[ ใครถนัดอ่านในเว็บ Medium สามารถอ่านได้ ที่นี่]
ติดตามซีรีย์เรื่องราวพิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่
Chula Museum Part 1 หลงทางมาพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์
Chula Museum Part 2 กว่าจะมีหมอฟันในไทยวันนี้
หลังจากไปทัวร์เที่ยวพิพิธภัณฑ์ที่คณะทันตแพทย์เสร็จ เราจะไปกันต่อที่
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Museum)
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย เป็นตึกสี่ชั้นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัยครบอายุครบ 100 ปี ภายในจัดแสดงทั้ง นิทรรศการหมุนเวียน และ นิทรรศการถาวรบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับจุฬาฯ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นปัญญาของแผ่นดินและผลงานศิลปะของนิสิตและบุคลากร ซึ่งแต่ละชั้นมีนิทรรศการจัดแสดงแตกต่างกัน
วันนี้เราขอพาเพื่อนๆไปเที่ยวชมนิทรรศการหมุนเวียน
“Skeleton’s Secrets ความลับของโครงกระดูก” ที่จะถูกจัดขึ้นถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 บริเวณโถงชั้น 1 นิทรรศการนี้เป็นการจัดแสดงโครงกระดูกของสัตว์ชนิดต่างๆ ในรูปร่างที่สมบูรณ์แบบ เพื่อให้เห็นถึงกายวิภาค (Anatomy) ของสัตว์แต่ละชนิดว่าเป็นอย่างไร
ตอนเดินชมเรารู้สึกตื่นเต้นเพราะไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นสัตว์ที่ปกคลุมด้วยขนและหนังถูกถอดร่างเหลือแต่กระดูก และความสนุกเพิ่มเติมคือการแอบทายในใจก่อนว่าโครงกระดูกที่เห็นคือสัตว์อะไรก่อนอ่านข้อมูล ซึ่งเราก็ทายผิดไปหลายตัวเลย… มองกระดูกนึกว่ากระรอก แต่ที่ไหนได้กลายเป็นกระต่ายซะงั้น นอกจากนี้ทางนิทรรศการยังมีกิจกรรมให้เราลองจับๆลูบๆโครงกระดูกสัตว์อีกด้วย เหมาะสำหรับคนที่ชอบศิลปะและชีววิทยา หรือนิสิตคนไหนที่มีเวลาว่างพักจากเรียนก็สามารถมาชมเพลินๆได้
เมื่อชมนิทรรศการที่ชั้น 1 เสร็จเรียบร้อยก็ขึ้นลิฟต์ไปชมนิทรรศการถาวรที่ชั้น 4 เกี่ยวกับ
“100 เรื่องจามจุรี 100 ปีจุฬาฯ” ภายในจัดแสดงประวัติของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ก่อตั้ง, บุคคลสำคัญ,บทบาทของจุฬาฯต่อสังคมไทย ฯลฯ ชั้นนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง ซึ่งภายในมีข้อมูลแบบละเอียดจัดแสดงไว้ให้อ่านไว้มากมาย และระยะทางในการเดินชมนิทรรศการค่อนข้างยาว เราใช้เวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงในการเดินอ่านข้อมูลต่างๆ
หลังจากเสร็จก็เดินมาชมนิทรรศการอีกแห่งที่ชั้น 3 เกี่ยวกับ “อุทยานจามจุรี” จัดแสดงพัฒนาการและเหตุการณ์สำคัญของจุฬาฯ ด้านในห้องมีโมเดลจำลองสามมิติขนาดใหญ่แสดงพื้นที่เขตจุฬาฯ, สถาปัตยกรรมตึกในมหาวิทยาลัย และยังมีห้องเพื่อรับชมวิดิโอสารคดีสั้น แต่วันที่เราไปทางโครงการงดเปิดวิดิโอเลยได้แต่เดินชม ชั้นนี้บริเวณไม่กว้างใหญ่มากใช้เวลาไม่เกินสิบนาทีในการสำรวจนิทรรศการ
วันที่เราไปชั้น 2 นิรทรรศการ “ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย” ปิดพอดี เลยไม่ได้ชมการจัดแสดงเกี่ยวกับความโดดเด่นทางวิชาการในแขนงต่างๆเลย แต่แค่สามชั้นที่เดินมาก็ถือว่าคุ้มมากแล้ว หมดไปแล้วหนึ่งวันกับการเดินทัวร์ชมสามพิพิธภัณฑ์! วันนี้ขอลาไปพักผ่อนก่อน…สวัสดีค่ะ
การเดินทาง
แนะนำให้ดาวน์โหลดแอพ
“Chula Pop Bus” ติดมือถือไว้ เพื่อดูเส้นทางรถโดยสารของมหาวิทยาลัยสีชมพู (รถป๊อบ) ซึ่งสามารถขึ้นรถได้ฟรี
เดินทางจากคณะทันตะฯ จากกระทู้ Chula Museum Part 2:
