JJNY : 5in1 อิสราเอลหาช่องทางระบายวัคซีน│วิโรจน์เสนอ‘5 จัดการ’│รัฐยื้อเอกชนนำเข้า│กรุงศรีหั่นจีดีพี│“บรรยง”เตือนไทย

มีพอใช้ยันปี 65-'อิสราเอล' เล็งหาช่องทางระบายวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 10 ล.โดส 
https://www.isranews.org/article/isranews-news/97811-Astraaa.html

 
'อิสราเอล' เล็งหาช่องทางระบายวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 10 ล้านโดส -ผู้ประสานงานโรคระบาดแจงมีวัคซีนพอใช้ถึงปี 2565 หลัง ปชช.อายุเกิน 16 ปีได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 โดสแล้วเกิน 80 เปอร์เซ็นต์
 
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานความคืบหน้าสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัสว่า ที่ประเทศอิสราเอลนั้น มีรายงานจากนาย Nachman Ash ผู้ประสานงานด้านโรคระบาดของประเทศอิสราเอลว่า ณ เวลานี้ประเทศอิสราเอลกำลังหาทางที่จะระบายวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 10 ล้านโดส ไปยังสถานที่อื่นๆ เนื่องจากประเทศอิสราเอลนั้นมีจำนวนวัคซีนเป็นจำนวนที่เพียงพอแล้ว  โดยคาดว่าจะมีวัคซีนจำนวนเพียงพอสำหรับประชากรประเทศอิสราเอลไปจนถึงปี 2565
 
เรากำลังหาวิธีการที่ดีที่สุด เพราะเราไม่ต้องการให้วัคซีนต้องมาถึงที่นี่ และเราต้องเอาวัคซีนไปทิ้ง” นาย Ash กล่าวและยืนยันว่าวัคซีนนั้นมีเพียงพอแล้วจากการติดต่อกับผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นๆ 
 
อนึ่ง ในการสัมภาษณ์ นาย Ash ไม่ได้กล่าวถึงกรณีที่กระแสข่าวว่าวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าทำให้เกิดผลข้างเคียงด้านลิ่มเลือดแต่อย่างใด 
โดย ณ เวลานี้มีรายงานว่าประเทศอิสราเอลสามารถฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มประชากรที่มีอายุสูงกว่า 16 ปี เป็นจำนวนถึง 81 เปอร์เซ็นต์ ด้วยวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์เป็นจำนวน 2 โดสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีรายงานว่า อิสราเอลได้บรรลุข้อตกลงการจัดซื้อวัคซีนเพิ่มเติมจากบริษัทโมเดอร์นาอีกจำนวน 10 ล้านโดส ซึ่งผลจากการฉีดวัคซีนดังกล่าวก็ทำให้อิสราเอลสามารถเปิดภาคส่วนเศรษฐกิจได้ตามปกติ และยกเลิกมาตรการการใส่หน้ากากในที่สาธารณะแล้ว 
 ขณะที่ในพื้นที่เขตเวสต์แบงก์ ที่เป็นพื้นที่ครอบครองโดยอิสราเอล ก็มีรายงานว่า มีประชาชนชาวปาเลสไตน์จำนวน 167,000 คน จากทั้งหมด 5.2 ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ซึ่งวัคซีนที่มาถึงกลุ่มประชากรปาเลสไตน์นั้นเป็นวัคซีนที่มาจากทั้งประเทศอิสราเอล ประเทศรัสเซีย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศจีนและจากโครงการโคแวกซ์ ซึ่งเป็นโครงการแบ่งสรรวัคซีนจากองค์การอนามัยโลก    
 
เรียบเรียงจาก: https://uk.investing.com/news/stock-market-news/with-enough-supplies-israel-looks-to-reroute-astrazeneca-vaccine-delivery-2351700
 


‘วิโรจน์’ เสนอ ‘5 จัดการ’ เอาชนะโควิด ชงออกแผนรองรับกักตัวที่บ้าน แนะกระจายซื้อวัคซีน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2683220
 
