนแวคในปัจจุบันหมดลง เนื่องจากพวกเขามีปริมาณวัคซีนอื่นๆ เพียงพอในโครงการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน
คำแถลงหยุดใช้วัคซีนเชื้อตายของซิโนแวค มีขึ้นท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของมันในการรับมือกับตัวกลายพันธุ์ต่างๆ ของโควิด-19 ที่แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายมาก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไทยเผยว่าจะใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็ม 2 สำหรับคนที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มแรก ส่วนอินโดนีเซีย กำลังพิจารณาฉีดเข็มกระตุ้นให้คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว
(ที่มา : ฟรีมาเลเซียทูเดย์)
https://mgronline.com/around/detail/9640000071114
ในที่สุดแพทย์ที่ปรึกษาศบค.,สธ.และศบค.ไทย ก็มีการวิจัยก็นำหน้าประเทศอื่นๆอย่างที่เห็น ไม่ว่าประสิทธิภาพวัคซีน หรือสูตรใหม่ ของ หมอ ยง
มาเลเซียยังกลับไปกลับมา ส่วนไทยนั้น คุณหมอ ยง ท่านบอกไว้นานแล้ว เรื่องวัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสู้โควิดได้ แม้จะลดลงเพราะเจอโควิดกลายพันธุ์ แต่ก็ไม่ได้แพ้วัคซีนอื่นๆ
ไม่แพ้วัคซีนทิพย์ของบรรดาสามกีบที่อวยเช้าอวยเย็น อาการจะเป็นจะตาย ถ้าไม่ได้วัคซีนทิพย์
รัฐบาลลุงตู่ท่านได้ซิโนแวคมาช่วยชีวิตคนไทย ได้แอสตร้าฯมาด้วยแต่ยังผลิตไม่ทันความต้องการ ซิโนแวคจึงเป็นพระเอกที่เก่งที่สุด
เพื่อให้ได้วัคซีนที่หลากหลายและเพื่อเติมเต็มวัคซีนแอสตร้าฯที่มาช้ากว่ากำหนด รัฐบาลและสธ.จึงนำเข้าวัคซีนอื่นๆเพิ่มอีก เช่น ไฟเซอร์ วัคซีนทางเลือกเช่น ซิโนฟาร์ม มาใช้ในประเทศไทย
ประเทศไทยมาถูกทางในเรื่องวัคซีน ในที่สุดก็เป็นที่ประจักษ์ ให้ได้ทราบกันเช่นนี้
เชียร์ลุงตู่ให้ทำงานสำเร็จค่ะ
💚มาลาริน/ซิโนแวคพระเอกช่วยคนไทยมาเร็วและมีประสิทธิภาพไม่แพ้วัคซีนใดเลยค่ะ...สธ.บอกสู้เดลต้าได้75% มาเลย์บอกเท่าไฟเซอร์
21 กรกฎาคม 2021 - 07:52
สธ.เปิดรายงาน ประสิทธิผลวัคซีนซิโนแวค ป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟา 90% และเดลต้า 75% ย้ำฉีดกระตุ้นสลับชนิด เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิม
เพจไทยคู่ฟ้า เปิดเผยรายงานของ กระทรวงสาธารณสุข ถึงการศึกษาประสิทธิผลวัคซีนซิโนแวค จากสถานการณ์จริงที่ได้นำมาฉีดให้กับคนไทยใน 4 แหล่ง มีดังนี้...👇
1.จ.ภูเก็ต ได้ติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ช่วงเดือนเม.ย. – พ.ค. 2564 จำนวนกว่า 1,500 ราย พบการติดเชื้อ เพียง 124 ราย หากเทียบกันระหว่างผู้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน พบว่าประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.7%
2.จ.สมุทรสาคร ได้ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กว่า 500 ราย ช่วงเดือนเม.ย. 2564 พบติดเชื้อ 116 ราย ประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.5%
3.จ.เชียงราย ได้ศึกษากรณีการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข ช่วงเดือนมิ.ย. 2564 กว่า 500 ราย พบการติดเชื้อ 40 ราย
นอกจากนี้ ยังได้ติดตามความรุนแรงเรื่องปอดอักเสบ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า ประสิทธิผลของซิโนแวค 2 เข็มป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 88.8% และป้องกันปอดอักเสบอยู่ที่ 84.9% สำหรับบุคลากรที่ได้รับแอสตร้าเซนเนกา 1 เข็มครบ 14 วัน ป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 83.8%
4.กรมควบคุมโรค ได้ใช้ฐานข้อมูลติดตามบุคลากรสาธารณสุขที่ติดเชื้อทั้งประเทศ และข้อมูลการรับวัคซีน ตั้งแต่ 1 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2564 พบว่า ประสิทธิผลอยู่ที่ 71% โดยช่วงเดือนพ.ค. 2564 ที่พบการระบาดเป็นสายพันธุ์อัลฟา ประสิทธิผลอยู่ที่ 75% และช่วงเดือนมิ.ย. 2564 ที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาแทนที่อัลฟาประสิทธิผลอยู่ที่ประมาณ 20 – 40%
ดังนั้น หากฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม สามารถป้องกันติดเชื้อ จากสายพันธุ์อัลฟาได้ประมาณร้อยละ 90 และป้องกันปอดอักเสบได้ร้อยละ 85 ส่วนประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลตาขณะนี้ ถือว่ายังคงที่คือร้อยละ 75 ซึ่งไม่ต่างจากเดิมที่ร้อยละ 71
สำหรับการฉีดเข็มกระตุ้น และการฉีดสลับประเภทของวัคซีนนั้น จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ พบว่าจะสามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิมได้รวดเร็วและสูงมากขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/news_149590/
