“เพื่อไทย” ส่ง จม.เปิดผนึกถึง “นายกฯ” เรียกร้อง 3 ข้อ เร่งแก้วิกฤตโควิด พูดความจริงฟื้นเชื่อมั่นปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2682955
“เพื่อไทย” ส่ง จม.เปิดผนึกถึง “นายกฯ” เรียกร้อง 3 ข้อ เร่งแก้วิกฤตโควิด พูดความจริงฟื้นเชื่อมั่นปชช.
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ถึงนายกรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดว่า
“
ถึง นายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.
เรื่อง การแก้ไขปัญหาวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และฟื้นความเชื่อมั่นให้พี่น้องประชาชน
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สร้างผลกระทบอย่างหนักต่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนคนไทย ต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 1 ปี ก่อเกิดปัญหาสุขภาพ ลุกลามสู่วิกฤตด้านต่างๆ โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจที่สร้างปัญหาปากท้องให้กับคนไทยอย่างแสนสาหัส และที่สำคัญ ขณะนี้ยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะทุเลาเบาบางจนสามารถวางใจได้ว่าประชาชนคนไทยจะกลับมามีวิถีชีวิตปกติได้
พรรคเพื่อไทย ตระหนักและห่วงใยพี่น้องประชาชน ในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการระดมความคิดเห็นและประสานความร่วมมือในการช่วยกันคลี่คลายวิกฤต บรรเทาปัญหาและผลกระทบ เพื่อคืนความเชื่อมั่นและความหวังให้พี่น้องประชาชน ที่จะต้องเผชิญผลกระทบทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจปากท้องที่จะเป็นปัญหาใหญ่ตามมาในอนาคต
พรรคเพื่อไทย ในฐานะพรรคการเมืองที่มาจากประชาชน ขอปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนของพี่น้องประชาชน นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมที่มุ่งหวังที่จะให้เกิดประโยชน์กับการแก้ไขปัญหา เรียกร้องนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการ ศบค. แสดงความชัดเจนในแนวทางแก้ไขปัญหาและทางออกจากวิกฤตครั้งนี้ เพื่อคืนชีวิตและความหวังให้กับพี่น้องประชาชน
1. ขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับประชาชนในมิติของการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ครอบคลุมและเพียงพอ ซึ่งในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ความจริงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก ลดความตระหนกในหมู่ประชาชน ขณะเดียวกันควรลดการสื่อสารที่มุ่งมิติทางการเมือง เพื่อปกป้องตัวเองหรือมีลักษณะที่เป็นการโยนความผิดให้ประชาชน เพื่อลดความไม่ไว้วางใจและความไม่เชื่อมั่น โดยเฉพาะในขณะนี้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการจัดหาและกระจายวัคซีนอันเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการแก้ไขวิกฤต รัฐบาลควรมีความชัดเจนในแผนการจัดหาวัคซีนที่มีความหลากหลายและเพียงพอต่อสถานการณ์ และมีแผนการกระจายวัคซีนที่รวดเร็ว ทั่วถึงและง่ายต่อการเข้าถึงของพี่น้องประชาชนมากที่สุด พร้อมกำหนดกลุ่มเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่มีความพร้อมเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด
2.ให้ความสำคัญกับการเร่งคลี่คลายอุปสรรคและแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเปิดช่องทางให้เกิดการกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมให้ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา อันจะเป็นหนทางที่จะนำพาประเทศให้พ้นจากวิกฤตได้ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด พร้อมทั้งลดการบริหารงานในลักษณะรวมศูนย์ ทำนองเดียวกับการจัดการปัญหาความมั่นคง ที่ทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์
3.ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วในทุกด้าน ความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกนาที ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับภาครัฐ โดยเฉพาะการจัดการข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการบันทึกและรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
