ทำไมคนไทยถึงยังอนุรักษ์การเขียนคำศัพท์ที่ยาก ๆ ไว้ได้อยู่ครับ

ผมไม่แน่ใจว่าผมตั้งคำถามถูกไหม แต่สมัยจอมพลแปลกจะปฏิวัติภาษาไทย คือเปลี่ยนการเขียนภาษาไทยเสียใหม่ คือลดการสะกดไม่ให้ใช้ตัวอักษรที่ประดิษฐ์เพื่อรองรับภาษาบาลี ทำให้เขียนคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้รับความนิยม เพราะคนไทยชินกับการเขียนยาก ๆ ไปแล้ว มาถึงปัจจุบันคนไทยก็ยังเรียนคำยาก ๆ เหล่านั้น แล้วคนไทยก็ไม่ชอบที่มีการพิมพ์ภาษาไทยผิด ๆ ในโลกออนไลน์ใครพิมพ์ภาษาไทยไม่ถูก จะโดนแซว (บางทีก็โดนเหยียดไปถึงระดับการศึกษา) 
ในขณะที่ภาษาจีน รัฐบาลพยายามปรับให้เป็นตัวย่อ เพื่อให้คนจีนได้มีโอกาสเข้าถึงหนังสือได้มากขึ้น ซึ่งคนจีนก็ใช้จีนตัวย่อกันโดยทั่วไป ภาษาอื่น เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น วัยรุ่นก็มักจะเขียนย่อ หรือไม่ก็แสลงไปเลย เพื่อความง่ายหรือกระชับขึ้น แต่วัยรุ่นไทยไม่มีใครเขียนภาษาไทยให้ง่ายลง เพราะถ้าทำให้ง่ายลง จะดู "สก๊อย" ดูเป็นพวกเด็กแว้น ผมอยากรู้ว่าทำไมคนไทย (คนรุ่นใหม่) ถึงสามารถอนุรักษ์การเขียนที่ยาก ๆ นี้ได้ครับ ไม่เหมือนภาษาอื่นที่คนรุ่นใหม่มักกร่อนคำ หรือไม่ก็เขียนให้ง่ายขึ้นไปเลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่