อาการเจ็บศอกด้านในหรือที่เรียกกันว่า Golfer's elbow จะมีอาการคล้ายๆกับโรค Tennis elbow
แต่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งที่ต่างกัน เมื่อหงายมือและกระดกข้อมือ(wrist flexion)จะกระตุ้นให้มีอาการปวดมากขึ้น
โดยการอักเสบบริเวณด้านในข้อศอกของกลุ่มกล้ามเนื้อ common flexor-pronator tendon มักเกิดการฉีกขาด
ของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเพียงเล็กน้อย และเมื่อผู้ป่วยยังคงทำกิจวัตรตามปกติทำให้เกิดการฉีกขาดมากขึ้น
แล้วเกิดการอักเสบในที่สุด โรคนี้มักพบในนักกีฬาประเภทตีกอล์ฟ โบว์ลิ่ง ว่ายน้ำ เทนนิส และกีฬาประเภทที่ต้องมีการขว้าง
โดยพบได้น้อยกว่า tennis elbow และส่วนใหญ่มักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี
สาเหตุที่โรคนี้ชื่อ Golfer's elbow เนื่องจากพบมากในนักกอล์ฟ จากการตีลูกกอล์ฟซํ้าๆต่อเนื่องกัน ซึ่งแรงปะทะ
ทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่งอข้อมือลง (flexor group) ได้รับแรงเครียด โดยการตีกอล์ฟแต่ละครั้งนั้น กล้ามเนื้อ flexor pronator
จะถูกใช้งานอย่างหนักโดยฉับพลัน ซึ่งเป็นมัดกล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยได้ใช้งานบ่อยในชีวิตประจำวัน ความแข็งแรงจึงน้อยกว่ามัดอื่นๆ
จึงเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ในคนทั่วไปก็พบได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยเมื่อเทียบได้กับ tennis elbow
เพราะการทำงานในท่างอข้อมือลงจะใช้แรงน้อยกว่า และเรามักจะใช้การงอข้อศอกเข้าช่วยเสริมแรงหากต้องใช้ที่ข้อมือมากๆ
อาการและอาการแสดง
1. ปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านใน ตรงบริเวณเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่มีการบาดเจ็บ
2. มีจุดกดเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านใน
3. เมื่อกระดกข้อมือขึ้นในขณะที่เหยียดข้อศอก จะมีอาการปวดมากขึ้น หรือเพียงแค่ขยับข้อศอกก็มีอาการปวดได้
ในบางรายที่มีการบาดเจ็บที่รุนแรงมาก
การรักษา
1.ในระยะแรกให้ประคบเย็นบริเวณที่ปวดเป็นเวลา 10-15 นาที เพื่อลดการอักเสบ
และให้หยุดการใช้งานหนักหรือการเล่นกีฬาของแขนข้างที่มีการอักเสบ ในผู้ที่มีอาการปวดมากๆ
แนะนำให้ใส่ที่พยุงศอก (elbow support) เพื่อบรรเทาอาการปวด
2.ทำการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยการใช้เครื่อง Ultrasounds , การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดปวดลดอักเสบ
หรือในผู้ที่ยังต้องมีการใช้งานแขนซ้ำๆ สามารถใช้การรักษาโดยการ Tapping เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อลง
และลดอาการปวด
3.เมื่ออาการปวดลดลงหรือไม่มีแล้ว ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
เริ่มต้นด้วยท่าหงายมือ โดยจัดท่าทางให้อยู่ในท่าสบาย จากนั้นถือดัมเบลหรือขวดนํ้าแล้วกระดกข้อมือขึ้น
ทำซ้ำ 10 ครั้ง/set 3set/วัน
4.การยืดกล้ามเนื้อ โดยเหยียดข้อศอกให้ตึงไปทางด้านหลังพร้อมกระดกข้อมือขึ้นจนรู้สึกตึงค้างไว้ 15 วินาที
ทำซ้ำ 10 ครั้ง
5. รับประทานยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
6.ฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น
7. การรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อทำการรักษาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น
การรักษาโดยใช้ Tapping คืออะไร มีผลในด้านการรักษาอย่างไร
https://ppantip.com/topic/37357011
โรค Tennis elbow คืออะไร
https://ppantip.com/topic/37309925
บทความโดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