ในสถานการณ์วิกฤต พรรคเพื่อไทยและสมาชิกพรรคเพื่อไทยที่มีอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิด เพื่อฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาและแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด ลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ คืนชีวิตและอนาคตที่ดีให้กับคนไทยอีกครั้ง”
'ซิโนแวค' ประสิทธิภาพต่ำ จน "น่าผิดหวัง"
https://www.voicetv.co.th/read/vox_MX59l
การทดลองเชิงคลินิกที่บราซิลป้องกันโควิด-19 ได้เพียง 50.65% ขณะ 'The Economist' ชี้ผลทดสอบการแจกจ่ายวัคซีนจริงต่ำกว่า 50% อันเป็นค่ามาตรฐานสากล
'ดิ อีโคโนมิสต์' (The Economist) รวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนต้านโควิด-19 ของ
'ซิโนแวค ไบโอเทค' บริษัทเวชภัณฑ์ของจีน ผู้ผลิตวัคซีนโคโรนาแวค ก่อนชี้ว่า "น่าผิดหวัง" โดยอ้างอิงผลการทดลองทั้งจากเชิงคลินิกและในการกระจายวัคซีนจริง
ในการทดลองกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของประเทศบราซิล สถาบันวิจัยชีวการแพทย์บูตันตัน ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐเซาเปาโล เผยรายงานผลการทดลองขั้นสุดท้ายของวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีประสิทธิภาพเฉลี่ยป้องกันเชื้อได้เพียง
50.65%
ข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก และสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ระบุว่า เกณฑ์เฉลี่ยประสิทธิภาพของวัคซีนควรอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 50%
ขณะเดียวกัน ผลทดสอบประสิทธิภาพกับวัคซีนที่แจกจ่ายออกไปจริงพบว่า วัคซีนของซิโนแวคมีประสิทธิภาพแค่เพียง 49.6% เท่านั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยแสดงอาการ และตกลงไปมีประสิทธิภาพแค่เพียง 35.1% เมื่อรวมกรณีผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ
ไม่ว่าวัคซีนของซิโนแวคจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องเข้าใจว่าการวัดประสิทธิภาพวัคซีนในการแจกจ่ายจริงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก อย่างไรก็ดี ซิโนแวคส่งออกวัคซีนของบริษัทไปแล้วกว่า 120 ล้านโดส ใน 19 ประเทศ ประเทศผู้ซื้อสำคัญได้แก่ บราซิล, อินโดนีเซีย และ ตุรกี รวมถึงประเทศไทย
อ้างอิง;
The Economist
JJNY : “พท.”ส่งจม.เรียกร้อง3ข้อ│'ซิโนแวค'ประสิทธิภาพต่ำจน"น่าผิดหวัง"│กกร.จี้“ตู่”อัดฉีดศก.│"เมียนมา"ยิงเรือไทยคำรบสอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2682955
“เพื่อไทย” ส่ง จม.เปิดผนึกถึง “นายกฯ” เรียกร้อง 3 ข้อ เร่งแก้วิกฤตโควิด พูดความจริงฟื้นเชื่อมั่นปชช.
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ถึงนายกรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดว่า
“ถึง นายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.
เรื่อง การแก้ไขปัญหาวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และฟื้นความเชื่อมั่นให้พี่น้องประชาชน
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สร้างผลกระทบอย่างหนักต่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนคนไทย ต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 1 ปี ก่อเกิดปัญหาสุขภาพ ลุกลามสู่วิกฤตด้านต่างๆ โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจที่สร้างปัญหาปากท้องให้กับคนไทยอย่างแสนสาหัส และที่สำคัญ ขณะนี้ยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะทุเลาเบาบางจนสามารถวางใจได้ว่าประชาชนคนไทยจะกลับมามีวิถีชีวิตปกติได้
พรรคเพื่อไทย ตระหนักและห่วงใยพี่น้องประชาชน ในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการระดมความคิดเห็นและประสานความร่วมมือในการช่วยกันคลี่คลายวิกฤต บรรเทาปัญหาและผลกระทบ เพื่อคืนความเชื่อมั่นและความหวังให้พี่น้องประชาชน ที่จะต้องเผชิญผลกระทบทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจปากท้องที่จะเป็นปัญหาใหญ่ตามมาในอนาคต
พรรคเพื่อไทย ในฐานะพรรคการเมืองที่มาจากประชาชน ขอปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนของพี่น้องประชาชน นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคมที่มุ่งหวังที่จะให้เกิดประโยชน์กับการแก้ไขปัญหา เรียกร้องนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการ ศบค. แสดงความชัดเจนในแนวทางแก้ไขปัญหาและทางออกจากวิกฤตครั้งนี้ เพื่อคืนชีวิตและความหวังให้กับพี่น้องประชาชน
1. ขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับประชาชนในมิติของการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ครอบคลุมและเพียงพอ ซึ่งในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ความจริงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก ลดความตระหนกในหมู่ประชาชน ขณะเดียวกันควรลดการสื่อสารที่มุ่งมิติทางการเมือง เพื่อปกป้องตัวเองหรือมีลักษณะที่เป็นการโยนความผิดให้ประชาชน เพื่อลดความไม่ไว้วางใจและความไม่เชื่อมั่น โดยเฉพาะในขณะนี้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการจัดหาและกระจายวัคซีนอันเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการแก้ไขวิกฤต รัฐบาลควรมีความชัดเจนในแผนการจัดหาวัคซีนที่มีความหลากหลายและเพียงพอต่อสถานการณ์ และมีแผนการกระจายวัคซีนที่รวดเร็ว ทั่วถึงและง่ายต่อการเข้าถึงของพี่น้องประชาชนมากที่สุด พร้อมกำหนดกลุ่มเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่มีความพร้อมเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด
2.ให้ความสำคัญกับการเร่งคลี่คลายอุปสรรคและแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเปิดช่องทางให้เกิดการกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมให้ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา อันจะเป็นหนทางที่จะนำพาประเทศให้พ้นจากวิกฤตได้ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด พร้อมทั้งลดการบริหารงานในลักษณะรวมศูนย์ ทำนองเดียวกับการจัดการปัญหาความมั่นคง ที่ทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์
3.ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วในทุกด้าน ความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกนาที ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับภาครัฐ โดยเฉพาะการจัดการข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการบันทึกและรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
ในสถานการณ์วิกฤต พรรคเพื่อไทยและสมาชิกพรรคเพื่อไทยที่มีอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิด เพื่อฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้มีการแก้ไขปัญหาและแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด ลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ คืนชีวิตและอนาคตที่ดีให้กับคนไทยอีกครั้ง”
'ซิโนแวค' ประสิทธิภาพต่ำ จน "น่าผิดหวัง"
https://www.voicetv.co.th/read/vox_MX59l
การทดลองเชิงคลินิกที่บราซิลป้องกันโควิด-19 ได้เพียง 50.65% ขณะ 'The Economist' ชี้ผลทดสอบการแจกจ่ายวัคซีนจริงต่ำกว่า 50% อันเป็นค่ามาตรฐานสากล
'ดิ อีโคโนมิสต์' (The Economist) รวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนต้านโควิด-19 ของ 'ซิโนแวค ไบโอเทค' บริษัทเวชภัณฑ์ของจีน ผู้ผลิตวัคซีนโคโรนาแวค ก่อนชี้ว่า "น่าผิดหวัง" โดยอ้างอิงผลการทดลองทั้งจากเชิงคลินิกและในการกระจายวัคซีนจริง
ในการทดลองกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของประเทศบราซิล สถาบันวิจัยชีวการแพทย์บูตันตัน ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐเซาเปาโล เผยรายงานผลการทดลองขั้นสุดท้ายของวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีประสิทธิภาพเฉลี่ยป้องกันเชื้อได้เพียง 50.65%
ข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก และสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ระบุว่า เกณฑ์เฉลี่ยประสิทธิภาพของวัคซีนควรอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 50%
ขณะเดียวกัน ผลทดสอบประสิทธิภาพกับวัคซีนที่แจกจ่ายออกไปจริงพบว่า วัคซีนของซิโนแวคมีประสิทธิภาพแค่เพียง 49.6% เท่านั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยแสดงอาการ และตกลงไปมีประสิทธิภาพแค่เพียง 35.1% เมื่อรวมกรณีผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ
ไม่ว่าวัคซีนของซิโนแวคจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องเข้าใจว่าการวัดประสิทธิภาพวัคซีนในการแจกจ่ายจริงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก อย่างไรก็ดี ซิโนแวคส่งออกวัคซีนของบริษัทไปแล้วกว่า 120 ล้านโดส ใน 19 ประเทศ ประเทศผู้ซื้อสำคัญได้แก่ บราซิล, อินโดนีเซีย และ ตุรกี รวมถึงประเทศไทย
อ้างอิง; The Economist