การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆอย่างทันทีทันใด การยกของหนักๆอย่างรวดเร็ว การเล่นกีฬา ล้วนเป็นสาเหตุ
ที่อาจทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ โดยการฉีกขาดที่เกิดขึ้นจะเกิดที่เส้นใยของกล้ามเนื้อหรือ muscle fiber
ซึ่งมีผลทำให้มีการฉีกขาดของเส้นฝอยและเกิดอาการปวด ผู้ป่วยมักจะมีอาการทันทีหลังจากทำกิจกรรมหรือทำท่าใดท่าหนึ่งผิดไป
โดยสามารถแบ่งความรุนแรงของการฉีกขาดได้ 3 ระดับ คือ
1. ฉีกขาดเล็กน้อย (mild strain)
2. ฉีกขาดปานกลาง (moderate strain)
3. ฉีกขาดมาก (severe strain)
อาการและอาการแสดง
มักมีอาการปวดมากโดยเฉพาะเมื่อมีใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้นหรือข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อมัดนั้น
เมื่อคลำดูจะพบจุดกดเจ็บ และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มช่วง บางรายอาจมีการบวม แดง ร้อน ร่วมด้วย
การรักษาเบื้องต้น
1. ป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นโดยการใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง และพักการใช้งานของกล้ามเนื้อ เมื่อมีอาการปวด
2. ใช้น้ำแข็งหรือแผ่นประคบเย็น ประคบตรงบริเวณที่มีอาการปวดทันที ประมาณ 10-15 นาที
3. พันบริเวณที่บาดเจ็บด้วยผ้ายืดเพื่อลดอาการบวม โดยพันให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกไม่แน่นจนเกินไป
4. ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูง เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลดอาการบวม
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บได้โดยการยืดกล้ามเนื้อก่อนใช้งานในชีวิตประจำวันหรือการออกกำลังกายทุกครั้ง
เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อให้พร้อม และหลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อในท่าทางที่ผิดปกติ
บทความโดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การรักษากล้ามเนื้อฉีกขาดเบื้องต้น
ที่อาจทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ โดยการฉีกขาดที่เกิดขึ้นจะเกิดที่เส้นใยของกล้ามเนื้อหรือ muscle fiber
ซึ่งมีผลทำให้มีการฉีกขาดของเส้นฝอยและเกิดอาการปวด ผู้ป่วยมักจะมีอาการทันทีหลังจากทำกิจกรรมหรือทำท่าใดท่าหนึ่งผิดไป
โดยสามารถแบ่งความรุนแรงของการฉีกขาดได้ 3 ระดับ คือ
1. ฉีกขาดเล็กน้อย (mild strain)
2. ฉีกขาดปานกลาง (moderate strain)
3. ฉีกขาดมาก (severe strain)
อาการและอาการแสดง
มักมีอาการปวดมากโดยเฉพาะเมื่อมีใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้นหรือข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อมัดนั้น
เมื่อคลำดูจะพบจุดกดเจ็บ และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มช่วง บางรายอาจมีการบวม แดง ร้อน ร่วมด้วย
การรักษาเบื้องต้น
1. ป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นโดยการใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง และพักการใช้งานของกล้ามเนื้อ เมื่อมีอาการปวด
2. ใช้น้ำแข็งหรือแผ่นประคบเย็น ประคบตรงบริเวณที่มีอาการปวดทันที ประมาณ 10-15 นาที
3. พันบริเวณที่บาดเจ็บด้วยผ้ายืดเพื่อลดอาการบวม โดยพันให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกไม่แน่นจนเกินไป
4. ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูง เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลดอาการบวม
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บได้โดยการยืดกล้ามเนื้อก่อนใช้งานในชีวิตประจำวันหรือการออกกำลังกายทุกครั้ง
เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อให้พร้อม และหลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อในท่าทางที่ผิดปกติ
บทความโดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด