JJNY : หอค้าประเมินศก.พัง 4.5 แสนล.│'ส.ภัตตาคาร'ชี้ยอดขายเหลือ30%│ตอนนี้ก็เหมือนเคอร์ฟิว!│'เทพไท'เห็นด้วยฉีดวัคซีนส.ส.

หอการค้าไทย ประเมิน มาตรการคุมโควิดรอบ 3 เศรษฐกิจพัง 4.5 แสนล้าน 
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6338020
 
 
จากสถานการณ์โควิดระบาด แนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย สธ. ได้เสนอการยกระดับ พื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด หลังจากพบว่า มีกิจการ กิจกรรม ที่เสี่ยงเป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อ โดยยึดตามสถิติการระบาด แต่ไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว ใช้วิธีควบคุมกิจกรรมต่างๆ แทน โดยจะใช้มาตรการดังกล่าวเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนพิจารณาเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. หรือ เที่ยงคืนของวันเสาร์นี้ พร้อมย้ำว่า ไม่มีเคอร์ฟิว สามารถเดินทางได้
  
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงมาตรการศบค.ล่าสุดว่า เชื่อว่า สาเหตุที่ผลการประชุมของ ศบค. ไม่ประกาศล็อคดาวน์พื้นที่ แต่เลือกใช้วิธีคุมกิจกรรมต่างๆ เนื่องจากเห็นว่า เศรษฐกิจบอบช้ำมากพอแล้ว จึงเลือกใช้วิธีสมดุลระหว่างการดูแลเศรษฐกิจ และการป้องกันดูแลรักษาโรคควบคู่กันไป หากประเมินในมุมสถิติ ผลกระทบจากมาตรการของศบค.ที่ออกมา จะกระทบกับมูลค่าการใช้จ่ายผู้บริโภคในระยะเวลา 3 เดือน หรือเม.ย. – มิ.ย. ประมาณ 3 -4.5 แสนล้านบาท หรือเดือนละ 1 – 1.5 แสนล้านบาท ส่งผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีย่อตัวลงประมาณ 2%
  
“ จากการประเมินสถานการณ์การระบาดแต่ละครั้ง จะใช้เวลาประมาณ 45-60 วันจะคลี่คลายลง ครั้งนี้ประเมินว่า จะกระทบการใช้จ่ายเศรษฐกิจเม็ดเงินจะหายไป 3 เดือน คิดเป็นมูลค่าวันละ 4 – 6 พันล้านบาท 3 เดือน คิดเป็น 3 -4.5 แสนล้านบาท แต่ไตรมาส 2 (เม.ย. – มิ.ย.) คาดว่า จะมีเม็ดเงินจากโครงการรัฐบาลมาเพิ่ม เช่น คนละครึ่ง เฟส 3 หรืออาจเป็นชอปดีมีคืน อีก 2.5 แสนล้านบาท รวมทั้งจะมีรายได้จากส่งออก และภาคท่องเที่ยวที่ค่อยๆ ฟื้น จึงคาดว่า ทั้งปีจีดีพีจะโตในกรอบใกล้เคียงเดิม 2-3 % และอยากให้รัฐบาลวางกรอบการกู้เงินในไตรมาส 3 (ก.ค. – ก.ย.) ไว้อีก 5 แสน – 1 ล้านล้านบาท เผื่อไว้ฉุกเฉิน หากจำเป็นต้องใช้มาฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อไป


 
'สมาคมภัตตาคาร' ชี้โควิดใหม่ทำยอดขายเหลือ30% สูญ 700 ล้านบาทต่อวัน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2676072
 
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจร้านอาหาร สร้างรายได้ประมาณ 5 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งนับรวมในทุกขนาดร้านอาหารทั่วประเทศ โดยเฉลี่ยยอดขายร้านอาหารต่อวัน มีมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งประเมินว่า ในช่วงที่เกิดการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 นี้ จะทำให้ยอดขายลดลงเหลือประมาณ 30% แต่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า ร้านอาหารไม่สามารถรองรับลูกค้าได้เต็ม 100% เหมือนที่ผ่านมา เหลือมากสุดก็ 50% เท่านั้น เพราะติดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเว้นระยะห่างทางสังคม และการจำกัดจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการในร้าน ทำให้จำนวนโต๊ะที่ตั้งให้บริการต้องลดลงไปโดยปริยาย
 
นางฐนิวรรณ กล่าวว่า หากเทียบยอดขายในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา พบว่าตลอดทั้งเดือนถือเป็นเดือนที่ดีมาก เพราะยอดขายของร้านอาหารส่วนใหญ่ ฟื้นตัวกลับมาได้กว่า 80-90% เพราะสถานการณ์การระบาดไวรัสดีขึ้น บวกกับรัฐบาลอนุญาตให้นั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ถึงเวลา 23.00 น. และขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แม้ในช่วงปลายเดือนยอดขายจะแผ่วลง เพราะคนเก็บเงินใช้เที่ยวสงกรานต์มากขึ้น แต่ก็ถือว่าฟื้นตัวขึ้นมาได้ดีมาก หากเทียบกับช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งเห็นยอดขายวิ่งอยู่เพียง 10-20% เท่านั้น
 
หากรัฐบาลประกาศให้ภัตตาคารและร้านอาหารปิดตัวลงชั่วคราวอีกนั้น ประเมินว่าจะทำให้รายได้หายไป 600-700 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งหากปิด 14 วัน ก็เท่ากับว่าจะทำให้เม็ดเงินหายจากระบบกว่า 9,800 ล้านบาท และหากปิดนานกว่า 14 วัน ก็จะทำให้เม็ดเงินหายไปมากกว่าที่ประมาณการไว้ เพราะเห็นตัวอย่างจากการให้ปิดร้านชั่วคราวในรอบที่ผ่านมา ร้านอาหารของสมาชิกในสมาคมฯ ที่ปกติรับลูกค้ากว่า 300 รายต่อวัน ลูกค้าหายไปเหลือเพียง 4 รายต่อวัน ก็ได้เห็นมาแล้ว” นางฐนิวรรณ กล่าว
 
นางฐนิวรรณ กล่าวว่า นอกจากนี้มองว่าหากรัฐบาลจะประกาศให้ร้านอาหารนั่งรับประทานได้ถึงเวลา 21.00 น. เปิดซื้อกลับบ้านได้ถึงเวลา 23.00 น. และไม่อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้นั้น ถือเป็นมาตรการที่เอื้อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไป มีรายได้เข้ามาต่อเนื่อง แม้จะไม่ได้มากเท่าเวลาปกติ แต่ก็ถือว่าไม่ได้หายไปจนหมด โดยเบื้องต้นมองว่าหากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์หรือเคอฟิวส์ออกมาทันที เพื่อให้สถานการณ์จบเร็วที่สุดก็ดี แต่รัฐบาลจะต้องมองในแง่เศรษฐกิจและธุรกิจด้วยว่า ผู้ประกอบการจะอยู่ได้หรือไม่ หากประกาศใช้มาตรการเหล่านั้น เพราะหากไม่มีรายได้แต่รายจ่ายเท่าเดิม ทุกคนจะตายกันหมด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่