" Man-eating Tree " ต้นไม้กินคนในตำนาน




(Ya-Te-Veo ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุด หนึ่งในบัญชีของต้นไม้ที่กินมนุษย์ได้)


Carl Linnaeus นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดนผู้ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 18 ผู้คิดค้นการตั้งชื่อสปีชีส์และมีแนวคิดนอกระบบที่ว่าพืชสามารถกินเนื้อเป็นอาหารได้และพวกมันจับแมลงได้โดยบังเอิญเท่านั้น จนกระทั่งจากการวิเคราะห์ของ Charles Darwin ความคิดเรื่องพืชที่กินเนื้อเป็นอาหารนี้จึงได้รับการยอมรับจากชุมชนวิทยาศาสตร์กระแสหลัก

ทั้งนี้ ความคิดเกี่ยวกับพืชที่กินเนื้อเป็นอาหารปรากฏในหลายวัฒนธรรมก่อนที่จะมีการวิเคราะห์ของ Darwin โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ที่กินมนุษย์ โดยต้นไม้ที่กินคนหรือต้นไม้ที่กินเนื้อเป็นอาหารสามารถหมายถึง พืชกินเนื้อในตำนานหรือพืช cryptozoological ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะฆ่าและกินคนหรือกินสัตว์ขนาดใหญ่อื่น ๆได้

พืชกินเนื้อที่มีกับดักที่ใหญ่ที่สุดที่รู้จักกันดี น่าจะเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงราชา (Nepenthes Raja) ซึ่งผลิตเหยือกดักอาหารได้สูงถึง 38 ซม.(15 นิ้ว) โดยมีความจุถึง 3.5 ลิตร (0.77  imp gal, 0.92 US gal) ซึ่งสปีชีส์นี้จะดักจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เหยือกของพืชเป็นส่วนที่งอกออกมาจากต้นของมันและไม่ใหญ่พอที่จะกินคนได้ แต่ในวัฒนธรรมสมัยนิยม มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆไป (cryptid)
ที่บางชนิดจะมีหยาดน้ำค้างขนาดใหญ่มาก


 "vampire vine"
รายงานที่รู้จักกันดีที่สุดเกี่ยวกับต้นไม้ที่กินมนุษย์ได้เกิดขึ้นในปี 1800 - 1881 มีนักสำรวจชาวเยอรมันที่ชื่อ Carl Liche ได้เขียนจดหมายไปที่ นสพ. South Australian Register และเล่าเรื่องราวของเขาที่ได้ไปเที่ยวบนเกาะมาดากัสคาร์และได้พบกับการสังเวยมนุษย์ของเผ่า "Mkodo" ชนเผ่าล้าหลังที่อาศัยอยู่ภายในถ้ำ โดยชนเผ่าได้ชวน Liche ร่วมพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์  จากนั้น ก็พากันเดินเข้าไปในป่าทึบแล้วไปหยุดตรงที่โล่งตรงคุ้มลำธาร ตรงนั้นจะมีต้นไม้ที่ประหลาดอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งพวกชนเผ่าเรียกกันว่า " Tepe "

คาร์ล ลิช ได้พูดถึงรูปร่างลักษณะของต้นไม้ที่พิลึกนั้นว่า
" ลองนึกถึงภาพของสัปประรดสีน้ำตาลเข้มสูง 8 ฟุตและใหญ่ตามสัดส่วน มีใบใหญ่คล้ายต้นหางจระเข้ 8 ใบย้อยลงมาจากลำต้น แต่ละใบยาวประมาณ 11 ฟุตและมีหนามแหลมที่ขอบใบที่ดูแล้วแข็งแกร่งดั่งเหล็ก และชุ่มไปด้วยของเหลวใสรสหวานที่กินแล้วจะเมามาย ส่วนตรงกลางยอดมีเถาวัลย์สีเขียวที่ยาว 8 ฟุตยื่นออกมาทุกทิศทาง "

ชนเผ่าได้นำหญิงสาวคนหนึ่งมาทำการบูชายัญที่ต้นไม้ด้วย โดยให้ดื่มของเหลวในเบ้าและให้ขึ้นไปบนต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ได้รัดเธอไว้ด้วยการขดรอบคอและแขนด้วยพลังอันโหดร้ายและความรวดเร็วเหมือนอนาคอนดาที่รัดเหยื่อของพวกมัน จากนั้นใบไม้จะเบียดเข้าหากันแน่นๆโดยตั้งขึ้น เพื่อปิดหุ้มรัดเหยื่อที่ตายแล้วด้วยความเงียบเชียบ

