ยังน่าห่วง! ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 1,443 ราย ตาย 4 ราย
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/933300
ยอด "โควิด-19" วันนี้ สถานการณ์ทรุด พบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 1,443 ราย ทำให้ยอดสะสมการระบาดละลอกใหม่ ทะลุ 1.6 หมื่นรายแล้ว ขณะตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสมนับสิบรายในระยะเวลาครึ่งเดือน
รายงานสถานการณ์โคโรนาไวรัสล่าสุด วันนี้ 20 เมษายน 2564 สถานการณ์ยังทรงตัว โดยยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทะลุหลักพันเป็นวันที่ห้า รายงานจาก รายงานอัพเดทสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ประจำวัน 20 เมษายน 2564 หรือ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1,443 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 45,185 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 4 ราย เสียชีวิตสะสม 108 ราย
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่นั้น สามารถแบ่งออกเป็น ติดเชื้อในประเทศ 1,441 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,328 ราย การค้นหาเชิงรุกในชุมชน 113 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 2 ราย (อยู่ใน Quarantine ทั้ง 2 ราย) รักษาหายแล้ว 171 ราย
ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 ถึง 20 เม.ย. 64 พบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19รายใหม่เพิ่ม 1,443 ราย ทำให้ในระยะเวลา 20 วันของการระบาดระลอกใหม่ มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 16,322 ราย
สำหรับ สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ในวันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน 2564 เวลา 11.40 น. พบว่า มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 141,316,012 ราย รักษาหายแล้ว 119,923,164 ราย เสียชีวิต 3,023,911 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 32,372,119 ราย
2. อินเดีย จำนวน 14,788,109 ราย
3. บราซิล จำนวน 13,900,134 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,260,182 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 4,693,469 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 110 จำนวน 40,585 ราย
KP ชี้ อสังหาฯ ปี 64 ยังอ่วมพิษโควิด เน้นกลุ่มมีกำลังซื้อ-บ้านราคา 3-5 ล้าน
https://www.prachachat.net/finance/news-650819
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เปิดผลสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ใต้พายุโควิด-19 ประเมินตลาดปี 64 ยอดขายยังชะลอตัว ผู้ประกอบการไม่เร่งเปิดโครงการใหม่ เน้นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ-อาศัยอยู่จริง เจาะกลุ่มแนวราบราคา 3-5 ล้านบาท ระบุยอดโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ปี 63 ปิดที่ 1.26 แสนหน่วย เพิ่มขึ้น 5.0 พันหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อน
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร โดยสายงานสินเชื่อธุรกิจ ประเมินว่าสำหรับภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 การขายยังคงชะลอตัว ผู้ประกอบการไม่เร่งเปิดโครงการใหม่ เน้นการพัฒนาโครงการแนวราบราคา 3-5 ล้านบาท ทั้งรูปแบบทาวเฮ้าส์ บ้านแฝด และบ้านเดี่ยว (ระดับราคาขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อ และคนทำงานที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยจริง และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ไม่มาก นอกจากนี้ ตลาดบ้านเดี่ยวระดับราคา 7 – 10 ล้านบาท ยังขายดีในบางทำเล และมีโอกาสเพิ่มขึ้นในบางโซนที่พื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูงขึ้นจากผังเมืองกรุงเทพฯ ที่ปรับใหม่
ขณะที่การพัฒนาของโครงการแนวราบประเภททาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยวในปี 2563-2564 มีหลายพื้นที่ที่น่าสนใจและมีโอกาสในการพัฒนาสูง จากปัจจัยเรื่องของแนวถนนตัดใหม่ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ (ถนนตัดใหม่ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า) ทางด่วนพิเศษส่วนต่อขยาย การขยายตัวของเมืองและสิ่งอำนวยความสะดวกขนาดใหญ่ที่รองรับในพื้นที่ รวมถึงโอกาสจากผังเมืองกรุงเทพฯ ที่จะประกาศใช้ในอนาคต