ให้เดินออกจากคณะมาทางถนนอังรีดูนังต์ เดินผ่านร้านสุกี้ Coca ไปยังป้ายรถเมล์แยกเฉลิมเผ่าเพื่อรอขึ้นรถป๊อบ สาย 1 ให้ลงรถที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นป้ายที่ 5 หลังจากขึ้นรถ และเดินไปทางด้านซ้ายจะเจอกับตึกที่ด้านหน้ามีรูปปั้นนิสิตวิ่งเล่นกันอยู่
เดินทางจาก BTS สยาม:
เดินไปทางยังโรงหนังลีโด้ รอรถป๊อบสาย 1 ที่หน้าเซเว่น นั่งไปลงที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์
เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ 9.00–16.30 ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม ฟรี สามารถบริจาคได้ที่กล่องบริจาคหน้าพิพิธภัณฑ์
👍 ติดตาม Facebook Page ผู้เขียน:
"ไอ เรียน อโลน by nichyhan"
แหล่งที่มาของข้อมูล:
เว็บไซต์ทางการของจุฬาฯ, ผู้เขียนถ่ายรูปเอง
Chula Museum Part 3 เรียนนอกห้องเรียนก็สนุกไปอีกแบบนะ
ติดตามซีรีย์เรื่องราวพิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่
Chula Museum Part 1 หลงทางมาพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์
Chula Museum Part 2 กว่าจะมีหมอฟันในไทยวันนี้
หลังจากไปทัวร์เที่ยวพิพิธภัณฑ์ที่คณะทันตแพทย์เสร็จ เราจะไปกันต่อที่ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Museum)
ตอนเดินชมเรารู้สึกตื่นเต้นเพราะไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นสัตว์ที่ปกคลุมด้วยขนและหนังถูกถอดร่างเหลือแต่กระดูก และความสนุกเพิ่มเติมคือการแอบทายในใจก่อนว่าโครงกระดูกที่เห็นคือสัตว์อะไรก่อนอ่านข้อมูล ซึ่งเราก็ทายผิดไปหลายตัวเลย… มองกระดูกนึกว่ากระรอก แต่ที่ไหนได้กลายเป็นกระต่ายซะงั้น นอกจากนี้ทางนิทรรศการยังมีกิจกรรมให้เราลองจับๆลูบๆโครงกระดูกสัตว์อีกด้วย เหมาะสำหรับคนที่ชอบศิลปะและชีววิทยา หรือนิสิตคนไหนที่มีเวลาว่างพักจากเรียนก็สามารถมาชมเพลินๆได้
เมื่อชมนิทรรศการที่ชั้น 1 เสร็จเรียบร้อยก็ขึ้นลิฟต์ไปชมนิทรรศการถาวรที่ชั้น 4 เกี่ยวกับ “100 เรื่องจามจุรี 100 ปีจุฬาฯ” ภายในจัดแสดงประวัติของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ก่อตั้ง, บุคคลสำคัญ,บทบาทของจุฬาฯต่อสังคมไทย ฯลฯ ชั้นนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง ซึ่งภายในมีข้อมูลแบบละเอียดจัดแสดงไว้ให้อ่านไว้มากมาย และระยะทางในการเดินชมนิทรรศการค่อนข้างยาว เราใช้เวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงในการเดินอ่านข้อมูลต่างๆ
การเดินทาง
แนะนำให้ดาวน์โหลดแอพ “Chula Pop Bus” ติดมือถือไว้ เพื่อดูเส้นทางรถโดยสารของมหาวิทยาลัยสีชมพู (รถป๊อบ) ซึ่งสามารถขึ้นรถได้ฟรี
เดินทางจากคณะทันตะฯ จากกระทู้ Chula Museum Part 2:
ให้เดินออกจากคณะมาทางถนนอังรีดูนังต์ เดินผ่านร้านสุกี้ Coca ไปยังป้ายรถเมล์แยกเฉลิมเผ่าเพื่อรอขึ้นรถป๊อบ สาย 1 ให้ลงรถที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นป้ายที่ 5 หลังจากขึ้นรถ และเดินไปทางด้านซ้ายจะเจอกับตึกที่ด้านหน้ามีรูปปั้นนิสิตวิ่งเล่นกันอยู่
เดินทางจาก BTS สยาม:
เดินไปทางยังโรงหนังลีโด้ รอรถป๊อบสาย 1 ที่หน้าเซเว่น นั่งไปลงที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์
เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ 9.00–16.30 ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม ฟรี สามารถบริจาคได้ที่กล่องบริจาคหน้าพิพิธภัณฑ์
👍 ติดตาม Facebook Page ผู้เขียน: "ไอ เรียน อโลน by nichyhan"
แหล่งที่มาของข้อมูล: เว็บไซต์ทางการของจุฬาฯ, ผู้เขียนถ่ายรูปเอง