[ใครถนัดอ่านในเว็บ Medium สามารถอ่านได้ ที่นี่ ]
อยู่บ้านว่างๆนอนกลิ้งดูทีวีจนเบื่อ จนคิดได้ว่าฉันควรจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองบ้าง วันนี้เลยตัดสินใจว่าจะไปเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในเมืองดูเพื่อศึกษาหาความรู้ใส่หัวให้ตัวเองนั่นเอง
ระหว่างที่นั่งหาข้อมูลพิพิธภัณฑ์ก็พบว่าในกรุงเทพมีเยอะมาก ตั้งแต่เขตพระนคร เขตดุสิต ศิริราช ปทุมธานีคลองห้าก็มี หาไปหามาจนมาพบว่าที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพิพิธภัณฑ์อยู่ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งมากตามคณะต่างๆ ก็เลยตัดสินใจว่าวันนี้ฉันจะปักหลักอยู่ในมอเดินดูพิพิธภัณฑ์ไปเรื่อยๆนี่แหละ และที่แรกที่เราจะเดินทางไปกันก็คือ
… พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ (Museum of Human Body) …
รูปจากเว็บไซต์ทางการ
“เหอะเหอะเหอะ” คือเสียงร้องของตัวเองที่เรียนจบวิศวะคอม แต่กำลังเดินทางมาพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ ที่ๆเหมาะกับนักศึกษาแพทย์เยี่ยมชมเพื่อศึกษาเรื่องกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) แต่จริงๆแล้วพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้บุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษาเข้าได้ปกติ ไม่ได้จำกัดว่าต้องมีความรู้พื้นหลังอะไร ขอแค่มี “ความกล้า” เพราะที่นี่คุณกำลังเผชิญกับห้องที่เต็มไปด้วยศพมนุษย์ยืนเรียงจ้องมองมา
ก่อนจะไปสนุกกับเนื้อหาผู้เขียนขอแจ้งว่าปัจจุบันทางพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปด้านใน รูปที่นำมาคือรูปด้านนอกและจากเว็บไซต์ทางการ และขอเรียกร่างผู้เสียชีวิตว่าอาจารย์ใหญ่นะคะ
กว่าจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์นี้
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ (Museum of Human Body) เริ่มต้นจากการบริจาคร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์ของคุณ คัทสุมิ คาตามูระ ประธานบริษัท เมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮาส์ จำกัด ภายใต้การแนะนำของ ศ.คัชสุฮิโร เอะโตะ อดีตคณะบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์แห่งโตเกียว ภายหลังได้มีการทำสัญญาบริจาคกับ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีฯ ในขณะนั้น โดยการขนส่งร่างกายและชิ้นส่วนมนุษย์จำนวน 131 ชิ้น มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท พร้อมอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญในการจัดแสดงชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์ มายังคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เปิดให้สาธารณะชนได้เข้าชมครั้งแรกวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555
จัดแสดงศพอย่างไรให้สมบูรณ์แบบ
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ที่เสียชีวิตด้วย เทคนิคพลาสติเนชั่น (Plastination) ซึ่งสามารถรักษาสภาพร่างกายและอวัยวะโดยใช้สารพลาสติกเหลวแทนที่น้ำและไขมัน ทำให้ร่างกายไม่เน่าสลาย, คงสภาพได้นาน และไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยา ซึ่งต้องใช้เวลาทำไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมง/ร่าง หากใครอยากศึกษาเทคนิคนี้สามารถไปอ่านวิธีการเต็มได้ที่พิพิธภัณฑ์เลยค่ะ
เทคนิคนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงกระทั่งเส้นเลือดแดงที่แตกแขนงอยู่บนฝ่ามือหรือปอด กล้ามเนื้อหรือเซลล์อื่นไม่มีเหลือเลย มีแต่เส้นเลือด ซึ่งทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าภายในร่างกายมนุษย์มันเป็นอย่างไร
สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ
ภายในเราจะได้พบกับร่างกายอาจารย์ใหญ่ในสภาพสมบูรณ์ถึง 13 ร่าง ที่ถูกเลาะให้เห็นระบบต่างๆภายในร่างกาย เช่น ระบบกระดูก, กล้ามเนื้อ, ประสาท, หลอดเลือด, น้ำเหลือง, ทางเดินอาหาร และสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีร่างมนุษย์ที่ถูกตัดตามแนวต่างๆ เช่น แบ่งครึ่งจากบนลงล่าง หรือแบ่งครึ่งแนวนอนจากหัวจรดเท้า (คล้ายๆดูภาพ MRI) รวมทั้งอวัยวะต่างๆที่ถูกนำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าอวัยวะไหนปกติหรือผิดปกติ เช่น ปอดของคนที่สูบบุหรี่มีจุดสีดำๆจากทินเกาะบนปอดเยอะมากในขณะที่ปอดคนปกติเป็นสีชมพู นอกจากนี้ยังมีร่างกายทารกในครรภ์ตั้งแต่ 4–10 เดือนจัดแสดงให้เห็นพัฒนาการของทารกอีกด้วย
การจัดแสดงอาจารย์ที่นี่ไม่น่าเบื่อเลย เนื่องจากอาจารย์ใหญ่แต่ละร่างจะถูกโพสต์อยู่ในท่าทางที่แตกต่างกัน บางร่างเป็นนักกีฬากำลังจะเตรียมวิ่ง บางร่างเป็นนักยิงธนู บางร่างกำลังถือหัวกะโหลกของอีกคนอยู่ บางร่างทำท่าคิดงงงวย ทำให้เราที่มาเดินชมเดินไปยิ้มไป ต้องยอมรับในความสร้างสรรค์ของคนญี่ปุ่นที่มาช่วยจัดแสดงเลยแหละ
มาจับอวัยวะจริงกันเถอะ
อาจารย์ใหญ่และอวัยวะต่างๆที่ถูกจัดแสดงจะไม่สามารถจับต้อง แต่ทางพิพิธภัณฑ์ก็ใจดีมีกิจกรรมเล็กๆน้อยๆให้ผู้เยี่ยมชมได้ลองจับ “สมอง” มนุษย์ของจริงเพื่อชั่งดูน้ำหนักและลูบ Texture ใช้มือกะคร่าวๆน่าจะหนักประมาณ 1 กิโลกรัมนะ
พิพิธภัณฑ์น่ากลัวไหม?
เราใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงเต็มกับการอยู่ในห้องคนเดียวกับอาจารย์ใหญ่พร้อมอวัยวะอีก 131 ชิ้น ขอบอกได้เลยว่าบรรยากาศไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น สถานที่จัดแสดงมีแสงสว่างพอในห้องปรับอากาศเย็น พอใช้สมาธิกับการเพิ่งอวัยวะแต่ละชิ้น ความกลัวมันก็หายไปเองซะงั้น
การเดินทางและเวลาทำการ
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ จัดแสดงอยู่ชั้น 9 ห้อง 909–910 อาคารทันต 16 (อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80) คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สามารถโดยสารรถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีสยาม และเดินต่อมาทางอาคารสยามกิตติ์ ไปทางศูนย์หนังสือจุฬาฯ หรือตรง British Council จะเจอกับทางเข้าคณะทันตะ พอเข้าคณะมาแล้วให้เลี้ยวซ้ายเดินผ่านสนามหญ้าเทียมสีเขียว ตึกอยู่ทางด้านซ้ายมือ
เวลาทำการ: จันทร์ และ ศุกร์ 10.00–16.00 / พุธ 9.30–12.00
ค่าเข้าชม
ฟรี สามารถบริจาคได้ที่กล่องบริจาคหน้าพิพิธภัณฑ์
เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เสร็จแล้ว ก็ได้เวลาไปเที่ยวต่อที่พิพิธภัณฑ์ตึกข้างๆ
Chula Museum Part 2 กว่าจะมีหมอฟันในไทยวันนี้ ขอให้สนุกกับการชมพิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันนี้ขอลาไปก่อน…สวัสดีค่ะ
👍 ติดตาม Facebook Page ผู้เขียน:
"ไอ เรียน อโลน by nichyhan"
แหล่งที่มาของข้อมูล:
เว็บไซต์ทางการของจุฬาฯ, แผ่นพับสูจิบัตรจากพิพิธภัณฑ์, ผู้เขียนถ่ายรูปเอง (ยกเว้นรูปแรก)