แผนที่โบราณของมาดากัสการ์จาก Madagascar: Land of the Man-Eating Tree
เมื่อมีของเหลวคล้ายน้ำข้นๆผสมเลือดไหลออกมาจากลำต้น ชนเผ่าที่อยู่รอบๆก็จะโห่ร้องออกมา และวิ่งเข้าไปล้อมต้นไม้ใช้มือรองของเหลวมาดื่ม
โดยใบไม้ของต้นไม้กินคนนี้จะอยู่ในตำแหน่งตั้งขึ้นประมาณ 10 วัน และจะกลับตกลงมาเหมือนเดิม สายเถาวัลย์ที่พันกันอยู่ก็เหยียดยาวเหมือนเดิมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นนอกจากที่โคนต้นมีกะโหลกและกระดูกสีขาวตกอยู่

หลังจากนั้น ต้นไม้ดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1878 ในนิตยสารของประเทศเยอรมัน จากนั้นก็มีผู้นำเอาบทความดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาต่างๆมากมาย จนในปี 1920 หนังสือพิมพ์ในอเมริกาก็ได้จับเอาประเด็นดังกล่าวมาเขียนจนกลายเป็นกระแส และมีผู้ที่ชื่นชอบความลี้ลับของต้นไม้ปริศนาต้นนี้เดินทางไปสำรวจกันมากมายในบริเวณหมู่เกาะมาดากัสก้า รวมทั้ง ผู้ว่าแห่งมลรัฐมิชิแกน Chase Osborn

โดยในปี 1924 Osborn ได้นำเรื่องของต้นไม้ไปเขียนเป็นหนังสือเรื่อง " Madagascar : Land of the Man-eating Tree " ซึ่งเขาอ้างว่าทั้งชนเผ่าและมิชชันนารีในมาดากัสการ์รู้เกี่ยวกับต้นไม้ที่น่ากลัวนี้ โดยชาวเผ่าทุกคนต่างก็ยืนยันว่า ต้นไม้ต้นดังกล่าวนั้นมีอยู่จริงและพวกเขาเหล่านั้นต่างก็เคยพบกับต้นไม้มาแล้ว

ต้นไม้ที่กินเนื้อเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงในอดีตเมื่อเทียบกับพืชกินเนื้อที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน
ได้แก่ ยอดของ Ya-Te-Veo เมื่อเทียบกับ Drosera capensis หรือ Cape Sundew Bottom
และยอดของต้น Madagascar tree เมื่อเทียบกับหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ส่งผลให้เรื่องราวของต้นไม้กินคนนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจในสายตาของชาวโลกว่าต้นไม้ที่ว่านี้มีอยู่จริงๆ หรือไม่ แล้วถ้าต้นไม้ต้นดังกล่าวนี้มีอยู่จริงมันอยู่ตรงไหนของมาดากัสก้า แต่นักพฤกศาตร์บางกลุ่มออกมาโต้แย้งถึงประเด็นการมีอยู่ของต้นไม้ว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่ต้นไม้ดังกล่าวมีจริงบนโลก รวมทั้งไม่มีข้อมูลของนักผจญภัยที่ชื่อว่า Carl Liche  นักพฤกษศาสตร์จึงลงความเห็นว่า เรื่องราวของต้นไม้กินคนนั้นเป็นแค่เรื่องโกหก

อย่างไรก็ตาม ความนิยมในเรื่องพืชที่กินคนในมาดากัสการ์ยังคงเป็นที่ต้องการการพิสูจน์ โดยมีรายงานที่เกี่ยวกับพืชที่กินเนื้อเป็นอาหารอื่น ๆ ที่อาจจะเข้าข่ายต้นไม้ดังกล่าว เช่น ต้น " vampire vine " ในนิการากัว, ต้น Ya-Te-Veo ซึ่งกล่าวกันว่าเติบโตในอเมริกาใต้ ที่จับและกินมนุษย์โดยใช้ใบยาวๆของมัน, ต้นไม้กินวัว Cow-Eating Tree ในป่าของเมือง Uppinangady, ต้น Madagascar Tree รวมถึงต้น Nubian Tree ที่ล่อสัตว์ต่างๆเข้ามาในกิ่งก้านของมันด้วยดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและผลไม้สีทองที่ดูเหมือนหยดน้ำผึ้ง

สำหรับ Ya-Te-Veo นั้น เป็นพืช cryptid plant ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อต้นไม้ที่กินคนหรือต้นไม้ที่กินเนื้อเป็นอาหารในตำนาน เล่ากันว่าเป็นพืชกินเนื้อซึ่งเติบโตในบางส่วนของอเมริกากลางและใต้ โดยมีบางส่วนอยู่ในแอฟริกาและบนชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่มีคำอธิบายที่แตกต่างกันมากมายเกี่ยวกับพืชในแต่ละที่  แต่รายงานส่วนใหญ่บอกว่า มันมีลำต้นสั้นหนาและมีส่วนคล้ายสายเอ็นยาว