‘วิโรจน์’ เสนอ ‘5 จัดการ‘ เอาชนะโควิด ชง รัฐบาลออกแผนรองรับกักตัวที่บ้าน ย้ำ กระจายซื้อวัคซีน ลดความเสี่ยงต่อ ปชช. แนะให้เบี้ยเลี้ยงเสี่ยงภัยกับ จนท.ด่านหน้า เสริมขวัญกำลังใจ
 
เมื่อวันที่ 21 เมษายน นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) โพสต์เฟซบุ๊กแสดงข้อเสนอแนะ 5 ข้อ ในการจัดการโควิด-19 ว่า 
 
1) จัดการเตียง ทั้งเตียงในโรงพยาบาล Hospitel และโรงพยาบาลสนาม ต้องให้ความสำคัญกับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนัก หรืออยู่ในภาวะวิกฤต ผู้ป่วยด้วยโรคอื่นที่จำเป็นต้องผ่าตัด และผู้ป่วยอาการหนักด้วยโรคอื่น ที่จำเป็นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล รัฐบาลอาจจะต้องพิจารณาเตรียมมาตรการการกักตัวรักษาที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก มาตรการ Home Isolation จะทำได้ก็ต่อเมื่อ รัฐบาลเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน ไม่ให้มีความประมาท ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป และต้องเร่งทำความเข้าใจว่า ผู้ติดเชื้อโควิด คือ ผู้ป่วย ไม่ใช่ผู้ร้าย 
 
2) จัดการการตรวจ การตรวจเชิงรุกในวันนี้ ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะการตรวจวินิจฉัยเท่านั้น แต่เป็นมาตรการที่ประสิทธิภาพอย่างมากในการควบคุมการระบาดของโรค ให้อยู่ในวงจำกัด ความสำคัญของไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อนั้นได้ลดทอนความสำคัญลงไปแล้ว เพราะปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดแล้วว่า ตนติดเชื้อโควิดมาจากคลัสเตอร์ได้
  
นายวิโรจน์กล่าวว่า 
 
3) จัดการการจัดหาวัคซีน การที่รัฐบาลกระจายความเสี่ยงจัดหาวัคซีนที่ดี จะทำให้รัฐบาลสามารถบริหารจัดการวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตนย้ำมาโดยตลอดว่า การฉีดวัคซีนดีกว่าการไม่ฉีด แต่ถ้ารัฐบาลมีการกระจายความเสี่ยงที่ดี การฉีดวัคซีนก็จะมีประสิทธิภาพ และประชาชนก็ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงมากนัก ไม่มีใครยืนยันได้ว่าวัคซีนยี่ห้อใด ชนิดใด ดีที่สุด เพราะความไม่แน่นอน และความไม่ชัดเจนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้รับวัคซีนกลุ่มหนึ่ง 
 
4) จัดการการฉีดวัคซีน สำหรับด้านการบริหารงานบุคลากร จะต้องวางแผนการสลับกะการทำงาน เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรอยู่ในภาวะที่เหนื่อยล้าจนเกินไป นอกจากนี้จะต้องมีการดูแลในเรื่องค่าล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าเสี่ยงภัยต่างๆ ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ถ้าเป็นไปได้ ควรให้บริการการฉีดวัคซีนให้ได้ทุกวัน โดยไม่หยุด หรือลดศักยภาพลงในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพราะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ น่าจะเป็นวันที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ให้ประชาชนออกมารับการฉีดวัคซีน ซึ่งจะช่วยทำให้การฉีดวัคซีน สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วขึ้น
 
นายวิโรจน์กล่าวว่า และ 5) จัดการการเยียวยา ต้องยอมรับว่าความเสียหายจากการฉีดวัคซีนล่าช้า จนเกิดการระบาดระลอกที่ 3 นั้นรัฐบาลก็ทราบดีกว่า ประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อย ต้องแบกรับความเสียหายสูงถึงเดือนละ 2.5 แสนล้านบาทต่อเดือน การเยียวยาในวันนี้ จึงไม่ได้เป็นแค่ “การช่วยเหลือประชาชน” แต่เป็นมาตรการ ที่ทำให้ประชาชนมีกำลังใจที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปพร้อมกับรัฐบาล และพร้อมที่จะปฏิบัติตามมาตรการใดๆ เพื่อควบคุมการระบาด ที่รัฐบาลประกาศออกมาเป็นระยะๆ
 
https://www.facebook.com/wirojlak/posts/283598449958796


 
วัคซีนป่วน รัฐยื้อเอกชนนำเข้า ทางเลือก 10 ล้านโดสส่อเลื่อนยาว
https://www.thansettakij.com/content/covid_19/476686
 
วัคซีนป่วน รัฐยื้อเอกชนนำเข้า ทางเลือก 10 ล้านโดสส่อเลื่อนยาว
 
การประชุมนัดแรกของคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในช่วงบ่ายของวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นประธานคณะทำงาน ร่วมกับตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข อย. องค์การเภสัชกรรม สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ฯลฯ เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการจัดหาวัคซีนโควิดมาฉีดให้กับประชาชนให้ครอบคลุม 70% ซึ่งเบื้องต้นวางแผนนำเข้าวัคซีน 10 ล้านโดส ทำให้ถูกจับจ้องเป็นพิเศษ
 
ผลการประชุมพบว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ โรงพยาบาลเอกชน สามารถ นำเข้าวัคซีน อื่นได้ แต่ห้ามซ้ำกับวัคซีนที่รัฐบาลนำเข้าอยู่แล้ว คือ ซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า (รวมถึง Sputnik V ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียน) อาทิ ไฟเซอร์, Moderna, Sinopharm และ Novavax ฯลฯ ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนเองต่างต้องการให้ ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน รวดเร็ว เพื่อนำเข้าและฉีดให้กับประชาชนได้เร็วที่สุดเพราะการขึ้นทะเบียนวัคซีนต้องใช้ระยะเวลานาน 1-2 เดือน ดังนั้น เบื้องต้นจึงยังไม่สามารถนำเข้าวัคซีนจำนวน 10 ล้านโดสในเดือนพ.ค.นี้ เพื่อฉีดให้กับประชาชนจำนวน  5 ล้านคน ได้ตามแผนที่วางไว้ก่อนหน้า
 
นำเข้า10ล.โดสฝันสลาย
 
สาเหตุสำคัญคือ รัฐบาลไม่ต้องการให้ถูกมองว่าลักลั่น บางคนฉีดฟรีและบางคนเสียเงิน ซึ่งในความเป็นจริง หากมีวัคซีนที่หลากหลาย มีประสิทธิภาพสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุดย่อมเป็นเรื่องดี คนที่มีกำลังซื้อและต้องการฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรของตนเองถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐ ซึ่งวันนี้หน่วยงานหลายแห่งทั้งภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ต่างต้องการวัคซีนจำนวนนับล้านโดส เพื่อฉีดให้กับบุคลากร สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามา
 
จี้ปลดล็อกนำเข้าวัคซีน
 
นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัทธนบุรี เฮลท์แคร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือTHG  เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อโรงพยาบาลทำให้เกิดวิกฤตขาดแคลนเตียง โดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก ICU เพราะฉะนั้นแนวทางสำคัญคือการเร่งฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดเพราะเป็นกรณีฉุกเฉิน หากรัฐบาลปลดล็อกโรงพยาบาลเองก็ต้องการนำเข้าวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด เพราะการฉีดวัคซีนวันนี้กว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันและฉีดครบ 2 โดสต้องกินเวลานานถึง 3 เดือน
 
