[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ ตลาดพลู : ป๋าป้าเตี่ยมซิม

แฟนอยากกินไช้ก้วยร้านป๋าป้าเตี่ยมซิม แม้จะเดินผ่านและแวะดูหน้าร้านหลายครั้ง
แต่ไม่ได้สนใจแวะ เพราะมองจากหน้าร้านมีความรู้สึกว่าร้านมืด
วันอาทิตย์ที่ 14-2-21 11.43 น.เดินทางด้วยรถไฟ้ฟ้าบีทีเอสไปลงที่สถานีตลาดพลู



ออกทางด้านทางออกที่ 1 เรียกรถจากในซอยเทอดไท 33 ถึงปากซอยฝั่งถนนเทอดไท
ถ้าเลี้ยวซ้าย 50 เมตรจะเจอร้านป๋าป้าเตี่ยมซิม แต่อยากกินเย็นตาโฟก่อน จึงเลี้ยวขวา
ไปลงรถที่ปากซอยเทอดไท 14 (ปกติปากซอยเทอดไท 33 ห้ามเลี้ยวขวาหลังสี่โมงเย็น)
ข้ามถนนเทอดไทไปเข้าซอยเทอดไท 21 ไปที่ร้านเจ๊จิ๋วเย็นตาโฟ
เที่ยวไปกินไป by laser @ ตลาดพลู : เจ๊จิ๋วเย็นตาโฟโรงเจ
https://ppantip.com/topic/40432538



ของตัวเองเริ่มด้วยใหญ่โฟน้ำ 40 บาท



นอกจากหมึกดอง



วันนี้ยังมีแมงกะพรุน



เผือกทอด



ลูกชิ้นกุ้งทอด



ลูกชิ้นปลารักบี้



ลูกชิ้นปลาและลูกชิ้นหมู



แกะหนังปลาไซตอทอดกรอบ ๆ เค็มนิด ๆ ใส่หนึ่งห่อ 20 บาท



ต่อด้วยบะหมี่น้ำ 40 บาท



ยังไงก็ไม่ยอมขายเส้นปลาล้วน



มองหน้ากันสักพัก เฮียมณเฑียรจึงนึกได้ว่ามากินไปเขียนบทความ
ออกจะเคืองนิด ๆ ที่คิดว่าอาสามเป็นคนมีบารมีอิทธิพล ขอให้ช่วยเขียนร้องเรียนร้านแถวนั้น



ระหว่างรอห่อกลับบ้าน เดินไปเข้าห้องน้ำที่โรงเจเสียงเข่ง



ออกจากร้านเจ๊จิ๋วถึงปากซอยเทอดไท 21
เลี้ยวซ้ายไปสถานีรถไฟตลาดพลู น้ำใบบัวบกหยี่เจ้ไม่ขาย



ร้านขนมหวานตลาดพลูดั้งเดิมปิดยาวหนึ่งอาทิตย์



แฟนแวะซื้อไช้ก้วยร้านอรณัญช์



ข้ามถนนรัชดาภิเษกใต้สะพานแยกตลาดพลู เดินไปทางซอยเทอดไท 33 
ใต้สะพานมีสตรีทอาร์ตตลาดพลู เป็นหนึ่งในสองสตรีทอาร์ตตลาดพลู อีกแห่งอยู่ปากซอยเทอดไท 27



ว่าจะลองกุยช่ายใส่ไข่ร้านกุยช่ายสะพานหัน
โต๊ะในร้านว่างหลายโต๊ะ แต่ต้องเข้าแถวรอยกไปกินในร้านคงไม่แวะอีก





วันนี้ขนมใส่ไส้ตรงข้ามซอยเทอดไท 20 ไม่ขาย
ผ่านร้านข้าวเหนียวมูนลุงเปี๊ยกใกล้ปากซอยเทอดไท 33 รสชาติใช้ได้