เจ็บศอกทางด้านใน เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
แต่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งที่ต่างกัน เมื่อหงายมือและกระดกข้อมือ(wrist flexion)จะกระตุ้นให้มีอาการปวดมากขึ้น
โดยการอักเสบบริเวณด้านในข้อศอกของกลุ่มกล้ามเนื้อ common flexor-pronator tendon มักเกิดการฉีกขาด
ของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเพียงเล็กน้อย และเมื่อผู้ป่วยยังคงทำกิจวัตรตามปกติทำให้เกิดการฉีกขาดมากขึ้น
แล้วเกิดการอักเสบในที่สุด โรคนี้มักพบในนักกีฬาประเภทตีกอล์ฟ โบว์ลิ่ง ว่ายน้ำ เทนนิส และกีฬาประเภทที่ต้องมีการขว้าง
โดยพบได้น้อยกว่า tennis elbow และส่วนใหญ่มักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี
สาเหตุที่โรคนี้ชื่อ Golfer's elbow เนื่องจากพบมากในนักกอล์ฟ จากการตีลูกกอล์ฟซํ้าๆต่อเนื่องกัน ซึ่งแรงปะทะ
ทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่งอข้อมือลง (flexor group) ได้รับแรงเครียด โดยการตีกอล์ฟแต่ละครั้งนั้น กล้ามเนื้อ flexor pronator
จะถูกใช้งานอย่างหนักโดยฉับพลัน ซึ่งเป็นมัดกล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยได้ใช้งานบ่อยในชีวิตประจำวัน ความแข็งแรงจึงน้อยกว่ามัดอื่นๆ
จึงเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ในคนทั่วไปก็พบได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยเมื่อเทียบได้กับ tennis elbow
เพราะการทำงานในท่างอข้อมือลงจะใช้แรงน้อยกว่า และเรามักจะใช้การงอข้อศอกเข้าช่วยเสริมแรงหากต้องใช้ที่ข้อมือมากๆ
อาการและอาการแสดง
1. ปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านใน ตรงบริเวณเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่มีการบาดเจ็บ
2. มีจุดกดเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านใน
3. เมื่อกระดกข้อมือขึ้นในขณะที่เหยียดข้อศอก จะมีอาการปวดมากขึ้น หรือเพียงแค่ขยับข้อศอกก็มีอาการปวดได้
ในบางรายที่มีการบาดเจ็บที่รุนแรงมาก
การรักษา
1.ในระยะแรกให้ประคบเย็นบริเวณที่ปวดเป็นเวลา 10-15 นาที เพื่อลดการอักเสบ
และให้หยุดการใช้งานหนักหรือการเล่นกีฬาของแขนข้างที่มีการอักเสบ ในผู้ที่มีอาการปวดมากๆ
แนะนำให้ใส่ที่พยุงศอก (elbow support) เพื่อบรรเทาอาการปวด
2.ทำการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยการใช้เครื่อง Ultrasounds , การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดปวดลดอักเสบ
หรือในผู้ที่ยังต้องมีการใช้งานแขนซ้ำๆ สามารถใช้การรักษาโดยการ Tapping เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อลง
และลดอาการปวด
3.เมื่ออาการปวดลดลงหรือไม่มีแล้ว ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
เริ่มต้นด้วยท่าหงายมือ โดยจัดท่าทางให้อยู่ในท่าสบาย จากนั้นถือดัมเบลหรือขวดนํ้าแล้วกระดกข้อมือขึ้น
ทำซ้ำ 10 ครั้ง/set 3set/วัน
4.การยืดกล้ามเนื้อ โดยเหยียดข้อศอกให้ตึงไปทางด้านหลังพร้อมกระดกข้อมือขึ้นจนรู้สึกตึงค้างไว้ 15 วินาที
ทำซ้ำ 10 ครั้ง
5. รับประทานยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
6.ฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น
7. การรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อทำการรักษาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น
การรักษาโดยใช้ Tapping คืออะไร มีผลในด้านการรักษาอย่างไร
https://ppantip.com/topic/37357011
โรค Tennis elbow คืออะไร
https://ppantip.com/topic/37309925
บทความโดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด