Wer fremde Sprachen nicht kennt, weiß nichts von seiner eigenen.
(ผู้ที่ไม่รู้ภาษาต่างประเทศเป็นผู้ที่ไม่รู้สิ่งใดเลยเกี่ยวกับภาษาของตัวเอง)
คือ คำกล่าวของโยฮานน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเท กวีและนักเขียนชื่อดังของเยอรมนี
เมื่อสมัยเป็นนักเรียนในการศึกษาภาคบังคับ ตำราภาษาไทยสอนว่า โครงสร้างประโยคของภาษาไทย คือ “ประธาน + กริยา + กรรม”
แต่คำอธิบายนั้นไม่สามารถอธิบายโครงสร้างของประโยคที่ว่า “ช้างเชือกนี้งวงยาว” ได้เลย
ถ้าจะถามว่า “ช้าง” หรือ “งวง” คำใดทำหน้าที่เป็นประธาน ก็ต้องไปดูว่า คำใดกระทำภาคแสดง ซึ่งในที่นี้ คือ “ยาว” (กริยาวิเศษณ์) จึงได้คำตอบว่า ประธาน คือ “งวง”
แล้ว “ช้าง” ทำหน้าที่ใดในประโยค?
เมื่อได้มาเรียนภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น จึงได้เริ่มเข้าใจไวยากรณ์ภาษาไทยมากขึ้นและตั้งคำถามถึงความถูกต้องของการเรียนการสอนภาษาไทยในการศึกษาภาคบังคับ
ในภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น มีสิ่งที่เรียกว่า topic marker หรือส่วนเติมท้ายที่แสดงให้เห็นว่า คำที่ไปต่อท้ายนั้นเป็น “หัวข้อ” ของประโยค ส่วน “ประธาน” มีส่วนเติมท้ายอีกตัวหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นหน้าที่ที่ต่างกันของแต่ละคำในประโยค โดยในภาษาญี่ปุ่น topic marker คือ は (วะ) ส่วน subject marker คือ が (กะ)
ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างเฉพาะประโยคภาษาญี่ปุ่นเพื่อไม่ให้การอธิบายมีความซับซ้อนจนเกินไป ดังนี้
この象は鼻が長い。(ช้างเชือกนี้งวงยาว)
この象 แปลว่า ช้างเชือกนี้ โดยมี は ต่อท้ายเพื่อแสดงว่า “ช้างเชือกนี้” เป็นหัวข้อของประโยค
鼻 แปลว่า จมูก (งวง) โดยมี が ต่อท้ายเพื่อแสดงว่า “งวง” เป็นประธาน
長い แปลว่า ยาว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้*หมายเหตุ ในภาษาพูด มักมีการละ は หรือ が
เมื่อนำมาเทียบกับไวยากรณ์ของภาษาไทยแล้ว จึงอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า จริง ๆ แล้ว ภาษาไทยก็มี “หัวข้อ” ดังเช่นในภาษาญี่ปุ่นหรือไม่?
ผู้เรียนภาษาเกาหลีหรือภาษาญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งเกิดความสับสนเกี่ยวกับ “หัวข้อ” และ “ประธาน” ในหลักไวยากรณ์พื้นฐานที่ต้องเรียนตั้งแต่ชั้นเรียนแรก ๆ ทั้งที่ในภาษาไทยเองก็มีสิ่งที่คล้ายคลึงกันและเป็นสิ่งที่คนไทยเองก็คุ้นเคยดี เป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่เรื่องเหล่านี้ไม่ได้นำมาสอนในชั้นเรียนวิชาภาษาไทยในการศึกษาภาคบังคับ
ความคล้ายคลึงระหว่างภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น/เกาหลีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “หัวข้อ” ยังไม่จบเพียงเท่านี้
เรามาลองพิจารณาประโยคต่อไปนี้ดู
“อันนี้น่ะกิน อันนั้นน่ะไม่กิน”
หากพิจารณาในเบื้องต้น อาจกล่าวได้ว่า “อันนี้น่ะ” และ “อันนั้นน่ะ” เป็นกรรม แต่มุมมองของผู้เขียนกลับเปลี่ยนไปเมื่อมองผ่านเลนส์ของไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น
ประโยคเดียวกันข้างต้นในภาษาญี่ปุ่นพูดได้ว่า これは食べる。それは食べない。
これ แปลว่า อันนี้
食べる แปลว่า กิน
それ แปลว่า อันนั้น
食べないแปลว่า ไม่กิน
ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า これ (อันนี้) และ それ (อันนั้น) เป็น “หัวข้อ” เพราะมี は ต่อท้าย และ “หัวข้อ” ไม่ใช่ “กรรม” เพราะหากเป็นกรรมจริง ต้องมี を ซึ่งเป็น object marker ต่อท้าย
และสำหรับในกรณีนี้ は ยังมีความหมายแฝงแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสองสิ่งของทั้งสองประโยค กล่าวคือ เป็นการเน้นว่า สิ่งแรกต่างจากสิ่งที่สอง (สิ่งแรกกิน แต่สิ่งที่สองไม่กิน) และหากพิจารณาดูแล้ว ก็ไม่แตกต่างจากคำว่า “น่ะ” ที่เติมต่อท้ายเพื่อเน้นย้ำถึงความแตกต่างของ “อันนี้น่ะกิน อันนั้นน่ะไม่กิน” เลย
ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า “อันนี้น่ะ” และ “อันนั้นน่ะ” ไม่ใช่ “กรรม” แต่เป็น “หัวข้อ” ของประโยคเช่นเดียวกัน
เพียงแค่ 2 ประโยคข้างต้น ผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า ภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงกัน และคนไทยเองหากตระหนักถึงความคล้ายคลึงกันนี้แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า จะสามารถเรียนภาษาญี่ปุ่น/เกาหลีได้ง่ายขึ้น
และหากเราเข้าใจว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีหัวข้อแล้ว ปัญหาเรื่อง “ข้าวราดแกง” ก็จะหมดไป เมื่อเราเข้าใจว่า “ข้าว” เป็น “หัวข้อ” (แม้ในกรณีนี้ “ข้าวราดแกง” จะไม่ใช่ประโยคก็ตาม)
ผู้เขียนเองไม่ได้จบการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ แต่เพียงใช้ความรู้ภาษาต่างประเทศที่ได้ร่ำเรียนมามาใช้สังเกตภาษาแม่ของตัวเอง และได้เข้าใจภาษาไทยมากยิ่งขึ้นด้วยประการฉะนี้ หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย
ติดตามงานเขียนอื่น ๆ ได้ที่แฟนบุ๊คแฟนเพจ
https://www.facebook.com/MemoirsOfMrNomad ครับ
บันทึกการเรียนภาษา (1) - เมื่อโครงสร้างภาษาไทยไม่ใช่ "ประธาน + กริยา + กรรม": มุมมองจากภาษาญี่ปุ่นและภาษาเกาหลี
(ผู้ที่ไม่รู้ภาษาต่างประเทศเป็นผู้ที่ไม่รู้สิ่งใดเลยเกี่ยวกับภาษาของตัวเอง)
คือ คำกล่าวของโยฮานน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเท กวีและนักเขียนชื่อดังของเยอรมนี
เมื่อสมัยเป็นนักเรียนในการศึกษาภาคบังคับ ตำราภาษาไทยสอนว่า โครงสร้างประโยคของภาษาไทย คือ “ประธาน + กริยา + กรรม”
แต่คำอธิบายนั้นไม่สามารถอธิบายโครงสร้างของประโยคที่ว่า “ช้างเชือกนี้งวงยาว” ได้เลย
ถ้าจะถามว่า “ช้าง” หรือ “งวง” คำใดทำหน้าที่เป็นประธาน ก็ต้องไปดูว่า คำใดกระทำภาคแสดง ซึ่งในที่นี้ คือ “ยาว” (กริยาวิเศษณ์) จึงได้คำตอบว่า ประธาน คือ “งวง”
แล้ว “ช้าง” ทำหน้าที่ใดในประโยค?
เมื่อได้มาเรียนภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น จึงได้เริ่มเข้าใจไวยากรณ์ภาษาไทยมากขึ้นและตั้งคำถามถึงความถูกต้องของการเรียนการสอนภาษาไทยในการศึกษาภาคบังคับ
ในภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น มีสิ่งที่เรียกว่า topic marker หรือส่วนเติมท้ายที่แสดงให้เห็นว่า คำที่ไปต่อท้ายนั้นเป็น “หัวข้อ” ของประโยค ส่วน “ประธาน” มีส่วนเติมท้ายอีกตัวหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นหน้าที่ที่ต่างกันของแต่ละคำในประโยค โดยในภาษาญี่ปุ่น topic marker คือ は (วะ) ส่วน subject marker คือ が (กะ)
ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างเฉพาะประโยคภาษาญี่ปุ่นเพื่อไม่ให้การอธิบายมีความซับซ้อนจนเกินไป ดังนี้
この象は鼻が長い。(ช้างเชือกนี้งวงยาว)
この象 แปลว่า ช้างเชือกนี้ โดยมี は ต่อท้ายเพื่อแสดงว่า “ช้างเชือกนี้” เป็นหัวข้อของประโยค
鼻 แปลว่า จมูก (งวง) โดยมี が ต่อท้ายเพื่อแสดงว่า “งวง” เป็นประธาน
長い แปลว่า ยาว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เมื่อนำมาเทียบกับไวยากรณ์ของภาษาไทยแล้ว จึงอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า จริง ๆ แล้ว ภาษาไทยก็มี “หัวข้อ” ดังเช่นในภาษาญี่ปุ่นหรือไม่?