Chula Museum Part 1 หลงทางมาพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์
อยู่บ้านว่างๆนอนกลิ้งดูทีวีจนเบื่อ จนคิดได้ว่าฉันควรจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองบ้าง วันนี้เลยตัดสินใจว่าจะไปเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในเมืองดูเพื่อศึกษาหาความรู้ใส่หัวให้ตัวเองนั่นเอง
ระหว่างที่นั่งหาข้อมูลพิพิธภัณฑ์ก็พบว่าในกรุงเทพมีเยอะมาก ตั้งแต่เขตพระนคร เขตดุสิต ศิริราช ปทุมธานีคลองห้าก็มี หาไปหามาจนมาพบว่าที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพิพิธภัณฑ์อยู่ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งมากตามคณะต่างๆ ก็เลยตัดสินใจว่าวันนี้ฉันจะปักหลักอยู่ในมอเดินดูพิพิธภัณฑ์ไปเรื่อยๆนี่แหละ และที่แรกที่เราจะเดินทางไปกันก็คือ
… พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ (Museum of Human Body) …
รูปจากเว็บไซต์ทางการ
“เหอะเหอะเหอะ” คือเสียงร้องของตัวเองที่เรียนจบวิศวะคอม แต่กำลังเดินทางมาพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ ที่ๆเหมาะกับนักศึกษาแพทย์เยี่ยมชมเพื่อศึกษาเรื่องกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) แต่จริงๆแล้วพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้บุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษาเข้าได้ปกติ ไม่ได้จำกัดว่าต้องมีความรู้พื้นหลังอะไร ขอแค่มี “ความกล้า” เพราะที่นี่คุณกำลังเผชิญกับห้องที่เต็มไปด้วยศพมนุษย์ยืนเรียงจ้องมองมา
ก่อนจะไปสนุกกับเนื้อหาผู้เขียนขอแจ้งว่าปัจจุบันทางพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปด้านใน รูปที่นำมาคือรูปด้านนอกและจากเว็บไซต์ทางการ และขอเรียกร่างผู้เสียชีวิตว่าอาจารย์ใหญ่นะคะ
กว่าจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์นี้
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ (Museum of Human Body) เริ่มต้นจากการบริจาคร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์ของคุณ คัทสุมิ คาตามูระ ประธานบริษัท เมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮาส์ จำกัด ภายใต้การแนะนำของ ศ.คัชสุฮิโร เอะโตะ อดีตคณะบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์แห่งโตเกียว ภายหลังได้มีการทำสัญญาบริจาคกับ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีฯ ในขณะนั้น โดยการขนส่งร่างกายและชิ้นส่วนมนุษย์จำนวน 131 ชิ้น มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท พร้อมอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญในการจัดแสดงชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์ มายังคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เปิดให้สาธารณะชนได้เข้าชมครั้งแรกวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555
จัดแสดงศพอย่างไรให้สมบูรณ์แบบ
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ที่เสียชีวิตด้วย เทคนิคพลาสติเนชั่น (Plastination) ซึ่งสามารถรักษาสภาพร่างกายและอวัยวะโดยใช้สารพลาสติกเหลวแทนที่น้ำและไขมัน ทำให้ร่างกายไม่เน่าสลาย, คงสภาพได้นาน และไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยา ซึ่งต้องใช้เวลาทำไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมง/ร่าง หากใครอยากศึกษาเทคนิคนี้สามารถไปอ่านวิธีการเต็มได้ที่พิพิธภัณฑ์เลยค่ะ
เทคนิคนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงกระทั่งเส้นเลือดแดงที่แตกแขนงอยู่บนฝ่ามือหรือปอด กล้ามเนื้อหรือเซลล์อื่นไม่มีเหลือเลย มีแต่เส้นเลือด ซึ่งทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าภายในร่างกายมนุษย์มันเป็นอย่างไร
สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ
ภายในเราจะได้พบกับร่างกายอาจารย์ใหญ่ในสภาพสมบูรณ์ถึง 13 ร่าง ที่ถูกเลาะให้เห็นระบบต่างๆภายในร่างกาย เช่น ระบบกระดูก, กล้ามเนื้อ, ประสาท, หลอดเลือด, น้ำเหลือง, ทางเดินอาหาร และสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีร่างมนุษย์ที่ถูกตัดตามแนวต่างๆ เช่น แบ่งครึ่งจากบนลงล่าง หรือแบ่งครึ่งแนวนอนจากหัวจรดเท้า (คล้ายๆดูภาพ MRI) รวมทั้งอวัยวะต่างๆที่ถูกนำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าอวัยวะไหนปกติหรือผิดปกติ เช่น ปอดของคนที่สูบบุหรี่มีจุดสีดำๆจากทินเกาะบนปอดเยอะมากในขณะที่ปอดคนปกติเป็นสีชมพู นอกจากนี้ยังมีร่างกายทารกในครรภ์ตั้งแต่ 4–10 เดือนจัดแสดงให้เห็นพัฒนาการของทารกอีกด้วย
การจัดแสดงอาจารย์ที่นี่ไม่น่าเบื่อเลย เนื่องจากอาจารย์ใหญ่แต่ละร่างจะถูกโพสต์อยู่ในท่าทางที่แตกต่างกัน บางร่างเป็นนักกีฬากำลังจะเตรียมวิ่ง บางร่างเป็นนักยิงธนู บางร่างกำลังถือหัวกะโหลกของอีกคนอยู่ บางร่างทำท่าคิดงงงวย ทำให้เราที่มาเดินชมเดินไปยิ้มไป ต้องยอมรับในความสร้างสรรค์ของคนญี่ปุ่นที่มาช่วยจัดแสดงเลยแหละ
มาจับอวัยวะจริงกันเถอะ
อาจารย์ใหญ่และอวัยวะต่างๆที่ถูกจัดแสดงจะไม่สามารถจับต้อง แต่ทางพิพิธภัณฑ์ก็ใจดีมีกิจกรรมเล็กๆน้อยๆให้ผู้เยี่ยมชมได้ลองจับ “สมอง” มนุษย์ของจริงเพื่อชั่งดูน้ำหนักและลูบ Texture ใช้มือกะคร่าวๆน่าจะหนักประมาณ 1 กิโลกรัมนะ
พิพิธภัณฑ์น่ากลัวไหม?
เราใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงเต็มกับการอยู่ในห้องคนเดียวกับอาจารย์ใหญ่พร้อมอวัยวะอีก 131 ชิ้น ขอบอกได้เลยว่าบรรยากาศไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น สถานที่จัดแสดงมีแสงสว่างพอในห้องปรับอากาศเย็น พอใช้สมาธิกับการเพิ่งอวัยวะแต่ละชิ้น ความกลัวมันก็หายไปเองซะงั้น
การเดินทางและเวลาทำการ
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ จัดแสดงอยู่ชั้น 9 ห้อง 909–910 อาคารทันต 16 (อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80) คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สามารถโดยสารรถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีสยาม และเดินต่อมาทางอาคารสยามกิตติ์ ไปทางศูนย์หนังสือจุฬาฯ หรือตรง British Council จะเจอกับทางเข้าคณะทันตะ พอเข้าคณะมาแล้วให้เลี้ยวซ้ายเดินผ่านสนามหญ้าเทียมสีเขียว ตึกอยู่ทางด้านซ้ายมือ
เวลาทำการ: จันทร์ และ ศุกร์ 10.00–16.00 / พุธ 9.30–12.00
ค่าเข้าชม
ฟรี สามารถบริจาคได้ที่กล่องบริจาคหน้าพิพิธภัณฑ์
เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เสร็จแล้ว ก็ได้เวลาไปเที่ยวต่อที่พิพิธภัณฑ์ตึกข้างๆ Chula Museum Part 2 กว่าจะมีหมอฟันในไทยวันนี้ ขอให้สนุกกับการชมพิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันนี้ขอลาไปก่อน…สวัสดีค่ะ
👍 ติดตาม Facebook Page ผู้เขียน: "ไอ เรียน อโลน by nichyhan"
แหล่งที่มาของข้อมูล: เว็บไซต์ทางการของจุฬาฯ, แผ่นพับสูจิบัตรจากพิพิธภัณฑ์, ผู้เขียนถ่ายรูปเอง (ยกเว้นรูปแรก)