ขาหมูร้านสหายโภชนาหยุด



ข้ามซอยเทอดไท 33 มีตึกแถวเป็นแนวยาวใกล้ธนาคารกรุงเทพ สาขาตลาดพลู
ก่อนขึ้นสะพานข้ามคลองบางสะแก ตรงกลางเป็นที่ตั้งของร้านป๋าป้าติ่มซำ เป็นร้านขนาดสองห้องแถว
เดิมร้านไช้ก้วยในย่านตลาดพลูแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ ร้านทำในบ้านขายส่ง เช่น ร้านเจ๊หลอด
และร้านที่ทำเองหรือรับมาแล้วขายในรถเข็น ซึ่งเมื่อไปตลาดพลู จะเห็นแต่รถเข็นแบบนี้
ไม่เคยมีร้านที่สามารถนั่งกินในร้านได้ ร้านป๋าป้าเตี่ยมซิม จึงเป็นร้านแรกและยังมีบริการแบบทอด
และราคาก็ไม่ได้แพงกว่าที่ซื้อตามรถเข็น คือ แบบไม่ทอด 10 บาท แบบทอด 12 บาท
ซึ่งก็จ่ายเพิ่มขึ้นอีกเพียงชิ้นละ 2 บาท ในขณะที่ร้านรถเข็นจะขายแต่แบบนึ่งไปทอดเอง
ถือว่าร้านนี้มองตลาดออกนำหน้าคนอื่นไปก่อน



ระหว่างรอโต๊ะที่หน้าร้าน เปิดดูรายการอาหาร
ร้านอาจจะเป็นร้านใหม่ แต่เป็นมือเก่าทางด้านขนมไช้ก้วยกว่า 45 ปี
โดยอาม่ากุ้ยไน้ ในปี พ.ศ.2516 ซึ่งเริ่มจากรถเข็นหน้าวัดกันตทาราราม
หรือวัดใหม่จีนกัน (ซอยเทอดไท 23) เรียกกันว่า "กุยช่ายหน้าวัด"
ซึ่งจากการเดินสำรวจ น่าจะเป็นย่านที่ทำไช้ก้วยขายมากที่สุดในย่านตลาดพลู
บางบ้านทำในชุมชนโรงเจ-วัดกันฯ แต่ขายที่เซ็นหลุยส์ซอย 3
และมีแหล่งข้อมูลยืนยันว่า ต้นกำเนิดของไช้ก้วยตลาดพลูนั้น
มีต้นกำเนิดที่โรงเจเสียงเข่ง ในซอยเทอดไท 21 ซึ่งมีทางเชื่อมกับซอย 23
คำว่า "ป้า" ในสำเนียงแต้จิ๋วแปลว่า "อิ่ม" เมื่อเพิ่มคำว่า "ป๋า" นำหน้า
จึงมีความหมายว่า "อิ่มมาก" หรืออิ่มตื้อ เช่น "เจียะเก๊าป๋าป้า" หมายถึงกินจนอิ่มตื้อ
ส่วนคำว่า "เตี่ยมซิม" ตรงกับสำเนียงกวางตุ้งว่า "ติ่มซำ" แปลว่าของว่าง
ต่างจากคำว่า "เสี่ยวเชอ" ในภาษาจีนกลางที่แปลว่า "ของกินเล่น"
"ป๋าป้าเตี่ยมซิม" จึงแปลว่าของว่างที่กินอิ่มตื้อ ใครที่กินไช้ก้วยหกลูกไม่อิ่ม คงต้องเรียกว่า "ตั่วเจี๊ยะ" หรือกินจุ
ตรงนี้ต้องย้ำอีกครั้งว่า คำว่ากุยช่ายเป็นคำเรียกที่เพี้ยนไปจากเดิม
เพราะขนมชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "ไช้ก้วย" คือ ขนมที่มีเปลือกแป้งห่อไส้ที่เป็นผัก
เช่น ไส้กุยช่าย ไส้เผือก ไส้มันแกว ไส้หน่อไม้และไส้กะหล่ำปลี
ในย่านตลาดพลูมีเพียงร้านเดียวที่เรียกได้ว่าร้านกุยช่าย คือ ร้านหนุ่มผมยาว เพราะขายแต่ไส้กุยช่าย



รายการอาหารประจำวัน





รายการอาหารที่มีทุกวันและของกินเล่น





รายการของหวานและเครื่องดื่ม



มีแบบแช่แข็งกลับบ้าน



ภาชนะบรรจุสำหรับซื้อกลับบ้าน สวยงามดูดี เหมาะซื้อไปเป็นของฝาก



ร้านสะอาดน่านั่ง ห้องปรับอากาศเต็ม  



ครั้งแรกได้โต๊ะเล็กมีชั้นไม้ค้ำหัว ตอนหลังโต๊ะตรงข้ามว่างจึงขอย้าย



นับเป็นร้านที่มีสุขอนามัยสูง
ช้อนส้อมห่อมาในซองพลาสติก



เครื่องปรุงอยู่ในภาชนะมิดชิด



มีเจลล้างมือ และน้ำยาทำความสะอาดพิ้นผิว R-82 
สำหรับให้พนักงานทำความสะอาดโต๊ะวางไว้ทุกโต๊ะ