ผู้เรียนภาษาเกาหลีหรือภาษาญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งเกิดความสับสนเกี่ยวกับ “หัวข้อ” และ “ประธาน” ในหลักไวยากรณ์พื้นฐานที่ต้องเรียนตั้งแต่ชั้นเรียนแรก ๆ ทั้งที่ในภาษาไทยเองก็มีสิ่งที่คล้ายคลึงกันและเป็นสิ่งที่คนไทยเองก็คุ้นเคยดี เป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่เรื่องเหล่านี้ไม่ได้นำมาสอนในชั้นเรียนวิชาภาษาไทยในการศึกษาภาคบังคับ
ความคล้ายคลึงระหว่างภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น/เกาหลีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “หัวข้อ” ยังไม่จบเพียงเท่านี้
เรามาลองพิจารณาประโยคต่อไปนี้ดู
“อันนี้น่ะกิน อันนั้นน่ะไม่กิน”
หากพิจารณาในเบื้องต้น อาจกล่าวได้ว่า “อันนี้น่ะ” และ “อันนั้นน่ะ” เป็นกรรม แต่มุมมองของผู้เขียนกลับเปลี่ยนไปเมื่อมองผ่านเลนส์ของไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น
ประโยคเดียวกันข้างต้นในภาษาญี่ปุ่นพูดได้ว่า これは食べる。それは食べない。
これ แปลว่า อันนี้
食べる แปลว่า กิน
それ แปลว่า อันนั้น
食べないแปลว่า ไม่กิน
ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า これ (อันนี้) และ それ (อันนั้น) เป็น “หัวข้อ” เพราะมี は ต่อท้าย และ “หัวข้อ” ไม่ใช่ “กรรม” เพราะหากเป็นกรรมจริง ต้องมี を ซึ่งเป็น object marker ต่อท้าย
และสำหรับในกรณีนี้ は ยังมีความหมายแฝงแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสองสิ่งของทั้งสองประโยค กล่าวคือ เป็นการเน้นว่า สิ่งแรกต่างจากสิ่งที่สอง (สิ่งแรกกิน แต่สิ่งที่สองไม่กิน) และหากพิจารณาดูแล้ว ก็ไม่แตกต่างจากคำว่า “น่ะ” ที่เติมต่อท้ายเพื่อเน้นย้ำถึงความแตกต่างของ “อันนี้น่ะกิน อันนั้นน่ะไม่กิน” เลย
ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า “อันนี้น่ะ” และ “อันนั้นน่ะ” ไม่ใช่ “กรรม” แต่เป็น “หัวข้อ” ของประโยคเช่นเดียวกัน
เพียงแค่ 2 ประโยคข้างต้น ผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า ภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงกัน และคนไทยเองหากตระหนักถึงความคล้ายคลึงกันนี้แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า จะสามารถเรียนภาษาญี่ปุ่น/เกาหลีได้ง่ายขึ้น
และหากเราเข้าใจว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีหัวข้อแล้ว ปัญหาเรื่อง “ข้าวราดแกง” ก็จะหมดไป เมื่อเราเข้าใจว่า “ข้าว” เป็น “หัวข้อ” (แม้ในกรณีนี้ “ข้าวราดแกง” จะไม่ใช่ประโยคก็ตาม)
ผู้เขียนเองไม่ได้จบการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ แต่เพียงใช้ความรู้ภาษาต่างประเทศที่ได้ร่ำเรียนมามาใช้สังเกตภาษาแม่ของตัวเอง และได้เข้าใจภาษาไทยมากยิ่งขึ้นด้วยประการฉะนี้ หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย
ติดตามงานเขียนอื่น ๆ ได้ที่แฟนบุ๊คแฟนเพจ https://www.facebook.com/MemoirsOfMrNomad ครับ