Pili Mara (หรือที่เรียกว่า "ต้นไม้กินวัว")
ซึ่งใช้ในการจับเหยื่อและเกาะติดทุกสิ่งที่เข้าใกล้ โดยรัดเหยื่อของมันจนไม่มีอะไรเหลือนอกจากรอยเลือดที่รากของมัน พืชนี้จะใช้รากของมันเพื่อดื่มเลือดและซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยของเหยื่อเพื่อให้ปุ๋ยกับพื้นดินรอบ ๆ และช่วยให้มันเติบโต  แม้ว่าจะค่อนข้างน่ากลัวและรุนแรง แต่ก็เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้ Ya-Te-Veo เติบโตเป็นขนาดมหึมา ซึ่งชาวพื้นเมืองกลัวว่ามันคือลางร้าย และคิดว่าต้นไม้เป็นผลงานของเวทมนตร์ของแม่มดหมอผีที่ชั่วร้าย

ส่วนต้น Cow-Eating Tree มีรายงานว่าถูกพบโดยชาวเมือง Padrame ใกล้ Kokkoda ในป่า Uppinangady ที่ได้พบเห็นต้นไม้ที่กินเนื้อเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่พยายามจะกินวัว ตามรายงานบอกว่า  Anand Gowda เจ้าของปล่อยวัวให้ไปกินหญ้าในป่า จู่ๆวัวก็ถูกกิ่งไม้ค้วาตัวและยกขึ้นจากพื้น ฝูงวัวที่หวาดกลัววิ่งไปที่หมู่บ้าน  Gowda จึงได้นำกลุ่มชาวบ้านไปที่ต้นไม้ที่กินเนื้อเป็นอาหาร

และก่อนที่ต้นไม้จะได้กินวัวเป็นอาหาร Gowda และชาวบ้านได้ฟาดฟันกิ่งไม้จนตายและวัวได้รับการช่วยเหลือ ต่อมา Subramanya Rao เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในเขต Uppinangady (RFO) กล่าวว่า ต้นไม้ดังกล่าวถูกอธิบายว่าเป็น 'pili mara' (ต้นเสือโคร่ง) ในภาษาพื้นเมือง เขาได้รับการร้องเรียนมากมายเกี่ยวกับวัวที่กลับบ้านในตอนเย็นโดยไม่มีหาง แต่เจ้าหน้าที่ภาคสนามก็ยืนยันว่าพบต้นไม้ที่คล้ายกันในเมือง Padrame จริงซึ่งถูกโค่นลงไปแล้วบางส่วน

Giant Montane Pitcher Plant 
เมื่อเรื่องเล่าที่น่ากลัวของนักสำรวจเหล่านี้หายไป  Man-Eating Trees ก็ได้รับการฟื้นฟูในนิยายแฟนตาซีหลายเรื่อง เช่น
-  Harry Potter  ซึ่งฮีโร่ของเราถูกโจมตีโดยพืชที่มีพิษถึงสองชนิด ได้แก่ Whomping Willow และ Devil 's Snare ซึ่งตั้งชื่อตามพืชที่นักสำรวจพบใน       Nicarauga  
-  The Life of Pi (ชีวิตอัศจรรย์ของพาย) โดย Pi รอดชีวิตจากเรืออับปาง และขึ้นบนเกาะที่เต็มไปด้วยพืชที่กินเนื้อเป็นอาหาร และ
-  Little Shop of Horrors  ภาพยนตร์สยองขวัญที่มีการพูดถึงเจ้าของร้านที่มีพืชที่กินเนื้อเป็นอาหาร

สุดท้าย เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับต้นไม้กินคนนั้นได้รับการหักล้างอย่างน่าทึ่ง เช่น ต้นมาดากัสการ์และต้นนูเบียนไม่เพียงไม่น่ากลัว แต่
ยังเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศในทะเลทราย และเป็นผลไม้ที่กินได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่มาของเรซินสีแดงที่ใช้ในยาแผนโบราณด้วย 

ส่วนพืชกินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดคือ Giant Montane Pitcher Plant ที่เติบโตอยู่บนภูเขาของฟิลิปปินส์ ซึ่งพืชเหยือกเหล่านี้สามารถกินสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่เท่าหนูแค่นั้น แต่พวกมันก็มีลักษณะคล้ายดอกไม้มากกว่าต้นไม้ และใช้น้ำย่อยที่สามารถย่อยแมลงได้หลายร้อยตัวในแต่ละครั้ง โดยต้นไม้เหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์โดยสิ้นเชิง

Cr.http://www.shaunjeffrey.com/legendoftreeeatman.html
Cr.https://writer.dek-d.com/sakemimaru/writer/viewlongc.php?id=516560&chapter=3
Cr.https://additional-creatures.fandom.com/wiki/Ya-Te-Veo
Cr.https://cryptidz.fandom.com/wiki/Carnivorous_Tree
Cr.http://hoaxes.org/archive/permalink/man_eating_tree_of_madagascar

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่