น้ำชาจีนหอมกลิ่นดอกไม้ฟรีเติมได้ตลอด



สั่งแบบทอดมากิน 5 ชิ้น มาในจานที่มีหลุมใส่น้ำจิ้มเปรี้ยวนำหวานตามเผ็ดปิดท้าย
ไช้ก้วยแต่ละลูกจะหั่นสามส่วนสี่ให้ง่ายต่อการกิน ไม่ทอดชิ้นละ 10 บาท
ทอดแล้วชิ้นละ 12 บาท เป็นร้านไช้ก้วยห้องแถวในราคารถเข็น
ไม่ได้สั่งกุยช่ายไร้เปลือกแป้ง ที่ทางร้านตั้งชื่อเรท R ว่า "กุยช่ายแก้ผ้า"
แต่สั่งไส้เผือกไร้เปลือกแป้ง หรือ "เผือกเปลือย" ชิ้นละ 15 บาท



ไส้เผือกหอมอร่อยมาก ทั้งแบบมีเปลือกแป้งและเผือกเปลือย







ไช้ก้วยไส้กุยช่ายรสดี 



รองลงมา คือ ไส้หน่อไม้และไส้มันแกว





เห็นมี "ก๋วยเตี๋ยวแคะ" จึงสั่งเส้นหมี่น้ำมาลอง 50 บาท
ปกติแล้วต่อให้ร้านก๋วยเตี๋ยวชนิดนี้ดังแค่ไหนก็จะไม่แวะ ถ้าเขียนเป็น "ก๋วยเตี๋ยวแคระ"
เพราะขนาดชื่ออาหารยังเรียกผิด คงไม่อาจไว้ใช้เรื่องความอร่อยได้
คนจีนมีจีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนกวางตุ้ง จีนไหหลำ แต่ไม่มีคนจีนแคระ
มีแต่จีนแคะ หรือจีนฮากกา หรือ "แคะนั้ง" ที่แปลว่า "แขกผู้มาเยือน"



เครื่องก๋วยเตี๋ยวแคะครบ



ทั้งลูกชิ้นหมูแคะแบบนึ่งและแบบทอด





เต้าหู้พวงทอดยัดไส้นึ่ง



เต้าหู้ขาวยัดไส้นึ่ง
แม้เต้าหูยัดไส้จะใช้ได้ แต่มีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับเจ๊จูตลาดวรจักร 
และสองร้านก๋วยเตี๋ยวแคะแห่งซอยโรงพยาบาลธนบรี ซอยอืสระภาพ 44
น้ำแกงใส ๆ เพิ่มพริกไทยลงไปเล็กน้อย โดยรวมถือว่าดี 
แต่หักคะแนนเขียนชื่ออาหารผิด จาก "แคะ" เป็น "แคระ" เหลือแค่พอใช้+



แฟนซื้อกลับอีกหนึ่งถุงใหญ่



ใช้เศษเหลือ "คนละครึ่ง" จากร้านเจ๊จิ๋ว จ่ายเพิ่มอีก 200 บาท
ร้านหยุดวันจันทร์ เปิดขายตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น



ไช้ก้วยที่ซื้อกลับบ้านเป็นแบบไม่ทอด แบบทอดควรกินที้ร้าน
เพราะถ้าเย็นเปลือกแป้งจะเหนียวไม่อร่อย
ซื้อแบบกลมเปลือกแป้งสีแดง หรือ "อั่งก้วย" กลับมาด้วย
ถ้าเป็นแบบแบนรูปสามเหลี้ยมปลายงอน เรียกว่า "อั่งถ่อก้วย" เพราะคล้ายผลลูกท้อใช้ไหว้เจ้า



เผือกเปลือย



น้ำจิ้มบรรจุซองปิดผนึก



มีวิธิเก็บรักษาและวิธีกิน

ชื่อสินค้า:   ไช้ก้วย
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่