พื้นที่ที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาโครงการแนวราบ เช่น โซนรามอินทรา หทัยราษฎร์ โซนศรีนครินทร์-กรุงเทพกรีฑา โซนบางนา-วงแหวนตะวันออก โซนเพชรเกษม โซนราชพฤกษ์ โซนประชาอุทิศ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรต้องศึกษาคู่แข่งและจำนวนอุปทานส่วนเพิ่ม (ในอนาคต) ในแต่ละพื้นที่อีกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจพัฒนาโครงการ
อย่างไรก็ดี วิเคราะห์ว่า สภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ต่างจากธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งในส่วนของการผลิต และผู้ประกอบการที่ต้องชะลอการขาย อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน พบว่า โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ลูกค้าที่ต้องการที่อยู่อาศัย (real demand) ตัดสินใจซื้อและโอนกรรมสิทธิ์เร็วขึ้น เนื่องจากความกังวลว่าเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติสินเชื่ออาจถูกปรับให้รัดกุมยิ่งกว่าเดิม ประกอบกับมีบ้านสร้างเสร็จพร้อมโอนในตลาดเป็นจำนวนมากจากการระบายสินค้าของผู้ประกอบการ ผ่านโปรโมชั่นหลากหลายรูปแบบ จึงเป็นโอกาสของผู้ซื้อที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยจริงและได้รับผลกระทบน้อยที่จะเลือกซื้อบ้านคุณภาพดีในราคาถูก
ทั้งนี้ ปัจจัยกระตุ้นดังกล่าวทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ (นิติบุคคล) ปี 2563 ปิดที่ 126,380 หน่วย เพิ่มขึ้น 5,060 หน่วยจากปี 2562 หรือเพิ่มขึ้น 4% สวนทางกับตลาดบ้านมือสอง (บุคคล) ที่มียอดโอนกรรมสิทธิ์ลดลง 8,484 หน่วย ลดลง 11% ซึ่งรูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดยังคงเป็นคอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยวตามลำดับ
ส่วนกลุ่มบ้านเดี่ยวนั้นมีอัตราการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นมาก คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 11.4% จากผลกระทบของโควิด-19 ระลอก 2 ซึ่งถึงแม้ว่าผู้ประกอบการเริ่มที่จะปรับตัวเปลี่ยนรูปแบบช่องทางการขายใหม่ และมีการเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กลุ่มแรกในเดือนมีนาคม แต่คาดการณ์ยอดการโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ปี 2564 น่าจะเริ่มชะลอตัวลงโดยปิดที่ประมาณ 124,000 หน่วย
โดยการเปิดโครงการใหม่ทุกประเภทในปี 2563 ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จำนวนยูนิตเปิดขายของปี 2563 อยู่ที่ 72,752 ยูนิต ลดลง 38,492 ยูนิต (-34%) จากปี 2562 ซึ่งลดลงต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 3 – 4 ล้านบาท เป็นกลุ่มสินค้าที่เข้ามาใหม่ในตลาดมาก รองลงมาคือคอนโดมิเนียมในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท
“ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มจะเติบโตได้ดี ในปี 2564 เป็นทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคา 3 – 4 ล้านบาท ซึ่งเริ่มเห็นรายใหญ่เปิดโครงการใหม่ ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 การแข่งขันใน segment นี้คงดุเดือดขึ้นอีก ในบางทำเลอาจจะมีสัญญาณ over supply ขณะที่ตลาดบ้านเดี่ยวระดับราคา 7 – 10 ล้านบาทยังขายดีในบางทำเล”
ส.เที่ยวเชียงใหม่ชี้โควิด3ธุรกิจทรุดกว่า50%
https://www.innnews.co.th/news/news_85143/
นายกสมาคม ท่องเที่ยวเชียงใหม่ ระบุ โควิด-19 ระลอก3 ทำธุรกิจทรุดหนักกว่า 50% ขณะหลายโรงแรมเสนอตัวเป็น Hospitel
พล.ต.ต.
ปชา รัตนพันธ์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงผลกระทบการ ท่องเที่ยวเชียงใหม่ ต่อกรณีพบผู้ป่วย COVID-19 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในระลอกใหม่ ว่า
ภาคธุรกิจท่องเที่ยวกระทบอย่างหนักเพราะที่ผ่านมาการท่องเที่ยวเตรียมจะฟื้นช่วงสงกรานต์ แต่เมื่อพบผู้ป่วยโควิด-19 มากขึ้น ทำให้การท่องเที่ยวทรุดลงไปอย่างมาก ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ยอดยกเลิกห้องพัก หายไปมากกว่า 50-60% เที่ยวบินมาเชียงใหม่จากหลักหมื่นคนเหลือไม่กี่พันคน
โดยขณะนี้ทางภาคท่องเทียวเที่ยวเชียงใหม่ ยังไมมีการประเมินความเสียหายเพราะสถานการณ์ยังไม่จบ ซึ่งทุกวันนี้ทางเอกชนต่างพร้อมใจกันช่วยเหลือทางจังหวัดในหลายมิติ เช่นมีการนำสิ่งของเครื่องใช้ หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ ไปแจกจ่ายให้โรงพยาบาลสนามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
นอกจากนี้ ยังมีหลายโรงแรมแสดงเจตจำนง ที่จะปรับพื้นที่ให้เป็น “
Hospitel” หรือ “
หอผู้ป่วยติดโรคโควิด-19 เฉพาะกิจ” ซึ่งเป็นทางเลือกเพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการความสะดวกสบาย เป็นส่วนตัวมากกว่าโรงพยาบาลสนาม
JJNY : ติดเชื้อ1,443 ตาย4│KPชี้อสังหาฯ64ยังอ่วม│ส.เที่ยวเชียงใหม่ชี้3ธุรกิจทรุดกว่า50%│ชงหั่นงบสัมมนา-ก่อสร้าง-ซื้ออาวุธ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/933300
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่นั้น สามารถแบ่งออกเป็น ติดเชื้อในประเทศ 1,441 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,328 ราย การค้นหาเชิงรุกในชุมชน 113 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 2 ราย (อยู่ใน Quarantine ทั้ง 2 ราย) รักษาหายแล้ว 171 ราย
ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 ถึง 20 เม.ย. 64 พบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19รายใหม่เพิ่ม 1,443 ราย ทำให้ในระยะเวลา 20 วันของการระบาดระลอกใหม่ มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 16,322 ราย
สำหรับ สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ในวันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน 2564 เวลา 11.40 น. พบว่า มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 141,316,012 ราย รักษาหายแล้ว 119,923,164 ราย เสียชีวิต 3,023,911 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 32,372,119 ราย
2. อินเดีย จำนวน 14,788,109 ราย
3. บราซิล จำนวน 13,900,134 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,260,182 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 4,693,469 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 110 จำนวน 40,585 ราย
KP ชี้ อสังหาฯ ปี 64 ยังอ่วมพิษโควิด เน้นกลุ่มมีกำลังซื้อ-บ้านราคา 3-5 ล้าน
https://www.prachachat.net/finance/news-650819
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เปิดผลสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ใต้พายุโควิด-19 ประเมินตลาดปี 64 ยอดขายยังชะลอตัว ผู้ประกอบการไม่เร่งเปิดโครงการใหม่ เน้นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ-อาศัยอยู่จริง เจาะกลุ่มแนวราบราคา 3-5 ล้านบาท ระบุยอดโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ปี 63 ปิดที่ 1.26 แสนหน่วย เพิ่มขึ้น 5.0 พันหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อน
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร โดยสายงานสินเชื่อธุรกิจ ประเมินว่าสำหรับภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 การขายยังคงชะลอตัว ผู้ประกอบการไม่เร่งเปิดโครงการใหม่ เน้นการพัฒนาโครงการแนวราบราคา 3-5 ล้านบาท ทั้งรูปแบบทาวเฮ้าส์ บ้านแฝด และบ้านเดี่ยว (ระดับราคาขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อ และคนทำงานที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยจริง และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ไม่มาก นอกจากนี้ ตลาดบ้านเดี่ยวระดับราคา 7 – 10 ล้านบาท ยังขายดีในบางทำเล และมีโอกาสเพิ่มขึ้นในบางโซนที่พื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูงขึ้นจากผังเมืองกรุงเทพฯ ที่ปรับใหม่
ขณะที่การพัฒนาของโครงการแนวราบประเภททาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยวในปี 2563-2564 มีหลายพื้นที่ที่น่าสนใจและมีโอกาสในการพัฒนาสูง จากปัจจัยเรื่องของแนวถนนตัดใหม่ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ (ถนนตัดใหม่ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า) ทางด่วนพิเศษส่วนต่อขยาย การขยายตัวของเมืองและสิ่งอำนวยความสะดวกขนาดใหญ่ที่รองรับในพื้นที่ รวมถึงโอกาสจากผังเมืองกรุงเทพฯ ที่จะประกาศใช้ในอนาคต
พื้นที่ที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาโครงการแนวราบ เช่น โซนรามอินทรา หทัยราษฎร์ โซนศรีนครินทร์-กรุงเทพกรีฑา โซนบางนา-วงแหวนตะวันออก โซนเพชรเกษม โซนราชพฤกษ์ โซนประชาอุทิศ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรต้องศึกษาคู่แข่งและจำนวนอุปทานส่วนเพิ่ม (ในอนาคต) ในแต่ละพื้นที่อีกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจพัฒนาโครงการ
อย่างไรก็ดี วิเคราะห์ว่า สภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ต่างจากธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งในส่วนของการผลิต และผู้ประกอบการที่ต้องชะลอการขาย อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน พบว่า โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ลูกค้าที่ต้องการที่อยู่อาศัย (real demand) ตัดสินใจซื้อและโอนกรรมสิทธิ์เร็วขึ้น เนื่องจากความกังวลว่าเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติสินเชื่ออาจถูกปรับให้รัดกุมยิ่งกว่าเดิม ประกอบกับมีบ้านสร้างเสร็จพร้อมโอนในตลาดเป็นจำนวนมากจากการระบายสินค้าของผู้ประกอบการ ผ่านโปรโมชั่นหลากหลายรูปแบบ จึงเป็นโอกาสของผู้ซื้อที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยจริงและได้รับผลกระทบน้อยที่จะเลือกซื้อบ้านคุณภาพดีในราคาถูก
ทั้งนี้ ปัจจัยกระตุ้นดังกล่าวทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ (นิติบุคคล) ปี 2563 ปิดที่ 126,380 หน่วย เพิ่มขึ้น 5,060 หน่วยจากปี 2562 หรือเพิ่มขึ้น 4% สวนทางกับตลาดบ้านมือสอง (บุคคล) ที่มียอดโอนกรรมสิทธิ์ลดลง 8,484 หน่วย ลดลง 11% ซึ่งรูปแบบที่อยู่อาศัยที่มีการโอนกรรมสิทธิ์สูงสุดยังคงเป็นคอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยวตามลำดับ
ส่วนกลุ่มบ้านเดี่ยวนั้นมีอัตราการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นมาก คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 11.4% จากผลกระทบของโควิด-19 ระลอก 2 ซึ่งถึงแม้ว่าผู้ประกอบการเริ่มที่จะปรับตัวเปลี่ยนรูปแบบช่องทางการขายใหม่ และมีการเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กลุ่มแรกในเดือนมีนาคม แต่คาดการณ์ยอดการโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ปี 2564 น่าจะเริ่มชะลอตัวลงโดยปิดที่ประมาณ 124,000 หน่วย
โดยการเปิดโครงการใหม่ทุกประเภทในปี 2563 ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จำนวนยูนิตเปิดขายของปี 2563 อยู่ที่ 72,752 ยูนิต ลดลง 38,492 ยูนิต (-34%) จากปี 2562 ซึ่งลดลงต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ทาวน์เฮ้าส์ระดับราคา 3 – 4 ล้านบาท เป็นกลุ่มสินค้าที่เข้ามาใหม่ในตลาดมาก รองลงมาคือคอนโดมิเนียมในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท
“ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มจะเติบโตได้ดี ในปี 2564 เป็นทาวน์เฮ้าส์ในระดับราคา 3 – 4 ล้านบาท ซึ่งเริ่มเห็นรายใหญ่เปิดโครงการใหม่ ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 การแข่งขันใน segment นี้คงดุเดือดขึ้นอีก ในบางทำเลอาจจะมีสัญญาณ over supply ขณะที่ตลาดบ้านเดี่ยวระดับราคา 7 – 10 ล้านบาทยังขายดีในบางทำเล”
ส.เที่ยวเชียงใหม่ชี้โควิด3ธุรกิจทรุดกว่า50%
https://www.innnews.co.th/news/news_85143/
นายกสมาคม ท่องเที่ยวเชียงใหม่ ระบุ โควิด-19 ระลอก3 ทำธุรกิจทรุดหนักกว่า 50% ขณะหลายโรงแรมเสนอตัวเป็น Hospitel
พล.ต.ต.ปชา รัตนพันธ์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงผลกระทบการ ท่องเที่ยวเชียงใหม่ ต่อกรณีพบผู้ป่วย COVID-19 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในระลอกใหม่ ว่า
ภาคธุรกิจท่องเที่ยวกระทบอย่างหนักเพราะที่ผ่านมาการท่องเที่ยวเตรียมจะฟื้นช่วงสงกรานต์ แต่เมื่อพบผู้ป่วยโควิด-19 มากขึ้น ทำให้การท่องเที่ยวทรุดลงไปอย่างมาก ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ยอดยกเลิกห้องพัก หายไปมากกว่า 50-60% เที่ยวบินมาเชียงใหม่จากหลักหมื่นคนเหลือไม่กี่พันคน
โดยขณะนี้ทางภาคท่องเทียวเที่ยวเชียงใหม่ ยังไมมีการประเมินความเสียหายเพราะสถานการณ์ยังไม่จบ ซึ่งทุกวันนี้ทางเอกชนต่างพร้อมใจกันช่วยเหลือทางจังหวัดในหลายมิติ เช่นมีการนำสิ่งของเครื่องใช้ หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ ไปแจกจ่ายให้โรงพยาบาลสนามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
นอกจากนี้ ยังมีหลายโรงแรมแสดงเจตจำนง ที่จะปรับพื้นที่ให้เป็น “Hospitel” หรือ “หอผู้ป่วยติดโรคโควิด-19 เฉพาะกิจ” ซึ่งเป็นทางเลือกเพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการความสะดวกสบาย เป็นส่วนตัวมากกว่าโรงพยาบาลสนาม