มาเลเซียชี้วัคซีนโควิด 'ซิโนแวค' และ 'ไฟเซอร์' มีประสิทธิภาพเท่าเทียมในการใช้งานจริง
เผยแพร่: 21 ก.ค. 2564 06:39 ปรับปรุง: 21 ก.ค. 2564 06:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
นายแพทย์นูร์ ฮิแชม อับดุลลาห์ อธิบดีกรมสุขภาพของมาเลเซีย เมื่อวันอังคาร (20 ก.ค.) ปฏิเสธคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานของวัคซีนซิโนแวค อ้างอิงข้อมูลจากการใช้งานจริงว่ามันมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับวัคซีนของไฟเซอร์ ในการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
ในข้อความที่โพสต์บนเฟซบุ๊ก นูร์ ฮิแชม ระบุว่าเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ที่ตีพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐฯ เผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค บริษัทสัญชาติจีน ในชิลี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม ในประชาชน 4.2 ล้านคนที่ฉีดครบ 2 เข็ม เปรียบเทียบกับ 5.5 ล้านคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
เขาอ้างอิงรายงานระบุว่า "ซิโนแวคถูกพบว่าสามารถลดการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 65.9% ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 87.5% และการป่วยหนักถึงขั้นเข้าห้องไอซียู 90.3% และลดอัตราการเสียชีวิต 86.3%"
นายแพทย์นูร์ ฮิแชม บอกต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลได้ระบุเมื่อไม่นานที่ผ่านมา ว่าวัคซีนของไฟเซอร์ลดการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 64% แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 93%
"เพราะฉะนั้น ไม่มีความแตกต่างกันมากนักระหว่างวัคซีนซิโนแวคกับวัคซีนไฟเซอร์ในการใช้งานจริง" เขากล่าว "ทั้งสองมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้ออาการรุนแรงและเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการ"
พวกผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของมาเลเซียเคยบอกว่า วัคซีนทุกตัวมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันตัวกลายพันธุ์เดลตา แต่มันยังช่วยป้องกันการติดเชื้ออาการหนักอันมีต้นตอจากตัวกลายพันธุ์ดังกล่าว
นอกจากนี้แล้ว พวกผู้เชี่ยวชาญยังอ้างอิงข้อมูลที่พบว่าดินแดนที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์เดลตาสูงสุดในปัจจุบัน ก็คือสหราชอาณาจักรและประเทศต่างๆ ในยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วัคซีนของไฟเซอร์และแอสตร้าเซนเนก้า เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ที่ใช้วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม อาดัม บาบา รัฐมนตรีสาธารณสุขมาเลเซีย เผยว่า มาเลเซียจะหยุดฉีดวัคซีนซิโนแวคเมื่อสต๊อกวัคซีนซิโนแวคในปัจจุบันหมดลง เนื่องจากพวกเขามีปริมาณวัคซีนอื่นๆ เพียงพอในโครงการฉีดวัคซีนแก่ประชาชน
คำแถลงหยุดใช้วัคซีนเชื้อตายของซิโนแวค มีขึ้นท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของมันในการรับมือกับตัวกลายพันธุ์ต่างๆ ของโควิด-19 ที่แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายมาก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไทยเผยว่าจะใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็ม 2 สำหรับคนที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มแรก ส่วนอินโดนีเซีย กำลังพิจารณาฉีดเข็มกระตุ้นให้คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว
(ที่มา : ฟรีมาเลเซียทูเดย์)
https://mgronline.com/around/detail/9640000071114
ในที่สุดแพทย์ที่ปรึกษาศบค.,สธ.และศบค.ไทย ก็มีการวิจัยก็นำหน้าประเทศอื่นๆอย่างที่เห็น ไม่ว่าประสิทธิภาพวัคซีน หรือสูตรใหม่ ของ หมอ ยง
มาเลเซียยังกลับไปกลับมา ส่วนไทยนั้น คุณหมอ ยง ท่านบอกไว้นานแล้ว เรื่องวัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสู้โควิดได้ แม้จะลดลงเพราะเจอโควิดกลายพันธุ์ แต่ก็ไม่ได้แพ้วัคซีนอื่นๆ
ไม่แพ้วัคซีนทิพย์ของบรรดาสามกีบที่อวยเช้าอวยเย็น อาการจะเป็นจะตาย ถ้าไม่ได้วัคซีนทิพย์
รัฐบาลลุงตู่ท่านได้ซิโนแวคมาช่วยชีวิตคนไทย ได้แอสตร้าฯมาด้วยแต่ยังผลิตไม่ทันความต้องการ ซิโนแวคจึงเป็นพระเอกที่เก่งที่สุด
เพื่อให้ได้วัคซีนที่หลากหลายและเพื่อเติมเต็มวัคซีนแอสตร้าฯที่มาช้ากว่ากำหนด รัฐบาลและสธ.จึงนำเข้าวัคซีนอื่นๆเพิ่มอีก เช่น ไฟเซอร์ วัคซีนทางเลือกเช่น ซิโนฟาร์ม มาใช้ในประเทศไทย
ประเทศไทยมาถูกทางในเรื่องวัคซีน ในที่สุดก็เป็นที่ประจักษ์ ให้ได้ทราบกันเช่นนี้
เชียร์ลุงตู่ให้ทำงานสำเร็จค่ะ