วัคซีนเป็นเรื่องเร่งด่วน เอกชนไม่มีใครพูดเรื่องราคาเพราะอยากให้ประชาชนได้ฉีดให้ได้มากที่สุด และจะเป็นวัคซีนอะไรก็ได้ จะเป็นซิโนแวคหรือแอสตร้าเซนเนก้าที่ขึ้นทะเบียนแล้วก็ได้ แต่ถ้าหากให้นำเข้าวัคซีนอื่น ไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์, Moderna, Sputnik V , Sinopharm และ Novavax ก็ต้องขึ้นทะเบียนให้เร็วที่สุด
 
รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของวัคซีนปัญหาใหญ่ในช่วง 3 เดือนนี้คือ จะทำอย่างไรกับคนที่ป่วยติดเชื้อและอาการหนัก เพราะห้อง ICU ก็ไม่เพียงพอที่จะรองจรับ วันนี้ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องวัคซีนทางเลือกแล้วไตรมาส 3 จะเป็นอย่างไรไม่มีใครตอบได้
 
ควานหาเพิ่ม 30 ล้านโดส
 
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า จากที่หอการค้าไทยได้ประชุมร่วมกับประธานเจ้าหน้าบริหาร (ซีอีโอ) กว่า 40 บริษัทใหญ่ในทุกกลุ่มธุรกิจของไทย ผ่านระบบประชุมทางไกลและมีข้อสรุปสำคัญคือ การเร่งจัดหาวัคซีนทางเลือกโดยโรงพยาบาลเอกชนหรือภาคเอกชนเพื่อให้คนไทยได้ฉีดครอบคลุม 70% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งจะต้องจัดหาวัคซีนทางเลือกมาเสริมจากที่รัฐบาลจัดหาอีก 30 ล้านโดส โดยวัคซีนที่ภาคเอกชนมีคอนเน็กชั่นและสามารถจัดหาได้ อาทิ Moderna , Pfizer, Sinopharm, CanSino Biologics, COVAXIN , Sputnik V จากรัสเซีย เป็นต้น
 
ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสนับสนุนภาครัฐในการเร่งฉีดวัคซีนเพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ และเร่งเปิดประเทศ ทางหอการค้าไทยและเครือข่ายได้แบ่งงานออกเป็น 4 ทีม ได้แก่
 
1. ทีมสนับสนุนการกระจายและฉีดวัคซีนทั้งด้านสถานที่ในการฉีดวัคซีน บุคลากร อาสาสมัครและอุปกรณ์ไอที
 
2. ทีมการสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจให้กับประชาชน
3. ทีมเทคโนโลยีและไอทีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการลงทะเบียน ขั้นตอนในการฉีดที่รวดเร็ว และมีระบบการติดตามตัว พร้อมสามารถออกใบรับรองการฉีดวัคซีนได้ และ
 
4. ทีมจัดหาวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติมอีก 30 ล้านโดส
  
สรุปคือภาคเอกชนภาคเอกชนพร้อมเข้าไปสนับสนุนภาครัฐในทุกรูปแบบ ทุกมิติ ที่เราเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลจะต้องไปปลดล็อกอย่างเดียวก็คือ จะทำอย่างไรถึงไปเอาวัคซีนเข้ามาได้เร็วที่สุด
 
ภูเก็ตมั่นใจมิ.ย.ฉีด 70%
 
นายวิชิต ประกอบโกศล รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า มีความคาดหวังว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมการระบาดให้ได้ภายใน 1-2 เดือนนี้โดยรัฐบาลจะต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับคนในภูเก็ต อย่างน้อย 70% ของประชากรตามกำหนด ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จเร็วที่สุดหรือช้าต้องไม่เกินเดือนมิ.ย.นี้ เพื่อให้สามารถเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้วมาท่องเที่ยวไทย โดยไม่ต้องกักตัวนำร่องที่จังหวัดภูเก็ต ได้ทันในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ตามไทม์ไลน์ที่รัฐบาลประกาศไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่